SEO Analytics เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้คุณเข้าใจประสิทธิภาพของกลยุทธ์ SEO และนำพาเว็บไซต์ของคุณไปสู่อันดับที่ดีขึ้นบน Search Engine ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด คุณจะสามารถปรับแต่งกลยุทธ์ SEO ให้ตรงเป้าหมายและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
SEO Analytics คืออะไร?
SEO Analytics คือ กระบวนการวิเคราะห์และวัดผลประสิทธิภาพของกลยุทธ์การทำ SEO โดยใช้ข้อมูลและสถิติต่าง ๆ ที่ได้มาจาก SEO Checker หรือ SEO Tools เช่น Google Analytics, Ahrefs, SEMrush และอื่น ๆ เพื่อใช้ในการประเมินและปรับปรุงการทำงานด้าน SEO ของเว็บไซต์
โดยประโยชน์ที่สำคัญของการทำ SEO Analytics นั้นจะช่วยให้เราเข้าใจว่ากลยุทธ์ SEO ที่ใช้อยู่นั้นมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด จากผลลัพธ์ที่ได้ และช่วยทำให้เราเห็นถึงโอกาสหรือสิ่งที่ต้องปรับปรุงเพื่มเติมในการทำให้เว็บไซต์เพื่อเพิ่มอันดับของเว็บไซต์บน Search Engine ในการทำ SEO
ทำไม SEO Analytics ถึงสำคัญต่อการทำ SEO
SEO Analytics มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการทำ SEO และมีประโยชน์ต่อธุรกิจในหลายด้าน ดังนี้
- ให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจในการทำ SEO : การทำ SEO Analytics นั้นช่วยให้คุณเข้าใจว่าควรปรับปรุงส่วนใดของเว็บไซต์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ SEO โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ใช้ ประสิทธิภาพของคีย์เวิร์ด และปัญหาทางเทคนิคที่อาจส่งผลกระทบต่ออันดับของเว็บไซต์
- ช่วยในการกำหนดและติดตาม SEO KPIs : การทำ SEO Analytics ทำให้คุณสามารถตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดความสำเร็จของการทำ SEO ได้เป็นอย่างดี เช่น การติดตามอันดับคีย์เวิร์ด, การเพิ่มขึ้นของ Organic Traffic หรือการทำ Conversion Rate Optimization (CRO)
- ช่วยในการปรับปรุง User Experience ที่จำเป็นต่อการทำ SEO : SEO Analytics ช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมผู้ใช้ เช่น เวลาที่ใช้บนหน้าเว็บ อัตราการตีกลับ (bounce rate) และเส้นทางการนำทางของผู้ใช้ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงการใช้งานเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลดีต่อทั้ง SEO และความพึงพอใจของผู้ใช้
- ใช้วัดผลรายงานความคืบหน้าของการทำ SEO : การทำ SEO Analytics ช่วยแสดงให้เห็นถึงความคืบหน้าและผลลัพธ์ของการทำ SEO อย่างชัดเจน ทำให้คุณสามารถรายงานผลลัพธ์ของการทำ SEO ให้กับทีมหรือลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ได้ตามผลลัพธ์ที่ได้
- ช่วยให้เข้าใจว่ากลยุทธ์ SEO ใดที่ได้ผลและไม่ได้ผล : ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจาก SEO Analytics คุณสามารถระบุได้ว่ากลยุทธ์ใดที่สร้างผลความได้เปรียบให้กับการทำ SEO ของธุรกิจหรือกลยุทธ์ใดที่ลองใช้แล้วไม่ได้ผล ทำให้คุณสามารถเน้นทรัพยากรไปที่กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และปรับปรุงหรือยกเลิกกลยุทธ์ที่ไม่ได้ผล
- ช่วยในการวิเคราะห์คู่แข่ง : SEO Analytics ไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำ SEO ของเว็บไซต์ของคุณเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้เพื่อวิเคราะห์กลยุทธ์และ Performance เว็บไซต์ของคู่แข่งได้ด้วย ซึ่งช่วยทำให้คุณสามารถปรับกลยุทธ์ให้การทำเว็บไซต์สามารถแข่งขันทำอันดับกับคู่แข่งได้ดียิ่งขึ้น
วิธีเริ่มต้นทำ SEO Analytics เพิ่มประสิทธิภาพให้เว็บไซต์ ฉบับมือใหม่ทำตามได้
แม้การทำ SEO Analytics อาจดูซับซ้อนสำหรับมือใหม่ แต่ไม่ต้องกังวล เพราะเราจะพาคุณไปเรียนรู้ขั้นตอนการทำ SEO Analytics ตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้คุณสามารถเริ่มต้นการวิเคราะห์ผลลัพธ์การทำ SEO ของเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นเรื่องยากสำหรับมือใหม่ มาดูกันว่าจะมีขั้นตอนอะไรบ้าง
เลือก SEO Analytics Tools ที่เหมาะกับการทำงานที่สุด
ก่อนอื่นคุณต้องเลือก SEO Analytics Tools ที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ที่ต้องการนำมาวิเคราะห์ โดยในปัจจุบันมี SEO Tools หลายตัวให้คุณได้เลือกใช้ตามความต้องการ
- Google Analytics : เครื่องมือฟรีที่ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการวิเคราะห์ Performance เว็บไซต์จาก Google
- Google Search Console : ช่วยในการติดตามประสิทธิภาพของเว็บไซต์และการทำ SEO บน Google Search
- Ahrefs : SEO Tools ที่มีจุดเด่นในเรื่องการช่วยวิเคราะห์และหา Keyword ในการทำ SEO และช่วยวิเคราะห์การทำ SEO ของคู่แข่ง
- SEMrush : เครื่องมือ SEO ที่มีฟีเจอร์ในการทำ SEO Audit ที่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลทั้งของตัวเราเองและคู่แข่งในเชิงลึกได้
- Ubersuggest : เครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์หา Keyword และ Performance ในการทำ SEO มีข้อดีในเรื่องของราคาที่ไม่แพงมากเมื่อเทียบกับ SEO Tools ตัวอื่น ๆ
ซึ่งปัจจัยการเลือกใช้ SEO Analytics Tools ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์ที่สุดนั้น สามารถพิจารณาเลือกได้จากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ราคาของเครื่องมือ ฟีเจอร์และฟังก์ชันในการวิเคราะห์ข้อมูล
กำหนด SEO KPIs ที่ต้องการเห็นผลลัพธ์หรือติดตามการเปลี่ยนแปลง
การกำหนด SEO KPIs (Key Performance Indicators) เป็นขั้นตอนสำคัญในการทำ SEO Analytics เพราะจะช่วยให้คุณเห็นภาพรวมของประสิทธิภาพ SEO ได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งหลังจากที่คุณได้เลือก SEO Analytics Tools ที่ต้องการมาแล้ว ก็ให้กำหนด SEO KPIs ที่คุณต้องการจะติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Performance ของเว็บไซต์ โดย SEO KPIs ที่เราแนะนำให้คุณ Tracking ติดตามความเคลื่อนไหวนั้น จะต้องเป็น KPIs ที่สามารถชี้วัดการเติบโตของการทำ SEO ได้เช่น
- Keyword Ranking : ติดตามว่าเว็บไซต์ของคุณอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่สำหรับคีย์เวิร์ดเป้าหมาย
- Organic Traffic : จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์จากการค้นหาแบบออร์แกนิก
- Bounce Rate : อัตราการออกจากเว็บไซต์โดยไม่มีการโต้ตอบ
- Conversion Rate : อัตราการเปลี่ยนผู้เข้าชมให้เป็นลูกค้า
- Page Load Time : เวลาที่ใช้ในการโหลดหน้าเว็บ
- Average time on page : ค่าเวลาเฉลี่ยที่ Users ใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์แต่ละหน้า
- Number of backlinks : จำนวน Backlinks ที่มีการส่งกลับมาหาเว็บไซต์ในแต่ละหน้า
- Click Through Rate (CTR) : อัตราการคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ต่อจำนวนการมองเห็นทั้งหมดของ Users
- User Engagement : ค่าเฉลี่ยของปริมาณ Users ที่เข้ามาสร้าง Action อะไรบางอย่างบนเว็บไซต์ (มากกว่าแค่การเข้ามาอ่านหรือดูคอนเทนต์เฉย ๆ)
การเลือก SEO KPIs เพื่อการทำ SEO Analytics นั้น จะช่วยให้คุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำ SEO และสามารถวัดผลลัพธ์ของเว็บไซต์ได้อย่างตรงจุดและแม่นยำ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาในการปรับ SEO KPIs ให้เหมาะสมกับเป้าหมายทางธุรกิจและลักษณะเฉพาะของเว็บไซต์คุณอยู่ตลอด
สร้าง Dashboards เพื่อให้การติดตามผลลัพธ์ทำได้ง่ายขึ้น
หลังจากที่คุณได้รู้และกำหนด SEO KPIs ที่ต้องการติดตามผลลัพธ์แล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเริ่มสร้าง Dashboard บน SEO Tools ช่วยให้คุณติดตามผลลัพธ์ SEO Analytics ได้ง่ายขึ้น โดยเครื่องมือที่สามารถสร้าง Dashboard ได้นั้น คุณสามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่เครื่องมือฟรีของ Google อย่าง Google Looker Studio ที่เป็นการดึงข้อมูลมาจาก Google Analytics เอามาแสดงผลในรูปแบบของ Dashboard ที่คุณสามารถกำหนด SEO KPIs ที่ต้องการได้
หรือจะเลือกใช้งาน SEO Tools ที่มี Dashboard สำเร็จรูป เพียงแค่ดึงข้อมูลอยู่แล้ว เช่น Ahrefs, Ubersuggest, SERanking, SEMRush ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน โดยเราขอยกตัวอย่างจาก SEMRush ที่เป็น SEO Analytics Tools ที่สามารถสร้าง SEO Dashboard ได้อย่างง่าย ๆ
ขั้นตอนแรกแค่กด SEO Dashboard และกดไปที่ Create Project
จากนั้นก็เพียงแค่ใส่ Domain ของเว็บไซต์ ตั้งชื่อ Project แล้วก็กด Create Project ได้เลย โดยระบบจะทำการดึงข้อมูล Performance ของเว็บไซต์ ให้มาปรากฏใน Dashboard ซึ่งเบื้องต้น Dashboard ใน SEMRush จะมี Metrics สำคัญเกี่ยวกับการทำ SEO มาให้คุณแบบครบถ้วน โดยวิธีนี้เป็นวิธีง่าย ๆ ที่สามารถให้คุณติดตามผลลัพธ์ของการทำ SEO และทำ SEO Analytics เบื้องต้นได้
หมายเหตุ : ถ้าคุณต้องการเปลี่ยน Metrics ที่ใช้ในการ Tracking บนหน้า Dashboard ถ้าเป็น SEO Tools จำพวก Ahrefs, SEMRush, Ubersuggest ฯลฯ จะไม่สามารถเปลี่ยน Metrics ที่แสดงบน Dashboard ได้ กรณีนี้แนะนำให้คุณใช้เครื่องมือจำพวก Custom Dashboard เช่น Looker Studio ที่เป็นเครื่องมือสร้าง SEO Dashboard ที่สามารรถให้คุณปรับแต่งการแสดงผลในหน้า Dashboard ได้ตามต้องการ จะตอบโจทย์การใช้งานมากกว่า
เริ่มทำการ Tracking ข้อมูลและตรวจเช็กประสิทธิภาพของเว็บไซต์
ขั้นตอนต่อมา หลังจากที่เราได้ SEO Dashboard มาแล้วก็จะเริ่มเข้าสู่เทคนิคของการทำ SEO Analytics จริง ๆ โดยอย่างที่เราได้บอกไปว่าการทำ SEO Analytics คือการวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการทำ SEO เพราะฉะนั้นจาก Data ที่ได้มาบน Dashboard เราก็จะมาเริ่มทำการวิเคราะห์ข้อมูลของเว็บไซต์กัน โดยส่วนนี้เราจะขอใช้ตัวอย่างจาก SEMRush เหมือนเดิม
ส่วนแรกให้คุณดูที่ Domain Analytics ในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณเห็นประสิทธิภาพและสถานการณ์ปัจจุบันของการทำ SEO ทั้งเว็บไซต์ ซึ่งจะมี Metrics ที่สำคัญเช่น Organic Traffic, Organic Keyword รวมถึง Authority Score ของเว็บไซต์ ที่จะทำให้คุณเห็นภาพรวมของ Performance ในเว็บไซต์สำหรับการทำ SEO รวมถึงความเปลี่ยนแปลงในแต่ละเดือนด้วย
ในส่วนต่อมาที่คุณต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการทำ SEO Analytics คือการวิเคราะห์ Traffic Analytics ซึ่งจะทำให้คุณได้เห็นถึง Performance ในฝั่งของ Traffic ว่าปัจจุบันเว็บไซต์ของคุณมีอัตราการเข้าเยี่ยมชมเท่าไร (Visits) / อัตราการใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของ Users / อัตรา Bounce Rate หรือการเข้ามาเว็บไซต์แล้วกดออกของ Users ฯลฯ ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลของ Traffic เหล่านี้ จะช่วยให้คุณสามารถเข้าใจพฤติกรรมของ Users กลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี และหาทาง Optimized ให้ตัวเลขมีแนวโน้มที่ดีขึ้นได้ ทั้งในฝั่งของการทำ On Page SEO และ Off Page SEO
เช่นในกรณีถ้าจำนวนของการ Visits เว็บไซต์น้อยหรือตัวเลขลดลง ก็อาจจะเป็นได้ว่า Title Tags หรือ Description ของเว็บไซต์ยังไม่เป็นที่น่าดึงดูด หรืออาจจะต้องเพิ่มปริมาณการเขียนบทความ SEO มากยิ่งขึ้น เพื่อทำให้เว็บไซต์มีปริมาณการกดเข้าชมมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
ซึ่งถ้าใช้ SEMRush ในการทำวิเคราะห์ SEO Analytics คุณสามารถเลือกดึงข้อมูลจาก Google Analytics ให้มาแสดงผลในหน้า Dashboard ได้ด้วย ซึ่งตัวข้อมูลจะมีการดึง Data Sources ที่คุณได้ทำการติดตั้ง Google Analytics หรือ Google Search Console ที่ได้ทำการเชื่อมต่อกับเว็บไซต์ไว้แล้ว เป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่ช่วยในการทำ SEO Analytics ได้ดีเลยทีเดียว
โดยหลังจากที่ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งในส่วนของ Domain และ Traffic ไปแล้ว ส่วนต่อมาที่ต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลและเป็นข้อมูลสำคัญที่จะทำให้คุณได้รู้ถึง Performance ของการทำ SEO ให้เว็บไซต์ของคุณนั่นก็คือการทำ SEO Audit หรือการตรวจสอบประสิทธิภาพเนื้อหาและปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับของเว็บไซต์เชิงเทคนิค ว่าในปัจจุบันเว็บไซต์ของคุณติดปัญหามี Errors ในส่วนไหนบ้างที่กระทบต่อการทำ SEO และเข้าไปแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
ซึ่งส่วนที่ต้องดูในการ SEO Audits หลัก ๆ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ปัจจัยได้แก่ Site Health (คะแนนรวม Performance รวมของเว็บไซต์) / Crawled Pages (จำนวนหน้าเว็บไซต์ผ่านการ Crawling จาก Google Bot) / Errors (ปริมาณของหน้าเว็บไซต์ในโดเมนที่เกิดปัญหาเป็น Broken Links หรือ 404 Errors ที่ต้องรีบแก้) / Warnings (จำนวนปัญหาหรือความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการทำ SEO ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์)
ในส่วนของการทำ SEO Audit นั้นคุณสามารถดาวน์โหลด Report มาเพื่อดูข้อมูลอย่างละเอียดได้ว่าตอนนี้เว็บไซต์ของคุณติดปัญหาอยู่ที่ส่วนไหน และจะมีวิธีแก้ปัญหาในแต่ละ Case อย่างไร ซึ่งใน SEMRush การดู Report ของ SEO Audit นั้นก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่กด “View full report.” ก็จะได้รายงาน Performance ของเว็บไซต์มาให้คุณได้ทำการวิเคราะห์ SEO Analytics ต่อไป
และขั้นตอนสุดท้ายที่เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำ SEO Analytics ที่สำคัญก็คือการทำ Position Tracking หรือการติดตาม Ranking ว่าในปัจจุบันเว็บไซต์ของคุณติดอันดับการค้นหาที่อันดับเท่าไร ใน Keyword อะไรบ้าง เพื่อให้คุณสามารถติดตาม Performance ในการทำอันดับในแต่ละ Keyword ของเว็บไซต์คุณได้ตลอดเวลา
ในหน้า Dashboard ของฟีเจอร์ Position Tracking ก็จะมีข้อมูลหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการแสดงผลของเว็บไซต์ในหน้า SERP มาให้คุณเห็นอย่างชัดเจน เช่น Top Keyword (Keyword ไหนที่เว็บไซต์สามารถทำ Performance ได้ดีที่สุด) / Visibillity (ภาพรวมของอันดับที่เว็บไซต์สามารถ Index บน Search Engine ได้) และยังสามารถแยกได้ด้วยว่าในบรรดา Keyword ที่เว็บไซต์มีการ Index แล้วนั้นอยู่ในตำแหน่ง Top3, Top 10, Top 20 หรือ Top 100 กี่หน้า ซึ่งทำให้คุณสามารถวิเคราะห์ข้อมูล การเคลื่อนไหวของอันดับ และหาทางแก้ไขในกรณีอันดับเว็บไซต์ร่วงได้อย่างทันท่วงที
สร้าง Report สรุปผลการทำ SEO Analytics ในแต่ละเดือน
หลังจากที่คุณได้ทราบขั้นตอนของการทำ SEO Analytics ไปแล้ว สิ่งสุดท้ายที่จะต้องห้ามละเลยเด็ดขาด นั่นก็คือการทำสรุปผลของการทำ SEO Analytics ผ่านการทำ Report ในแต่ละเดือน เพื่อที่จะทำให้คุณ (หรือลูกค้าในกรณีที่เป็นบริษัทรับทำ SEO) ได้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของ Performance การทำ SEO ได้ตลอด
ซึ่งในการทำ Report สำหรับการทำ SEO Analytics นั้นวิธีที่เราแนะนำเพื่อที่จะทำให้คุณเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของ Performance ได้ตลอดคือการ Tracking ข้อมูลผ่าน SEO Tools ที่สามารถ Filter ดูข้อมูลย้อนหลังได้ มากสุดถึง 1 ปี โดยให้คุณสรุปข้อมูลในการทำ SEO ตัวเลข Performance ต่าง ๆ ที่เว็บไซต์ทำได้มาทุกเดือน แล้วกรอกลงใน Excel, Google Sheet ทุกเดือนเพื่อให้ได้ Report ที่ช่วยให้คุณเห็นถึงการเติบโตหรือความเปลี่ยนแปลงของการทำ SEO ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นหัวใจของการทำ SEO Analytics
จากภาพด้านบนคือตัวอย่างการทำ SEO Report ใน Google Sheet โดยให้คุณระบุ SEO KPIs ต่าง ๆ ที่คิดว่าสำคัญต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์คุณลงไป ส่วนอีกแกนที่เป็นแนวนอน ให้ใส่เดือนหรือปี ที่จะทำการ Tracking ข้อมูล โดยให้คุณเตรียม Template ของ Sheet ในลักษณะนี้ไว้ก่อนเพื่อเตรียมรอ Data ที่ได้มาจากการทำ SEO
ซึ่งเมื่อได้ Data มาแล้วในทุกสิ้นเดือนให้นำข้อมูลลงมากรอกในตารางให้ครบถ้วน แล้วสังเกตุหรือคอย Monitor ตัวเลขให้เป็นไปในทางที่น่าพอใจอยู่เสมอ ท่องไว้ง่าย ๆ ว่าถ้าผลลัพธ์เริ่ม Drop ลงเมื่อไรให้รีบทำการ Optimized แก้ไข แต่ถ้าผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจหรือเติบโตขึ้น ก็ให้ Maintaince พัฒนาให้ดีขึ้นต่อ ๆ ไป จะช่วยให้การทำ SEO Analytics และการทำ SEO ของธุรกิจของคุณประสบความสำเร็จ
สรุปความสำคัญของการทำ SEO Analytics
สรุปแล้ว SEO Analytics เป็นวิธีการสำคัญสำหรับการวัดและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำ SEO ของเว็บไซต์ เพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลและการนำผลลัพธ์ไปปรับปรุงกลยุทธ์ SEO ที่จะช่วยให้คุณได้เข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้ ประสิทธิภาพของ Keyword และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ออันดับในการค้นหา จนทำให้สามารถปรับแต่งเว็บไซต์และเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้และ Google Algorithm ได้มากที่สุด
สุดท้าย SEO ไม่ใช่ศาสตร์ของการเดาสุ่ม แต่เป็นศาสตร์ที่ต้องอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด การเรียนรู้ทักษะด้าน SEO Analytics จึงเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสำหรับบริษัทรับทำ SEO หรือแม้แต่ใครก็ตามที่ต้องการประสบความสำเร็จในโลกของ SEO อย่างยั่งยืน
ข้อมูลจาก : SEMRush