Home - SEO - Screaming Frog คืออะไร? รู้จักเครื่องมือที่นักทำ SEO ควรใช้

Screaming Frog คืออะไร? รู้จักเครื่องมือที่นักทำ SEO ควรใช้

screaming Frog คืออะไร

Screaming Frog เครื่องมือที่ทำให้การวิเคราะห์ Technical SEO เป็นเรื่องง่าย

Screaming Frog คือ หนึ่งใน SEO Tools ที่น่าสนใจเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำ Technical SEO เพราะ Screaming Frog จะเข้ามาช่วยทำให้ Insight ที่ดูเข้าถึงยากเหล่านั้นกลายเป็นเรื่องง่าย รวมถึงช่วยลดเวลาในการวิเคราะห์ด้าน Technical SEO ให้น้อยลง ในบทความนี้เราเลยจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ Screaming Frog มากขึ้น พร้อมทั้งดูเทคนิควิธีการใช้งานที่น่าสนใจเบื้องต้น ไปดูกันเลย

Screaming Frog คืออะไร

Screaming Frog คือ เครื่องมือการทำ SEO สำหรับเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยเฉพาะด้าน Technical SEO ไม่ว่าจะเป็น การหาลิงก์เสีย (Broken Links), การทำ SEO Audit, การสร้าง Sitemap, Site Structure และอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อนำ Insight เหล่านั้นไปปรับปรุงแก้ไขการทำ SEO ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดย Screaming Frog สามารถใช้งานได้ทั้งเว็บไซต์ที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

Screaming frog

Screaming Frog download ได้ที่ไหน

Screaming Frog เป็นโปรแกรมในรูปแบบ Desktop App คือต้องดาวน์โหลดลงคอมพิวเตอร์หรือแล็บท็อปเท่านั้น ไม่ใช่เป็นโปรแกรมแบบ Web-based แบบ SEO Tool เจ้าอื่นในตลาด เช่น Ahrefs, Ubersuggest, SEMRush 

โดย Screaming Frog สามารถ Download ได้ที่เว็บไซต์ Screaming Frog สามารถใช้ได้ทั้ง Windows, Mac และ Linux

Download Screaming frog

ประโยชน์ของการใช้ Screaming Frog มีอะไรบ้าง

Screaming Frog มีประโยชน์อย่างมากสำหรับ SEO Specialist โดยเฉพาะด้าน Technical SEO ซึ่งบางครั้งการติดตามและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเทคนิค เป็นเรื่องที่ยาก ซับซ้อน มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และค่อนข้างกินเวลาการทำงาน แต่ Screaming Frog เป็นโปรแกรมที่จะช่วยเปลี่ยนเรื่องยากเหล่านั้น ให้กลายเป็นเรื่องง่าย เพราะมีความสามารถครอบคลุมทุกเรื่องเกี่ยวกับ SEO คือรวมถึงช่วยให้นักทำ SEO ทุกคนปรับปรุงและสร้างกลยุทธ์พัฒนาเว็บไซต์ไปในทางที่ถูกต้อง ตรงจุด และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Screaming Frog ใช้ทำอะไรได้บ้าง

Screaming Frog เป็นเครื่องมือ SEO ที่มีความสามารถน่าสนใจไม่แพ้กับเครื่องมือ SEO อื่น ๆ ในตลาดเลย แต่ความสามารถที่เป็นตัวชูโรงที่ทำให้ Screaming Frog มีความโดดเด่นกว่า SEO Tools เจ้าอื่น เช่น

  • Find Broken Links – ค้นหาลิงก์เสีย (Broken Links) ทั้งหมดภายในเว็บไซต์
  • Audit Redirects – ตรวจสอบและระบุว่า URLs ไหนบ้างที่ทำการ Redirect ชั่วคราวหรือถาวร รวมถึงดูว่าลิงก์ที่ทำการ Redirect เหล่านั้นเป็นอย่างไรบ้าง
  • Analyse Page Titles & Meta Data – ตรวจสอบ Title และ Meta Data ของเว็บไซต์แต่ละหน้าว่า สั้นไป ยาวไป หรือไม่มี หรือซ้ำกัน
  • Discover Duplicate Content – ตรวจสอบหาว่าบนเว็บไซต์มีคอนเทนต์, URL, Page Title, Description หรือ Heading Tag ไหนที่ซ้ำกันบ้าง
  • Extract Data with XPath – เก็บรวบรวม Data จาก HTML บนเว็บไซต์ด้วย CSS Path, XPath หรือ RegEx ได้
  • Review Robots & Directives – เช็กว่า Google Bot เข้ามาบล็อกลิงก์ของหน้าเว็บไซต์เราลิงก์ใดบ้างและเพราะอะไร
  • Generate XML Sitemaps – สร้างแผนผังไซต์ (Sitemap) และโครงสร้างของรูปภาพภายในเว็บได้
  • Integrate with GA, GSC & PSI – สามารถต่อ APIs เข้ากับ Google Analytics, Google Search Console หรือ PageSpeed Insights ได้ เพื่อให้เห็น Insight ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • Crawl JavaScript Websites – ตรวจสอบ JavaScript ของเว็บไซต์
  • Visualise Site Architecture – แสดงรูปแบบโครงสร้างเว็บไซต์
  • Schedule Audits – กำหนดเวลาเพื่อให้ Screaming Frog รวบรวมข้อมูลการทำ Site Audit และ Export ข้อมูลไปยัง Google Sheets โดยอัตโนมัติได้
  • Compare Crawls & Staging – ติดตามและเปรียบเทียบดู Progress ในการทำ SEO ว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง และดูช่องทางโอกาสในการทำอันดับ SEO บนเว็บไซต์

เทคนิควิธีการใช้งาน Screaming Frog ที่น่าสนใจ

ก่อนที่เราจะไปดูเทคนิคที่น่าสนใจของ Screaming Frog ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้ก่อน

  • ดาวน์โหลดและติดตั้ง Screaming Frog 
  • จากนั้นให้ใส่โดเมนเว็บไซต์ที่ต้องการวิเคราะห์ แล้วกด Start เมื่อโปรแกรม Crawl เสร็จแล้ว จะขึ้น Crawl 100% (ตรงแถบสีเขียวถัดจากปุ่ม Clear)
Screaming frog crawling

สำหรับเทคนิคแรกที่เราอยากแนะนำ คือ การตรวจสอบและค้นหา Broken Link และ Redirect Internal Link บนเว็บไซต์ เพราะหากเว็บไซต์มี Broken Link อยู่ นอกจากจะส่งผลไม่ดีต่ออันดับ SEO แล้ว ยังส่งผลต่อ User Experience ของผู้ใช้งานอีกด้วย ดังนั้นเพื่อให้การใช้งานบนเว็บไซต์ไม่สะดุด เราต้องกำจัดหรือทำการ Redirect ลิงก์เหล่านั้นให้หมดสิ้น

  • เมื่อทำการ Crawl เว็บไซต์เสร็จแล้ว ให้เลือกที่แท็บ Internal
internal-link
  • ในการตรวจสอบว่าลิงก์ไหนบ้างที่เป็น Broken Link หรือ Redirect Internal Link ให้ไปที่ Configuration > Spider
วิธีการใช้ screaming frog
  • จากนั้นรวบรวมข้อมูลบนเว็บไซต์ในโหมด Spider และทำการ Sort แท็บ Internal ตามรหัสสถานะ (Status Code) ถ้าหากลิงก์ไหนที่มีสถานะ 200 หมายถึงเว็บไซต์นั้นสามารถใช้งานได้ปกติ, ลิงก์ที่มีสถานะ 3XX แสดงว่า ลิงก์นั้นเป็นการ Redirect มา (ทั้งถาวรและชั่วคราว), ลิงก์ที่มีสถานะ 4XX คือ ลิงก์ที่เกิดจาก Client Error และลิงก์ที่มีสถานะ 5XX คือ ลิงก์ที่เกิดจาก Server Error
  • เสร็จแล้วคลิกที่ URL ต้องการดู เพื่อเข้าถึงแท็บ Internal ในหน้าต่างด้านล่าง ตอนนี้เราสามารถเลือก URL และตรวจสอบลิงก์ที่ลิงก์ไปยัง URL นั้นตลอดจน Anchor Text ในแท็บ Inlinks ในหน้าต่างด้านล่าง
วิธีการใช้ screaming frog
  • ขั้นตอนสุดท้าย เราสามารถ Export รายงานของ Internal Link ที่มีปัญหาทั้งหมดได้ โดยไปที่ Bulk Report > Response Codes สามารถเลือกได้ว่าอยากได้รายงานอะไร เช่น Success (2XX) Inlinks, Redirection (3XX) Inlinks, Client Error (4XX) Inlinks
วิธีการใช้ screaming frog
  • หรือหากต้องการ Export รายการทั้งหมดบน Inlinks และ Filter รหัสสถานะที่ไม่ใช่ 200 ในภายหลัง ให้เลือกที่ Bulk Export > All Inlinks
วิธีการใช้ screaming frog

เมื่อเรารู้แล้วว่าลิงก์ไหนบ้างที่มีปัญหา เราก็สามารถเข้าไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ให้ดีขึ้นอย่างตรงจุดได้แล้ว

เช็ก Image Alt Text & Attributes

Image Alt Text คือ ข้อความแสดงแทนรูปภาพที่อยู่ในโค้ด HTML ที่เอาไว้อธิบายรูปภาพเพื่อให้ Search Engine เข้าใจว่ารูปภาพนี้เกี่ยวกับอะไร และส่วนใหญ่จะใช้กับ Web Accessibility เพื่อช่วยให้คนตาบอดหรือผู้ที่พิการทางสายตาเข้าใจว่ารูปภาพนี้คืออะไร รวมถึงเวลาที่รูปภาพไม่สามารถแสดงบนเว็บไซต์ได้เนื่องจากปัญหาบางประการ Image Alt Text นี้ก็จะปรากฏขึ้นมาแทน

ส่วน Image Alt Attributes หรือที่เราชอบเรียกกันว่า Alt Tag (แต่จริง ๆ แล้วการเรียกแบบนี้ไม่ถูกต้องนะ) เอาไว้ระบุ Image Alt Text ที่สื่อความหมายแทนรูปภาพ และปรากฏในซอร์สโค้ดของ HTML ตามตัวอย่างด้านล่าง

<img src=”screamingfrog-logo.jpg” alt=”Screaming Frog” />

โดยส่วนมากแล้ว หลายคนที่ทำคอนเทนต์มักจะลืมการใส่ Image Alt Text ไป ดังนั้นเราสามารถใช้ Screaming Frog เพื่อตรวจสอบดูว่าเว็บไซต์ของเราบกพร่องในเรื่องนี้ไปหรือไม่ โดยทำตามขั้นตอนดังนี้

  • ใส่โดเมนเว็บไซต์ที่ต้องการ Crawl จากนั้นให้เลือกแท็บ Images
วิธีการใช้ screaming frog
  • จากนั้นให้เลือก Image Details เพื่อดูว่ามี Alt Text ไหนที่เราลืมใส่ไปหรือไม่ ในตัวอย่างด้านล่างนี้มี 4 เว็บเพจที่ใช้รูปจากแหล่งที่มาเดียวกัน แต่มีเพียงรูปเดียวที่ใส่ Alt Text 
วิธีการใช้ screaming frog

ถ้าอยาก Export รายงานเฉพาะ Alt Attribute & Text ที่หายไป ให้ไปที่ Bulk Export > Images > Images Missing Alt Attribute & Text

วิธีการใช้ screaming frog

แต่ถ้าอยาก Export ข้อมูลเกี่ยวกับรูปภาพทั้งหมดออกมาให้ไปที่ Bulk Export > Images > All Images 

วิธีการใช้ screaming frog

เรียกดู Page Titles และ Meta Descriptions 

Page Title และ Meta Description คือหนึ่งในองค์ประกอบที่ทรงพลังมากที่ช่วยให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO ได้ เพราะโดยส่วนมากทั้ง Page Title และ Meta Description มักจะมีคีย์เวิร์ดที่บ่งบอกและอธิบายว่าเว็บไซต์นี้มีความเกี่ยวข้องกับอะไร และเป็นตัวตัดสินว่าผู้ใช้งานกดเข้ามายังเว็บไซต์ของเราหรือไม่

สำหรับนักรับทำ SEO สามารถใช้ Screaming Frog เพื่อเรียกดู Page Title และ Meta Description ทั้งหมดบนเว็บไซต์ได้ โดยไปที่แท็บ Page Title หรือ Meta Description ซึ่งโปรแกรมก็จะแสดงรายละเอียดทั้งหมดออกมา เราสามารถเลือก Filter เพื่อดูชื่อที่หายไป ซ้ำ ยาวเกินไป หรือสั้นเกินไป และ Export ข้อมูลนี้ออกมาในรูปแบบ Spreadsheets ได้

วิธีการใช้ screaming frog

วิเคราะห์ Duplicate Content

แม้ว่าการที่เว็บไซต์มีคอนเทนต์ซ้ำกัน (Duplicate Content) หรือคอนเทนต์ที่เกือบจะเหมือนกันทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์ของเรา จะไม่ได้มีผลกระทบต่ออันดับ SEO โดยตรง แต่ Duplicate Content อาจทำให้ Search Engine เกิดความสับสนในการจัดอันดับได้ 

ตัวอย่างเช่น จริง ๆ คุณอยากให้คอนเทนต์ A ติดอันดับ แต่ดันมีเนื้อหาที่ใกล้เคียงกับคอนเทนต์ B มาก ๆ แล้วคอนเทนต์ B ก็มีเนื้อหาที่ตรงใจ Google มากกว่า Google เลยนำคอนเทนต์ B ไปจัดอันดับแทน ทำให้คุณอาจเสียโอกาสในการทำอันดับของคอนเทนต์ A ไป

ดังนั้น Screaming Frog เลยมีฟีเจอร์ที่ช่วยวิเคราะห์ว่าบนเว็บไซต์ของเรามี Duplicate Content มากน้อยเพียงใด โดยไปที่แท็บ Content จากนั้นเราสามารถ Export รายชื่อเหล่านั้นออกมาได้ เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข เช่น เพิ่มคีย์เวิร์ดใหม่ ๆ หรือปรับเนื้อหาใหม่ เพื่อนำเสนอเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกันให้แก่ผู้เข้าชมเว็บไซต์

วิธีการใช้ screaming frog

ตรวจสอบ Directives และ Canonicals

Canonical คือ โค้ด rel=“canonical” ที่ทำหน้าที่เป็นป้ายบอกให้ Search Engine อย่าง Google รู้ว่า URL ที่อยู่ภายใต้ Tag นี้คือหน้าเว็บเพจหลัก (Original Page) ของเว็บไซต์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิด Duplicate Content ขึ้น 

ในขณะที่ Directive คือ คำสั่งที่บอกให้ Google รู้ว่าสามารถนำเว็บเพจไหนไปจัดอันดับ (Index) ได้บ้าง โดยถ้าจะวางคำสั่งไว้บนสุดของ HTML เราจะใช้ Meta Robots Tag “noindex” ที่มีลักษณะดังนี้ <meta name=”robots” content=”noindex”/> ส่วนถ้าวางคำสั่งไว้บนสุดของ HTTP จะใช้ X-Robots-Tag ที่มีลักษณะดังนี้ X-Robots-Tag: noindex

วิธีการใช้ screaming frog

สำหรับ Screaming Frog สามารถตรวจสอบการทำ Canonicals ได้ที่แท็บ Canonicals และมี 6 Filters ที่ช่วยให้เราเข้าใจการใช้งาน Canonical มากขึ้น พร้อมทั้งระบุปัญหา Canonical ที่พบบ่อย โดยทั้ง 6 Filters มีดังนี้

  • Contains Canonical – เช็กดูว่าหน้าเว็บเพจมี ​​Canonical URL ตามที่กำหนดไว้หรือไม่ (ไม่ว่าอยู่ใน Link Element, HTTP Header หรือทั้งสองอย่าง) 
  • Self Referencing – ดูว่ามีการอ้างอิงถึงตัวเอง หรือมี URL เป็นอันเดียวกันกับ URL ที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะตามหลักการแล้ว เฉพาะ URL ที่ทำการกำหนด Canonical ไว้เท่านั้นที่จะลิงก์กับเว็บเพจภายใน และทุก URL จะมี Canonical ที่อ้างอิงตัวเอง เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงปัญหา Duplicate Content ที่อาจเกิดขึ้นได้
  • Canonicalized – หน้าเว็บเพจที่มี Canonical URL ที่กำหนดไว้ต่างจากตัวมันเอง URL จะถูกกำหนดไปยังตำแหน่งอื่นแทน ซึ่งหมายความว่า Google ก็จะถูกห้ามไม่ให้นำหน้าเว็บเพจนั้นไปจัดอันดับด้วย
  • Missing – Canonical URL หายไป หรือหน้าเว็บเพจนั้น ๆ ไม่ได้มีการกำหนด Canonical URL ที่ Link Element หรือ HTTP Header เมื่อเป็นแบบนี้ Google ก็จะทำการกำหนด Canonical URL ปลายทางที่ดีที่สุดให้เอง ซึ่งอาจนำไปสู่การจัดอันดับที่คาดเดาไม่ได้ เช่น Google นำเว็บเพจที่เราไม่ต้องการให้ติดอันดับ ไปติดอันดับแทน
  • Multiple – เช็กดูว่าหน้าเว็บเพจนั้น ๆ มีการกำหนด Canonical URL ไว้หลายอันหรือไม่ ไม่ว่าทั้งบน Link Element หรือ HTTP Header ก็ตาม โดยปกติแล้วควรมี Canonical URL อยู่ที่เดียว (บน Link Element หรือ HTTP Header)
  • Non-Indexable Canonical – หรือ Canonical URL ที่ไม่สามารถนำไปจัดอันดับได้ ซึ่งอาจจะรวมถึง Canonical ที่ถูกบล็อกโดย Robots.txt, Redirect (3XX), Client Error (4XX), Server Error (5XX) หรือ ‘noindex’ ซึ่ง Canonical URL ที่ดีและสามารถนำไปจัดอันดับได้ควรเป็นลิงก์ที่มีสถานะ 200 ดังนั้นหากเว็บเพจไหนที่มีสถานะอื่น ต้องทำการแก้ไข เพื่อที่จะนำไปจัดอันดับได้

Screaming Frog ราคาเท่าไหร่

Screaming Frog มี 2 แพ็กเกจ คือ 

  • แพ็กเกจฟรี – สามารถเข้าถึงความสามารถพื้นฐานได้ เช่น
    • Broken Links & Redirects
    • Page Titles & Meta Descriptions
    • Meta Robots & Directives
    • Hreflang Attributes
    • Exact Duplicate Pages
    • XML Sitemap Generation
    • Visualizations
    • Crawl เว็บไซต์ได้ 500 URLs
  • แพ็กเกจเสียเงิน ราคาเริ่มต้น 199 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (ประมาณ 7,300 บาท) และปลดล็อกความสามารถมากมาย เช่น สามารถ Crawl เว็บไซต์ได้ไม่จำกัด URL, เชื่อมต่อ API เข้ากับ Google Analytics, Google Search Console ได้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
screaming frog package

นักทำ SEO ควรใช้ Screaming Frog ไหม

Screaming Frog ถือว่าเป็นอีกหนึ่ง SEO Tool ที่น่าสนใจมาก ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ SEO เชิงเทคนิค เพราะมีฟีเจอร์ที่ครบครันในการตรวจเช็ก Performance และปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทำ SEO บนเว็บไซต์ รวมถึงสามารถทำ Report รายงานผลได้ครบจบบนเครื่องมือเดียวได้ และยังสามารถช่วยตรวจสอบ title tag คือ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO และการแสดงผลในหน้าค้นหาของ Google

สำหรับนักทำ SEO ท่านไหนที่อยากใช้ Screaming Frog อาจจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านเทคนิคในการทำเว็บไซต์ และมีประสบการณ์เข้าใจการทำ SEO มาในระดับหนึ่ง เนื่องจาก Screaming Frog เป็นโปรแกรมที่มีรายละเอียดค่อนข้างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเชิงเทคนิค หากไม่มีความรู้หรือเข้าใจทางด้าน SEO เลย ก็อาจเป็นอุปสรรคในการใช้งานได้ 

อย่างไรก็ตาม หากท่านไหนที่มีประสบการณ์ มีความเข้าใจในการทำ SEO มาในระดับหนึ่งแล้ว Screaming Frog จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มคุณภาพให้การทำ SEO บนเว็บไซต์ของคุณมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอย่างแน่นอน

ผู้เขียน

Picture of admin admin
admin admin
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

GEO คืออะไร

GEO คืออะไร อีกหนึ่งช่องทางการตลาดผ่าน AI ที่สาย SEO ไม่ควรพลาด

GEO คืออะไร มาทำความรู้จักกับ Generative Engine Optimization ผ่าน AI ที่จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าถึงและเสริมการทำ SEO ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

อ่านบทความ ➝
วิธีทำ Redirect 301สำหรับสาย SEO

Redirect 301 คืออะไร ดูวิธีทำ และวิธีการตรวจสอบ เพื่อป้องกันอันดับร่วง

Redirect 301 คือ วิธีรักษาอันดับเว็บไซต์ที่สาย SEO ต้องทำความเข้าใจ แต่จะทำได้ยังไง ดูวิธีทำและตัวอย่างเครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์เว็บไซต์จากการ Redirect 301

อ่านบทความ ➝

เรียนรู้วิธีการสร้าง Backlink ที่นักทำ SEO นิยมทำกันมากที่สุด

เรียนรู้วิธีการสร้าง Backlink ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องสุ่มเดา เลือกทำแบบไหนถึงเหมาะกับ Algorithm ในยุคปัจจุบัน บทความนี้มีคำตอบครับ !

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top