Home - SEO - วิธีเขียนบทความ SEO เขียนแบบไหนถึงติดอันดับแบบยั่งยืน

วิธีเขียนบทความ SEO เขียนแบบไหนถึงติดอันดับแบบยั่งยืน

วิธีการเขียนบทความ SEO

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า Search Engine อย่าง Google คือหนึ่งในเครื่องมือการทำ Digital Marketing ที่ช่วยทำให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้จำนวนมาก แต่การที่จะทำให้ใช้เครื่องมือนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่แค่การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยแล้วจะถูกจัดอยู่ในอันดับที่ดี แต่ยังต้องพึ่งพาการทำ SEO รวมถึงการทำ SEO Content ที่มีคุณภาพรวมไปถึง Semantic SEO จึงจะทำให้ติดอันดับบนหน้า Google ได้

ในบทความนี้ผมเลยจะมาบอกเล่าถึงอีกส่วนสำคัญอย่างวิธีเขียนบทความ SEO (Copywriting) โดยผมจะมาบอกทั้งหลักการเขียน SEO และมีตัวอย่างของการทำบทความ SEO ที่ดีให้ดูด้วย เผื่อจะนำไปประยุกต์ใช้กับการเขียนบทความ SEO ของคุณได้ไม่มากก็น้อย 

ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูวิธีเขียนบทความ SEO พร้อมๆ กันได้เลยครับ!

บทความ SEO คืออะไร

บทความ SEO คือ

ที่มาภาพ: usetopic

SEO Content หรือ บทความ SEO คือ กระบวนการวางแผน สร้าง และปรับปรุงเนื้อหาหรือบทความบนเว็บไซต์ให้เหมาะสม โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อการทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยจะต้องทำเนื้อหาให้สอดคล้องกับสิ่งที่ Search Engine มองว่ามีคุณภาพทั้งด้านเนื้อหาและการทำ On-Page SEO หากทำได้ดีก็จะถูกจัดอันดับบน Search Engine ในตำแหน่งสูงๆ แน่นอนว่า ย่อมส่งผลต่อ Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ที่จะสูงขึ้นตามไปด้วย

บทความ SEO กับ บทความธรรมดาแตกต่างกันอย่างไร

การเขียนบทความธรรมดา คือ การเขียนเพื่อตอบโจทย์บางอย่าง เช่น การให้ข้อมูล การสร้างแรงบันดาลใจ การตอบสนองความสนใจ หรือเขียนเพื่อทำให้คนรู้จักแบรนด์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทำ Brand Communication ที่เรามักเห็นอยู่บ่อยๆ ทั้งในเว็บไซต์ สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ โดยอ้างอิงหัวข้อจากสิ่งที่แบรนด์ต้องการจะสื่อสารกับผู้อ่านเป็นหลัก 

ส่วนการเขียน SEO จะเป็นส่วนผสมของศาสตร์อย่างการทำ SEO เข้ากับศิลป์อย่างการทำ Content Marketing เพื่อทำให้บทความมีโอกาสถูกค้นหาเจอบน Search Engine Results Page (SERP) หรือก็คือบนหน้าของ Google ได้มากขึ้น (แน่นอนว่าถ้าทำติดอันดับก็จะได้มาทั้ง Traffic ไปจนถึงสร้าง Conversion ได้เลยทีเดียว) โดยวิธีเขียนบทความ SEO ไม่ใช่แค่การเขียนเพื่อตอบโจทย์ของผู้อ่านเท่านั้น แต่ยังต้องเขียนเพื่อให้ตอบโจทย์ Bot ที่จะเข้ามาตรวจสอบหน้าบทความและนำไปจัดอันดับด้วยเทคนิค On-Page SEO ด้วย

บทความธรรมดา และ บทความ seo

ที่มาภาพ: siegemedia

SEO เกี่ยวข้องอย่างไรกับนักเขียน

ไม่ว่าคุณจะเป็นนักเขียนบล็อกที่ทำเป็นงานอดิเรก เผยแพร่ผลงานลงบนเว็บไซต์ของตัวคุณเอง หรือเป็นนักเขียนอาชีพอย่าง Content Writer ความรู้ในด้าน SEO จะช่วยส่งเสริมให้การเขียนบทความ และ Meta Tag ของคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่เป็นเป้าหมายได้มากขึ้นจากการถูกจัดอันดับบน Search Engine เพราะแค่เขียนเก่งเขียนดีอย่างเดียว แต่กลับไม่สามารถส่งสารที่เขียนออกไปยังผู้อ่านได้ก็คงจะเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย 

โดยเฉพาะในฝั่งของนักเขียนมืออาชีพที่ต้องทำการเขียนเพื่อโปรโมตแบรนด์หรือขายสินค้า หากคุณเชี่ยวชาญทักษะในด้านการทำ SEO ด้วยก็เหมือนเป็นการเพิ่มสกิลที่ในหลายๆ บริษัทต้องการ เพราะทุกธุรกิจล้วนอยากที่จะได้ Traffic เข้าเว็บไซต์ของตัวเองทั้งนั้น 
ดังนั้น หากคุณคือนักเขียนคนหนึ่งที่อยากจะพาบทความของคุณพุ่งทะยานสู่อันดับ 1 บนหน้า Google แนะนำให้ลองอ่านวิธีการทำ SEO จากบทความ SEO คืออะไร ? รวมทุกอย่างที่คุณต้องรู้ของการทำ SEO

ก่อนเขียนบทความ SEO ควรรู้อะไรบ้าง

  1. ทำความเข้าใจ Google Algorithm

การเขียน SEO คือ การทำงานที่ต้องเอาใจ Google คุณต้องรู้ก่อนว่า Google ชอบอะไรและไม่ชอบอะไร โดยการทำความเข้าใจระบบที่ Google ใช้ในการตรวจสอบสิ่งต่างๆ เพื่อการจัดอันดับเนื้อหา นั่นคือ Google Algorithm (สามารถอ่านบทความเพื่อทำความเข้าใจ Google Algorithm ได้ที่ Google Algorithm คืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร แนะนำให้อ่านบทความนี้)

  • ทำความเข้าใจเรื่องการทำ Keyword Research 

หัวใจของการทำ SEO คือ การทำ Keyword Research ที่มีประสิทธิภาพ และนักเขียนเองก็ควรที่จะทำความเข้าใจที่มาของการคิดและวางแผนการทำ Keyword Research เพื่อที่จะได้รู้ว่า ใครเป็นคนที่ค้นหาคำนี้ พวกเขากำลังมองหาอะไร ไปจนถึงเรื่องของปริมาณของการค้นหาในแต่ละเดือนว่าเยอะแค่ไหน ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยทำให้มองเห็นภาพรวมของเนื้อหาด้วยว่าควรจะเขียนอะไร ไปในทิศทางไหน จึงจะมีประโยชน์ต่อคนอ่านมากที่สุด (อ่านวิธีการทำ Keyword Research ได้ที่ Keyword Research คืออะไร สอนวิธีหาคีย์เวิร์ด วิเคราะห์เชิงลึก สำหรับผู้เริ่มต้นทำ SEO)

  • ทำความเข้าใจเรื่องการทำ SEO On-Page

On Page SEO คือ การปรับแต่งเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์และเนื้อหาต่างๆ ให้ดีสำหรับผู้ใช้งานและ Bot ของ Search Engine ซึ่งเรื่องนี้จะเกี่ยวโยงกับการเขียนบทความ SEO อีกด้วย (อ่านวิธีการทำ On-Page SEO อย่างละเอียดได้ที่ On-Page SEO คืออะไร มีวิธีทำยังไงให้ติดอันดับ อัปเดตล่าสุด)

  • ทำความเข้าใจเรื่องประเภทของบทความ

เพราะไม่ใช่ว่าบทความทุกประเภทจะเหมาะสำหรับการทำ SEO ดังนั้น มาดูกันดีกว่าว่า บทความแบบไหนถึงจะเหมาะสำหรับการทำ SEO โดยแบ่งให้เห็นอย่างชัดเจนจากบทความ 2 ประเภทนี้

  • Tropical Content

เป็นการทำบทความกระแส เน้นความมาไวไปไว เช่น ข่าว กระแสเทรนด์ที่นิยม บทความรายงานเกี่ยวกับงานเทศกาลต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตง่าย เขียนได้เร็ว ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคด้านการทำ SEO เพราะเน้นเขียนให้ทันกระแส ทำให้คอนเทนต์นั้นๆ จะมีคุณค่ามากๆ ในช่วงเวลาหนึ่ง เนื่องจากมักได้รับ Engagement จากคนอ่านค่อนข้างดี แต่ในระยะยาวคอนเทนต์นี้ก็จะหายไปตามกาลเวลา ไม่ได้ยั่งยืน 

  • Evergreen Content

เป็นการทำบทความที่เน้นความยั่งยืน เนื้อหาจะคงอยู่แบบนั้นตลอดไป ไม่ได้ล้าสมัยหรือหายไปตามกาลเวลา เช่น บทความที่ให้คำนิยามต่างๆ ( …คืออะไร, …หมายถึงอะไร), บทความบอกวิธีการทำ อย่างเช่น บทความนี้ที่บอกถึงวิธีเขียนบทความ SEO เป็นต้น ซึ่งการทำบทความประเภทนี้จะเอื้อต่อการทำ SEO เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องปรับปรุงมาก สามารถทำเนื้อหาให้ตรงกับสิ่งที่คนค้นหาได้ แต่ก็จะมีความยากด้านเนื้อหาเพราะต้องลงลึกถึงรายละเอียด และต้องครอบคลุมหัวข้อที่เขียนในระดับหนึ่ง จึงจะกลายเป็น Evergreen Content ที่สมบูรณ์

ตัวอย่าง บทความ SEO ที่ดี

ตัวอย่าง บทความ SEO ที่ดีที่ผมนำมาฝากในวันนี้จะเป็นตัวอย่างจากเว็บไซต์ 3 ประเภท ได้แก่

  • Service company 
  • Ecommerce store 
  • Blogger

ตัวอย่างบทความ SEO ที่ดี จาก Service company 

เป็นตัวอย่างบทความของเว็บไซต์ FreemanHarris ซึ่งเป็นบริษัททนายความที่ไม่ใช่บริษัทใหญ่แต่สามารถทำอันดับในคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับบริษัทได้ในหลายคีย์เวิร์ด เช่น london personal injury lawyer. เป็นต้น

ตัวอย่างบทความ seo ที่ดี

โดยเว็บไซต์นี้โดดเด่นทั้งในด้านโครงสร้างของเว็บไซต์ที่ใช้ Layout ในหน้าบทความเพื่อการสื่อสารถึงแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และใช้งานง่าย รวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ของบทความยังตอบโจทย์ผู้ใช้งานเป็นหลักด้วยการทำเนื้อหาที่เน้นการตอบคำถามจากคำคีย์เวิร์ดที่คนมักค้นหาเกี่ยวกับบริษัททนาย มีการทำส่วนของ คำถามที่พบบ่อย ตารางราคา และฟอร์มสำหรับติดต่อไว้ในทุกหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีส่วนทำให้ติดอันดับบนหน้า Google ได้ และยังช่วยให้คนอยู่ในหน้าเว็บไซต์ได้นานขึ้นอีกด้วย


นอกจากนี้ยังเป็นเว็บไซต์ที่คำนึงถึงกฎ E-A-T Factor ที่ทาง Google กำหนดไว้ ใน Landing Page ทุกหน้า จึงมีเนื้อหาที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งเขียนโดยทนายความที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีการแสดงผลของคำวิจารณ์ต่างๆ ของบริษัททำให้มีทั้ง Expertise (ความเชี่ยวชาญ), Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) ตามที่ Google ต้องการ

ตัวอย่างบทความ SEO ที่ดี จาก Ecommerce store

Solostove.com เป็นเว็บไซต์ด้าน E-Commerce ขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ปิ้งย่างที่ออกแบบเว็บไซต์มาให้สวยงามแถมยังคอนเทนต์ที่เป็นมิตรกับ SEO อีกด้วย ซึ่งการทำ SEO สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ตัวบทความจะเน้นไปที่การทำหน้า Service ให้ติดอันดับโดยการใส่คำ Keyword ลงไปในหน้านำเสนอสินค้าเป็นหลัก โดยในหน้าเหล่านั้นก็จะต้องให้ข้อมูลที่ละเอียดและครบถ้วนมากพอที่จะทำให้ถูกนำมาจัดอันดับด้วย เช่น ส่วนของเนื้อหาแนะนำสินค้า คำถามที่พบบ่อย มีรีวิวผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

บทความ seo ecommerce

ตัวอย่างบทความ SEO ที่ดี จาก Blogger

บทความ seo จาก blogger

Emmacruises.com เป็นบล็อกส่วนตัวที่เล่าเรื่องการล่องเรือโดย Emma Le Teace ซึ่งทำเนื้อหาได้ออกมาตรงกับหลักการเขียน SEO รวมถึงทำได้ดีในเกณฑ์ E-A-T Factor ทั้งในด้านเนื้อหาที่ทำการค้นคว้า เจาะลึกมาอย่างดี และมีความเป็นต้นฉบับสูง ทำให้ได้รับความน่าเชื่อถือจากเว็บไซต​์อื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน ส่งผลให้ได้ Backlink จำนวนมากกลับมายังเว็บไซต์ เพราะเนื้อหาที่เขียนมีคุณภาพ จึงทำให้ติดอันดับในคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์นี้มากมาย

หลักการเขียนบทความ SEO

1.ต้องมีการใส่ Keyword ที่เหมาะสมในทุกบทความ

Keyword หมายถึง คำหรือวลีที่คนใช้ในการค้นหาบางอย่างที่ต้องการจาก Search Engine การใส่ Keyword ลงไปในบทความจึงเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ Google รู้ว่าบทความนี้กำลังสื่อถึงอะไร ต้องการทำอันดับใน Keyword ไหน หากทำได้ตรงตามเกณฑ์ที่ Google มองว่ามีคุณภาพก็จะทำให้ขึ้นอันดับได้ง่าย 

โดยการเลือก Keyword มาใช้จะมี 3 ปัจจัยด้วยกันที่ต้องนำมาพิจารณาร่วมกัน ดังนี้

  • Search Volume ของ Keyword หมายถึง ปริมาณการค้นหาคำนั้นๆ ในแต่ละเดือน โดยเลือก Keyword ที่มีปริมาณเหมาะสม สามารถทำการแข่งขันได้ โดยอาจจะเลือกใช้เป็น Long Tail Keyword และ LSI Keyword ที่มีปริมาณการค้นหาและระดับการแข่งขันค่อนข้างต่ำกว่า Keyword หลักที่มีขนาดสั้น
  • เป็นคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เกี่ยวกับสินค้า หรือเว็บไซต์ เช่น คุณทำธุรกิจขายรองเท้า คำคีย์เวิร์ดที่ใช้ก็ควรจะเกี่ยวกับรองเท้า อย่าง รองเท้าวิ่งผู้ชาย รองเท้าวิ่งผู้ชายยี่ห้อ… รองเท้าผู้ชายรุ่น… หรือ ปัญหาของลูกค้า ผลลัพธ์จากการใช้สินค้า ฯลฯ

มีคนใช้งานจริง เพราะคำบางคำที่นักเขียนเลือกเขียนแบบถูกต้องอาจจะไม่ได้มีคนใช้งาน เพราะคนส่วนใหญ่อาจจะพิมพ์คำนั้นผิด และทำให้คำที่พิมพ์ผิดที่ปริมาณคนค้นหามากกว่า

หลักการเขียนบทความ seo

ที่มาภาพ: backlinko.com

เมื่อเลือก Keyword ที่จะนำมาใช้ได้แล้ว ก็ต้องใส่ Keyword ลงในตำแหน่งต่างๆ ที่สำคัญๆ ได้แก่

  • Title และ Description
  • URL
  • ใน 100 คำแรกของบทความ
  • ใส่ในหัวข้อ H1, H2, H3, H4, ….

โดยจะต้องวางคำคีย์เวิร์ดให้กระจายทั่วทั้งบทความในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมนั้นจะดูได้จาก Keyword Density หรือการกระจายคำคีย์เวิร์ดที่คิดออกมาเป็น % ต่อจำนวนคำที่เขียนทั้งหมดของบทความนั่นเอง

2.ต้องมีการใส่ Keyword ที่เหมาะสมในทุกบทความ

title seo

ที่มาภาพ: blog.pagezii.com

Title Tag คืออะไร (ชื่อบทความ) และ Description (คำบรรยายบทความ) เป็นสิ่งแรกที่ผู้คนจะสังเกตเห็นได้เมื่อมีการแสดงผลลัพธ์ของการค้นหา จึงต้องเขียนให้น่าดึงดูดใจ น่าคลิกเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ (ลองดูวิธีการเขียน Description เป็นตัวอย่างได้เลยที่ Meta Description คืออะไร ช่วยเรื่องอะไรสำหรับการทำ SEO)

และต้องไม่ลืมที่จะใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องลงไป รวมถึงควรที่จะเขียนในความยาวที่พอดี โดย Title จะต้องมีความยาวไม่เกิน 50-60 ตัวอักษร ส่วน Description ควรมีความยาวไม่เกิน 150 – 154 ตัวอักษร เพราะข้อความอาจแสดงไม่ครบกรณีที่เขียนยาวมากกว่านั้น

snippet seo

หากต้องการตรวจสอบว่าความยาวของ Title (ชื่อบทความ) และ Description (คำบรรยายบทความ) มีความยาวที่เหมาะสมหรือไม่สามารถใช้เว็บไซต์ highervisibility ในการตรวจสอบได้เลย (นอกจากนี้ ใช้ใส่ URL ที่คุณคิดมาแล้วเพื่อตรวจสอบความยาวและหน้าตาที่จะแสดงผลได้ด้วยนะครับ)

3.เขียน URL ที่เข้าใจง่ายและมีคีย์เวิร์ด

url seo

หากคุณเขียนบทความภาษาไทย ใช้คีย์เวิร์ดเป็นภาษาไทย คุณอาจจะต้องเลือกว่า ต้องการให้ URL มี Keyword และใช้ภาษาไทย หรือยอมไม่ใส่ Keyword และใช้เป็นภาษาอังกฤษ แต่ข้อเสียของการใส่ Keyword ลงไปใน URL เป็นภาษาไทยคือ เวลากดแชร์ตัว URL จะมีลักษณะยาว ทำให้ดูเหมือนลิงก์สแปมที่ทำให้คนรู้สึกไม่อยากกดได้

ตัวอย่างเช่น https://www.abc.com/th/blog/%e0%b8%82%e0%b

4.กระจายคำคีย์เวิร์ดทั้งบทความ

กระจาย keyword เพื่อ seo

ที่มาภาพ: blog.pagezii.com

คุณสามารถกด Ctrl + f. เมื่อต้องการค้นหาข้อความในแพลตฟอร์มนั้น เพื่อตรวจสอบดูว่าคุณใส่ Keyword อะไรลงไปในจุดไหนบ้าง ดูว่ากระจายทั่วทั้งบทความหรือไม่ มีอยู่ครบทุกตำแหน่งที่ต้องการหรือเปล่า

seo analysis จาก yoast

ที่มาภาพ: yoast

รวมถึงตรวจสอบ Keyword Density, ความยาวของ Title และ Description ไปจนถึงเกณฑ์อื่นๆ ที่เป็นการทำ On-Page SEO จากเครื่องมือยอดนิยมอย่างการใช้เพื่อทำ SEO ใน WordPress อย่าง Yoast SEO (ลองดูวิธีการใช้งาน และฟีเจอร์ต่างๆ ที่สามารถใช้เพื่อตรวจสอบบทความ SEO ได้เลยครับที่ Yoast SEO คืออะไร ทำความรู้จักตัวช่วยในการทำ SEO แบบละเอียด)

5.ให้ความสำคัญกับการเขียน Heading Tag หรือ หัวข้อต่างๆ

Heading Tag คือ HTML Tag จะเป็นการกำหนดหัวข้อต่างๆ ของหน้าเพจว่าอะไรคือหัวข้อหลัก อะไรคือหัวข้อรองในหน้าเพจนั้น จะมีตั้งแต่ H1 ไปจนถึง H6 และเรียงลำดับความสำคัญเริ่มต้นจาก H1 ลงไป

วาง heading tag สำหรับ seo

ที่มาภาพ: semji.com

ดังนั้นเวลาใช้งาน Heading Tag ควรที่จะเรียงหัวข้อตามลำดับความสำคัญ รู้ว่าอะไรคือหัวข้อใหญ่และหัวข้อย่อย ไม่ควรใช้ข้ามไปมา เช่น เมื่อ H1 คือหัวข้อหลัก หัวข้อรองควรใช้เป็น Tag H2 ไม่ควรใช้ข้ามเป็น H3 หรือ H4 เพราะจะทำให้การวางโครงสร้างหน้าเพจเสีย ทำให้เสียโอกาสในการทำอันดับด้วย

นอกจากนี้ อย่าลืมที่จะใส่คีย์เวิร์ดลงไปในแต่ละหัวข้ออย่างเป็นธรรมชาติ (ไม่จำเป็นต้องแทรก Keyword เข้าไปในทุกหัวข้อที่ใส่ Heading Tag) ไม่อย่างนั้นอาจถูกมองว่าหน้านั้นทำการสแปมคีย์เวิร์ดได้

6.ใส่ชื่อภาพ และ Alt Text ของภาพ

ใส่ alt ในบทความ

ที่มาภาพ: ahrefs

การใส่ภาพประกอบเป็นอีกส่วนที่ช่วยในเรื่องของการทำ SEO ดังนั้น จึงควรตั้งชื่อให้มีคีย์เวิร์ด และเมื่ออัปโหลดเข้าไปแล้ว ให้ทำการใส่ Alt Text ของภาพ ซึ่งเป็นเหมือนคำอธิบายภาพที่สามารถทำการแทรก Keyword เข้าไปในรูปภาพเพื่อให้ติด Search บน Google Image ได้เลย

ใส่ alt ในบทความ 2

ยกตัวอย่างเช่นการแก้ Alt Text คืออะไรใน WordPress ซึ่งแก้ได้ง่ายๆ หลังจากทำการอัปโหลดรูปขึ้นไปได้ทันที

7.เน้นการเขียนเนื้อหาคุณภาพตามที่ Google ต้องการ

การเขียนบทความ SEO จะต้องมีความสดใหม่ คือ ไม่ทำการคัดลอกเนื้อหาของคนอื่น เขียนโดยความเข้าใจและความเชี่ยวชาญของผู้เขียนเอง ในความยาวที่เหมาะสม (ประมาณ 500 คำขึ้นไป) รวมถึงจะต้องลงเนื้อหาบทความอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการบอก Google ว่าคุณยังอัปเดตอยู่ มีการแชร์ลงบนช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเพิ่ม Engagement ให้กับบทความ อีกทั้ง ถ้าบทความของคุณได้รับการแชร์เยอะๆ ก็จะมีผลต่อ SEO สูงมากด้วยเช่นกัน และหากต้องการบริการรับทำ SEO สามารถอ่านต่อได้ที่นี่

สรุป

และนี่คือเรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการเขียนบทความ SEO จะเห็นว่า วิธีเขียนบทความ SEO นั้นไม่ได้ยากอย่างที่คิด เพียงแต่ต้องศึกษาหลักการทำ SEO เพิ่มเติม เพื่อที่จะส่งบทความที่คุณเขียนขึ้นหน้าหนึ่งของ Google 


แต่ก็ไม่ใช่ว่าใช้แค่เทคนิคการทำ SEO อย่างเดียวจะเพียงพอ ยังต้องอาศัยคุณภาพของการทำเนื้อหาที่ต้องสามารถตอบสนองต่อเจตนาของผู้ใช้งานหรือ Search Intent ได้ รวมถึงยังมีเทคนิคอื่นๆ อย่างการทำ Off-Page SEO รวมถึงการปรับปรุงเว็บไซต์ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ Google กำหนดด้วย (อ่านเกณฑ์ของ Google ได้ที่ Google Ranking Factor 2022 อัปเดตกฎ 200+ ข้อจาก Google) ซึ่งนั่นอาจจะไม่ใช่หน้าที่ของนักเขียนทั้งหมด แต่ถ้าหากคุณรู้ไว้ก็จะกลายเป็นแต้มต่อให้กับสายอาชีพในวงการ Digital ต่อไปได้ในอนาคต

อ้างอิง

https://www.similarweb.com/corp/blog/marketing/seo/how-to-optimize-your-content-for-seo/

https://backlinko.com/hub/seo/seo-writing

https://www.siegemedia.com/seo/content-strategy

https://rockcontent.com/blog/seo-writing/

ผู้เขียน

Picture of tan
tan
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Digital Agency คือ

Digital Agency คือเบื้องหลังสู่ความสำเร็จขององค์กรคุณ

Digital Agency คือทางลัดสู่ความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ ให้บริการทำการตลาดออนไลน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ วางแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร

อ่านบทความ ➝
Martech เครื่องมือที่จะช่วยให้ Marketing ง่ายขึ้นและปังขึ้น

Marketing Funnel คืออะไร ? กลยุทธ์ทำการตลาดที่มีประสิทธิภาพและเป็นขั้นเป็นตอน

Marketing Funnel ช่วยให้ “ปิดดีล” ลูกค้าได้ง่ายขึ้น เพราะว่าคุณได้ทำการ Segment และส่ง Message หา User ได้ตรงตามความต้องการเขา ณ ตอนนั้นที่สุด

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top