Broken Link หรือลิงก์เสียสำหรับคนทำเว็บไซต์
ที่มาภาพ: www.greengeeks.com
ใครที่ทำเว็บไซต์น่าจะเคยได้ยิน Buzzword คำนี้มาไม่มากก็น้อย นั่นคือ คำว่า โบเคนลิงค์ หรือ Broken Link แต่ถ้าแปลกันให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงจะหมายถึงลิงก์เสียบนเว็บไซต์นั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากนะครับที่จะต้องจัดการ เพราะการมีลิงก์เสียที่เข้าใช้งานไม่ได้เป็นจำนวนมากบนเว็บไซต์คงจะไม่ส่งผลดีต่ออะไรเลย (ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งของการทำ SEO หรือการใช้งานของ User ก็ตาม)
บทความนี้ NerdOptimize ของเราเลยจะมาเจาะลึกถึงเรื่องลิงก์เสียเหล่านี้กันสักหน่อย เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า Broken Link คืออะไร ส่งผลเสียต่อการทำ SEO audit แค่ไหน ไปจนถึงจะตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ยังไงก็ตามไปดูคำตอบพร้อมๆ กันในบทความนี้เลยดีกว่าครับ
Broken Link คืออะไร ?
ที่มาภาพ: www.seobility.net
สำหรับนิยามของคำว่าลิงก์เสีย หรือ Broken Link คือ ไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ เช่น คลิกแล้วไม่ไปไหน คลิกแล้วเจอกับหน้าว่างเปล่า คลิกแล้วเจอหน้าแสดงข้อผิดพลาดอย่าง 404 Notfound ฯลฯ (หลายคนก็เรียกว่า Dead Link หรือลิงก์ตาย) ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงหน้าปลายทางได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น หน้าเว็บไซต์นั้นอาจจะถูกลบทิ้ง, เกิดจากการปิดกั้นบางรูปแบบ, ชื่อโดเมนถูกระงับ เป็นต้น ซึ่งการปล่อยให้มี Broken Link อยู่บนเว็บไซต์จำนวนมากจะทำให้เสีย User Experience ที่ดี ดูแล้วไม่เป็นมืออาชีพ ทำให้เว็บไซต์ดูไม่น่าเชื่อถือ แน่นอนว่า ส่งผลต่อการทำอันดับบน SEO คือ อย่างแน่นอน
ตัวอย่างของ Broken Link ที่พบบ่อย เช่น
- 404 Page Not Found: หน้าที่แจ้งเตือนว่าไม่พบข้อมูลอยู่ใน Server ของเว็บไซต์นี้ หรือไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์นี้
- 400 Bad Request: การแสดงผลผิดพลาดแบบหนึ่งในกลุ่ม 4xx family
- Bad host: เซิร์ฟเวอร์ที่มีชื่อนั้นไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
- Bad URL: URL ผิดรูปแบบ เช่น ไม่มีวงเล็บเหลี่ยม เครื่องหมายทับเกิน โปรโตคอลผิด เป็นต้น
ข้อเสียของ Broken Link สำหรับมุม SEO
สิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ Broken Link จะส่งผลกระทบต่อการทำ technical SEO ก็คือ ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ เพราะถ้าหากมีคนคลิกลิงก์และได้รับการแสดงผลที่ผิดพลาด แน่นอนว่า การกลับเข้ามาใช้งานเว็บไซต์เดิมคงจะเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้ Organic Traffic ที่ควรจะได้ลดลง และยังทำให้เว็บไซต์คู่แข่งได้ Traffic เหล่านี้ไปแทน
นอกจากนี้ Broken Link ยังส่งผลต่อการจัดอันดับของ SEO อีกด้วย เนื่องจาก Internal Link หรือ External Link ที่ทำในเว็บไซต์นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ Googlebot สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีบนเว็บไซต์ รวมถึงทำให้ Bot เข้าใจบริบทของเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น (ลองดูความสำคัญของการทำ Link Building เหล่านี้ได้ที่ Link Building คืออะไร แตกต่างกับการทำ Backlink แบบปกติอย่างไร ?)
การที่ลิงก์ทั้งหมดกลายเป็นลิงก์เสียเข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ได้ยาก ทำให้ใช้เวลาเก็บข้อมูลนาน อีกทั้งยังส่งผลให้อันดับตกลงจากการที่เว็บไซต์ปฏิบัติตามกฎของ Google ได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ลองดูกฎเกณฑ์ที่ Google กำหนดไว้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ที่เราได้รวบรวมเอาไว้ที่นี่เลยครับ
- E-A-T Factor คืออะไร และ E-E-A-T Factor คืออะไร เรียนรู้เกณฑ์ใหม่จาก Google ในบทความเดียว!
- Core Web Vitals คืออะไร เจาะลึกปัจจัยไต่อันดับในการทำ SEO 2023
วิธีเช็ค Broken Link
วิธีการตรวจสอบลิงก์เสียหรือ Broken Link ที่ง่ายและฟรีคือ การใช้ Google Search Console ซึ่งจะช่วยตรวจสอบว่ามีลิงก์เสียในเว็บไซต์ในจุดไหนบ้าง โดยเครื่องมือนี้จะอยู่ที่ Google Search Console > Crawl > Crawl Errors
ที่มาภาพ: www.seoptimer.com
หากไม่มีข้อผิดพลาดด้าน Broken Link ก็จะไม่ได้มีรายงานเข้ามา
ที่มาภาพ: www.seoptimer.com
แต่ถ้ามีรายงานก็จะมีการระบุว่า URL ไหนเป็นลิงก์เสีย รวมถึงระบุด้วยว่าเสียด้วยเหตุผลอะไร
ที่มาภาพ:kinsta.com
และเมื่อคุณคลิกเข้าไปที่ลิงก์ใดลิงก์หนึ่งก็จะเห็นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม หลังจากนั้นก็ต้องทำการแก้ไขโดยวิธีการแก้ไขและเครื่องมือที่แนะนำนั้นจะมีระบุให้ในหัวข้อต่อๆ ไปเลยครับ
วิธีแก้ไข Broken Link
การแก้ไข Broken Link จะขึ้นอยู่กับว่าลิงก์เสียที่มีนั้นมีที่มาจากแหล่งใด เช่น
- หากเป็น Broken Link ที่เป็น Backlinks คือ จากเว็บไซต์ภายนอกให้ทำการติดต่อเจ้าของเว็บไซต์และขอให้พวกเขาอัปเดต URL ด้วย URL ใหม่ที่ชี้ไปยังหน้าเว็บที่ถูกต้อง
- หากปัญหาเป็นปัญหาภายใน อย่างการทำ Internal Link หรือ External link ให้ทำการแก้ไขตามข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น แก้ปัญหาหน้า 404 ด้วยการทำ 301 redirect เป็นต้น
แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link
สำหรับเครื่องมือที่สามารถใช้ในการแก้ไข Broken Link มีอยู่มากมายหลายเครื่องมือ และนี่คือเครื่องมือที่เราขอแนะนำให้ลองใช้งานกัน
- Broken link checker
หากคุณมีเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress สามารถใช้ Plugin เพื่อตรวจสอบลิงก์เสีย โดยปลั๊กอินยอดนิยมคือ Broken link checker ที่คุณสามารถทำการติดตั้งได้เลยผ่าน Plugins > Add New > ค้นหาคำว่า Broken link checker > กด Install now > เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้กด Activate เพื่อใช้งาน
ที่มาภาพ: kinsta.com
หลังจากที่ติดตั้งแล้วให้เข้าไปที่ Tools > Broken link ระบบจะทำการรายงานลิงก์ที่เสียหาย เช่น ถ้ามีโลโก้เครื่องหมายตกใจสีแดงจะหมายถึง 404 Not found, หากเป็นโลโก้สามเหลี่ยมสีเหลืองหมายถึง Server Not found
ที่มาภาพ: kinsta.com
หลังจากนั้นให้กด Edit URL เพื่อแก้ไขลิงก์ หลังจากนั้นทำการกดอัปเดตให้เรียบร้อย
- Ahrefs Broken Link Checker
Ahrefs Broken Link Checker เครื่องมือสำหรับตรวจสอบลิงก์เสียบนเว็บไซต์ของ Ahrefs ที่สามารถเข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถเช็กได้มากสูงสุดถึง 100 ลิงก์แถมมี Anchor บอกด้วยว่าลิงก์มาจากคำไหน และลิงก์ไปที่หน้าเว็บไซต์ไหน
หน้าจอผลการเสิร์ช Ahrefs Backlink Checker
สรุป
จะเห็นว่า โบเคนลิงค์ หรือ Broken Link คือ ลิงก์เสียที่ไม่สามารถเชื่อมโยงสู่หน้าเว็บไซต์ปลายทางได้ ทำให้เว็บไซต์สูญเสียทั้งผู้ใช้งานเว็บไซต์ ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงสูญเสียอันดับ SEO ที่ควรจะได้ ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้มี Broken Link ในเว็บไซต์ ควรที่จะทำการรีบแก้ไขโดยการตรวจสอบ Broken Link โดยใช้ Google Search Console หลังจากนั้นให้ทำการแก้ไขโดยการใช้ Plug-in ต่างๆ เรารับทำ SEO และ รับทำ backlink เพียงเท่านี้ก็ช่วยแก้ไขลิงก์เสียที่มีอยู่ได้แล้วอย่างแน่นอน
อ้างอิง
https://www.seoptimer.com/blog/broken-links/
https://www.semrush.com/blog/broken-link/
https://betterstudio.com/wordpress-plugins/best-wordpress-broken-link-checker-plugins/