Home - SEO - 404 Not Found คืออะไร แก้ยังไง ดูวิธีการเช็กหน้า Error และความหมาย

404 Not Found คืออะไร แก้ยังไง ดูวิธีการเช็กหน้า Error และความหมาย

404 Not Found

คุณเคยเข้าเว็บไซต์บางเว็บไซต์ แล้วพบกับหน้าแบบนี้หรือเปล่าครับ หลายคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะ! อินเทอร์เน็ตของเราเป็นอะไร หรือเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่มีปัญหาอยู่มีปัญหาหรือเปล่า? (ทั้งๆ ที่หน้าอื่นก็เข้าได้ปกติ)

ไม่ต้องตกใจไปครับ อินเทอร์เน็ตของคุณไม่ได้หลุด และเว็บไซต์ที่ใช้อยู่ก็ยังไม่ได้พังแบบทั้งเว็บไซต์นะครับ แต่หน้า 404 Not Found นี้มีหน้าที่เฉพาะตัวอยู่ แถมยังมีความสำคัญสำหรับคนทำ SEO คือ คนที่ต้องดูแลเว็บไซต์ให้สมบูรณ์ ว่าแต่หน้า 404 Not Found คืออะไร ทำไมต้องมีหน้านี้ และถ้าทำเว็บไซต์แล้วต้องการจะแก้ไขหน้า 404 Not Found ต้องรู้อะไรบ้าง ตามไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ!

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  1. 404 Not Found คืออะไร
  2. สาเหตุที่ทำให้เกิดหน้า 404 Not Found
  3. จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดหน้า 404 Not Found
  4. ทำความรู้จักกับประเภทของการ REDIRECT
  5. วิธีการแก้ 404 page not found
  6. สรุป Yoast SEO คืออะไร

404 Not Found คืออะไร

404 Not Found หรือ Error 404 คือ หน้าที่มีการแสดงผลผิดพลาด จากการที่ bot เข้ามาเก็บข้อมูลแล้วไม่พบ URL บนเว็บไซต์ หรือเว็บไซต์ไม่สามารถเรียกไฟล์ เนื่องจากไม่มีไฟล์ของหน้านั้นที่ Server นั้น จึงแสดงผลออกมาให้รู้แบบ 404 Error Page ซึ่งคนทั่วไปก็จะเข้าใจว่า ลิงก์หรือเว็บไซต์ในหน้านี้เสียหรือมีปัญหา

แน่นอนว่า การเกิดหน้าที่ไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ที่ต้องการให้ผู้ใช้งานดูได้ ก็ต้องส่งผลกระทบต่อหลายๆ เรื่องไม่ว่าจะเป็น…

  • User Experience ซึ่งถ้าเว็บไซต์ของคุณมีหน้า 404 Error Page หลายๆ หน้าก็อาจทำให้คนไม่ทำการคลิกต่อและเปลี่ยนไปเข้าเว็บไซต์อื่นแทน
  • เสียโอกาสทางธุรกิจ เพราะในเมื่อเว็บไซต์ของคุณหน้านี้ใช้งานไม่ได้ ลูกค้าก็ย่อมตกไปเป็นของคู่แข่งแทน
  • เสียค่าโฆษณาฟรี สำหรับคนที่นำหน้า 404 Error Page ไปใช้ในการยิง Ads แบบไม่รู้ตัว

แล้วในด้าน SEO ล่ะ ส่งผลกระทบหรือไม่?

จริงๆ แล้ว การเกิดหน้า 404 Not Found ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับของไซต์ใน Google อ้างอิงจาก Google Webmaster Central Blog ที่เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ แต่การที่ปล่อยให้เว็บไซต์มีหน้า  404 Not Found ก็ไม่ได้ส่งผลดีต่อการใช้งานของ User โดยรวมหรือถ้าทำไว้จนติด SEO เรียบร้อยแล้ว คุณอาจสูญเสียคนที่สนใจคอนเทนต์ของคุณไปฟรีๆ สูญเสียเรื่องภาพลักษณ์แบรนด์

อีกทั้งหน้าเพจ 404 Not Found ยังไม่ได้ส่งพลังในแง่ของการทำ Backlink มาให้กับเว็บไซต์ และยังเพิ่มความเสี่ยงที่ bot อาจจะเข้ามาเก็บข้อมูลแล้วพลาดหน้าสำคัญๆ ที่คุณต้องการให้รวบรวมข้อมูลไปก็เป็นได้ ดังนั้น จึงไม่ควรปล่อยไว้ และทำการแก้ไขให้หน้าเหล่านั้นหายไป หรือกลับมาใช้งานได้จะดีกว่านะครับ

สาเหตุที่ทำให้เกิดหน้า 404 Not Found

สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดหน้า 404 Not Found ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นจาก 2 สาเหตุ ดังนี้

  1. URL

สาเหตุแรกจะเกี่ยวกับเรื่องของ URL ไม่ว่าจะเป็น…

  • ตั้ง ‘Slug’ หรือชื่อ URL ผิด แล้วเผลอ Publish ไปเรียบร้อยแล้ว กลับมาทำการแก้ไขใหม่ ก็จะทำให้คนที่เข้ามา URL เดิมเห็นหน้า Error 404: Page Not Found เป็นการแจ้งว่าหน้านี้ถูกลบไปแล้ว
  • เปลี่ยน URL จากภาษาไทยมาเป็นภาษาอังกฤษ หรือจากภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทย
  • เปลี่ยนโดเมนเว็บไซต์ ทำให้ URL ที่เคยได้รับการ Index หายไป จนทำให้เกิดหน้า 404 Not Found 
  • ปัญหาเกี่ยวกับลิงก์ถาวร (Permalink) ของ WordPress โดยทำการใช้ตัว Demo หรือว่าชุดทดลองของ WordPress ในการทำเพจในเว็บไซต์ช่วงแรก ซึ่งเมื่อมีการแก้ไขในระยะต่อมา ทำให้เปิดลิงก์ไม่ได้
  1. การลบหน้าเพจเว็บไซต์

มักเกิดจากการที่เขียนบทความแล้วทำการลบหน้านั้นออก หรือสร้างหน้าเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วทำการ Publish ไปแล้วต้องลบหน้านั้นทิ้ง (มักเกิดกับเว็บไซต์ E-Commerce ที่เปลี่ยนสินค้าเข้าออกบ่อย อาจจะมีสินค้าที่หมดออกไปแล้วจึงต้องทำการลบหน้านั้นออกไป) จึงทำให้เกิดลิงก์เสียขึ้น

จะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดหน้า 404 Not Found

  1. การใช้ Google Search Console ในการค้นหา

เรียกว่าเป็นเครื่องสารพัดประโยชน์เลยก็ว่าได้ครับกับ Google Search Console เพราะสามารถใช้หาหน้า Error 404: Page Not Found ได้ด้วยเช่นเดียวกัน โดยให้คลิกไปที่ “Index” → “Coverage” หรือในเมนูภาษาไทยคือ “ดัชนี” → “ความครอบคลุม” หลังจากนั้นคุณจะเจอผลลัพธ์ของปัญหาที่ Googlebot พบ ให้คุณคลิกที่ soft 404 pages หรือ ไม่พบ URL ที่ส่ง (404) ในภาษาไทย ซึ่งระบบจะบอกว่ามีลิงก์ไหนในเว็บไซต์ของเราที่เป็น 404 Page not found ให้ครับ

  1. การใช้ Google Analytics ในการค้นหา

ให้คุณทำการ Tracking โดยการใช้ Google Analytics โดยใช้โค้ดนี้
border_color=”rgb(0, 0, 0)”]

<script> ga(‘send’, ‘pageview’, ‘404.html?page=’+ document.location.pathname + document.location.search +’&from=’ + document.referrer); </script>

โดยที่ document.location.pathname + document.location.search คือ URL ของหน้าที่ไม่พบในไซต์ และ document.referrer คือ URL ของหน้าที่ทำการ Redirect ไปแล้ว

หลังจากนั้นให้คุณใช้ Google Analytics ในการหาว่าหน้าใด (url) ที่ทำให้เกิด 404 โดยให้เข้าไปที่  Behavior>Site content>all page>page title>แล้ว filter ด้วยคำว่า 404 ซึ่งคุณจะพบกับ URL ทั้งหมดที่ทำให้เกิด 404 error page

  1. ใช้ Tools

คุณสามารถใช้เครื่องมือในการตรวจสอบหาหน้า 404 not found ได้ เช่น ใช้ Sitechecker ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยหาหน้า Error ทั้งหมดที่อยู่บนเว็บไซต์ได้ หรือใช้ Ubersuggest ซึ่งเป็นเครื่องมือที่หลายคนคงคุ้นเคยกันดี โดยให้นำ URL เว็บไซต์มาเสิร์ช หลังจากนั้น ให้คลิกที่ SEE ALL ISSUES ระบบจะแสดงผลลัพธ์ของหน้าเว็บไซต์ที่เกิดปัญหา Error 4XX ขึ้นมาทั้งหมด

ทำความรู้จักกับประเภทของการ REDIRECT

ก่อนจะดูวิธีการแก้ ผมอยากให้ทุกคนทำความรู้จักกับคำนี้ก่อนนะครับ นั่นก็คือ Redirect ซึ่งมีความสำคัญในงาน Technical SEO เป็นการเปลี่ยนเส้นทาง หน้า Landing Page หรือ URL ใดๆ ให้แสดงผลลัพธ์เป็น Landing Page อีกหน้าหนึ่ง และวิธีการนี้แหละครับที่จะช่วยแก้ปัญหาหน้า 404 page not found ให้กับคุณได้ แต่คุณจะต้องรู้ประเภทต่างๆ ของการทำ Redirect ว่ามีอะไรบ้าง ถึงจะเลือกใช้ได้ถูก ซึ่งผมจะขอแบ่งประเภทของการทำ Redirect ไว้คร่าวๆ ดังนี้

  1. 301 Redirect

เป็นการ Redirect ประเภทถาวร โดยจะทำการย้าย URL ไปอยู่ที่ตำแหน่งใหม่อย่างถาวร ทำให้ Search Engine ทำการส่ง Authority Score จาก Backlink ต่างๆ ที่ URL เดิมเคยได้รับไปยัง URL ใหม่ที่จะใช้แทน

  1. 302 Redirect

เป็นการ Redirect ประเภทชั่วคราว ใช้สำหรับส่งผู้ใช้ไปยังไซต์หรือเพจใหม่ในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น เมื่อคุณออกแบบใหม่หรืออัปเดตเว็บไซต์ของคุณ แต่คนส่วนใหญ่จะนิยมทำ 301 Redirect ไปเลยมากกว่า

  1. 410 Redirect

เป็นการทำ Redirect เพื่อบอกกับ Search Engine ว่า URL หน้านี้ไม่ได้ใช้งานแล้ว คุณต้องการลบหน้านี้ออกไปจากเว็บไซต์ จะไม่มีการดึงขึ้นมาจัดทำดัชนีอีก พูดง่ายๆ ก็คือเป็นการลบหน้าเว็บไซต์ออกไปแบบถาวรนั่นเอง

วิธีการแก้ 404 page not found

1. ทำการ Redirect หน้า Error Page ด้วย SEO Audit

  • แก้ด้วย 301 Redirect

หากคุณต้องการแก้ปัญหาสำหรับเว็บไซต์ที่มีหน้า 404 Not Found เยอะมากๆ หาอะไรก็ไม่เคยเจอ แนะนำให้ใช้วิธีการทำ 301 Redirect ในการแก้ไขปัญหานี้ แต่เนื้อหาของเว็บไซต์ใหม่หรือเพจใหม่ (ปลายทาง) จะต้องมีเนื้อหาที่เหมือนหรือคล้ายเดิมกับเว็บไซต์เดิม (ต้นทาง) นะครับ ถึงจะใช้วิธีการทำ 301 Redirect ได้ (ผมเคยเขียนวิธีการทำ 301 Redirect อย่างละเอียดไว้แล้วนะครับ ถ้าอยากได้วิธีสอนแบบจับมือทำ แนะนำให้ไปลองทำตามกันได้ที่ กันอันดับร่วง! ด้วยการทำ Redirect 301

  • แก้ด้วย 410 Redirect

หากเงื่อนไขของหน้าเว็บไซต์ไม่ตรงกันกับการทำ301 Redirect คุณอาจจะต้องทำการลบหน้านั้นแบบถาวรด้วยการทำ 410 Content deleted ซึ่งถ้าหากคุณใช้ WordPress ในการทำเว็บไซต์ แนะนำให้คุณทำการติดตั้ง Plug-in ที่ชื่อว่า 410 for WordPress หลังจากที่ทำการติดตั้งแล้ว ให้ไปที่เมนู Plugins > 410 for WordPress 

หลังจากนั้นให้คุณเข้าไปที่ google search console เข้าไปเลือก URL ที่เป็น 404 page not found ที่ต้องการลบ URLมาใส่ที่ช่อง Manually และคลิก Add entries to 410 list เมื่อเสร็จแล้วให้กลับไปยัง google search console เพื่อทำเครื่องหมายว่าแก้ไขแล้ว (Mark as fixed) ด้วยนะครับ

2. ปรับแต่งหน้า 404 Not Found

นอกจากการทำ Redirect แล้วคุณยังสามารถทำการ Custom หน้า 404 page not found ให้สามารถนำทางผู้ใช้งานให้กระทำบางอย่างแทนได้ เพื่อลดโอกาสการเกิด Bounce Rate หรือการออกจากเว็บไซต์ไปเลยในทันทีเพราะคิดว่าลิงก์นี้เสีย หรือเว็บไซต์นี้พัง 

ส่วนวิธีการทำคือ คุณต้องทำการกำหนดค่าเซิร์ฟเวอร์ให้ถูกต้องก่อน โดยคุณสามารถทำได้โดยเพิ่มรหัสต่อไปนี้ในไฟล์ . htaccess: 
border_color=”rgb(0, 0, 0)”]

ErrorDocument 404/404.php

ซึ่งหน้า 404 page not found ใหม่นี้คุณสามารถ Custom หน้าตาและปุ่ม Call to Action ที่อยากให้ผู้ใช้งานทำตามได้ เช่น

  • การกลับไปยังหน้า Home page
  • การกลับไปยัง Categories ต่างๆ ของเว็บไซต์
  • ทำการค้นหาเรื่องที่ต้องการบนเว็บไซต์ของคุณ
  • สร้างทางเลือกที่ทำให้เกิด Interaction กับเว็บไซต์

สรุป

เป็นยังไงบ้างครับ กับการทำความเข้าใจเรื่องของหน้า 404 not found จะเห็นว่า มีทั้งวิธีการเปลี่ยนหน้า Error Page หรือลบออกไปเลยแบบถาวรด้วยการทำ Redirect และการปรับแต่งหน้า 404 not found ให้สามารถใช้งานเพิ่มเติมได้ด้วย แน่นอนครับว่า แนะนำให้ใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป และทางที่ดีควรหมั่นตรวจสอบหน้าเหล่านี้ให้มีปัญหาน้อยที่สุดอยู่เสมอ เพื่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ที่ดีของ User ด้วยนะครับ

หากต้องการรู้รายละเอียดของ Broken Link และ Internal Links สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ครับ

ผู้เขียน

Picture of tan
tan
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

SEO Checker

Traffic คืออะไร มีผลต่อการทำ SEO และการตลาดออนไลน์อย่างไร?

Traffic คือ จำนวนผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ยอด Traffic อาจนับจากการคลิกผ่าน Search Engine, Social Media หรือการยิงแอดจากช่องทางอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับ SEO

อ่านบทความ ➝

5 แนวทางใช้ Facebook Chatbot ร่วมกับ Facebook Ads ให้ได้ประสิทธิ์ภาพที่สุด

หลายๆท่านที่มาใช้ Facebook Chatbot จะมีจุดประสงค์เดียวกันก็คือต้องการที่จะสร้าง Subscribe Chatbot ให้เยอะๆ บทความนี้จะแชร์เทคนิคสร้าง Subscribe ไปดูกันเลย

อ่านบทความ ➝
วิธีการเขียนบทความ SEO

วิธีเขียนบทความ SEO เขียนแบบไหนถึงติดอันดับแบบยั่งยืน

วิธีเขียนบทความ SEO เรียนรู้หลักการเขียนแบบ SEO พร้อมตัวอย่าง มีอะไรที่ต้องรู้ก่อนบ้างถึงจะช่วยให้ติดอันดับ [ที่นี่มีคำตอบ]

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top