Ahrefs คืออะไร เริ่มต้นใช้อย่างไร ดูวิธีใช้และค่าใช้จ่ายแบบละเอียด

Ahrefs คืออะไร เริ่มต้นใช้อย่างไร ดูวิธีใช้และค่าใช้จ่ายแบบละเอียด

มีใครตามหา SEO Tools ดีๆ กันอยู่หรือเปล่า? 

แน่นอนครับว่า คลิกเข้ามาอ่านบทความนี้แสดงว่ากำลังสนใจเจ้า Ahrefs ที่เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือยอดนิยมสำหรับคนทำ SEO ทั้งมือใหม่หรือมือเก๋าเลยก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าจะเป็นในแง่ของความครบด้านฟีเจอร์ต่างๆ ที่จำเป็นแล้ว ด้านการใช้งานเองก็ไม่ได้ยากอย่างที่คิด (ถึงหน้าตาจะดูยากไปสักหน่อยก็ตาม) นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชันฟรีและเสียเงินให้เลือกใช้ด้วย ซึ่งจะใช้งานได้ในรูปแบบไหนบ้าง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายยังไงนั้น ตาม NerdOptimize ไปดูกันเลยดีกว่าครับ

Ahrefs คืออะไร 

Ahrefs คืออะไร

Ahrefs คือ เครื่องมือสำหรับคนทำเว็บไซต์และ SEO โดยจะช่วยวิเคราะห์และติดตามประสิทธิภาพในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ ทำให้คนทำเว็บไซต์รู้ว่าควรที่จะทำการปรับปรุงเว็บไซต์ในด้านไหนบ้างถึงจะเป็นที่ถูกใจ Search Engine อย่าง Google ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำอันดับของ Keyword ต่างๆ ได้มากขึ้น รวมถึงในแง่ของคุณภาพของเว็บไซต์เองก็จะต้องถึงเกณฑ์ที่ Google กำหนดเช่นเดียวกัน 

สำหรับฟีเจอร์ของ Ahrefs นั้นมีอยู่หลายฟีเจอร์ แต่ถ้าให้จัดเป็นหมวดหมู่สำคัญๆ จะมีดังต่อไปนี้

  • ฟีเจอร์ช่วยวิเคราะห์ภาพรวมเว็บไซต์ 
  • ฟีเจอร์ช่วยทำ Keyword Research 
  • ฟีเจอร์ช่วยทำ Competitor Research สำหรับทำ SEO
  • ฟีเจอร์ช่วยทำ Link Building 
  • ฟีเจอร์สำหรับทำ SEO Audit
  • ฟีเจอร์สำหรับทำการ Tracking
  • ฟีเจอร์สำหรับทำ Content Marketing 

เกริ่นถึงฟีเจอร์เด็ดๆ น่าใช้งานมาขนาดนี้แล้วหัวข้อต่อไป เรามาดูรายละเอียดการใช้ฟีเจอร์ต่างๆ กันเพิ่มเติมดีกว่าครับ

Ahrefs เวอร์ชันฟรี

Ahrefs เวอร์ชันฟรี

การใช้งาน Ahrefs สามารถใช้ได้ในเวอร์ชันฟรีด้วยเหมือนกัน โดยมีฟีเจอร์ให้เลือกใช้งานหลายตัวด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น…

Free Keyword Generator

Free Keyword Generator

Free Keyword Generator เป็นเครื่องมือสำหรับทำ Keyword Research โดยสามารถทำการค้นหาแยกในแต่ละ Search Engine ได้ด้วย ทั้ง Google, Bing, YouTube และ Amazon รวมถึงค้นหาด้วยการเลือกเฉพาะบางประเทศได้ด้วย

ตัวอย่าง Phrase Match Keyword

ตัวอย่าง Phrase Match Keyword

ตัวอย่าง Questions Keyword

ตัวอย่าง Questions Keyword

หลังจากที่ทำการกดค้นหาแล้วจะเห็นว่ารูปแบบของ Keyword จะขึ้นมาให้เลือกดู 2 แบบด้วยกันคือ

  • Phrase Match คือ คำค้นหาที่มีคำที่เราต้องการปนอยู่ในนั้น เช่น เราค้นหาคำว่า ออนไลน์ ในคำ Keyword ที่มีมาให้ก็จะมีคำว่าออนไลน์อยู่ในนั้นด้วย
  • Questions คือ คำถามที่คนหาเกี่ยวกับคำนั้นๆ เช่น ธุรกิจออนไลน์ขายอะไรดี, เรียนป ตรีออนไลน์มีที่ไหนบ้าง เป็นต้น

แต่ในเวอร์ชันฟรีจะใช้ฟีเจอร์นี้จำกัดอยู่ที่ 10 คำ ถ้าอยากมองเห็นรายละเอียดมากขึ้นต้อง Sign up ซื้อแพ็คเกจเพิ่มเติม

Keyword Difficulty Checker 

Keyword Difficulty Checker 

Keyword Difficulty Checker คือ เครื่องมือฟรีจาก Ahrefs ที่ใช้สำหรับเช็กความยากง่ายของ Keyword เพื่อประเมินว่า Keyword นั้นมีคู่แข่งเยอะหรือไม่ ควรจะเข้าไปทำการแข่งขันหรือเปล่า ขั้นตอนก็เพียงแค่กรอก Keyword ที่ต้องการค้นหาลงไป เลือกประเทศที่ต้องการแล้วกด Check Keyword

ผลลัพธ์การทำ Keyword Difficulty Checker

ผลลัพธ์ที่ออกมาจะเห็นว่ามีทั้งในส่วนของเกณฑ์ที่บ่งบอกว่า Keyword นั้นยากหรือง่าย อย่างในภาพตัวอย่างคำว่า “ออนไลน์”เป็น Keyword ที่ทำการแข่งขันได้ยาก เพราะมี KD หรือ Keyword Difficulty สูงถึง 64 นอกจากนี้ด้านล่างยังมีการบอก Search Result ของอันดับเว็บไซต์ที่ติดใน Keyword นี้ให้ดูด้วย (แต่จะโชว์แค่ 3 อันดับแรกเท่านั้นในเวอร์ชันฟรี) โดยจะมีค่าต่างๆ ทั้ง DR, UR, Backlink, Domains, Traffic และ Keywords ให้ใช้พิจารณาด้วยว่าเป็นคู่แข่งที่สามารถทำการแข่งขันได้หรือไม่ โดยรายละเอียดของค่าต่างๆ นั้นมีความหมายว่าอย่างไร ผมขอแจกแจงให้ดูดังนี้

  • DR หรือ Domain Rating คือ คะแนนของชื่อเว็บไซต์ (Domain) ซึ่งได้มาจากการที่เว็บไซต์อื่นๆ โดยดูจาก Backlink ที่ได้รับมา
  • UR คือ URL Rating คือ คะแนน URL ของหน้าเว็บเพจของ ahrefs ซึ่งจะให้คะแนนตั้งแต่ 0-100 โดยดูจาก Backlink 
  • Backlinks คือ จำนวน Backlink ที่หน้านั้นๆ ได้รับ 
  • Domains คือ จำนวนโดเมนที่ติดใน SERPs 
  • Traffic คือ ปริมาณของคนที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์นั้นๆ ในกลุ่มคีย์เวิร์ดที่ค้นหา 
  • Keywords คือ จำนวนของคีย์เวิร์ดที่หน้าเว็บเพจนั้นๆ ติดอันดับ

SERP Checker

SERP Checker

SERP Checker คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบผลลัพธ์การค้นหาของคู่แข่งว่าใน Keyword ที่ต้องการทำอันดับนั้นมีใครได้อันดับแรกๆ บ้าง และพวกเขาแข็งแกร่งแค่ไหน สามารถทำการแข่งขันได้หรือไม่ โดยให้คุณทำการเข้าไปที่ SERP Checker แล้วพิมพ์คำค้นหาที่ต้องการ กดเลือกประเทศ และกด Check SERP

ผลลัพธ์ของคู่แข่ง จากการทำ SERP Checker

ผลลัพธ์ของคู่แข่งจะปรากฏขึ้นมา โดยเวอร์ชันฟรีจะเห็นได้แค่ 3 อันดับแรกเท่านั้น ซึ่งใน 3 อันดับแรกคุณจะได้เห็นข้อมูลเกี่ยวกับเว็บไซต์นั้นๆ ว่ามีค่า DR, UR, Backlink, Domains, Traffic และ Keywords เป็นอย่างไร จะทำการแข่งขันได้เว็บไซต์ก็ควรที่จะทำให้มีค่าเหล่านี้เพิ่มขึ้นรวมถึงทำคอนเทนต์ให้มีคุณภาพมากกว่าคู่แข่งด้วย

Keyword Rank Checker

Keyword Rank Checker

Keyword Rank Checker คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบเว็บไซต์ใน Keyword ที่ต้องการ โดยดูว่าใน Keyword นั้นๆ ที่เว็บไซต์ของคุณกำลังทำอันดับอยู่ ตอนนี้ขึ้นอันดับอยู่ที่เท่าไหร่

ตัวอย่างการทำ Keyword Rank Checker

อย่างในภาพตัวอย่างจะเห็นว่าใน Keyword คำว่า Backlink ของ NerdOptimize จะอยู่ในอันดับ 10 ของ Google ซึ่งในเวอร์ชันฟรีก็มีข้อมูลมาให้ดูด้วยว่า อันดับที่ 1-3 นั้นเป็นใคร และมี DR, UR, Backlink, Domains, Traffic และ Keywords เป็นอย่างไร

Backlink Checker

Backlink Checker คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบจำนวน Backlink ที่อ้างอิงกลับเข้ามายังเว็บไซต์ โดยให้ทำการใส่ Domain ของเว็บไซต์ที่ต้องการตรวจสอบ และเลือกได้ว่าจะตรวจสอบ Backlink ในรูปแบบใด เช่น ตรวจสอบ Backlink แค่ของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ (Exact URL) หรือจะตรวจสอบทุกหน้า และรวมทุก Subdomain ของเว็บไซต์ (Subdomains) หลังจากนั้นให้กด Check backlinks 

ตัวอย่าง Backlink Checker

ผลลัพธ์ที่ปรากฏขึ้นมาจะบอกว่าเว็บไซต์ที่ค่า DR อยู่ที่เท่าไหร่ ได้รับ Backlink มาเท่าไหร่ (มี Do Follow Link กลับมากี่ %) รวมถึงมี Linking Wedsites เท่าไหร่ นอกจากนี้มีการบอกรายละเอียดว่าเว็บไซต์ไหนบ้างที่ทำการลิงก์มาหา และทำการลิงก์มายังหน้าไหน รวมถึงบอกด้วยว่าเว็บนั้นๆ ค่า DR สูงหรือไม่ เพื่อที่จะได้ดูว่า Backlink มีคุณภาพมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง

Website Authority Checker

Website Authority Checker

Website Authority Checker คือ เครื่องมือสำหรับเช็กความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เพื่อดูว่าในสายตาของ Google เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากน้อยแค่ไหน โดยจะเป็นการวัดผลเฉพาะของ Ahrefs ซึ่งคุณสามารถนำโดเมนของคุณเข้ามาเช็กได้เลยฟรีๆ

การทำ Website Authority Checker

เมื่อทำการกดเช็กโดเมนจะมีข้อมูลของ DR หรือ Domain Rating ขึ้นมา มีจำนวน Backlink รวมถึงบอก % ของ Dofollow Link มาให้ด้วย สุดท้ายจะมีการบอกว่ามี Linking Wedsites อยู่ที่เท่าไหร่ให้ครบ แต่ถ้าอยากรู้มากกว่านี้ก็ต้องเลือกใช้แพ็คเกจเสียเงินเพิ่มเติม

Broken Link Checker

Broken Link Checker คือ เครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบลิงก์เสียบนเว็บไซต์ โดยจะดูว่ามีลิงก์ในจุดไหนบ้างที่ใช้งานไม่ได้ เช่น เกิดเป็นหน้า 404 not found เป็นต้น วิธีใช้ก็ง่ายมาก เพียงพิมพ์โดเมนเว็บไซต์ลงไป แล้วคลิก Check Broken links ได้เลย

ตัวอย่าง Broken Link Checker

สำหรับผลลัพธ์ที่ขึ้นมาจะเห็นเลยว่ามีบอกให้ครบว่าหน้าไหนที่มีลิงก์เสีย และเป็นลิงก์ในจุดไหนบ้าง เพื่อที่จะได้เข้าไป Edit ลิงก์นั้นให้สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกตินั่นเอง

Website Traffic Checker

Website Traffic Checker

Website Traffic Checker คือ เครื่องมือตรวจสอบ Organic Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ในภาพรวม เพื่อดูว่า Keyword ไหนที่เรียก Traffic เข้ามาได้เยอะ คนที่เข้ามานั้นมาจากไหนบ้าง โดยคุณแค่ทำการกรอกโดเมนของเว็บไซต์ และคลิกที่ Check Traffic ได้เลย

ตัวอย่าง Website Traffic Checker

สำหรับผลลัพธ์ที่ได้จะมีทั้งตัวเลขที่บอกถึงจำนวน Organic Traffic ของเว็บไซต์ มีบอกด้วยว่า Traffic value ซึ่งตีเป็นมูลค่าเงินนั้นจะคิดเป็นเงินประมาณเท่าไหร่ กลุ่มประเทศที่เข้ามาด้วย Keyword ที่ทำอยู่นั้นมาจากไหน มี Top Keyword เป็นคำว่าอะไร รวมถึงสรุปเพจที่เรียก Traffic มาให้ได้เยอะๆ ด้วยว่ามาจากหน้าไหนบ้าง (สรุปให้ทั้งหมด 5 อันดับแรก)

Ahrefs เวอร์ชันเสียเงิน

มาดูการใช้งาน Ahrefs เวอร์ชันเสียเงินกันบ้างว่าจะแตกต่างกันเวอร์ชันฟรีหรือไม่ โดยมีรายละเอียดที่รวบรวมมาให้ ดังนี้ครับ

Dashboard

Ahrefs เวอร์ชันเสียเงิน Dashboard
Dashboard

ที่มาภาพ: ahrefs.com

สำหรับตัวแรกจะเป็นส่วนของ Dashboard ที่เป็นหน้ารวมโปรเจกต์ต่างๆ ที่คุณกำลังดูอยู่ได้ภายในหน้าจอเดียว โดยจะปกติจะแสดงผลลัพธ์โดยรวมของแต่ละเว็บไซต์ให้ดู เช่น อันดับขึ้นลง ยอด Traffic ต่างๆ ซึ่งคุณสามารถทำการเพิ่มโปรเจกต์ได้จากการกดปุ่ม Create Project และทำการ Add โปรเจกต์เข้าไปง่ายๆ ด้วย Google Search Console เลย

ทำหน้า Dashboard ดูภาพรวมของโปรเจกต์ SEO

สำหรับสิ่งที่ทำได้ในหน้า Dashboard จะเอาไว้ใช้ดูภาพรวมของโปรเจกต์ SEO ที่กำลังดูแลอยู่ ซึ่งจะรวมเอาหน้า Site Explorer, Rank Tracker และ Site Audit เอาไว้ในหน้าเดียว นอกจากนี้ยังใช้ดูข้อมูลจาก Google Search Console ได้ รวมถึงยังทำการ Disavow links ในแต่ละโปรเจกต์ได้ด้วย

And in the dashboard, you’ll see a quick overview

of important metrics for all your projects.

0:04
1:34

Site Explorer

Site Explorer จะเป็นเครื่องมือที่นักทำ SEO มักจะเอาไว้ใช้ส่องคู่แข่ง เพื่อดูว่าเว็บไซต์ของคู่แข่งนั้นทำ SEO เป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงใช้เช็กสุขภาพเว็บไซต์ของตัวเองได้ด้วย โดยให้คุณทำการกรอกโดเมนที่ต้องการแล้วกด Search 

Site Explorer

สำหรับ Site Explorer จะเป็นฟีเจอร์ที่มี Metrics ต่างๆ มากมายที่เอาไว้ใช้ดูประกอบการวิเคราะห์เว็บไซต์เพื่อทำ SEO โดยเฉพาะ ซึ่งจะมีอะไรที่ต้องโฟกัสบ้างนั้น สรุปมาให้แล้วนะครับ ดังนี้

Overview
  • Overview จะใช้ในการดูว่าเว็บไซต์นั้นๆ มีภาพรวมเป็นอย่างไร เช่น DR/UR เป็นอย่างไร, มี Traffic เข้ามาอย่างไร, มี Keyword ที่ทำอันดับอยู่มากน้อยแค่ไหน ฯลฯ ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นการดูภาพรวมคร่าวๆ ของเว็บไซต์นั้นๆ ได้ว่าทำ SEO ดีอยู่ในระดับไหน และถ้าจะทำการแข่งขันนั้นเว็บไซต์ของคุณต้องปรับปรุงส่วนไหนอีกบ้าง 
Backlink Profile
  • Backlink Profile จะใช้ดูเกี่ยวกับการทำ Link Building บนเว็บไซต์ทั้งการได้รับ Backlink จากเว็บไซต์อื่นๆ ซึ่งใช้สำรวจดูได้เลยว่า เว็บที่ยิง Backlink มาให้นั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นสแปมหรือเปล่า หรือในแง่ของเว็บไซต์คู่แข่งพวกเขาได้ Backlink มาจากไหนบ้าง นอกจากนี้ยังใช้เช็ก Broken Link หรือลิงก์เสียบนหน้าเว็บไซต์ได้ ตรวจสอบดู Reffering domains ได้ รวมถึงใช้ดู Internal link ที่ทำบนเว็บไซต์ได้อีกด้วย
Organic Search
  • Organic Search จะเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยบอกให้ทราบว่าเว็บไซต์ทำอันดับใน Keyword อะไรอยู่บ้าง, ได้ Traffic จากคำนั้นๆ มาเท่าไหร่, อันดับขึ้นหรือลง ฯลฯ รวมถึงดูได้ด้วยว่าในหน้าที่เป็น Top Page ที่ติดอันดับ Keyword เยอะๆ นั้นคือหน้าไหน รวมถึงได้ Traffic จาก Keyword ทั้งหมดกี่เท่าไหร่ด้วย ส่วนใครที่อยากดูว่าเว็บไซต์นี้ใช้ Keyword ที่ใกล้เคียงกับคู่แข่งหรือไม่ และมีคู่แข่งเป็นเว็บไซต์อะไร สามารถดูได้จาก Organic competitors ได้เลย
Paid Search
  • Paid Search สำหรับเว็บไซต์ที่ทำการยิง Google Ads จะเห็นว่ามีการยิงแอดใน Keyword ไหนบ้าง ยิงโดยใช้หน้าเพจไหน และ ได้ Traffic เท่าไหร่ หากใช้ส่องเว็บไซต์ของคู่แข่งก็จะได้ไอเดียสำหรับการวางแผน Google Ads ที่เหมาะสมได้มากยิ่งขึ้นด้วย
Pages
  • Pages จะเป็นฟีเจอร์สำหรับตรวจสอบหน้าเพจแต่ละหน้าว่ามี External Backlink หรือ Internal  Backlink เป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งดีต่อการทำ SEO Audit ค่อนข้างมาก

Keywords Explorer 

Keywords Explorer 

Keywords Explorer เป็นฟีเจอร์ที่ใช้สำหรับการทำ Keyword Research ซึ่งช่วยวิเคราะห์ว่า Keyword ไหนควรจะหยิบมาทำเป็นคอนเทนต์ หรือเป็น Landing Page เพื่อทำการแข่งขัน โดยคุณจะต้องดูเมตริกที่เป็นองค์ประกอบต่างๆ ที่ Ahrefs มีให้เพื่อพิจารณาว่า Keyword ไหนจึงจะเหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น

  • Keyword Difficulty (KD) หรือความยากง่ายของ Keyword ที่ Ahrefs จะแบ่งเป็นเกณฑ์เอาไว้ว่า0-10 แปลว่าง่าย, 11-30 แปลว่า ปานกลาง แต่ถ้าเกิน 30 คือยาก โดย Ahrefs ให้คะแนนในแต่ละคำตั้งแต่ 0-100 เทียบจาก Backlink ของหน้าที่ติดหน้าแรกของคำนั้น ทางที่ดีถ้าเว็บไซต์ของคุณเพิ่งเริ่มทำก็อาจจะเลือก Keyword ที่มี KD น้อยๆ ก่อนจะดีกว่า
  • Volume คือ จำนวนการค้นหาของคีย์เวิร์ดนั้นๆ โดยเฉลี่ย 
  • Traffic Potential คือ จำนวน Traffic โดยเฉลี่ยที่จะได้จาก Keyword นั้นๆ 
  • Global Volume คือ Volume Search แยกไปตามแต่ละประเทศ
  • Keyword Idea คือ การแตกไอเดีย Keyword ที่ใกล้เคียงกันออกมา เผื่อใช้สำหรับทำ Long-Tail Keyword

Site Audit

Site Audit

ที่มาภาพ: app.ahrefs.com

Site Audit คือ เครื่องมือสำหรับทำ SEO Audit ซึ่งช่วยดูว่าเว็บไซต์มีปัญหาในส่วนไหนบ้างที่จะต้องแก้ เช่น ดูว่า Google Bot เข้ามาทำ URLs crawled หรือไม่ เมื่อไหร่, สุขภาพในเว็บไซต์ดีหรือไม่ โดยจะมีเป็นคะแนน Score ขึ้นมาให้, มีปัญหาเรื่อง Tilte Description หรือ H1 tag หรือเปล่า, หน้าไหนที่รูปไม่แสดงผลอยู่บ้าง เป็นต้น เพื่อที่จะได้เข้าไปทำการแก้ไขให้ตรงตามหลักที่ Google กำหนดมากขึ้น

Rank Tracker

Rank Tracker

ที่มาภาพ: ahrefs.com

Rank Tracker คือ เครื่องมือสำหรับทำการ Tracking Keyword ว่ามีอันดับขึ้นลงเป็นอย่างไรบ้างเมื่อเทียบกับช่วงเวลาอื่น เช่น เมื่อวาน 7 วันที่แล้ว 30 วันที่แล้ว สามารถดูได้ด้วยว่า Performance บน Mobile และ Desktop เป็นอย่างไร นอกจากนี้ มีการบอกเพิ่มเติมด้วยว่า Keyword ไหนที่ติด Featured Snippet ด้วย เรียกว่าเป็นฟีเจอร์ที่ดี เพราะช่วยย่นระยะเวลาในการ Tracking Keyword ที่จะโฟกัสได้เป็นอย่างดี

Content Explorer

Content Explorer

Content Explorer คือ ฟีเจอร์ที่เหมาะสำหรับสายคอนเทนต์ โดยใส่ Topic Keyword เข้าไป ก็จะแสดงข้อมูลให้เห็นแล้วว่า มีเว็บไซต์อะไรบ้างที่เขียนขึ้นมาด้วย Keyword นั้นๆ และในแต่ละอันดับมีเขียนใน Topic อะไร ซึ่งช่วยดู Title และ Description ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับ Topic ที่เกี่ยวข้องขึ้นมาด้วย ทำให้สามารถหาไอเดียในการเขียนบทความ SEO ได้เป็นอย่างดี

Competitive Analysis

Competitive Analysis

Competitive Analysis คือ เครื่องมือสำหรับเปรียบเทียบเว็บไซต์ของคุณกับคู่แข่งว่ามี Performane เป็นอย่างไร โดนเปรียบเทียบกันได้ทั้งจำนวน Keyword ทั้งหมด และรายละเอียด Keyword แต่ละตัวว่าในแต่ละเว็บไซต์มีการติดอันดับใน Keyword เดียวกันหรือไม่ และติดอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่

Ahrefs alert

Ahrefs SEO Toolbar

Ahrefs SEO Toolbar

Ahrefs SEO Toolbar คือ Extention ของ Ahrefs สำหรับ Chrome หรือ Firefox ซึ่งช่วยในการมอนิเตอร์เว็บไซต์ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีบอกรายละเอียดของเว็บไซต์ต่างๆ ในแต่ละด้าน เช่น Metrics โดยจะบอกค่าต่างๆ โดยรวมของเว็บไซต์ เช่น DR/UR, จำนวน Backlink, จำนวน Keyword /Content เช่น บอก Title, Description, Heading Tag ฯลฯ 

นอกจาก Ahrefs มี SEO Tools อะไรอีกบ้าง

ถ้ายังไม่แน่ใจว่า Ahrefs จะเหมาะกับคุณหรือไม่ ยังมี SEO Tools ตัวอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้เพื่อทดแทนได้ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเลือกใช้ได้ทั้งแบบฟรีและเสียเงินได้เลย ยกตัวอย่างเช่น

  • Google Search Console (ใช้งานฟรี) เป็นเครื่องมือจาก Google ที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพ และข้อผิดพลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ รวมถึงใช้ในการเช็ก Keyword ได้ด้วย
  • Ubersuggest (มีทั้งเวอร์ชันฟรีและเสียเงิน) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ทำ SEO มีหลากหลายฟีเจอร์ เช่น ใช้ดูภาพรวมของ SEO Performance โดยรวม, รายงานผลของอันดับของเว็บไซต์, ฟีเจอร์ใช้ดูว่าเว็บไซต์มีปัญหาในด้านไหนบ้างที่ควรแก้ไข เป็นต้น
  • Semrush (มีทั้งเวอร์ชันฟรีและเสียเงิน) เป็นเครื่องมือที่คล้ายๆ กับ Ahrefs โดยมีฟีเจอร์มากมายให้ใช้งานสำหรับทำ SEO เช่น ใช้ทำ Domain และ Keyword Analytics, ใช้ทำ Position Tracking, ใช้ทำ Backlinks Advertising Research และ Keyword Report เป็นต้น
  • Google Trends (ใช้งานฟรี) เป็นเครื่องมือจาก Google ใช้ดูแนวโน้มหรือเทรนด์ในการค้นหาของคนตามช่วงเวลา เหมาะนำมาเป็นไอเดียทำคอนเทนต์หรือใช้ทำ Keyword Research
  • Yoast (มีทั้งเวอร์ชันฟรีและเสียเงิน) เป็น Plugin ที่ช่วยปรับแต่งองค์ประกอบที่สำคัญในการทำ SEO (Technical SEO)

Ahrefs ราคาเท่าไหร่

สำหรับราคาของ Ahrefs จะมีอยู่ด้วยกันหลายแพ็คเกจ ดังนี้

  • แพ็คเกจ Lite เริ่มต้นที่  $99 หรือประมาณ 3,500 บาท/เดือน 
  • แพ็คเกจ Standard เริ่มต้นที่  $199 หรือประมาณ 6,877 บาท/เดือน 
  • แพ็คเกจ Advanced เริ่มต้นที่  $399 หรือประมาณ 13,789 บาท/เดือน 
  • แพ็คเกจ Enterprise เริ่มต้นที่  $999 หรือประมาณ 35,000 บาท/เดือน

มาดูว่าแต่ละแพ็คเกจทำอะไรได้บ้าง

Lite Standard Advanced Enterprise
  • SEO Dashboard
  • Site Explorer
  • Keywords Explorer
  • Site Audit
  • Rank Tracker 
  • Alerts
  • ทุกฟีเจอร์ในแพ็คเกจ Lite
  • Position history chart 
  • SERP updates
  • Site Explorer (เพิ่มเติมจากแพ็คเกจ Lite) 
  • Content Explorer
  • Alerts
  • Domain Comparison
  • Batch Analysis 
  • Reports Sharing
  • ทุกฟีเจอร์ในแพ็คเกจ Standard
  • Site Explorer (เพิ่มเติมจากแพ็คเกจ Standard)
  • Site Audit
  • Looker Studio
  • Dashboard folders
  • Web Explorer
  • ทุกฟีเจอร์ในแพ็คเกจ Advanced
  • Pay by invoice, 
  • Directory listing
  • Access management
  • Audit log
  • API
  • SSO

ซึ่ง NerdOptimize ของเราเป็น SEO Agency ที่ใช้แพ็คเกจ Enterprise ทำให้สามารถใช้ฟีเจอร์ API ที่นำมาทำเป็น Internal Tools เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำ SEO อย่างเช่น การนำมาทำเป็น URL Scraping หรือการดึงข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อนำมาทำเป็นคอนเทนต์ SEO ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าคู่แข่ง โดยจะช่วยวิเคราะห์ Structure ของบทความจากเว็บไซต์ของคู่แข่ง ทำให้เห็นว่ามีการวาง Heading Tag อย่างไรบ้าง เป็นต้น

สรุป Arhefs ดีไหม เหมาะกับใคร

จะเห็นว่าจุดเด่นของ Arhefs จะเป็นเครื่องมือแบบ All-in-one สำหรับคนทำ SEO เลยก็ว่าได้ เพราะมีฟีเจอร์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการหา Insight จากเว็บไซต์ของตัวเองหรือจะใช้สืบหา Insight ด้าน SEO จากคู่แข่งก็ได้ ใช้สำหรับทำ SEO Audit ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ทำ Keyword Research ได้เป็นอย่างดี 

ดังนั้น Arhefs จึงเป็นเครื่องมือเหมาะมากๆ สำหรับ SEO Marketer, Online Marketer, Website Owner, Content Marketer, Content Writer, Business Owner ที่มีเว็บไซต์ เพราะคุณสามารถใช้ฟีเจอร์ของ Arhefs เพื่อตอบโจทย์อาชีพที่คุณทำอยู่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ SEO ของเว็บไซต์ให้ดีขึ้น

ผู้เขียน

Picture of NerdOptimize Team
NerdOptimize Team

Tags:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Content Pillar
SEO

Content Pillar กลยุทธ์สร้างคอนเทนต์ นำเสนอเนื้อหาถูกใจทั้ง User และ Algorithm

Content Pillar คือ หัวข้อหรือประเด็นหลักที่แบรนด์ต้องการเสนอให้กับเป้าหมาย เพื่อความเข้าใจง่าย และสามารถรับข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการได้สะดวก

อ่านบทความ ➝
Digital Agency คือ
SEO

Digital Agency คือเบื้องหลังสู่ความสำเร็จขององค์กรคุณ

Digital Agency คือทางลัดสู่ความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ ให้บริการทำการตลาดออนไลน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ วางแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร

อ่านบทความ ➝
conversion คือ
SEO

Conversion คืออะไร พร้อมแนะนำวิธีเพิ่ม Conversion Rate ที่สำคัญกับธุรกิจออนไลน์!

Conversion คือการโต้ตอบ หรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ลูกค้าทำเมื่อเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการกดคลิก การสมัครแบบฟอร์ม การกดสั่งซื้อ หรือการกดจองสินค้า

อ่านบทความ ➝

รับส่วนลดซื้อคอร์สครั้งแรก สอบถามเรื่องเรียน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า