Home - SEO - Meta Description คืออะไร ช่วยเรื่องอะไรสำหรับการทำ SEO

Meta Description คืออะไร ช่วยเรื่องอะไรสำหรับการทำ SEO

Meta Description คืออะไร

Meta Description คืออะไร Meta Tag หมายถึงอะไร ทำไมถึงสำคัญต่อการทำ SEO และมีวิธีการในการทำอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบให้กับคุณ

สำหรับคนทำ SEO สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญนอกเหนือจากเรื่อง Keyword Research การทำ Off-Page SEO หรือการทำ Technical SEO แล้ว ยังมีในเรื่องของการปรับแต่งหน้า On-Page SEO ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำอันดับ SEO ซึ่งถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นปรับแต่งอย่างไร แนะนำให้ศึกษาการปรับแต่ง Meta Description ในบทความนี้ก่อน 

เพราะนี่เป็นวิธีการทำ SEO พื้นฐานที่ทุกคนต้องทำความเข้าใจ  โดยควรรู้ว่า SEO คือ Meta Description คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร แตกต่างจาก Meta Keyword อย่างไร ไปจนถึงมีวิธีการทำอย่างไรบ้างให้ติดอันดับ SEO ลองไปดูคำตอบพร้อมๆ กันได้เลยครับ

Meta Description คืออะไร

Meta Description คือ Mata Tag ประเภทหนึ่งที่เป็นชุดโค้ดของภาษา HTML ซึ่งใช้ในการเขียนอธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ว่า เกี่ยวข้องกับอะไร โดย Google จะนำเสนอ Meta Description ที่เขียนเอาไว้ใต้ Title Tag คือชื่อบทความหรือชื่อของหน้าเว็บไซต์ โดยมีจำนวนแสดงผลที่จำกัดอยู่ที่ประมาณ 150 – 154 ตัวอักษร

ตัวอย่าง Meta Description

ภาพตัวอย่าง Meta Description

สำหรับหน้าตาของ Mata Tag ที่เป็นชุดโค้ด HTML จะมีหน้าตาประมาณนี้

<meta name="description" content="Site Explorer runs on a huge database of 12 trillion links and 402 million tracked keywords to give you the most complete SEO data about any website or URL.">

โดยจะไม่ได้แสดงผลขึ้นให้ผู้ใช้งานบน Google ได้เห็นแต่จะเป็น Source Code หรือระบบหลังบ้านที่ใช้ในการใส่โค้ดของเว็บไซต์เท่านั้น ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเหมือนป้ายแนะนำตัวให้กับ Search Engine เจอกับเว็บไซต์และรู้ว่าเว็บไซต์ในหน้านี้เกี่ยวกับอะไรได้มากขึ้น

Meta Tags Description มีประโยชน์อย่างไร

ถึงแม้ Meta Description อาจจะไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ช่วยในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Search Engine อย่าง Google แต่ก็เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยเพิ่มอันดับได้ นั่นคือ การดึงดูดให้คนคลิกเข้ามายังเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น

ที่มาภาพ: ahrefs

การมีคำอธิบาย Meta Description ที่น่าสนใจ จะช่วยดึงดูดให้ผู้คนคลิกเว็บไซต์ของคุณจากการแสดงผลบน Search Engine มากขึ้น ถึงแม้ว่า Google จะทำการแสดงผลของ Meta Description เพียง 37% จากการแสดงผลทั้งหมดก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น หากหน้าเว็บไซต์ได้รับการแสดงผล 50,000 ครั้งต่อเดือน Google จะแสดง Meta Description โดยเฉลี่ยที่ 8,500 ครั้ง แต่ก็มีโอกาสที่คนจะได้เขียนคำอธิบายที่บอกว่าหน้าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวกับอะไรอย่างชัดเจน การใช้ Heading Tag อย่างเหมาะสมร่วมด้วยยังช่วยเสริมความชัดเจนให้เนื้อหาของคุณ และเพิ่มโอกาสที่ Google จะเข้าใจบริบทของเว็บไซต์ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วยครับ

แน่นอนว่า ถ้าคุณเขียน Meta Description ดีก็จะมีโอกาสช่วยเพิ่ม CTR (Click Through Rate) ให้กับเว็บไซต์ได้  ซึ่งยอด CTR นี้อาจส่งผลในเชิงบวกต่อความสามารถในการจัดอันดับของ SERP (Search Engine Results Page) ได้ด้วยเช่นกัน

Meta Description จำเป็นต้องใส่ไหม

สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการทำอันดับ SEO หรือติดอันดับอยู่แล้ว แนะนำให้ใส่ Meta Description ในหน้าเหล่านั้น รวมถึงหน้าที่เป็น Home Page ที่เป็นหน้าหลักของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นหน้าเพจที่เชื่อมต่อไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นๆ จึงควรมี Meta Description ที่อธิบายเกี่ยวกับเว็บไซต์ในภาพรวม และหน้าที่เป็นสินค้าหรือหมวดหมู่ของสินค้า เพราะเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อยอดขาย หากเขียน Meta Description ที่ดึงดูดลูกค้าก็จะช่วยทำให้พวกเขาคลิกเข้ามาดูสินค้าได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้การตรวจสอบและปรับปรุง Meta Description ควรเป็นส่วนหนึ่งใน SEO Checklist ของคุณ เพื่อให้มั่นใจว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพและสามารถดึงดูดผู้ใช้งานได้อย่างเต็มที่

ดังนั้น คำตอบของคำถามที่ว่า Meta Description จำเป็นต้องใส่ไหม? ก็คือ จำเป็นต้องใส่ในหน้าสำคัญๆ แต่อาจจะไม่ใช่ในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาในการปรับปรุง On-Page SEO นั่นเอง

Meta Description กับ Meta Keyword แตกต่างกันอย่างไร

อย่างที่บอกแล้วว่า Meta Description คือ การเขียนคำอธิบายหรือการสรุปเกี่ยวกับหน้าเพจของเว็บไซต์นั้นว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร โดยจะแสดงผลในหน้า Search Engineบริเวณด้านล่างของ Headline หรือ Title Meta Tags โดยจะเน้นการเขียนสรุปเฉพาะข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายค้นหาจริงๆ พร้อมกับใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องลงไปด้วย

ตัวอย่าง ชุดโค้ด HTML (Meta Description) 

<meta name="description" content="Free Web tutorials">

ส่วน Meta Keyword คือ การใส่คีย์เวิร์ดเพื่อระบุถึงข้อมูลว่าหน้าเว็บไซต์นั้นเกี่ยวข้องกับอะไร โดยจะใส่เป็น Mata Tag ที่เป็นชุดโค้ด HTML และใช้ตัวคอมมาร์ (,) ในการ tag ข้อความ ในอดีตนั้น Meta Keyword ใช้เพื่อให้ผู้คนที่ค้นหาข้อมูลบน Search Engine สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล บทความ SEO อย่างรวดเร็วจาก Keyword ที่เว็บไซต์ระบุไว้ใน Meta Keyword และมีผลต่อการจัดอันดับด้วย แต่ต่อมาเนื่องจากมีการใส่คีย์เวิร์ดในเชิงสแปมคำเพื่อทำอันดับทำให้ผลการค้นหาไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ในปี 2009 Google จึงได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการ ว่า Meta Keyword นั้น จะไม่ใช้อีกต่อไปแล้ว

ตัวอย่าง ชุดโค้ด HTML (Meta Keyword)

<meta name="keywords" content="HTML, CSS, JavaScript">

กรณีไม่ใส่ Meta Description จะเกิดอะไรขึ้น

หากหน้าเว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ทำการใส่ ​​Meta Description ทาง Google จะทำการดึงข้อมูลมาใส่ให้เอง ซึ่งการดึงข้อมูลมาใส่ให้นั้นเนื้อหาที่ถูกดึงมาอาจไม่ใช่ส่วนสำคัญ จนทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ จนทำให้ผู้ที่ทำการค้นหาเกี่ยวกับ Keyword นั้นๆ ไม่ต้องการคลิกอ่านเนื้อหา แน่นอนว่า ทำให้พลาดโอกาสในการสร้าง CTR และ Traffic ให้กับเว็บไซต์ได้ 

ทางที่ดีคือ ควรใส่ Meta Description ในหน้าเว็บไซต์สำคัญๆ หรือต้องการทำอันดับ และเขียนให้ดีพอเพื่อป้องกันการเปลี่ยนการแสดงผลการค้นหาแบบอัตโนมัติจาก Google

วิธีการเขียน Meta Description ให้ครอบคลุม SEO

การเขียน Meta Description ให้มีประสิทธิภาพสำหรับการทำ SEO และดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย มีวิธีการง่ายๆ ดังต่อไปนี้

  • มี Keyword ที่เกี่ยวข้อง

ไม่ใช่แค่การเขียน Title Tags เท่านั้นที่จะต้องใส่คีย์เวิร์ด แต่ Meta Description เองก็ต้องใส่ด้วยเช่นกัน แต่ Keyword นั้นควรที่จะเป็นคำเดียวกันกับที่ใช้ในหน้าเว็บไซต์ รวมถึงเกี่ยวข้องกับธุรกิจด้วย ซึ่งการจะได้คีย์เวิร์ดมานั้นต้องทำ Keyword Research มาก่อนนำมาใช้ 

ส่วนวิธีการวางคำคีย์เวิร์ดหากวางไว้ในตำแหน่งต้นๆ ของ Tags เพื่อป้องกันการตัดตกของเนื้อหา และ Google จะมีการไฮไลต์คำที่ตรงกับ Keyword ทำให้เห็นเด่นชัดมากขึ้น รวมถึงควรเน้นเนื้อหาสั้น กระชับ ได้ใจความ แต่ก็ควรสื่อสารออกมาได้น่าสนใจ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายอยากคลิกเข้ามาอ่านเนื้อหาข้างในมากขึ้นด้วย

วิธีการเขียน Meta Description

ตัวอย่างการไฮไลต์คำคีย์เวิร์ดที่ใส่ไปใน Meta Description โดยคำๆ นั้นจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ซึ่งดูเด่นชัดและสะดุดตามากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าเว็บไซต์นี้มีผลลัพธ์การค้นหาที่ตรงกับความต้องการได้เป็นอย่างดี

  • เขียนอธิบาย Title Tag

Meta Description ควรเป็นข้อความที่อธิบายเสริมจาก Title Tag โดยมีเนื้อหาหรือการใช้คำที่ส่งเสริมกันและกัน ยกตัวอย่างเช่น

title tag

ที่มาภาพ: ahrefs

จากตัวอย่างจะเห็นว่า Title Tag เขียนเชิญชวนด้วยคำว่า “ฟรี” และบอกด้วยว่า เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบลิงก์เสียจาก Ahrefs ที่เป็นเว็บไซต์ที่โดดเด่นในด้าน SEO อยู่แล้ว ส่วน Meta Description นั้นมีการเขียนขยายความจาก Title Tag ว่าเป็นเครื่องมือตรวจสอบลิงก์เสียที่รวดเร็ว หาลิงก์ที่เสียจากทั้งลิงก์ที่เป็น Internal และ External ได้ รวมถึงไม่ต้องทำการสมัครหรือดาวน์โหลดเพื่อใช้งานอีกด้วย ซึ่งเป็นการบอกคุณสมบัติเครื่องมือที่ตรงกับสิ่งที่คนค้นหามาด้วยคำคีย์เวิร์ดที่ว่า Check Broken Link 

  • ตอบโจทย์ Search Intent

Search Intent คือ จุดประสงค์ที่ผู้คนใช้ในการค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งจาก Search Engine โดยคุณต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า การที่คนค้นหาคีย์เวิร์ดเหล่านั้นหมายความว่าอะไร เช่น ต้องการข้อมูล ต้องการซื้อ ต้องการคำตอบ ฯลฯ เพื่อที่จะทำการเขียน Meta Description ที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้นได้อย่างตรงจุด

  • เขียนให้กระชับและเข้าใจง่าย

เพราะ Meta Description เป็นเหมือนการสรุปเนื้อหา จึงไม่ต้องใช้กลวิธีการเล่าเรื่องที่ยืดยาว แต่เน้นไปเลยว่า ถ้าคลิกลิงก์นี้แล้วจะเจอกับอะไร หรือได้อะไรหรืออาจจะใส่ CTA หรือ Call-to-Action เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้ว่าต้องทำอะไร และจะได้อะไรจากการคลิกเข้าไปในเว็บไซต์ เช่น ดาวน์โหลดฟรี สมัครใช้งาน ฯลฯ ไม่เช่นนั้นการแสดงผลของ Meta Description อาจจะไม่ครบถ้วน และทำให้การสื่อสารด้านเนื้อหาขาดหายไป แน่นอนว่า ส่งผลให้การดึงดูดผู้คนให้เข้ามายังเว็บไซต์มีน้อยลงไปด้วย

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่า เขียน Meta Description ออกมาได้ดีหรือยัง สามารถทำการตรวจสอบโดยใช้เครื่องมือต่างๆ ได้ เช่น สำหรับคนที่ใช้ WordPress ใช้ Yoast ที่เป็นปลั๊กอิน SEO โดยดูว่า Meta Description นั้นมีความยาวเหมาะสม และแสดงผลได้จริงหรือไม่ (หากเขียนในความยาวที่เหมาะสมจะเห็นเป็นแถบสีเขียวเหมือนภาพตัวอย่าง)

ที่มาภาพ: yoast.com

นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบได้จาก Checklist ของ Yoast ได้ โดยถ้าทำได้ตามเกณฑ์ส่วนของคำแนะนำจะกลายเป็นสีเขียว ซึ่งในส่วนของ Meta Description จะมีระบุเกี่ยวกับเรื่องของความยาว และ Keyphrase ที่ใช้ หากทำได้ตรงตามเกณฑ์จะขึ้นเป็นไฟสีเขียว รวมถึงมีการเขียนสรุปให้ว่า Well Done!

เช็คการเขียน meta description

แต่สำหรับใครที่ไม่ได้ใช้ WordPress ก็มีเครื่องมืออื่นๆ ที่สามารถใช้ตรวจสอบ Meta Description ได้ เช่น SERPSim, Screaming Frog เป็นต้น

ข้อควรระวังในการเขียน Meta Description

สำหรับข้อควรระวังสำหรับการเขียน Meta Description นั้นมีอยู่หลายข้อ โดยเรารวบรวมข้อสำคัญๆ เป็น Checklist มาให้แล้ว ดังต่อไปนี้

  • ถ่ายทอดออกมาด้วยภาษาที่ใช้สื่อสารตามธรรมชาติ ไม่ยัดเยียด Keyword มากจนเกินไป เพราะจะทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง และยังดูเป็นการสแปมคีย์เวิร์ดอีกด้วย
  • ควรเขียนในความยาวที่เหมาะสมโดยไม่ควรเขียนเกิน 150 – 154 ตัวอักษร เพราะข้อความอาจแสดงไม่ครบกรณีที่เขียนยาวมากกว่านั้น
  • ควรมี Meta Description เฉพาะของเว็บเพจหน้านั้นๆ แบบไม่ซ้ำกัน ดังนั้น ไม่ควรทำการ Copy หรือ Duplicate ข้อความ Meta Description มาใช้เหมือนกันทุกหน้า เพราะอาจส่งผลต่อการจัดอันดับได้
  • ไม่ควรใช้คำ Clickbait ที่ไม่ตรงกับเนื้อหาเพื่อหลอกล่อให้คนกด แต่ควรที่จะใช้การเขียนที่ดึงดูดความสนใจ
  • ใส่ LSI Keyword ที่เกี่ยวข้องกับคำคีย์เวิร์ดหลักลงไปก็จะช่วยทำให้ Google และผู้อ่านเข้าใจบริบทของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ได้มากยิ่งขึ้น

สรุป 

การใส่ Meta Description ซึ่งเป็น Meta Tag รูปแบบหนึ่งให้กับหน้าเว็บไซต์ทุกหน้า เปรียบเสมือนการสรุปย่อเกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดของเว็บเพจ ดังนั้น รับทำSEO การเขียน Meta Description ที่ดีจึงควรอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งดึงดูดความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายได้ทันที แน่นอนว่า ก็ต้องศึกษาถึง Search Intent และทำ Keyword Research มาให้ดีพอที่จะทำให้ Meta Description ดึงดูดให้คนคลิกเข้าเว็บไซต์ได้จริง เพื่อเพิ่ม CTR ให้กับเว็บไซต์ ซึ่งเป็นทางหนึ่งในการเพิ่มอันดับบน Search Engines ได้ด้วย

และนี่คือหนึ่งในอาวุธที่คนทำ SEO ควรที่จะรู้จัก แต่สำหรับใครที่ยังต้องการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการทำ SEO สามารถอ่านบทความที่เรารวบรวมทุกเรื่องน่ารู้ได้เลยที่ วิธีทำ SEO สำหรับมือใหม่ ทำยังไงให้ติดหน้าแรก Google อัปเดตล่าสุด พร้อมกับอัปเดตข้อมูลกฎต่างๆ ก็สามารถเข้าไปอ่านบทความเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ของ Google ได้เลยในบทความเหล่านี้ครับ

อ้างอิง

https://yoast.com/meta-descriptions/

https://moz.com/learn/seo/meta-description

https://www.semrush.com

https://ahrefs.com/blog/meta-description/

ผู้เขียน

Picture of tan
tan
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

การตลาดออนไลน์ Paid Owned Earned

การตลาดออนไลน์ (Online Marketing) คืออะไร? อัปเดตล่าสุด 2024

การตลาดออนไลน์ คืออะไร บทความนี้อธิบายทุกมุมของการทำการตลาดออนไลน์ Paid Owned Earn Channel คืออะไร ถ้าอยากเริ่มทำการตลาดออนไลน์ต้องทำยังไง

อ่านบทความ ➝
Digital Agency คือ

Digital Agency คือเบื้องหลังสู่ความสำเร็จขององค์กรคุณ

Digital Agency คือทางลัดสู่ความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ ให้บริการทำการตลาดออนไลน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ วางแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร

อ่านบทความ ➝

ก่อนจ้างบริษัทการตลาดออนไลน์ Digital Marketing agency ควรดูจากอะไรบ้าง

สำหรับตัวธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการตลาดออนไลน์ การจ้างบริษัทเอเจนซี่ก็เหมือนการจ้างตัวช่วยหรือกุนซือที่ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจของคุณเพื่อช่วยเพิ่มยอดขายหรือสร้างแบรนด์ให้คุณ

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top