Home - SEO - Meta Tag คืออะไร ? แนะนำการเขียน Meta Tag ให้ช่วยทำอันดับ SEO ดียิ่งขึ้น

Meta Tag คืออะไร ? แนะนำการเขียน Meta Tag ให้ช่วยทำอันดับ SEO ดียิ่งขึ้น

Meta Tag

เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนที่เพิ่งทำ SEO ได้ไม่นาน อาจจะจับต้นชนปลายไม่ถูก ว่าท่ามกลาง Key Factors นับร้อย นับพันของการทำ SEO นั้น ควรให้ความสำคัญกับส่วนไหนมากที่สุด แน่นอนว่าการมองหาคำตอบที่ตายตัวเป็นเรื่องที่ยาก แต่หากให้แนะนำส่วนที่ใครหลาย ๆ คนมองข้าม เราตอบได้แน่นอน และนั่นก็คือ Meta Tags 

Meta Tag คือส่วนประกอบ HTML ที่ทำหน้าที่เป็นป้ายบอกทางให้ Search Engine และ User ได้รู้ก่อนว่าเว็บไซต์แต่ละหน้ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เป็นความประทับใจด่านแรกที่จะช่วยเพิ่ม Organic Traffic ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะฉะนั้น ใครที่เคยละเลยการตั้ง Meta Tag อ่านบทความนี้ให้จบ คุณจะเข้าใจ Key Factors ที่สำคัญของการทำ SEO ขึ้นอีกหนึ่งขั้นแน่นอน

Meta Tag คืออะไร ? 

Meta Tag คือ ข้อความหรือ Tag Line ที่มีไว้เพื่ออธิบายว่าเว็บไซต์มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการทำ Meta Tag นั้นจะปรากฏอยู่บน Source Code เท่านั้น ไม่ได้ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ ทำให้ User จะสามารถเห็นได้จากบนหน้า Search Result เท่านั้น 

นอกจากนี้ การทำ Meta Tag ให้มี Keywords ที่สอดคล้องกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ ยังช่วยให้ Web Crawler ของ Search Engine ทำความเข้าใจเว็บไซต์เราได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญของการทำ SEO เลยก็ว่าได้

Meta Tag มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ? 

สำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ SEO อาจจะรู้จัก Meta Tag แค่หนึ่งหรือสองรูปแบบเท่านั้น  แต่ในความเป็นจริงแล้ว Meta Tag มีหลายประเภท โดยเราขอมาแชร์กัน 4 ประเภทของ Meta หลัก ๆ ดังนี้

Title Tag

Title Tag เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของการทำ Meta Tag โดยจะทำหน้าที่แสดงชื่อของหน้าเว็บไซต์ในแท็บเบราว์เซอร์ ที่ User จะมองเห็นได้จากหน้า Search Result คล้ายกับป้ายบอกทาง ที่จะช่วยให้ User เข้าใจได้ทันทีว่าเว็บไซต์นั้น ๆ เกี่ยวข้องกับอะไร

เชื่อว่าต้องมีใครหลาย ๆ คนที่สับสนว่า Title Tag และ H1 ต่างกันยังไง อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ คือ Title Tag จะแสดงอยู่บนหน้า Search Result เท่านั้น แต่ H1 จะปรากฏอยู่ภายในเว็บไซต์ โดยทั้งสองอย่างนี้จะมีการตั้งชื่อที่ใกล้เคียงกัน แต่ H1 จะสามารถตั้งได้ยาวกว่า ทำให้นิยมใช้ H1 เพื่อขยายความ Title Tag ที่มีข้อจำกัดเรื่องความยาวตัวอักษรที่น้อยกว่านั่นเอง

Meta Description 

Meta Description คือคำอธิบายสั้น ๆ เกี่ยวกับเนื้อหาของหน้าเว็บไซต์ หรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อ User และจะปรากฏอยู่ภายใต้ Title ในหน้า Search Result โดยหากจะให้อธิบายง่าย ๆ ก็เปรียบได้กับส่วนโปรยของเนื้อหาที่จะช่วยดึงดูด User ให้คลิกเข้าชมเว็บไซต์มากยิ่งขึ้นนั่นเอง 

แม้ปัจจุบัน Google Algorithm จะลดความสำคัญของ Meta Description ลงจนไม่ใช่หนึ่งในปัจจัยหลัก อย่างไรก็ตาม Meta Description ยังคงเป็นปัจจัยเสริมในการทำ SEO ที่ช่วยเพิ่มอันดับได้ และช่วยดึงดูดคนให้คลิกเข้ามายังเว็บไซต์ได้อีกด้วย 

Meta Robots Tag

Meta Robots Tag เป็นชุดโค้ดที่ทำให้ Web Crawler รู้ว่าควรสำรวจ (Crawling) หน้าไหน และหน้าไหนที่ไม่ควร รวมไปถึงยังช่วยให้รู้ด้วยว่าต้อง Follow หน้าไหน และหน้าไหนที่ไม่ต้อง โดยการทำ Meta Robots Tag ไม่ได้เกี่ยวกับเนื้อหาเว็บไซต์โดยตรง แต่ก็เป็นส่วนสำคัญในด้าน Technical ที่ส่งผลต่อการจัดอันดับเว็บไซต์นั่นเอง

Meta Tag รูปแบบอื่น ๆ 

นอกจาก Meta Tag ที่สำคัญทั้ง 3 หัวข้อข้างต้นแล้ว ยังมี Meta Tag รูปแบบอื่น ๆ ที่ควรทำความรู้จัก ดังนี้

  • Meta Keywords Tag : เป็น Tag ที่ใช้สำหรับระบุ Main Keyword ของเว็บเพจหน้านั้น ๆ ให้ Web Crawler เข้าใจเนื้อหาภายในเว็บเพจได้ง่ายมากยิ่งขึ้น (ปัจจุบัน Google Algorithm ได้ลดความสำคัญของ Meta Keyword ลง และให้ความสำคัญกับคุณภาพของเนื้อหาภายในเว็บไซต์มากยิ่งขึ้น)
  • Meta Charset Tag : เป็น Tag ตัวอักษรสำหรับเข้ารหัสในหน้าเว็บเพจ ช่วยให้ตัวอักษรหรือข้อความแสดงบนหน้าเว็บได้อย่างถูกต้อง
  • Meta Viewport Tag : เป็น Tag ที่จะช่วยกำหนดขอบเขตการมองเห็นของเว็บเพจให้รองรับกับอุปกรณ์ที่เข้าถึงหน้าเว็บไซต์นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ตโฟน หรือคอมพิวเตอร์
  • Social Media Meta Tags : เป็น Tag ที่จะช่วยลิงก์หน้าเว็บไซต์เมื่อถูกกล่าวถึงบนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, X (หรือ Twitter เดิม) ทำให้เป็นการโปรโมตเว็บเพจอีกหนึ่งช่องทาง
  • Meta Refresh Redirect : เป็น Tag ที่จะเปลี่ยนพา User ไปยังหน้าเว็บไซต์อื่นที่ต้องการ ใช้ในกรณีที่หน้าเว็บไซต์กำลังปรับปรุงหรือเป็นหน้า 404 Error

Meta Tag สำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO 

Meta Tag เป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากในการทำ SEO โดยจากหลากหลาย Case Study บอกกับเราว่า Web Crawler จะใช้ Meta Tag ในการวิเคราะห์คุณภาพ และเนื้อหาของเว็บไซต์ เพื่อให้เข้าใจว่าเนื้อหาภายในนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร และในท้ายที่จะนำไปสู่การประมวลผลในการจัดอันดับเว็บไซต์บนหน้า Search Result นั่นเอง

ในหลาย ๆ ครั้งที่เนื้อหาเว็บไซต์มีคุณภาพ และมี Site Structure ที่ดี แต่ไม่มีการตั้ง Meta Tag ที่ดี ก็ทำให้อันดับเว็บไซต์สู้คู่แข่งไม่ได้เช่นกัน ทำให้ในบางครั้งการทำ Audit Website เริ่มต้นจากการปรับปรุง Meta Tag ของเว็บเพจแต่ละหน้า ก็เพียงพอที่จะทำให้เว็บไซต์มีอันดับ SEO ที่ดีขึ้นได้นั่นเอง

ช่วยเพิ่ม CTR (Click-through Rate)

การทำ Meta Tag ในส่วนของ Title Tag และ Meta Description ให้มีประสิทธฺภาพ มี Copywriting ที่ดีและมี Keyword สำคัญสอดแทรคกอยู่ด้วย จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงดูดความสนใจของ User ได้สูง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มค่า CTR ซึ่งส่งผลดีต่อการทำ SEO โดยรวมอีกด้วย  

ช่วยให้ Search Engine เข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ 

การสร้าง Meta Tag ที่มีการใส่ข้อมูลชัดเจน ง่ายต่อการทำความเข้าใจ และครอบคลุมเนื้อหาภายในเว็บไซต์ นอกจากจะช่วยให้ User เข้าใจเว็บเพจนั้น ๆ ได้ดีแล้ว ในด้าน Technical ยังช่วยให้ Web Crawler เข้าใจหน้าเว็บเพจได้ดีขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้การจัดอันดับ SEO ดีขึ้นอีกด้วย

การป้องกัน Index ในหน้าเว็บไซต์ที่ไม่ต้องการ

บริษัทรับทำ SEO และเหล่า SEO Specialist หลายคนการันตีว่าการใช้ Meta Tag ประเภท Meta Robot Tags เพื่อกำหนดให้ Web Crawler ไม่มา Index เว็บไซต์บางหน้าที่ไม่ต้องการให้ปรากฏบน Search Result เช่น หน้าเสีย หรือหน้าที่ยังไม่ได้มีการใส่เนื้อหาภายใน ส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับบนหน้าเว็บไซต์ในทางที่ดีขึ้น และยังเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คนทำ SEO มือใหม่ไม่ค่อยทราบ หรือมองข้ามไปนั่นเอง

เทคนิคการเขียน Meta Tag ที่ดีต่อ SEO มีเทคนิคอะไรบ้าง ? 

อธิบายความหมาย และข้อดีของการทำ Meta Tag กันมาเยอะแล้ว ทีนี้มาดูเทคนิคการเขียน Meta Tag ที่ดีต่อการทำ SEO กันบ้างว่าควรเขียนอย่างไร

วิธีการเขียน Title Tags ที่ดีต่อ SEO 

เริ่มจากส่วนที่สำคัญที่สุดอย่าง Title Tag ส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มค่าคลิก มีเทคนิคในการเขียน ดังนี้

  • Title หรือ Headline ควรมี Key Message ที่ทำให้ User เข้าใจสาระสำคัญของเว็บเพจได้ในทันที
  • การใส่ Main Keyword ในส่วนต้นของ Title Tag จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO มากยิ่งขึ้น
  • เน้นความกระชับ สั้น และเข้าใจง่าย
  • ความยาวที่เหมาะสมของการเขียน Title Tag คือ 50-60 ตัวอักษร (Title Tag ที่ยาวเกินไปจะถูกตัดออก อาจทำให้เสียใจความสำคัญของเนื้อหาได้)
  • ใช้ภาษาที่กระตุ้นให้ User คลิก แต่ต้องคลิกเบทจนเกินไป
  • หากสามารถใส่ Relate Keyword เข้าไปใน Title Tags ได้ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO มากยิ่งขึ้น 
  • วิเคราะห์ Search Intent และแนวทางการเขียนผ่าน Competitor Analysis
  • เขียน Title ให้สดใหม่ทุกหน้าเว็บเพจ ไม่เขียนซ้ำกัน

วิธีเขียน Meta Description ที่ดีต่อ SEO 

ต่อมาเป็นเขียน Meta Tag ในส่วน Description ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน มีเทคนิคในการเขียน ดังนี้

  • ใส่เนื้อหาที่สรุป ชัดเจน เข้าใจง่าย
  • ใส่ Main Keyword ไว้ในส่วนต้นของ Description ช่วยให้การทำ SEO มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • Description สามารถออกแบบได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับ Intent ของผู้อ่าน เช่น รูปแบบการตอบคำถาม รูปแบบการตั้งคำถาม หรือการให้ข้อมูลด้านราคา ที่อยู่สำหรับเว็บอีคอมเมิร์ซ
  • สร้างงานเขียน Copywriting ที่มี CTA เพื่อกระตุ้นให้เกิดการคลิกมากยิ่งขึ้น เช่น ห้ามพลาด! หรือ บทความนี้มีคำตอบ!
  • ความยาวที่เหมาะสมของการเขียน Description คือ 150-160 ตัวอักษร (เช่นกันกับกรณีของ Title หาก Meta Tag ยาวจนเกินไป เนื้อหาบางส่วนจะถูกตัดออก)

แนะนำวิธีเช็กความยาวของ Title Tags และ Meta Description 

อย่างที่ได้กล่าวไป ในเทคนิคของการเขียน Title Tag และ Meta Description นั้นมีเรื่องของความเหมาะสมของจำนวนคำ (Character) ที่หากสั้นหรือยาวเกินไปจะถูกตัดออก ไม่แสดงบนหน้า Search Result และอาจกระทบต่อการทำ SEO ได้ เพราะฉะนั้น เพื่อให้การเขียน Meta Tag ในส่วน Title Tag และ Meta Description มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เรามี SEO Tools มาแนะนำกัน

To The Web มีหน้าที่เป็นเหมือน SERP Visualization ในการจำลองจำนวน Character และการแสดงผลหน้า SERP ทำให้คนทำ SEO สามารถสร้าง Title Tag และ Meta Tag จำลองขึ้นมาได้ ช่วยลดความผิดพลาดในการทำ Meta Tag และช่วยให้การควบคุมจำนวนตัวอักษรทำได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น 

Meta Tag SEO

สรุปความสำคัญของการทำ Meta Tag ให้ดีต่อ SEO

Meta Tag เป็น On-Page SEO ที่มีความสำคัญต่อการจัดอันดับเว็บไซต์ เพราะฉะนั้น ใครที่เคยมองข้าม หรือละเลยจุดสำคัญเหล่านี้ อย่าลืมกลับไปทำ Website Audit กันใหม่ และปรับปรุงให้ Meta Tag ของหน้าเพจที่สำคัญทุกหน้าถูกหลัก SEO มากยิ่งขึ้น และที่สำคัญ! อย่าลืมเขียนเนื้อหาด้วย Copywriting ที่ดี มี Keyword สำคัญสอดแทรก มีความชัดเจน น่าสนใจ และอ่านง่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดึงดูด User ให้กดคลิกมากยิ่งขึ้น

ผู้เขียน

Picture of content nerdoptimize
content nerdoptimize
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

บรอดแคสต์ Facebook ทำอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุด พร้อมตัวอย่าง!

การบรอดแคสต์ Facebook ก็คือการส่งข้อความชุดหนึ่งไปยังผู้รับสารจำนวนมากผ่าน Facebook Messenger ในครั้งเดียว โดยใช้ระบบ Messenger Bot ในการส่งข้อมูล

อ่านบทความ ➝
EAT Factor

E-A-T Factor คืออะไร และ E-E-A-T Factor คืออะไร เรียนรู้เกณฑ์ใหม่จาก Google ในบทความเดียว!

E-A-T Factor คือ หลักเกณฑ์ ปัจจัย หรือวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ ที่ Algorithm ของ Google Search นำมาใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้มีผลทำให้ลำดับค้นหาใน Google มีการปรับเปลี่ยนขึ้น-ลงจากเนื้อหา บทความต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top