ในยุคที่เทคโนโลยี AI มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ChatGPT ก็ได้กลายมาเป็นเครื่องมือ Generative AI ที่ได้รับความนิยมสำหรับคนทำงานในทันที เพราะไม่ว่าจะมองหาไอเดียใหม่ๆ สำหรับธุรกิจ หาข้อมูลเพื่อจัดการงานต่างๆ ไปจนถึงใช้สร้างคอนเทนต์หรือรูปภาพที่สร้างขึ้นด้วย AI ก็ยังได้ ในบทความนี้ Nerd จึงจะมาบอกว่า ChatGPT คืออะไร มีความสามารถอย่างไร มีเทคนิคในการใช้แบบไหนบ้าง รวมถึงถ้าจะใช้งานมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ตามมาดูคำตอบพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ!
ChatGPT คืออะไร ใครสร้าง รู้จัก AI แสนฉลาด ตัวช่วยการทำงานให้ง่ายขึ้น
ChatGPT ย่อมาจาก Generative Pre-trained Transformer ดังนั้น ChatGPT คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้านการประมวลผลภาษาที่พัฒนาโดยบริษัท OpenAI เปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นเครื่องมือยอดนิยมในหลากหลายวงการ เพราะสามารถประยุกต์ใช้ฟีเจอร์กับงานได้หลากหลาย โดยในสายงานการตลาดเองก็สามารถใช้ ChatGPT เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน หาไอเดีย หรือใช้ทำงานแทนได้ในหลายๆ ด้าน เช่น ใช้วิเคราะห์พฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายผ่านข้อมูล, ใช้สร้างข้อความหรือแคปชัน, ใช้สรุปข้อมูลเพื่อทำรีพอร์ต เป็นต้น
รู้จักระบบการทำงานเบื้องหลังของ ChatGPT
AI ChatGPT ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Generative Pre-trained Transformer (GPT) ซึ่งเป็นโมเดล AI ด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (Natural Language Processing – NLP) ที่ถูกพัฒนาโดย OpenAI โดยมีการทำงานผ่านกระบวนการที่ซับซ้อนเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อคำถามของผู้ใช้งานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ซึ่งกระบวนการทำงานของ ChatGPT จะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนด้วยกัน คือ
- GPT จะใช้โครงสร้างพื้นฐานของ Transformer ซึ่งเป็นโมเดล AI ที่สามารถประมวลผลข้อความอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเข้าใจทั้งลำดับคำ ความหมาย และบริบทในประโยคมาฝึกในขั้นต่อไป
- โดยจะฝึกผ่านกระบวนการ Pre-training ที่เป็นโมเดลได้รับการฝึกฝนด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากอินเทอร์เน็ต เช่น หนังสือ เว็บไซต์ และบทสนทนา ทำให้ ChatGPT AI สามารถเรียนรู้รูปแบบของภาษาและข้อมูลที่หลากหลาย และก็ต้องทำกระบวนการ Fine-tuning ที่โมเดลจะถูกปรับแต่งเพิ่มเติมด้วยข้อมูลที่มนุษย์เป็นผู้คัดเลือกมาให้ เพื่อปรับปรุงความสามารถในการตอบคำถามหรือสนทนาต่อ
- โมเดล GPT ได้รับการปรับปรุงด้วยวิธี Reinforcement Learning from Human Feedback (RLHF) ซึ่งเป็นการเรียนรู้จากการให้คำแนะนำของมนุษย์ โดยมีผู้ฝึกสอนที่คอยประเมินคำตอบ และใช้ข้อมูลเหล่านี้ในการปรับแต่ง AI ให้ตอบสนองได้แม่นยำและตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานมากขึ้น
- เมื่อผู้ใช้งานป้อนข้อความ AI จะทำการแปลงข้อความเป็นตัวเลข (Token) แล้วประมวลผลผ่านโมเดลเพื่อเลือกคำตอบที่มีความน่าจะเป็นสูงสุด โดยคำตอบที่สร้างขึ้นมาจะพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดที่มี เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับบริบท และตรงประเด็นที่ต้องการหาให้ได้มากที่สุด
วิธีการสมัครใช้งาน ChatGPT ทำอย่างไร ?
แชท GPT คือ เครื่องมือ AI อัจฉริยะที่ช่วยในการสร้างเนื้อหา ตอบคำถาม และแก้ปัญหาต่างๆ ตามคำสั่งของมนุษย์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้หลายคนสนใจที่จะใช้งาน ChatGPT กันมากขึ้น และนี่คือ วิธีการสมัครใช้งาน ChatGPT โดยจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ขั้นตอน ดังนี้
- เข้าใช้งาน Chat-gpt ที่เว็บไซต์ OpenAI
- เปิดเบราว์เซอร์แล้วเข้าไปที่ https://chat.openai.com/
- คลิกที่ปุ่ม Sign Up เพื่อเริ่มสร้างบัญชีใหม่
- กรอกข้อมูลเพื่อสร้างบัญชี
- เลือกสร้างบัญชีด้วยวิธีที่ต้องการ โดยสามารถสร้างได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นสร้างด้วย Email Address, Google Email, Microsoft Email หรือ Apple Id
- ยกตัวอย่างการสมัครด้วยการผู้กับบัญชี Gmail ของ Google ให้เลือก Gmail ที่ต้องการใช้สมัคร หลังจากนั้นคลิกดำเนินการต่อ
- ยืนยันตัวตนเพิ่มเติม
- กรอกข้อมูล ชื่อ นามสกุล และวันเกิด
- เลือกประเทศที่อยู่และกรอกหมายเลขโทรศัพท์
- รับรหัส OTP ผ่าน SMS และกรอกในช่องที่กำหนดเพื่อยืนยันตัวตน
- หลังจากนั้นเริ่มต้นใช้งาน ChatGPT ได้เลย
วิธีการใช้งาน ChatGPT สำหรับคนทำงาน
หลายคนอาจจะสงสัยว่า ChatGPT ทําอะไรได้บ้าง มาดูกันดีกว่าว่า สำหรับคนทำงานแล้วจะมีวิธีการใช้งาน ChatGPT ในรูปแบบไหนบ้างที่ช่วยให้การทำงานนั้นง่ายมากขึ้น
- สร้างคอนเทนต์ (Content Creation)
เราสามารถใช้ ChatGPT ในการสร้างคอนเทนต์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ใช้เพื่อเขียนบทความ โดยให้ทำการสร้าง Prompt เพื่อสั่งให้เขียนบทความ SEO ได้
ตัวอย่าง Prompt:
“เขียน SEO Content จำนวน 300 คำ ในหัวข้อ ‘5 เทคนิคการทำ SEO สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก’ ใน Keyword: เทคนิคการทํา seo พร้อมเขียน Title และ Description ที่เหมาะสมให้ด้วย “
ตัวอย่างผลลัพธ์:
จะเห็นว่า ChatGPT สามารถเขียนบทความ SEO ให้ได้ ทั้งการเขียน Title Description และเนื้อหาของคอนเทนต์ได้อย่างละเอียด ซึ่งคุณสามารถนำเนื้อหานี้ไปปรับปรุงเพิ่มเติมได้ เช่น เพิ่มข้อมูลที่เฉพาะเจาะจง ตัวอย่างที่เข้ากับธุรกิจมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
- ใช้วางแผน SEO Keyword
ChatGPT ช่วยวางกลยุทธ์ SEO เช่น การหา Keyword ที่เหมาะสมกับธุรกิจเพิ่มเติมให้ได้ เช่น
ตัวอย่าง Prompt:
“ช่วยแนะนำ Keywords สำหรับธุรกิจคาเฟ่ พร้อมแยกเป็น Primary Keyword และ Secondary Keyword ที่มี Search Volume เกิน 1,000 ให้หน่อย ขอทั้งหมด 5 Keywords “
ตัวอย่างผลลัพธ์:
ChatGPT ช่วยให้ไอเดียในการทำ Keyword Research ได้ ซึ่งสามารถนำ Keyword เหล่านี้ไปสร้างเป็น SEO Content ที่เหมาะสมกับธุรกิจต่อไปได้อีกด้วย
- ช่วยในการเขียนโค้ด
ChatGPT สามารถช่วยเขียนโค้ดสำหรับงาน SEO หรือเว็บไซต์ได้ ยกตัวอย่างเช่น
ตัวอย่าง Prompt:
“ช่วยเขียนโค้ด HTML สำหรับเว็บไซต์เกี่ยวกับ SEO โดยต้องมี Section สำหรับแนะนำบริษัท, บริการ, และฟอร์มติดต่อเรา พร้อมโครงสร้างที่เหมาะสมกับ SEO”
ตัวอย่างผลลัพธ์:
จะเห็นว่าเราสามารถเขียน Prompt ให้ ChatGPT ระบุ SEO Structure บนหน้าเว็บไซต์และให้เขียนชุดโค้ดที่มีคอนเทนต์ได้อย่างละเอียด
- ช่วยวาง Content Calendar
ChatGPT สามารถช่วยทำแพลนคอนเทนต์ที่จะโพสต์ออกมาเป็น Content Calendar ได้ เช่น
ตัวอย่าง Prompt:
“สร้าง Content Calendar สำหรับโพสต์ Facebook ของร้านคาเฟ่ขนมหวาน ประจำเดือนนี้ที่เหมาะกับช่วงสิ้นปีและเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ที่จะมาถึง”
ตัวอย่างผลลัพธ์:
ChatGPT จะช่วยสร้างตาราง Content Calendar สำหรับโพสต์ Facebook ออกมาให้โดยให้ไอเดียของคอนเทนต์ตามธีมที่กำหนดมาให้ พร้อมระบุวัน-เวลามาให้ด้วย
5 เทคนิคใช้ ChatGPT ฉบับมือโปร ช่วยลดเวลาการทำงาน ลดข้อผิดพลาด
มาดู 5 เทคนิคการใช้งาน ChatGPT สำหรับมือโปร ที่จะช่วยคุณลดเวลาการทำงานและลดข้อผิดพลาด เพื่อทำให้คุณใช้งาน ChatGPT ได้อย่างมีประสิทธิภาพกันดีกว่า ซึ่งจะต้องทำอะไรแบบไหนได้บ้างนั้นตามไปดูรายละเอียดพร้อมๆ กันเลยครับ
ออกแบบ Prompt ให้ละเอียด
หัวใจของการใช้งาน ChatGPT คือ การสร้าง Prompt หรือสิ่งที่เป็นชุดคำสั่งให้ ChatGPT สรเางคำตอบที่ต้องการให้ออกมาตามที่ต้องการ ซึ่งวิธีคือ ควรที่จะเขียน Prompt ให้ชัดเจนและละเอียด ยิ่ง Prompt มีข้อมูลครบถ้วน เช่น บริบท ความยาว และรูปแบบคำตอบที่ต้องการ ยิ่งช่วยให้คำตอบที่ได้มีคุณภาพมากขึ้นมากเท่านั้น ลองดูตัวอย่างการเขียน Prompt ที่ดีกันดีกว่าว่าควรเขียนแบบไหน
- กำหนดเป้าหมายชัดเจน: ให้ระบุว่าต้องการให้ ChatGPT ทำอะไร เช่น ต้องการให้ AI สร้างเนื้อหา ออกแบบภาพ หรือวิเคราะห์ข้อมูล
- ให้รายละเอียด: ด้วยการเพิ่มข้อมูลสำคัญเพื่อให้ AI เข้าใจสิ่งที่ต้องทำ เช่น กลุ่มเป้าหมายที่อยากให้เห็น ลักษณะงาน หรือสไตล์ที่ต้องการ
- ใช้คำสั่งที่เจาะจง: หลีกเลี่ยงคำสั่งที่กว้างเกินไป และใส่คำอธิบายให้มากที่สุด
- ระบุโครงสร้างหรือรูปแบบที่ต้องการออกมาเป็นผลลัพธ์: ถ้ามีรูปแบบข้อมูลที่ต้องการให้สรุปออกมา เช่น ต้องสรุปออกมาในรูปแบบตาราง ฯลฯ ให้ระบุลงไปด้วย
- ตั้งข้อจำกัดหรือแนวทางเพิ่มเติม: เพื่อเป็น Scope การทำงานของ AI เช่น เขียนออกมาในรูปแบบภาษาเป็นกันเองเหมือนเพื่อนคุยกัน เป็นต้น
ตัวอย่าง Prompt:
“ช่วยเขียนบทความ (ใช้คำสั่งที่เจาะจง) เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในบ้าน โดยเน้นการออกแบบบ้านให้ปลอดภัยและใช้งานง่าย (กำหนดเป้าหมายชัดเจน) เนื้อหาควรประกอบด้วย 1) การจัดพื้นที่ในบ้าน 2) การเลือกอุปกรณ์เสริม เช่น ราวจับ และ 3) การเลือกวัสดุพื้นเพื่อป้องกันการลื่น (ระบุบริบทและรายละเอียดและระบุโครงสร้างหรือรูปแบบที่ต้องการ)
แนวทางเพิ่มเติม: ใช้ภาษาที่อ่านง่าย เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ดูแลครอบครัว (ให้รายละเอียด) เขียนในสไตล์ที่เป็นกันเอง แต่ให้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ หลีกเลี่ยงการใช้คำศัพท์เทคนิคเฉพาะทางที่ยากเกินไป ความยาวบทความประมาณ 500-800 คำ ควรมีการสรุปเคล็ดลับในตอนท้ายของบทความ (ตั้งข้อจำกัดหรือแนวทางเพิ่มเติม)”
ตัวอย่างผลลัพธ์:
และนี่คือผลลัพธ์ที่ได้จาก Prompt ที่มีการให้รายละเอียดที่ครบถ้วนและชัดเจน จนออกมาเป็นเนื้อหาบทความตามที่กำหนด
ChatGPT สามารถสร้างคำตอบได้ในหลากหลายรูปแบบ
ChatGPT ให้คำตอบออกมาได้หลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับการเขียน Prompt ว่าต้องการได้คำตอบออกมาในรูปแบบไหน เช่น ทำเป็นตาราง ทำเป็นภาพ ทำเป็นโค้ด ทำเป็นบทความ เป็นต้น ลองดูตัวอย่างที่ ChatGPT สามารถทำได้
ตัวอย่าง Prompt สั่งให้ ChatGPT สร้างรูปภาพ:
“Create a peaceful forest landscape with tall trees, a small wooden cabin by a serene lake, and soft sunlight streaming through the foliage. The scene should feel tranquil and inviting, with a touch of mist around the lake.”
เป็นคำสั่งให้สร้างรูปภาพแนวธรรมชาติ มาดูผลลัพธ์กันว่า ChatGPT จะสร้างรูปภาพออกมาแบบไหน
ตัวอย่างผลลัพธ์:
ตัวอย่าง Prompt สั่งให้ ChatGPT ปรับปรุงข้อมูลใน Google Sheet:
“ช่วยปรับแก้ format วันที่ในไฟล์ [ชื่อไฟล์] คอลัมน์ Date ให้เป็น DD/MMM/YYYY (เช่น 31/Jan/2024)”
เป็นคำสั่งให้ ChatGPT ปรับ format ของ Google Sheet มาดูผลลัพธ์กันว่า ChatGPT จะสร้างผลลัพธ์ส่งมาให้ในรูปแบบไหน
ตัวอย่างผลลัพธ์:
ใช้ ChatGPT ช่วยวิเคราะห์คู่แข่งและอุตสาหกรรมที่ต้องการได้
เราสามารถใช้ ChatGPT การวิเคราะห์ข้อมูล เช่น การวิจัยคู่แข่งหรือเทรนด์ในอุตสาหกรรม ฯลฯ ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการทำ Research ได้ค่อนข้างเยอะ แต่ต้องระวังเรื่องข้อมูลที่อาจไม่เป็นปัจจุบัน และควรที่จะทำการหาข้อมูลเองด้วยส่วนหนึ่งจึงจะทำให้การสำรวจและทำวิจัยสำเร็จ โดยมีชุดข้อมูลที่ถูกต้อง
ตัวอย่าง Prompt สั่งให้ ChatGPT ช่วยทำ Compettitor Analysis:
“Create a competitor analysis report for Skin Care Products in Thailand.”
ChatGPT ช่วยสรุปข้อมูล Competitor Analysis ของสินค้าหรือบริการที่ต้องการ โดยที่สามารถระบุประเภทของอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ เช่น ประเทศ เมือง จังหวัด ฯลฯ ที่ต้องการให้ทำสรุปเพิ่มเติมได้ด้วย
ตัวอย่างผลลัพธ์:
ใช้ ChatGPT ช่วยพัฒนาทักษะและความรู้
เราสามารถใช้ ChatGPT ในการฝึกฝนหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำได้มาก่อน เช่น การเริ่มต้นเรียนเขียนโค้ด เริ่มต้นเรียนพื้นฐานของบางสิ่ง ฯลฯ
ตัวอย่าง Prompt สั่งให้ ChatGPT ช่วยแนะนำวิธีการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ :
“ฉันเป็นนักการตลาดมือใหม่ที่อยากเรียนรู้ SEO ช่วยแนะนำขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการทำ SEO และวิธีเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมสำหรับการทำร้านติ่มซำ ในกรุงเทพมหานคร”
จากตัวอย่างเป็นการสมมติว่า เราทำธุรกิจเป็นร้านอาหารติ่มซำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และต้องการที่จะเรียนรู้วิธีการทำ SEO พื้นฐานที่สามารถนำมาปรับใช้กับธุรกิจได้ จึงเขียน Prompt ออกมาแบบข้างต้น
ตัวอย่างผลลัพธ์:
จะเห็นว่าผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นคำแนะนำในภาพรวมของการทำ SEO เบื้องต้น และการเลือก Keyword พื้นฐานที่เหมาะกับธุรกิจ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำไปเรียนรู้ และค้นหาข้อมูลเพื่อลงมือทำตามเพิ่มเติมได้มากขึ้น
ใช้ ChatGPT ในการสร้างฐานข้อมูลเฉพาะ Project
หากต้องการใช้ ChatGPT แบบต่อเนื่องในเรื่องที่ต้องการถามตอบอยู่เป็นประจำ เราสามารถทำการสร้าง Project ไว้ เพื่อรวมข้อมูลและบริบทสำหรับโปรเจกต์เฉพาะเรื่อง โดยที่ ChatGPT จะจดจำและเชื่อมโยงข้อมูลจากบทสนทนาเก่าๆ ได้ ช่วยให้คำตอบสอดคล้องและแม่นยำยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการเริ่มต้นถาม-ตอบใหม่ในแต่ละครั้ง รวมถึงช่วยติดตามงานหรือหัวข้อที่ยังทำไม่เสร็จได้ด้วย
สำหรับวิธีการสร้างให้ไปที่ “New Project” ตั้งชื่อ Project และคลิก “Create Project” หลังจากนั้นให้กำหนดหัวข้อหรือเป้าหมายของโปรเจกต์ เช่น ให้ช่วยเขียนบทความ, ช่วยวิเคราะห์ข้อมูล ฯลฯ และเริ่มเขียน Prompt อธิบายโปรเจกต์ เช่น “ช่วยเริ่ม New Project สำหรับการเขียนโปรแกรม Python เพื่อตรวจสอบวันที่ใน Google Sheets และส่งอีเมลแจ้งเตือนหากวันครบกำหนดใกล้เข้ามาภายใน 7 วัน”
ChatGPT ราคาเท่าไร มีแพ็คเกจการใช้งานแบบไหนบ้าง ?
chat.openai.com คือ AI อัจฉริยะที่เปิดให้ผู้ใช้งานเลือกแพ็คเกจการใช้งานได้ตามความต้องการทั้งในรูปแบบฟรีและแบบเสียเงิน โดยรูปแบบของแต่ละแพ็คเกจของ ChatGPT ราคาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่าเลือกใช้งานเป็น Personal Plan หรือ Business Plan ดังนี้
แพ็คเกจแบบ Personal Plan
แพ็คเกจแบบ Personal Plan ของ ChatGPT จะมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกัน ดังนี้
1. แพ็คเกจในรูปแบบฟรี
ราคา: ไม่มีค่าใช้จ่าย
สิ่งที่จะได้:
- ใช้งาน GPT-4.0 Mini
- การสนทนาเสียง (Standard Voice Chats)
- เข้าถึง GPT-4.0 แบบจำกัด
- จำกัดการใช้งานฟีเจอร์ เช่น การอัปโหลดไฟล์, การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, การท่องเว็บ, และการสร้างรูปภาพ
- สร้าง Custom GPT ได้
เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการทดลองใช้ ChatGPT แบบเบื้องต้น
2. แพ็คเกจในรูปแบบ Plus
ราคา: $20 USD/เดือน (ประมาณ 700 บาท)
สิ่งที่จะได้:
- ใช้ทุกอย่างใน Free Plan ได้
- เพิ่มขีดจำกัดการใช้งาน เช่น การส่งข้อความ, การอัปโหลดไฟล์, การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง, และการสร้างรูปภาพ
- เข้าถึง Advanced Voice และ Video Inputs
- ใช้งาน GPT-4.0 ได้มากขึ้น
- ทดลองฟีเจอร์ใหม่ก่อนใคร
- สร้างโปรเจกต์และ Custom GPT ได้
- เข้าถึงฟีเจอร์ Sora Video Generation (แบบจำกัด)
เหมาะสำหรับ
3. แพ็คเกจในรูปแบบ Pro
ราคา: $200 USD/เดือน (ประมาณ 7,000 บาท)
สิ่งที่จะได้:
- ใช้ทุกอย่างใน Plus Plan ได้
- ใช้งาน GPT-4.0, O1, และ O1-mini ได้ไม่จำกัด
- เพิ่มขีดจำกัดการใช้งานสูงสุด เช่น การแชร์หน้าจอและวิดีโอด้วย Advanced Voice
- เข้าถึงโหมด Pro (O1 Pro Mode) สำหรับสร้างคำตอบที่ซับซ้อนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
- สร้างวิดีโอ Sora Video Generation ได้
เหมาะสำหรับองค์กรหรือผู้ใช้งานที่ต้องการประสิทธิภาพสูงสุด และต้องการทำงานในรูปแบบที่ซับซ้อน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เป็นต้น
แพ็คเกจแบบ Business Plan
แพ็คเกจแบบ Business Plan ของ ChatGPT จะมีอยู่ราคาเดียวคือ $25 USD/ผู้ใช้/เดือน (สำหรับ 2 ผู้ใช้ขึ้นไป และต้องชำระรายปี) โดยสิ่งที่จะได้จะมีดังต่อไปนี้
- การใช้งาน GPT-4.0 พร้อมเพิ่มขีดจำกัดของข้อความที่สูงกว่าแพ็คเกจ Plus
- รองรับเครื่องมือเพิ่มเติม เช่น DALL-E, การท่องเว็บ (Web Browsing), การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) และอื่น ๆ
- มีการเข้าถึงแบบจำกัดสำหรับ O1 และ O1-mini
- รองรับการใช้งาน Advanced Voice และ Video Inputs
- ความสามารถในการ สร้างและแชร์ GPTs ภายในทีมได้
- มี Admin Console สำหรับจัดการพื้นที่ทำงานของทีมได้
- ข้อมูลของ ChatGPT ในรูปแบบนี้จะถูกยกเว้นจากการนำไปใช้ฝึกฝนโมเดล (Team data excluded from training)
เหมาะสำหรับองค์กรหรือทีมที่ต้องการใช้ ChatGPT ในรูปแบบที่ปลอดภัย เพราะไม่มีการนำข้อมูลไปใช้ในการเทรน Model และมีเครื่องมือที่ครบครันที่ใช้ในการจัดการโปรเจกต์ ทำให้ควบคุมและจัดการข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
สรุป ChatGPT คืออะไร น่าใช้งานแค่ไหนสำหรับคนทำงาน
อ่านมาถึงตรงนี้ คงจะเข้าใจแล้วว่า ChatGPT คืออะไร และมีความสามารถอะไรบ้าง ทั้งการสร้างข้อความ ตอบคำถาม และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเหมาะสำหรับคนทำงานที่ต้องการลดเวลาในการทำงานและเพิ่มคุณภาพงาน ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบทความ การวางแผนการตลาด หรือการตอบสนองลูกค้าที่ทำได้แบบมืออาชีพพอๆ กับมนุษย์
ดังนั้น ใครที่ทำ SEO ในตอนนี้ก็อย่าลืมที่จะทำการตลาดรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น GEO (Generative Engine Optimization) ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ในโลก SEO ที่มุ่งเน้นสร้างเนื้อหาคุณภาพสูงและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้ปรากฏผลลัพธ์บน Generative AI อย่าง ChatGPT มากขึ้น รวมถึงทำ AEO (Answer Engine Optimization) ซึ่งเป็นการปรับปรุงเนื้อหาให้สามารถตอบคำถามของผู้ค้นหาได้แบบตรงประเด็นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ฟีเจอร์ถาม-ตอบของ AI Assistant หรือ Search Engine ในรูปแบบใหม่ๆ ได้มากยิ่งขึ้นเอาไว้ด้วย