สำหรับคนทำ SEO การไต่อันดับบน Search Engine อย่าง Google คือหัวใจสำคัญจึงต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแปรสำคัญ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “Google Core Update” ที่จะคอยอัพเดตข้อมูลเว็บไซต์ให้การจัดทำอันดับมีความน่าเชื่อถืออย่างเป็นปัจจุบันที่สุด เรียกว่าแม้ตอนแรกจะสามารถสร้างอันดับได้ดีแล้ว แต่หากมี Update Google มาเมื่อใด อาจต้องตกใจที่ Google dashboard แสดงผลว่าอันดับร่วงหล่นลงมาหรือพุ่งขึ้นสูงอย่างผิดปกติได้ ทำให้ Google Core Update กลายเป็นตัวแปรสำคัญของคนที่รับทำ SEO รวมไปถึงบริษัทรับทำ SEO ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ
Google Core Update คืออะไร ?
Google Core Update คือ การอัพเดตที่ Google จัดทำขึ้นเพื่อให้การทำ Ranking บน SERPs สามารถตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากที่สุด โดยจะเป็นการประเมินภาพรวมการทำ SEO ของคอนเทนต์ทั้งหมดในทุกเว็บไซต์แล้วนำมาจัดอันดับใหม่อีกครั้ง ซึ่งการจัดอันดับนี้จะมีขึ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งต่อปี ทำให้การอัพเดตและหมั่นพัฒนาเว็บไซต์ให้ได้คุณภาพตาม Webmaster Guidelines ของ Google เป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อพร้อมรับมือกับ Google Update ได้ทุกเวลา
Google Core Update กับ Google Algorithm Update เหมือนกันหรือไม่ ?
Google Core Update กับ Google Algorithm Update นั้นไม่เหมือนกัน แม้ว่าจะเป็นการอัพเดตจาก Google เช่นเดียวกันและยังมีความเกี่ยวข้องกันอยู่บ้างเพราะเป็นการอัพเดตที่ส่งผลกระทบกับการจัดอันดับการค้นหาเหมือนกัน แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างที่ต้องทำความเข้าใจ มาดูกันว่าทั้งสองอย่างนี้ต่างกันอย่างไรบ้าง
Google Core Update เป็นการอัพเดตครั้งใหญ่ที่ส่งผลกระทบแบบไม่เจาะจงด้านใดด้านหนึ่งแต่จะส่งผลกับหลายปัจจัยเช่น คุณภาพของเนื้อหา ความน่าเชื่อถือและประสบการณ์ของผู้ใช้ ซึ่งจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการจาก Google และมีเป้าหมายเพื่อการปรับปรุงวิธีการประเมินเนื้อหาเพื่อให้การจัดอันดับการค้นหามีประสิทธิภาพมากขึ้น
Google Algorithm Update เป็นการปรับเปลี่ยนได้ทั้งแบบเล็กน้อย (Minor Updates) หรือเป็นการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ (Major Updates) ของ Google Algorithm ที่มีอยู่ด้วยกันหลายตัว เช่น การอัพเดตคุณภาพของเนื้อหา (Panda Update) การอัพเดตที่โฟกัสไปยังลิงก์และการสแปม (Penguin Update) หรือการอัพเดตการตรวจสอบการใช้งานเว็บไซต์บนมือถือ (Mobile-Friendly Update) เป็นต้น ทำให้การอัพเดตนี้สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง
จุดแตกต่างที่สำคัญของทั้งสองอย่างนี้ ได้แก่
- ขอบเขตผลกระทบของการอัพเดต Core Update จะมีขอบเขตกว้างและส่งผลกับหลายเว็บไซต์ ขณะที่ Google Algorithm อัพเดตจะส่งผลเป็นแบบเฉพาะด้านบนเว็บไซต์ อย่างเช่น เรื่องความเร็วหรือการใส่ลิงก์ในเว็บไซต์
- ความถี่ อย่างที่รู้กันว่า Google Algorithm Update จะมีทั้งการอัพเดตเล็กใหญ่ปะปนกันทำให้มีการอัพเดตบ่อยกว่า Google Core Update ที่อาจจะอัพเดตเพียงปีละครั้งหรือสองครั้ง
- จุดโฟกัส Google Core Update จะมุ่งไปที่เนื้อหาว่าจะต้องมีคุณภาพและน่าเชื่อถือ แต่ Google Algorithm Update นั้นจะเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างเว็บไซต์ การใส่ Blacklink เป็นต้น
Google Core Update มีการอัพเดตบ่อยแค่ไหน ?
Google Core Update จะมีการอัพเดตไม่บ่อยครั้งนัก และทุกครั้งที่มีการอัพเดตจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการจาก Google ให้ได้ทราบกัน ซึ่งสามารถติดตามได้ผ่าน Google Search Central Blog หรือสามารถติดตามผ่านเว็บไซต์ SEO และ Digital Marketing ต่าง ๆ ได้เช่นกัน
ตัวอย่าง Google Core Update : December 2024
Google Core Update ครั้งล่าสุดในปี 2024 นี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยการอัพเดตครั้ งนี้จะมีการปรับปรุงอัลกอริทึ่มหลักของ Google เพื่อปรับปรุงคุณภาพของการค้นหาให้ดีมากขึ้น โดยมีจุดสำคัญ ดังนี้
- คุณภาพของเนื้อหา การอัพเดตครั้งนี้จะมุ่งไปที่คุณภาพของเนื้อหาที่จะต้องมอบประโยชน์สูงสุดให้กับผู้ใช้ (User) จึงส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำหรือเว็บที่เนื้อหาไม่เจาะลึก และยังสามารถส่งผลต่อเว็บไซต์ที่เน้น SEO มากกว่าการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีด้วย
- ประสบการณ์การใช้งาน เป็นการอัพเดตเพื่อตรวจสอบว่าเว็บไซต์มีการสร้างให้เหมาะกับการใช้งานหรือไม่ อย่างเช่น ความเหมาะสมกับมือถือ ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ หรือเรื่องของการใช้งานภาพรวมของเว็บไซต์ เป็นต้น
- E-A-T หรือความเชี่ยวชาญ ความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ Google ใช้เพื่อวัดคุณภาพของเนื้อหา หากเนื้อหาภายในเว็บไซต์มีคุณภาพสูงมีแหล่งที่มาชัดเจนและมีข้อมูลครบถ้วนก็จะมีแนวโน้มว่าอันดับบนหน้าค้นหาจะดีขึ้นด้วย
Google ให้ความสำคัญกับปัจจัยอะไรในการอัพเดตแต่ละครั้ง
จากตัวอย่างที่ได้บอกเล่ากันถึง Google Core Update เมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา หลายคนอาจมองเห็นแนวทางที่ Google ให้ความสำคัญมาบ้างแล้วแน่นอนว่าสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ User หรือผู้ใช้งานนั่นเอง ซึ่งสามารถแบ่งเป็นข้อให้เห็นได้อย่างชัดเจนเป็น 5 ข้อ ดังนี้
คุณภาพของเนื้อหา (Content Quality)
สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้การจัดอันดับเนื้อหาของ Google มีความน่าเชื่อถือเป็นที่สุดก็คือการตรวจสอบเนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยปัจจัยสำคัญของการเป็นบทความ SEO จะมีดังนี้
- มีเนื้อหาที่เป็นต้นฉบับไม่ซ้ำใครและมีคุณภาพ
- เนื้อหามีความละเอียดครอบคลุม
- เนื้อหามีการนำเสนอที่ชัดเจนเข้าใจง่าย
- มีการใช้คำ Keyword ที่ตรงกับการค้นหา
- เนื้อหาสามารถตอบคำถามของผู้ใช้ได้หรือสามารถแก้ปัญหาของผู้ใช้ได้
- เนื้อหามีการอัพเดตอยู่เสมอ
- เนื้อหามีความน่าสนใจและน่าติดตาม
แนวทาง E-E-A-T (Experience, Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness)
แนวทาง E-E-A-T นั้นเป็นแนวทางที่ Google ใช้วัดคุณภาพของเนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บไซต์จึงมักมีการกล่าวถึงใน Google Core Update ทุกครั้ง โดย E-E-A-T มีความหมายดังนี้
- E จาก Expertise (ความเชี่ยวชาญ) : ผู้เขียนหรือผู้นำเสนอมีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือมีการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ทำให้เนื้อหาสามารถเชื่อถือได้หรือไม่
- E จาก Experience (ประสบการณ์) : ผู้เขียนหรือผู้นำเสนอเคยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวกับเนื้อหาหรือไม่
- A จาก Authoritativeness (ความเป็นผู้มีอำนาจ) : ความเป็นผู้มีอำนาจในที่นี้จะสื่อถึงการเป็นที่รู้จักของเว็บไซต์ว่าได้รับการยอมรับในวงการเดียวกันหรืออาจมีการอ้างอิงจากเว็บอื่นหรือไม่
- T จาก Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) : ส่วนนี้จะเป็นการย้ำถึงความปลอดภัยอย่างเช่นนโยบายความเป็นส่วนตัว หรือการระบุชื่อผู้เขียน เพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นี้ปลอดภัยสามารถใช้งานได้
ประสบการณ์ผู้ใช้งาน (User Experience – UX)
อย่างที่เคยบอกไปว่า Google จะให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้เป็นอย่างมาก ดังนั้นใน Google Core Update จึงมักมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ไม่มากก็น้อยอยู่เสมอ เรียกว่าควรมีการปรับปรุงอย่างสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลาย่อมเป็นผลดีอย่างแน่นอน โดยส่วนประสบการณ์ผู้ใช้งานที่ Google จะใช้พิจารณาจะมีปัจจัยดังนี้
- ความเร็วในการโหลดหน้าเว็บ (Page Speed): เว็บไซต์ที่มีการโหลดเร็วกว่าย่อมสร้างความประทับใจและประสบการณ์ที่ดีกว่าให้กับผู้ใช้ เพราะบางเว็บไซต์ที่มีการโหลดช้าอาจทำให้ผู้ใช้ไม่รอและเปลี่ยนหน้าไปทันที เกิดเป็นประสบการณ์การใช้งานที่ย่ำแย่ขึ้นได้
- การใช้งานบนมือถือ (Mobile-Friendliness): ในยุคที่การใช้งานบนสมาร์ตโฟนได้รับความนิยมสูง การสร้างหน้าเว็บที่รองรับหน้าจอเล็กลงและคลิกใช้งานได้ง่ายมากขึ้นย่อมสร้างความประทับใจได้มากกว่า
- การนำทางที่ง่าย (Navigation): ในเว็บไซต์เว็บหนึ่งย่อมมีการสร้างหน้าต่างและการนำเสนอข้อมูลมากมายโดยเฉพาะในเว็บที่เน้นการนำเสนอแบบเนื้อหาซึ่งอาจเรียกว่าเป็น Content Hub เลยก็ว่าได้ ดังนั้นจึงต้องสร้างโครงสร้างเว็บไซต์ที่ทำให้การตามหาข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการเป็นเรื่องง่ายไม่ซับซ้อน
- เนื้อหาที่เป็นประโยชน์ (Content): เนื้อหาที่นำเสนอนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ สามารถตอบคำถามและสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้ได้หรือไม่
- การออกแบบที่สวยงามและใช้งานง่าย (Design): การออกแบบเว็บไซต์ให้สวยงามน่าใช้งานก็เป็นส่วนที่สำคัญเช่นกัน เพราะความสวยงามที่สอดคล้องกับแบรนด์และยังใช้งานง่ายสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้ได้
- ความปลอดภัย (Security): เว็บไซต์จะต้องมีความปลอดภัยสูง สามารถรักษาความปลอดภัยในด้านของข้อมูลและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้
- Core Web Vitals: เป็นชุดเมตริกที่ตรวจวัดการทำงานของหน้าเว็บ โดยจะประกอบไปด้วย ความเร็วในการโหลดเนื้อหาหลัก (LCP), ความเสถียรภาพในการแสดงผล (CLS), และความเร็วในการตอบสนองเมื่อผู้ใช้งานโต้ตอบครั้งแรก (FID) ซึ่งแต่ละส่วนนั้นมีส่วนในการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับการใช้งานของผู้ใช้ทั้งสิ้น
บริบทของการค้นหา (Search Intent)
การสร้างเนื้อหาที่ตรงกับบริบทของการค้นหาหรือ Search Intent ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ Google Core Update ให้ความสำคัญเพื่อดูว่าเว็บไซต์รู้ใจผู้ใช้งานหรือไม่นั่นเอง ยิ่งความรู้ใจนี้ตรงกับผู้ใช้มากเท่าไหร่การสร้างเนื้อหาที่ตอบโจทย์ตรงความต้องการของผู้ใช้ก็ยิ่งสูงมากขึ้นทำให้ Google Ranking จัดอันดับเว็บไซต์ของเราให้สูงมากขึ้นเป็นอันดับต้น ๆ และยังช่วยเพิ่ม Organic search ให้เราได้ด้วย โดย Search Intent จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
- Informational: เป็นประเภทที่ผู้ใช้ต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง
- Navigational: เป็นประเภทที่ผู้ใช้ต้องการเส้นทางไปยังเว็บไซต์ที่เฉพาะเจาะจง
- Transactional: เป็นประเภทที่ผู้ใช้ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการอย่างเช่น การซื้อรองเท้าหรือการจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ปัจจัยด้าน Technical SEO
นอกจากเรื่องคุณภาพของเนื้อหาและการนำเสนอแล้ว Google Core Update ยังให้ความสำคัญกับเรื่องเรื่องราวเบื้องหลังการนำเสนออย่าง Technical SEO ซึ่งเป็นเกี่ยวกับเทคนิคการทำเว็บไซต์ว่าตรงกับเงื่อนไขหรือไม่ โดยมีปัจจัยสำคัญดังนี้
- ความเร็วในการโหลดเว็บไซต์: เว็บไซต์ที่มีความเร็วมากกว่าย่อมมีความได้เปรียบในด้านการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดี ซึ่งเป็นส่วนที่ Technical ต้องสร้างขึ้นมา
- การใช้งานบนมือถือ: การใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนก็เป็นส่วนหนึ่งที่ Google ให้ความสำคัญเช่นกัน
- โครงสร้าง URL: การทำโครงสร้าง URL ที่ชัดเจน สั้นกระชับและบอกความหมายชัดเจนทำให้ทั้ง Google และผู้ใช้สามารถรับรู้ได้ว่าหน้าเว็บนี้เป็นหน้าเว็บที่นำเสนอเกี่ยวกับอะไร
- XML Sitemap: แผนผังเว็บไซต์ที่ชัดเจนทำให้ Google สามารถเข้ามาทำความรู้จักโครงสร้างและเก็บข้อมูลเว็บไซต์ได้ง่าย
- Robots.txt: เป็นไฟล์ที่ช่วยบอก Google Bots ว่าส่วนไหนที่ควรจะเก็บข้อมูลหรือหน้าไหนที่ไม่ต้อง เพื่อให้บอทโฟกัสไปที่ส่วนสำคัญซึ่งเป็นวิธีการทำให้ Google หาเว็บเราเจอและไม่ดัชนีหน้าเว็บที่มีเนื้อหาซ้ำกันเช่น หน้าขอบคุณสำหรับการทำแบบสอบถาม เป็นต้น
- Meta Tags: เป็นการติดป้ายแท็กบอก Google ว่าเนื้อหาแต่ละหน้าคืออะไร
- Header Tags: เป็นการติดป้ายแท็กบอก Google ว่าโครงสร้างเนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์มีอะไรบ้าง
- Internal Linking: ลิงก์ที่มีการใส่เพื่อเชื่อมโยงหน้าเว็บภายในเว็บไซต์เดียวกัน
- External Linking: ลิงก์ที่มีการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่น
- HTTPS: เป็นส่วนโปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยโปรโตคอลนี้สามารถช่วยปกป้องข้อมูลส่วนตัวและป้องกันการโจมตีประเภทที่จะเข้ามาแทรกแซงการสื่อสารระหว่างคุณกับเว็บไซต์ได้
- Schema Markup: เป็นการใช้เพื่อบอก Google ถึงข้อมูลโครงสร้างเนื้อหาเพื่อให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีมากขึ้น
สามารถติดตาม Google Core Update แต่ละครั้งได้ที่ไหนบ้าง ?
ในการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการอัพเดท Google อย่าง Google Core Update สามารถติดตามได้ทาง Google Search Central Blog หรือสามารถติดตามผ่านทางเว็บไซต์ที่นำเสนอเกี่ยวกับ Digital Marketing อย่างเช่น เว็บไซต์ SearchEngineLand หรือ SearchEngineJournal และอื่น ๆ อีกมากมาย
แต่หากไม่สะดวกในเว็บเหล่านั้นก็สามารถติดตามที่ NerdOptimize ได้เลย เพราะหากมีความเคลื่อนไหวหรือข่าวสารที่น่าสนใจ เราจะแจ้งให้คุณทราบใน Facebook Page และยังมี Facebook Live ที่จะอธิบายและแชร์เทคนิคในการรับมือการอัพเดทแต่ละครั้งเพื่อช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับทุกความเปลี่ยนแปลงเพราะเรารู้ว่าโลกของการตลาดไปเร็วเสมอ
Google Core Update การอัพเดตเพื่อสร้างการค้นหาที่ดีขึ้น
หากคุณไม่ต้องการเข้า SERP แล้วได้พบกับ Page Rank ที่ร่วงหล่นก็ต้องทำความรู้จักกับ Google Core Update ว่าคืออะไรกันแน่ โดยเฉพาะกับคนที่ทำด้านการตลาดออนไลน์หรือ SEO เพราะการอัพเดตในแต่ละครั้งจะส่งผลต่อการจัดอันดับ SEO ทำให้ต้องติดตามข่าวสารเกี่ยวกับ Google Core Update อยู่เสมอ
ขณะเดียวกันเราก็สามารถจับประเด็นหัวข้อหลักที่ Google มักจะมีการอัพเดตอยู่เสมอและคอยปรับให้ได้คุณภาพตามที่กำหนดก็สามารถช่วยให้ทุกครั้งที่อัพเดตอันดับของเราจะไม่ร่วงมากเกินไปได้