คุณรู้หรือไม่ว่า วิธีทําให้ Google หาเว็บเราเจอ นั้นคืออะไร? ถ้ายังไม่รู้…เราจะบอกให้ว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยก็คือ การทำความรู้จักกับ “Google Bot” เพราะนี่คือตัวแปรสำคัญในการทำเว็บไซต์และการทำ SEO เป็นเหมือนเบื้องหลังที่ทำให้ Google รู้ว่าเว็บไซต์ของเราทำอะไร มีโครงสร้างแบบไหน และทำได้ดีมากพอที่จะนำไปจัดอันดับขึ้นบนหน้าผลการค้นหาหรือเปล่า
ดังนั้น ในบทความนี้ Nerd จะพาทุกคนไปเรียนรู้ว่า Google Bot คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ พาไปดูวิธีการทำงานพร้อมกับดูเคล็ดลับการปรับแต่งเว็บไซต์ให้โดนใจ Google Bot ซึ่งจะทำได้อย่างไรบ้างนั้น ตามไปดูคำตอบพร้อมๆ กันได้เลยครับ!
Google Bot คืออะไร ? ทำไมถึงมีความสำคัญต่อการจัดอันดับเว็บไซต์
Google Bot คือ ซอฟต์แวร์หนึ่งที่พัฒนาโดย Google ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ต (Web Crawler) เพื่อนำมาสร้างดัชนี (Index) และจัดอันดับหน้าเว็บไซต์ต่างๆ ให้แสดงผลการค้นหาบน SERP คือ Search Engine Results Pages ที่เป็นผลลัพธ์ของผลการค้นหา เมื่อผู้ใช้ค้นหาข้อมูล Google ก็จะดึงข้อมูลจากดัชนีนี้เพื่อแสดงผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดออกมาแสดงผลนั่น เรียกง่ายๆ ว่าเป็นการจัดอันดับโดย Google Ranking โดยมี Google Bot คอยช่วยเก็บข้อมูลนั่นเอง
ดังนั้น Google Bot จึงเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่คนทำ SEO ต้องห้ามพลาดที่จะทำความเข้าใจถึงหลักการทำงาน และเทคนิคต่างๆ ที่ทำให้ Google Bot มองว่าเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพและมีความเกี่ยวข้องกับ Keyword ที่ต้องการทำอันดับ จึงจะถูกนำมาจัดอันดับและแสดงผลให้เห็นบน Google Search ต่อไป
Google Bot กับ Google Algorithm ต่างกันอย่างไร ?
หลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำ SEO อาจจะสงสัยว่า Google Bot กับ Google Algorithm คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร เรามาดูข้อสรุปความแตกต่างระหว่าง Google Algorithm และ Google Bot กันดีกว่า
หัวข้อ | Google Bot | Google Algorithm |
คืออะไร | Web Crawler หรือ Spider ที่ Google ใช้เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต | ชุดของกฎหรือขั้นตอนที่ Google ใช้ในการประมวลผลข้อมูลจากดัชนี (Index) เพื่อจัดอันดับ Ranking เว็บไซต์ในหน้าผลลัพธ์ SERPs เพื่อเพิ่มยอด Traffic ในฝั่ง Organic Search คือ การเจอเพจเว็บไซต์บน Google ในหน้าผลการค้นหาแบบไม่ได้จ่ายเงินโฆษณา |
หน้าที่ | สำรวจและรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ต่างๆ และเก็บข้อมูล เช่น เนื้อหาบนหน้าเว็บไซต์ รูปภาพ ลิงก์ และเมตาแท็ก เพื่อทำดัชนี (Index) สำหรับ Google Search | วิเคราะห์และจัดอันดับเว็บไซต์ที่ Google Bot จัดทำดัชนีเข้ามา |
ลักษณะการทำงาน | เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล (Crawler) และจัดทำดัชนี (Index) | เป็นระบบอัลกอริทึมที่ Google ใช้ในการประมวลผลข้อมูล |
ถ้าให้สรุปง่ายๆ คือ Google Bot เป็นเหมือนโรบอทเว็บนักสำรวจที่จะเข้าไปตรวจสอบเว็บไซต์แล้วรวบรวมข้อมูลมาส่งไม้ต่อให้กับ Google Algorithm ที่ทำหน้าที่เหมือนผู้ตัดสินว่าเว็บไซต์ไหนควรอยู่ในอันดับที่เท่าไหร่บน Google
4 ขั้นตอนการทำงานของ Google Bot มีอะไรบ้าง ?
สำหรับขั้นตอนการทำงานของ Google Bot ที่คนทำ SEO จะต้องทำความเข้าใจ เพื่อให้รู้ที่มาที่ไปว่า ทำไมถึงต้องให้ความสำคัญกับ Bot ของกูเกิล โดยขั้นตอนการทำงานสำคัญๆ นั้นจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
Crawling
ขั้นแรก Google Bot จะเข้ามาทำการ Crawling หมายถึงส่งบอทเข้าไปยังเว็บไซต์หรือเพจต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลเว็บไซต์ เช่น เนื้อหา โครงสร้างหน้าเว็บ ลิงก์ ฯลฯ แต่ไม่ใช่ว่า Bot เข้ามา Crawling แล้ว Google จะนำหน้าเพจนั้นๆ ไปจัดเก็บข้อมูลเสมอไป เพราะมีปัจจัยหลายประการที่อาจส่งผลให้หน้าเว็บไม่ได้รับการจัดเก็บข้อมูล เช่น
- หน้าเว็บถูกบล็อกด้วย Robots.txt
- หน้าเว็บไม่มีลิงก์เชื่อมโยงจากหน้าอื่นทั้งที่เป็น internal links และ external links
- หน้าเว็บมีเนื้อหาที่ซ้ำกับหน้าอื่น ๆ ที่อยู่ใน Index แล้ว (Duplicate Content) Bot อาจมองว่าไม่จำเป็นต้อง Index ข้อมูลในหน้านั้นอีก
- หน้าเว็บมีปัญหา เช่น เกิด Error 404 (Page Not Found) ทำให้ Google Bot เข้าไปจัดทำดัชนีไม่ได้
- มีลิงก์ที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีคุณภาพ หรือมีลักษณะเป็น Spam
โดย Google Bot จะไม่ได้เข้ามาเก็บข้อมูลแบบ Real-time จะมีช่วงเวลาที่เข้ามาเก็บข้อมูล แต่เราก็สามารถกำหนดความถี่ของการให้บอทเข้ามาเก็บข้อมูลได้ผ่าน Google Search Console
Rendering
Google Bot จะแปลและประมวลผลโค้ดบนหน้าเว็บไซต์ เช่น HTML, CSS, JavaScript และโหลดหน้าเว็บเสมือนจริง เพื่อดูว่าเนื้อหาและการออกแบบเป็นอย่างไร ซึ่งการ Rendering ช่วยให้ Google เข้าใจเนื้อหา รูปแบบ และฟังก์ชันการทำงานของเว็บไซต์ได้มากขึ้น ส่วนวิธีการตรวจสอบว่าบอททำการ Rendering หรือไม่ให้ใช้ฟีเจอร์ URL Inspection Tool บน Google Search Console เพื่อดูว่า Google Bot เห็นหน้าเว็บอย่างไรได้เลย
Indexing
Google Bot จะเข้าไปดึงข้อมูลจากทั้งหน้าเว็บในเวอร์ชัน Desktop และ Mobile หากเว็บไซต์รองรับ Mobile-First Indexing ทาง Google จะให้ความสำคัญกับเวอร์ชันมือถือก่อนจึงเน้นข้อมูลจากเวอร์ชันมือถือเป็นหลัก หลังจากนั้น Google Bot สำรวจเนื้อหาของหน้าเว็บว่ามีอะไรบ้าง เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ และ Metadata ฯลฯ ข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งเข้าสู่ระบบ Google Indexing System ต่อไป
Ranking
หากผ่านการ Crawling Rendering และ Indexing มาแล้ว อัลกอริทึมของ Google จะเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลจากหน้าเว็บที่รวบรวมได้ และประเมินว่าเว็บไซต์ไหนควรปรากฏในอันดับต้นๆ ของหน้าผลลัพธ์การค้นหา โดยดูจากหลายปัจจัยประกอบกัน เช่น Search Intent ของผู้ใช้งาน, บริบทของหน้าเว็บไซต์นั้นๆ, ความเกี่ยวข้องของเนื้อหากับ Keyword และเว็บไซต์, คุณภาพของเว็บไซต์ตาม Google Core Update เป็นต้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของ Google Bot มีอะไรบ้าง ?
อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะเริ่มเข้าใจแล้วว่า Google Bot ทำหน้าที่อะไร และทำงานอย่างไร คราวนี้เรามาดูกันต่อดีกว่าว่า แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลต่อการทำงานของ Google Bot ซึ่งในหัวข้อนี้ขอยกตัวอย่างเป็น 5 ปัจจัยหลักที่ต้องรู้ โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้
- Robots.txt คือ ไฟล์ข้อความหรือสคริปต์ (Script) ที่สั่งให้ Google Bot รู้ว่าหน้าไหนที่เจ้าของเว็บไซต์อนุญาตให้เข้ามาเก็บข้อมูล (Indexing) และหน้าไหนที่ไม่อนุญาต ซึ่งส่วนใหญ่หน้าที่จะไม่อนุญาตจะเป็นหน้าดูแลระบบต่างๆ ที่อยากนำไปจัดทำอันดับบน Google ดังนั้น ไฟล์ Robots.txt จึงต้องตั้งค่าให้ถูกว่า มีเว็บไซต์หน้าไหนบ้างที่ต้องการให้เก็บข้อมูล
- โครงสร้างเว็บไซต์ หรือ Site Structure คือ แผนผังของเว็บไซต์ที่ช่วยบอก Google Bot ว่าหน้าแต่ละหน้ามีความเชื่อมโยงกันอย่างไร เวลาที่ Bot เข้ามา Crawl ข้อมูลก็จะทำความเข้าใจกับเว็บไซต์ได้แบบละเอียด ไม่เกิดการตกหล่นของข้อมูล และยังทำให้หน้าเว็บไซต์นั้นๆ ทำอันดับ SEO ได้เร็วมากขึ้นด้วย
- Internal Links และ External Links คือ การทำลิงก์เชื่อมโยงภายในและภายนอกเว็บไซต์ ซึ่งทำให้ Google Bot เห็นว่ามีข้อมูลในหน้าไหนบนเว็บไซต์เกี่ยวข้องกันบ้าง ช่วยกระจาย Link Equity (พลังของลิงก์) ไปยังหน้าอื่นๆ ในเว็บไซต์ รวมถึงทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องได้ง่ายขึ้น และเว็บไซต์อื่นที่เราลิงก์ถึงนั้นเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บไซต์นั้นอย่างไร หากลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือจะช่วยเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือให้เว็บไซต์ได้ด้วย
- ความเร็วของเว็บไซต์ (Site Speed) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการทำงานของ Google Bot ในแง่ของการ Crawling, Indexing และ Ranking เนื่องจาก Google ให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) หากปล่อยให้เว็บไซต์ดาวน์โหลดช้า Google Bot จะใช้เวลามากขึ้นในการ Crawling แต่ละหน้า และเนื้อหาบนหน้าเว็บที่โหลดขึ้นมาไม่ครบอาจทำให้ Bot มองว่าเนื้อหาเหล่านั้นไม่มีอยู่จริง และจะไม่ทำการ Index ได้
- การได้รับ Backlinks คือ การทำลิงก์มาจากเว็บไซต์อื่นมายังเว็บไซต์ของคุณ หากมี Backlinks จากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องก็จะช่วยทำให้ bot รู้ว่าเว็บไซต์ของคุณน่าเชื่อถือมากพอที่ทำให้ได้รับการอ้างอิงจากเว็บไซต์อื่นที่มีความเกี่ยวข้อง
เทคนิคปรับแต่งเว็บไซต์ให้ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ง่ายขึ้น มีอะไรบ้าง ?
ใครที่อยากทำ Google SEO ให้ติดอันดับต้องอย่าลืมใช้ 5 เทคนิคเหล่านี้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ให้ Google Bot ชอบ ซึ่งจะมีอะไรบ้างตามไปดูพร้อมๆ กันเลย
การสร้าง Sitemap ที่ทำให้ Google Bot เข้าใจได้ง่าย
การสร้าง Sitemap เป็นหนึ่งในเทคนิคที่ช่วยให้ Google Bot เข้าใจและทำการสำรวจเว็บไซต์ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น โดย Sitemap จะทำหน้าที่เป็นเหมือนแผนที่แสดงโครงสร้างของเว็บไซต์ในรูปแบบ XML ซึ่งช่วยให้ Google Bot ทราบว่าหน้าไหนในเว็บไซต์ที่มีมีความสำคัญ และควรได้รับการ Crawling
สำหรับเทคนิคในการสร้าง Sitemap นั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 เทคนิค คือ
- ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการสร้าง Sitemap แบบอัตโนมัติ เช่น Google XML Sitemaps, Yoast SEO เป็นต้น
- ทำการอัปโหลด Sitemap ไปที่ Google Search Console ซึ่งจะช่วยให้ Google Bot เข้ามา Crawling ได้ง่ายและเร็วขึ้น
- อัปเดต Sitemap อย่างสม่ำเสมอ เพื่อทำการเพิ่มหน้าเว็บใหม่หรือลบหน้าที่ไม่ต้องการออกจาก Sitemap
เขียนบทความที่มีคุณภาพสูง มี Keyword ถูกหลัก SEO
การทำ บทความ SEO ที่มีคุณภาพในที่นี้คือ การเขียนให้ถูกหลักการทำ SEO ที่มี Structure ชัดเจน เช่น ต้องมี Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ธุรกิจทำ มีการกระจาย Keyword ในตำแหน่งที่กำหนด ในปริมาณที่เหมาะสม มีการทำลิงก์ไปยังบทความที่เกี่ยวข้อง และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ ในด้านของเนื้อหาก็ต้องสามารถตอบโจทย์ผู้อ่านได้มากพอที่จะทำให้ผู้อ่านวนเวียนอยู่กับการอ่านบทความของเว็บไซต์ อย่างการทำ Content Hub ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่สามารถทำให้เกิด Traffic และมีโอกาสสร้าง Conversion จากการอ่านบทความในหน้าต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย
การวาง Heading Tag ในหน้าเว็บไซต์
H1, H2, H3, ฯลฯ หรือ Heading Tag เป็นโครงสร้างที่ช่วยให้ Google Bot เข้าใจลำดับความสำคัญและหัวข้อที่เขียนลงไปในบทความได้มากขึ้น แต่วิธีการเขียนก็ต้องเรียงตามลำดับหัวข้ออย่างชัดเจน คือ
- ในหนึ่งหน้าเว็บไซต์ควรมี H1 เพียงหัวข้อเดียว และมีการใส่ Main Keyword ที่ต้องการทำอันดับลงไป
- ใช้ H2 และ H3 สำหรับหัวข้อย่อย
- ไม่ใส่ลำดับ Heading ข้ามไปมา เพราะจะทำให้ Google Bot สับสน
จัดการกับ Error Pages (เช่น 404)
Error Pages เช่น 404 Page Not Found เป็นหน้าที่ Google Bot มองว่าเป็นหน้าเสีย และอาจส่งผลกระทบต่อการจัดอันดับได้ ดังนั้น จึงควรเคลียร์หน้าเหล่านี้ให้หมด ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
- ทำ Redirect 301 คือ การทำ Redirect จากเว็บไซต์เดิมที่มีการเปลี่ยน URL ไปยังหน้าเว็บใหม่
- ออกแบบหน้า 404 ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ เช่น มีลิงก์กลับไปยังหน้าแรกแทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้า Error
- ตรวจสอบหา Broken Links ที่มีบนเว็บไซต์
ตรวจสอบการ Crawling ด้วย Google Search Console
Google Search Console เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้ตรวจสอบว่า Google Bot ทำการ Crawling และ Indexing เว็บไซต์เป็นอย่างไร โดยดูได้หลายวิธี เช่น
- ดูที่ Coverage Report ว่าหน้าไหนได้รับการ Indexing และหน้าไหนมีปัญหา
- ใช้ URL Inspection Tool เพื่อดูว่า Bot เห็นหน้าเว็บไซต์เป็นแบบไหน
- อัปโหลด Sitemap เพื่อช่วยให้ Bot เข้าถึงทุกหน้าและทำให้จัดอันดับได้เร็วขึ้น
- ตรวจสอบ Crawl Stats เพื่อดูข้อมูลว่า Google Bot เข้ามา Crawling และ Indexing บ่อยแค่ไหน
สรุปแล้ว Google Bot คือ ปัจจัยสำคัญที่คนทำ SEO ไม่ควรพลาด!
Google Bot สำหรับการทำ SEO คือ ตัวแปรสำคัญที่จะทำให้ Google มองเห็นเว็บไซต์ของเรา สามารถทำความเข้าใจเว็บไซต์ และนำข้อมูลที่มีอยู่ไปรวบรวมเพื่อรอการจัดอันดับต่อไป ดังนั้น จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำให้ Google Bot พึงพอใจในหลายๆ ด้าน เช่น การวาง Site Structure ของเว็บไซต์ที่ดี, การเพิ่ม Schema Markup ฯลฯ ซึ่งวิธีการทำนั้นมีปัจจัยหลายข้อด้วยกันที่จะทำให้ Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ของเราได้อย่างครบถ้วน
หากคุณไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นช่วยให้ Google Bot เข้าใจเว็บไซต์ของคุณได้ดีแค่ไหน แนะนำให้ปรึกษาบริษัทที่รับทำ SEO ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำ SEO ทั้งด้าน On-Page, Off-Page และ Technical SEO เพื่อให้การไต่อันดับ PageRank เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น