SEM (Search Engine Marketing) คือ อีกหนึ่งวิธีการทำการตลาดบน Search Engine ที่มีประสิทธิภาพ
สูงมาก เพราะปัจจุบัน Google มีอัตราการค้นหากว่า 99,000 ครั้งต่อวินาที ดังนั้นยิ่งถ้าเราสามารถทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับหน้าหนึ่งบน Google โอกาสที่ธุรกิจเราจะถูกค้นพบ และดึงดูดให้คนเข้ามาที่เว็บไซต์ของเราก็ยิ่งมีมากขึ้นด้วย
บทความนี้ Nerd Optimize จะพาทุกคนไปรู้จักกับ SEM กันให้มากขึ้น พร้อมทั้งดูว่า SEM แตกต่างจาก SEO อย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
SEM คืออะไร
SEM (Search Engine Marketing) คือ การทำการตลาดโดยใช้ช่องทาง Search Engine เช่น Google หรือ Yahoo! ถ้าหากเราสามารถทำ SEM ให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าหนึ่งได้ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเข้าถึงธุรกิจได้มากขึ้น รวมถึงโอกาสในการเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์มากกว่าเดิม และปิดการขายได้ในที่สุดด้วย
SEM มีกี่แบบ
พอพูดถึง SEM (Search Engine Marketing) หลายคนอาจเข้าใจผิดว่า SEM เป็นการทำการตลาดแบบเสียเงินเพียงอย่างเดียว แต่จริง ๆ แล้ว ไม่ใช่ เพราะการทำ SEM แบ่งออกเป็น 2 แบบด้วยกัน คือ แบบฟรี SEO (Search Engine Optimization) และแบบเสียเงิน PPC (Pay per Click)
Header Tag 3 : SEO (Search Engine Optimize)
SEO คือ การทำให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกบน Search Engine ผ่านการปรับแต่งเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพ โดยไม่เสียเงินในการซื้อโฆษณา และผลลัพธ์ที่ได้รับกลับมาจะเรียกว่าเป็นแบบ Organic Search หรือแบบธรรมชาติ โดยการปรับแต่ง SEO หลัก ๆ จะมี 3 แบบด้วยกัน คือ
On-page SEO
On-page SEO คือ การเขียนบทความ SEO และการปรับแต่งคอนเทนต์บนหน้าเว็บเพจหรือบนเว็บไซต์ของเราให้มีความเหมาะสมและง่ายต่อทั้งผู้ใช้งานเว็บไซต์ ลูกค้า รวมถึงกฎเกณฑ์ของ Search Algorithm* โดยการปรับแต่ง On-page SEO มักจะเกี่ยวข้องกับการแทรก Keyword ในปริมาณที่พอดีไปยังส่วนต่าง ๆ ของคอนเทนต์ รวมถึงการเขียนเนื้อหาต้องมีคุณภาพ สามารถตอบคำถาม Keyword ที่ผู้ใช้ค้นหาผ่าน Search Engine ได้เป็นอย่างดี
*Search Algorithm ในที่นี้จะยึดหลักของ Google Algorithm เพราะเป็น Search Engine ที่ใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุด โดย Google จะมีการอัปเดต Algorithm การจัดอันดับอยู่เป็นประจำ เพื่อจัดการเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ และให้ผลการค้นหาตรงใจผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น
Off-page SEO
Off-page SEO คือ การทำ SEO ผ่านปัจจัยภายนอกเว็บไซต์ เช่น การทำ Link Building, การทำให้แบรนด์หรือธุรกิจเราถูกพูดถึงผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือช่องทางอื่น ๆ เป็นต้น ยิ่งแบรนด์เรามีการพูดถึงในโลกออนไลน์หรือมีการติด Backlink กลับมามากเท่าไร ในสายตาของ Google Algorithm ก็จะมองว่าเว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือมากเท่านั้น ส่งผลให้คะแนน SEO เราดียิ่งขึ้น และช่วยให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับหน้าแรกได้นั่นเอง
Technical SEO
Technical SEO คือ การปรับแต่งเว็บไซต์ทางเทคนิค เพื่อให้ Google Algorithm ให้คะแนนเว็บไซต์ของเราสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น การออกแบบ UX/UI ให้มีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้งาน (User Friendly), การปรับให้หน้าเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น, การปรับ User Interface ให้รองรับการแสดงผลทั้งบนคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน, การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเว็บไซต์ และข้อมูลของผู้ใช้งาน หรือการออกแบบ Site Structure ให้ใช้งานได้ง่าย เป็นต้น
PPC (Pay Per Click)
PPC (Pay Per Click) คือ การจ่ายเงินเพื่อซื้อพื้นที่โฆษณาบน Search Engine ในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้ (Paid Search) เช่น หากเราลองค้นหาอะไรสักอย่างบน Google แล้วเมื่อผลการค้นหาแสดงขึ้นมา เว็บไซต์อันแรกสุดหรือล่างสุดของหน้าแรกที่มีสัญลักษณ์ Sponsor อยู่หน้าชื่อเว็บไซต์นั้น ๆ นั่นคือเว็บไซต์ที่มีการซื้อ Paid Search
สำหรับการซื้อ Paid Search บน Google หรือที่เราเรียกว่า Google Ads นั้นง่ายมาก คือ เราต้อง Bidding หรือทำการประมูลราคา Keyword นั้น ๆ ก่อน ยิ่งจ่ายแพง ก็ยิ่งได้อันดับที่ดี (ลองคิดภาพเหมือนเราจองที่ขายของในตลาด ที่ที่มีราคาแพงที่สุดก็คือที่ที่คนพลุกผล่านที่สุด) ส่วนการจ่ายเงินของ PPC คือ ทุก ๆ ครั้งที่มีคนกดเข้าเว็บไซต์ของเราจากการโฆษณา Google ก็จะคิดเงินตามจำนวนคลิก ถ้าเราลงโฆษณาไปแล้ว แต่ไม่มีคนกดคลิกเข้าเว็บไซต์ Google ก็จะไม่มีการเก็บเงินค่าโฆษณาแต่อย่างใดเลย
ตัวอย่างเช่น เรา Bidding มาได้ 3 บาท แล้ววันนั้นมีคนกดเข้าเว็บไซต์ของเรา 100 ครั้ง เท่ากับว่าเราต้องจ่ายเงินให้ Google ทั้งหมด 3 x 100 = 300 บาท
SEO vs SEM ต่างกันอย่างไร
การทำ SEO กับ SEM นั้นมีจุดประสงค์เดียวกัน คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับหน้าแรกบน Google แต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งความแตกต่างของ SEO SEM มีทั้งหมดดังนี้
ข้อดีของ SEO
- ไม่เสียเงินในการซื้อพื้นที่โฆษณาบนหน้า SERP
- ได้ Organic Traffic ไม่จำกัดจำนวนคลิก
- หน้าเว็บไซต์จะแสดงผลบน SERP ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด
- คุ้มค่าต่อการลงทุนและช่วยเพิ่มยอดขายต่อเนื่องในระยะยาว
- ธสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ เพิ่ม Brand Trust และ Brand Awareness
ข้อเสียของ SEO
- ใช้เวลาและความสม่ำเสมอในการ Optimize บางครั้งอาจต้องใช้เวลา 6-12 เดือน หรือบางครั้งก็มากกว่านั้น หากมีการแข่งขันที่สูงมาก
- ทีมงานควรมีความเชี่ยวชาญสูง และใช้ทีมงานมากกว่าในการดำเนินงาน (ทั้งด้านคอนเทนต์และเว็บไซต์)
- อันดับมีการเคลื่อนไหวตาม Google Algorithm ต้องคอยติดตามข่าวสารการอัปเดตของ Google Algorithm อยู่เป็นประจำ
- หากคีย์เวิร์ดนั้นมีการแข่งขันสูง คู่แข่งมีการทำ SEO อยู่เสมอ คุณก็ต้องทำอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้อันดับตก เป็นกลยุทธ์ที่ต้องทำ
ข้อดีของ SEM
- โฆษณาแสดงผลในอันดับต้น ๆ หรืออันดับที่ต้องการได้ทันที ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง หลังการซื้อโฆษณา
- ใช้ทีมงานน้อยกว่า เพียงแค่ Optimize ระบบโฆษณาและหน้า Landing Page เท่านั้น
- กำหนดวันและเวลาในการแสดงผลได้
- สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการแสดงผลได้เจาะจงกว่า ทั้ง เพศ อายุ จังหวัด
- สามารถเปิด-ปิดโฆษณาเมื่อไรก็ได้ ตามแผนการตลาดแต่ละช่วง
- เลือกใช้คีย์เวิร์ดในการทำโฆษณาได้เยอะ และสามารถรวบรวม Insight ได้ในระยะเวลาสั้น ๆ
ข้อเสียของ SEM
- SEM ต้องมีงบประมาณในการทำการตลาดที่ค่อนข้างสูง และหากหยุดจ่ายเงิน อันดับจะตกทันที
- เสียค่าโฆษณาตามจำนวนคลิก ยิ่งมีคนคลิกเยอะ ก็ต้องเสียเงินค่าโฆษณาเยอะ
- Paid Traffic หากอยากได้ Traffic เยอะ ๆ ต้องเพิ่มงบการตลาดมากขึ้นกว่าเดิม
- หากทำเองโดยไม่มีความเชี่ยวชาญ หรือทำการ Optimize แบบผิด ๆ อาจเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ได้
- ระบบโฆษณาเป็นแบบ Bidding หากคู่แข่งทำการ Bidding ในราคาที่สูงขึ้น อันดับในการโฆษณาของเราอาจตกลงได้ทันที
- เมื่อยกเลิกการโฆษณา หรืองบการตลาดหมด เว็บไซต์จะไม่แสดงผลในอันดับหน้าแรก
- หากงบโฆษณาหรือการ Bidding ของคุณต่ำเกินไป โฆษณาอาจไม่มีการแสดงผลในทุกครั้งที่กลุ่มเป้าหมายทำการค้นหา
ดังนั้นในการเลือกว่าจะทำ SEO หรือ SEM อาจต้องดูด้วยว่าธุรกิจเราดำเนินมาถึงเฟสไหนแล้ว หรือเป้าหมายในการทำการตลาดในช่วงเวลานั้นคืออะไร หากคุณเพิ่งเริ่มธุรกิจ เป็นเว็บไซต์ใหม่ หรือกำลังเปิดตัวสินค้าใหม่ที่ยังไม่มีใครรู้จัก การทำ SEO และ SEM ควบคู่กันไปเลยอาจได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
เพราะอย่างที่บอกไปว่าการทำ SEO จะใช้เวลาเยอะกว่า บางครั้ง 6-12 เดือนหรืออาจมากกว่านั้น กว่าที่เว็บไซต์จะไต่อันดับขึ้นมาได้ หากไม่อยากรอนาน หรืออยากสร้าง Awareness แบบเร็ว ๆ การทำ SEM จะช่วยตอบโจทย์เป้าหมายของคุณมากกว่า (แต่ในระหว่างนั้นก็ควรทำ SEO ควบคู่ไปด้วย)
การทำการตลาด SEM สำคัญอย่างไร
ปัจจุบัน Google คือ Search Engine อันดับ 1 และมีอิทธิพลมากที่สุดในโลก อ้างอิงจากการที่มีคนกดค้นหากว่า 8.5 พันล้านต่อวัน ซึ่งหากคุณทำการตลาด SEM ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มการเข้าถึงให้เว็บไซต์ธุรกิจของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้สร้างยอดขายทางออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ได้มากขึ้น เพราะเว็บไซต์เปรียบเสมือนเป็นหน้าร้านที่เปิด 24 ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด สามารถทำหน้าที่แทนมนุษย์ได้เกือบสมบูรณ์ 100% จึงทำให้ไม่พลาดโอกาสในการปิดการขายกับลูกค้าได้ในที่สุด
ซึ่งถ้าลองดูจากสถิติของ Sistrix ที่มีการหาค่าเฉลี่ย Click-through Rate (CTR) ที่แยกตามแต่ละ Position ของเว็บไซต์บนหน้า SERP จากตัวเลขดังกล่าวจะสังเกตได้เลยว่า ตำแหน่งของเว็บไซต์ที่ได้ค่า Click-through Rate (CTR) มากที่สุดคือเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับตำแหน่งที่ 1 และไล่กันลงมาตามลำดับการแสดงผล ซึ่งการที่มีคนกดคลิกเข้าไปยังเว็บไซต์ของคุณมากเท่าไร นั่นเท่ากับโอกาสที่ธุรกิจของคุณจะสามารถสร้าง Conversion ได้ง่ายมากขึ้นเท่านั้น
นอกจากนั้นการทำ SEM ยังสามารถช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เว็บไซต์ของธุรกิจคุณนั้น สามารถไปปรากฏอยู่อันดับต้น ๆ ของหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP) จะช่วยให้แบรนด์ของคุณเกิดการจดจำจากกลุ่มเป้าหมาย และทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่นในแบรนด์ของคุณมากยิ่งขึ้น
ข้อควรรู้ก่อนเริ่มต้นทำ SEM
ก่อนเริ่มต้นทำ SEM พื้นฐานสำคัญที่คุณควรรู้ เช่น การทำ Keyword Research และ การดูจำนวน Keyword Volume ถ้าหากรู้เรื่องพื้นฐานเหล่านี้ คุณจะสามารถทำได้ทั้ง SEM และ SEO แบบสบาย ๆ เลย
1. ตั้งเป้าหมายก่อนทำ SEM ให้ชัดเจน
ให้คุณตั้งเป้าหมายก่อนทำ SEM เช่น การเพิ่ม Traffic บนเว็บไซต์, หา Lead ให้ธุรกิจเพิ่มขึ้น, เพิ่มยอดขาย หรือเป้าหมายอื่น ๆ เพราะการมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้เราวางกลยุทธ์ในการทำ SEM ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทำ Keyword Research เพื่อหา Keyword ที่ธุรกิจต้องการ
การทำ Keyword Research จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำทั้ง SEO และ Paid Search ให้ดียิ่งขึ้น เพราะเราจะรู้เลยว่า Keyword คำนั้นจะสามารถต่อสู้กับคู่แข่งได้หรือไม่ ทั้งจำนวน Search Volume, ความยาก-ง่ายในการทำอันดับ, ดูคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันกับเราว่ามีใครบ้าง โดยการทำ Keyword Research สามารถใช้เครื่องมือ SEO Tools เข้ามาช่วยได้ เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest, SEMRush และอื่น ๆ
3. เริ่มปรับปรุงคุณภาพเว็บไซต์
แม้จะมีกลยุทธ์การทำ SEM ที่ดีแล้ว แต่พอกลุ่มเป้าหมายของคุณกดเข้ามายังเว็บไซต์ของคุณแล้วพบว่า เว็บไซต์ของคุณใช้งานยาก, มี UX/UI ที่ไม่ดี, โหลดช้า, ไม่มีความปลอดภัย หรือไม่สามารถรองรับสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ สุดท้ายคุณอาจไม่สามารถเปลี่ยน Traffic ให้กลายเป็น Conversion ได้ ซึ่งทำให้การที่ทุ่มเททำ SEM มาทั้งหมดเป็นการสูญเปล่าได้ เพราะฉะนั้นการตรวจสอบคุณภาพเว็บไซต์ให้ดีก่อนนำมาทำ SEM จะช่วยทำให้บรรลุเป้าหมายได้
โดยวิธีในการเช็กคุณภาพของเว็บไซต์นั้น วิธีที่ง่ายที่สุด (และใช้งานได้ฟรี)
4. คอนเทนต์ต้องมีคุณภาพและมีประโยชน์
เมื่อคนเข้ามาบนเว็บไซต์จากการทำ SEM แล้ว การที่คนจะอยู่บนเว็บไซต์ของคุณได้นานหรือไม่อีกหนึ่งข้อคือ การเขียนบทความ SEO ทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ มีประโยชน์ และสามารถตอบคำถามที่กลุ่มเป้าหมายกำลังตามหาได้ เช่น ถ้าคนเข้ามาด้วย Keyword คำว่า รองเท้าแตะยี่ห้อไหนดี ในคอนเทนต์ของคุณอาจตอบคำถามพวกเขาด้วยการรีวิวข้อดี-ข้อเสียของรองเท้าแตะแต่ละยี่ห้อ เพื่อเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจให้กับคนอ่าน สุดท้ายแล้วถ้าพวกเขามองว่าคอนเทนต์ของคุณมีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ค้นหา Users ก็จะใช้เวลาอยู่ในเว็บไซต์ของคุณนานขึ้น และอาจส่งผลให้เกิดการสร้าง Conversion ได้โดยง่าย
โดยการเขียนบทความ SEO ที่มีคุณภาพนั้นและสามารถช่วยให้อันดับของเว็บไซต์ดีขึ้นได้นั้น แนะนำว่าต้องเป็นบทความที่สามารถช่วยให้คุณค่าหรือประโยชน์อะไรบางอย่าง
วิธีการวัดผลลัพธ์การทำ SEM
สำหรับวิธีการวัดผลลัพธ์การทำ SEM ในปัจจุบัน คือ การใช้ Looker Studio ในการทำ Dashboard ด้วยการดึงข้อมูล KPIs ที่สนใจต่าง ๆ จาก Google Ads, Google Analytics 4 หรือ Google Search Console ออกมาทำ Data Visualization เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น เห็นภาพตรงกัน และรวมอยู่ในที่เดียว
KPIs สำหรับการทำ SEM มีอะไรบ้าง ?
KPIs หรือตัวชี้วัดความสำเร็จ สำหรับการทำ SEM มีมากมาย แต่ขอยกตัวอย่าง Metric ที่สำคัญต่อการติดตามผลลัพธ์การทำการตลาดโดยใช้เว็บไซต์ เช่น
- Traffic – Metric ที่ใช้วัดอัตราการเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งมีเยอะ แสดงว่าการทำ SEM มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดึงดูดคนเข้ามาบนเว็บไซต์ได้
- Impression – Metric สำหรับการแสดงผลโฆษณาหรือการที่กลุ่มเป้าหมายจะมองเห็นโฆษณา โดย 1,000 Impression คือ การเห็นโฆษณาจำนวน 1,000 ครั้ง แต่ก็ไม่ได้การันตีว่ากลุ่มเป้าหมายจะดูโฆษณาของคุณจริง ๆ (อาจเลื่อนผ่านไปเฉยๆ ก็ได้)
- CTR (Click-through Rate) – ถือว่าเป็น Metric ที่เหมาะสมในการวัดเรื่อง Consideration เพราะถ้าหากเรานำเสนอโฆษณาที่น่าสนใจ ตรงกลุ่มเป้าหมาย จนทำให้พวกเขากดเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ของเราได้ เราก็สามารถอ้างอิงได้ว่าเขามี Consideration บางอย่างเกิดขึ้นกับเราแล้ว ยิ่งจำนวน CTR สูง ก็ยิ่งดี
- Conversion – เป็น Metric ที่ชี้วัดการเปลี่ยนแปลงไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น จำนวนคำสั่งซื้อ, จำนวนครั้ง App Install, จำนวน Lead ที่ได้รับ (ธุรกิจไหนที่ทำ E-Commerce SEO ตัว KPI นี้ถือว่าสำคัญที่สุด)
- Return On Ad Spend (ROAS) – เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพทางการเงินที่ใช้ในการวัดผลตอบแทนจากการลงทุนในโฆษณา หรือการทำ SEM (Search Engine Marketing) โดย ROAS มีวิธีในการคำนวณคือ รายได้จากโฆษณา / ค่าใช้จ่ายในการโฆษณา
- Cost Per Acquisition (CPA) – คือตัวชี้วัดทางการตลาดที่คำนวณต้นทุนเฉลี่ยในการได้มาซึ่งลูกค้าหนึ่งครั้ง (Conversion) ในแคมเปญโฆษณาโดย CPA มีวิธีในการคำนวณคือ ให้ค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการโฆษณา / จำนวน Acquisitions (Conversions)
- Bounce Rate – เป็นอัตราการออกจากเว็บไซต์โดยที่ผู้ใช้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ใดๆ กับหน้าเว็บนั้นๆ นอกจากการเข้าชมหน้าแรกที่พวกเขามาถึง ซึ่งถ้า Bounce Rate ของเว็บไซต์ต่ำมากเท่าใด นั่นแสดงว่า Performance ของเว็บไซต์คุณเป็นที่น่าพอใจ (ต่ำกว่า 40%)
ทั้งนี้การเลือกใช้ KPIs ต้องดูด้วยว่าในการทำ SEM ของเรานั้นมี Goal เป็นอะไร เช่น ถ้าต้องการเพิ่ม Consideration สินค้าที่ออกใหม่ ให้ใช้ CTR, ถ้าต้องการเพิ่มยอด App Install ให้ใช้ Conversion (App Install) หรือต้องการเพิ่ม Awareness เกี่ยวกับ Holiday Sale ที่กำลังจะมาถึง ให้ใช้ Impression เป็นต้น
สรุป
SEM หรือ Search Engine Marketing เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สำคัญที่จะช่วยให้การทำการตลาดออนไลน์ หรือแม้รับทำ SEO ในปี 2024 ที่จะช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้นผ่าน Search Engine อย่าง Google อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการสร้างการเติบโต เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจผ่าน Google เราขอแนะนำให้คุณลองทำทั้ง SEM และ SEO ควบคู่กันไป เพราะการทำการตลาดทั้งสองรูปแบบนี้จะช่วยคุณดึงกลุ่มเป้าหมายได้ในระยะเวลาและวิธีที่ต่างกัน หากทำทั้งสองวิธีก็จะช่วยให้ธุรกิจของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย สร้างการเติบโตให้ธุรกิจในระยาวได้อย่างดี