Home - Ai - รู้จัก SearchGPT ฟีเจอร์เพิ่มประสิทธิภาพ ChatGPT ให้ค้นหาข้อมูลได้เร็ว สะดวก แม่นยำขึ้น

รู้จัก SearchGPT ฟีเจอร์เพิ่มประสิทธิภาพ ChatGPT ให้ค้นหาข้อมูลได้เร็ว สะดวก แม่นยำขึ้น

SearchGPT คือ

SearchGPT ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดบน ChatGPT ที่จะทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้นเพียงคลิกเดียว ด้วยฟีเจอร์นี้ ผู้ใช้งานจะได้ทั้งสรุปข้อมูลเป็นคำตอบที่ตรงตามคำถาม พร้อมกับลิสต์แหล่งข้อมูลที่ GPT Search มาให้อย่างครบถ้วน

แต่ฟีเจอร์ใหม่มาแรงอย่าง Search GPT ตัวนี้ อาจทำให้การค้นหาข้อมูลง่ายขึ้นมากจนพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป จากที่หาข้อมูลบน Search Engine อย่าง Google ก่อน ไปเป็นค้นหาบน OpenAI Search Engine หรือก็คือ SearchGPT แทน แล้วแบบนี้ นักการตลาด และนักทำ SEO ควรปรับตัวอย่างไร?

SearchGPT คืออะไร ? ทำไม ChatGPT ถึงมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยฟีเจอร์นี้ ?

SearchGPT คือชื่อเรียกฟีเจอร์หนึ่งบน ChatGPT ที่พัฒนาโดยบริษัท OpenAI โดย SearchGPT ทำให้ ChatGPT ค้นหาข้อมูล และให้แหล่งข้อมูลจาก Internat ได้คล้ายกับ Search Engine ทำให้ฟีเจอร์นี้มีอีกชื่อหนึ่งว่า ChatGPT Search

ฟีเจอร์ดังกล่าวทำให้ ChatGPT ถูกพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมมาก ก่อนจะมีฟีเจอร์นี้ ChatGPT จะตอบคำถามผู้ใช้งานโดยใช้ฐานข้อมูลของตนเองเท่านั้น ทำให้มีปัญหาเรื่องข้อมูลไม่อัปเดต และไม่มีแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน เมื่อ SearchGPT ถูกเพิ่มเข้ามา ปัญหาส่วนนี้จึงน้อยลงไป

นอกจากนี้ SearchGPT ยังทำให้ผู้ใช้งานได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือกว่าเดิม เพราะ SearchGPT ตัวนี้ถูกพัฒนาโดยความร่วมมือของ OpenAI กับสำนักข่าวใหญ่ต่าง ๆ อย่าง The Associated Press, The Wall Street Journal และสื่อสำนักอื่น ๆ ทำให้เมื่อผู้ใช้งานถามคำถาม SearchGPT จะเข้าไปค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูลของสำนักข่าวเหล่านี้ก่อน คำตอบที่ออกมาจึงน่าเชื่อถือมากขึ้นนั่นเอง

ปัจจุบัน SearchGPT เปิดให้ใช้งานได้แล้วทั่วโลก แต่จะให้ใช้งานได้เฉพาะ User ที่ซื้อแพลน Plus และ Team เท่านั้น ในอนาคต OpenAI มีแผนจะให้ใช้งาน SearchGPT ได้สำหรับผู้ใช้งานฟรี แต่ยังไม่มีกำหนดเวลา

SearchGPT

กดที่เครื่องหมายลูกโลก ปุ่มจะกลายเป็นสีฟ้าและขึ้นคำว่า “Search” จะเป็นการเปิดใช้งาน SearchGPT

SearchGPT ทำงานอย่างไร ? ทำไมแก้ปัญหา Hallucination ได้ ?

เมื่อผู้ใช้งาน Search ChatGPT ผ่านฟีเจอร์ SearchGPT ตัว ChatGPT จะแสดงผลออกมา 2 ส่วน

chatgpt questions

ส่วนแรกคือผลการค้นหาที่ ChatGPT สรุปมาให้จากแหล่งข้อมูลบน Internet โดยเลือกมาเฉพาะเนื้อหาส่วนที่เป็น Intent ของผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานได้คำตอบของข้อสงสัยเร็ว และง่ายขึ้น

ส่วนที่สองเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ ที่ SearchGPT ค้นหามา จะมีทั้งที่เป็น Citation อยู่ในข้อความที่สรุปมาให้ และเป็นลิสต์อยู่ด้านขวาเพื่อให้ดูง่าย นอกจากลิสต์ของ Citation Link แล้วยังมี Link เว็บไซต์อื่น ๆ ที่ผู้ใช้งานอาจจะสนใจให้ที่ด้านล่างขวาด้วย

แล้วกระบวนการค้นหาข้อมูลของ SearchGPT ทำงานอย่างไร?

อย่างที่หลายคนทราบดี ChatGPT คือ Generative AI ที่เป็น LLM (Large Language Model) ที่สามารถตอบโต้กับเราได้ผ่านการเรียนรู้จากฐานข้อมูลภาษาขนาดใหญ่ ซึ่งการเรียนรู้จากฐานข้อมูลขนาดใหญ่นี้เองทำให้เกิดปัญหาหลักอยู่สองส่วน ส่วนแรกคือข้อมูลไม่อัปเดต ส่วนที่สองคืออาจเกิด Hallucination หรือกระบวนการที่ AI สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องขึ้นมา

OpenAI จึงแก้ปัญหาดังกล่าวด้วย SearchGPT โดย SearchGPT ทำงานคล้ายกับ RAG (Retrieval-Augmented Generation) ที่เป็นการเพิ่มฐานข้อมูลเฉพาะเข้าไปให้กับ LLM โดย LLM จะไม่ได้ Learning ข้อมูลชุดนี้ แต่จะค้นหาข้อมูลที่มันต้องการจากข้อมูลชุดนี้นั่นเอง ข้อดีคือมีโอกาสเกิด Hallucination ได้น้อยกว่า

เมื่อผู้ใช้งานถามคำถามโดยเปิดฟีเจอร์ SearchGPT ตัว ChatGPT จะแปลงข้อมูลของเราเป็น Queries และค้นหาบน Search Engine ของมันเอง ซึ่งหลายคนคาดว่าน่าจะเป็น Bing เนื่องจาก OpenAI เป็น Partner กับ Microsoft 

จากนั้นมันจะเลือกข้อมูลจากเว็บไซต์ที่มันเชื่อถือ คือข้อมูลจากเว็บไซต์สำนักข่าวต่าง ๆ ก่อน แล้วจึงเลือกดูเว็บไซต์อื่น ๆ ขั้นตอนถัดมา มันจะแปลงข้อมูลที่หามาได้เป็นรูปแบบของ Vector เพื่อให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นฐานข้อมูลเฉพาะที่ LLM สามารถเข้าใจได้

ท้ายที่สุดมันตอบคำถามของผู้ใช้งานโดยดึงข้อมูลมาจากฐานข้อมูลเฉพาะตัวนี้ ทำให้ผู้ใช้งานได้ทั้งข้อมูลที่อัปเดต และถูกต้องมากขึ้นนั่นเอง

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง SearchGPT และ Search Engine ปกติ 

เพราะ OpenAI Search ไม่ใช่ Search Engine แบบ Google แต่เป็น LLM หรือที่เราเรียกว่าเป็น AI ทำให้การแสดงผลต่าง ๆ สามารถทำได้มากกว่า Search Engine ปกติ โดยมีข้อแตกต่างหลัก ๆ ดังนี้

  • รูปแบบการแสดงผลต่างกัน นอกจากจะให้ Link ที่ตรงกับความต้องการผู้ใช้งานเหมือน Search Engine ปกติแล้ว ยังให้คำตอบแบบสรุปความเป็นตัวอักษร ให้ผู้ใช้งานสามารถอ่านและได้คำตอบที่ต้องการได้โดยไม่ต้องไปที่ลิงก์ต้นทาง
  • SearchGPT สามารถเข้าใจบริบทของข้อมูลได้ดี รวมถึงมีรูปแบบ Interphase เป็น Chat ทำให้ผู้ใช้งานสามารถถามข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เลย ผู้ใช้งานจึงสามารถพบข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และต่อยอดจากคำตอบได้เลย โดยไม่ต้องแยกกันค้นหาแบบ Search Engine
  • SearchGPT สามารถถามคำถามที่เฉพาะเจาะจงมากกว่า เป็น Query ที่ยาวกว่าการค้นหาตาม Search Engine แบบปกติได้ เช่น หากต้องการหา “แบบชุดสำหรับใส่เป็นเพื่อนเจ้าสาวในงานแต่งงานริมทะเล” การค้นหาแบบเดิมอาจพิมพ์ได้แค่ “ชุดเพื่อนเจ้าสาว ไม่ร้อน” หรืออื่น ๆ เพราะหากยาวเกินไปจะได้คำตอบที่ไม่ตรงความต้องการ แต่กับ SearchGPT ผู้ใช้งานสามารถพิมพ์ข้อความยาว ๆ ทั้งหมดนี้ลงไปได้เลย
  • SearchGPT สามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบ ทั้งตัวหนังสือ, รูปภาพ, ลิงก์, Infographic และอื่น ๆ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น จริงอยู่ว่า Search Engine ก็สามารถแสดงผลได้หลายรูปแบบ แต่ผลการค้นหาจะแยกกันอยู่ ไม่ได้รวมเป็นคำตอบเดียวกับเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจบริบทของข้อมูลได้ง่ายเหมือน SearchGPT
  • SearchGPT เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลากหลายมากกว่า เพราะนอกจากจะมีข้อมูลจากฝั่ง Chat GPT Search Engine แล้ว ยังมีข้อมูลจากฐานข้อมูลของ GPT เองด้วย

ฟีเจอร์เด่นของ SearchGPT ที่นักการตลาดควรรู้ มีอะไรบ้าง ?

ไม่แน่ว่าในอนาคต พฤติกรรมของผู้บริโภคอาจเปลี่ยนไป จากค้นหาข้อมูลใน Search Engine ต่าง ๆ ก่อนซื้อสินค้าและบริการ มาเป็นค้นหาบน AI Search อย่าง SearchGPT แทน

ในฐานะนักการตลาดและนักทำ SEO ต้องรู้จัก SearchGPT เพื่อพร้อมรับมือและหาทางทำการตลาดบน SearchGPT ให้ได้

ซึ่งฟีเจอร์หลัก ๆ ของ SearchGPT ที่นักการตลาดควรรู้จะมีดังนี้

  • แสดงผลในรูปแบบ Chat ทำให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ ถามเพิ่มเติม และป้อน Prompt อื่น ๆ ตาม หลังจากให้ช่วยค้นหาข้อมูลได้
  • มีลิงก์ให้เหมือนกับ Search Engine ทั้งลิงก์ที่เป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงของข้อความที่ SearchGPT สรุปมาให้ และลิงก์ของเนื้อหาอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
  • SearchGPT สามารถเปิดและปิดได้ หากต้องการถามข้อมูลจากในฐานข้อมูลของ GPT เพียงอย่างเดียว สามารถกดที่ปุ่มเดิมอีกครั้งเพื่อปิด SearchGPT ได้

นักทำ SEO ควรรู้! อยากให้เว็บไซต์แสดงผลบน SearchGPT ต้องทำอย่างไร ? 

การทำ Website Marketing ในปัจจุบัน นอกจากจะต้องทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ไปแสดงผลที่หน้า Search Engine แล้ว ยังต้องทำ GEO (Generative Engine Optimization) และ AEO (Answer Engine Optimization) ด้วย

ซึ่งวิธีการทำให้เว็บไซต์แสดงผลบน SearchGPT คือการทำ GEO รูปแบบหนึ่ง ที่มีนักทำ SEO ค้นหา และทดลองปรับเว็บไซต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ จนได้เป็นวิธีการที่เชื่อกันว่าน่าจะทำให้เว็บไซต์ของเรามีโอกาสติดในการค้นหาผ่าน SearchGPT ได้ โดยวิธีการมีดังนี้

เขียนคอนเทนต์คุณภาพด้วย EEAT Factors

การทำให้คอนเทนต์มีคุณภาพด้วย EEAT Factors ส่งผลดีต่อเว็บไซต์ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ในทางตรง EEAT Factors เป็นวิธีการวัดคุณภาพคอนเทนต์และเว็บไซต์แบบหนึ่งของ Search Engine เมื่อ SearchGPT ค้นหาบน Search Engine เพื่อสร้างฐานข้อมูลเฉพาะ SearchGPT จะมีโอกาสเจอเว็บไซต์ของเราก่อน และคัดเลือกเนื้อหาจากเว็บไซต์ของเรามาให้ผู้ใช้งานอ่าน รวมถึงให้ลิงก์ไปยังเว็บไซต์ของเราด้วย

ส่วนในทางอ้อมคอนเทนต์คุณภาพ และ EEAT Factors จะทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าคอนเทนต์ของเราสร้างประโยชน์ สร้างคุณค่าให้กับผู้อ่านได้จริง ทำให้เขาอยู่ในเว็บไซต์เรานานขึ้น อยากอ่านบทความอื่น ๆ ของเราต่อ คลิก Call-to-action ซึ่งเป็นผลดีกับ SEO มาก และนั่นจะดีกับการ Optimize เพื่อ SearchGPT ด้วย

ปรับแต่งเว็บไซต์ตามหลักของ SEO ทุกข้อ

อย่างที่อธิบายไปก่อนหน้านี้ ว่า SearchGPT ใช้ Bing ในการค้นหาข้อมูล ดังนั้น ยิ่งเว็บไซต์ของเราทำ SEO ได้ดี และอันดับบนหน้าผลการค้นหาดีมากเท่าไหร่ เว็บไซต์ของเราก็จะมีโอกาสถูกเลือกไปแสดงผลใน SearchGPT มากขึ้นเท่านั้น

มีการทำ Backlinks ส่งกลับมายังเว็บไซต์ของเรา

เพราะ Search Engine วัดระดับความน่าเชื่อถือผ่านหลายปัจจัย ปัจจัยหลักอย่างหนึ่งคือ Backlink นั่นเอง หากเรามี Backlink คุณภาพดีจำนวนมาก จะทำให้เว็บไซต์ของเราน่าเชื่อถือในสายตาของ Search Engine เมื่อ SearchGPT มาค้นหาข้อมูล เว็บไซต์ของเราก็จะถูกแสดงขึ้นมาก่อน ทำให้มีโอกาสที่เราจะไปปรากฏอยู่ใน SearchGPT มากกว่า

นอกจากนี้ คอนเทนต์ Backlink ที่เรานิยมทำกัน อย่างคอนเทนต์ประเภทจัดอันดับ ยังมีโอกาสไปแสดงผลบน SearchGPT ได้มาก เพราะ Query อย่างหนึ่งที่คนค้นหามากบน AI Search คือการขอลิสต์ หรือ 10 อันดับบริษัท หรือสินค้าและบนการที่ดีที่สุดในหมวดหมู่ต่าง ๆ

และเนื่องจากคอนเทนต์จัดอันดับไม่นิยมทำเป็นบทความ On-page เพราะจะต้องพูดถึงคู่แข่ง นักทำ SEO จึงมักเลือกทำเป็น Backlink มากกว่า ทำให้เว็บไซต์น่าเชื่อถือที่ SearchGPT จะหาเจอก่อนเมื่อพูดถึงการจัดอันดับบริษัทหรือสินค้าบริการต่าง ๆ จะเป็น Backlink ที่เราทำไว้นั่นเอง

หากในลิสต์จัดอันดับเหล่านั้นมีชื่อบริษัท หรือสินค้าและบริการของเรา ก็จะทำให้ผู้ใช้งานเห็นเราผ่าน SearchGPT ได้มากขึ้น

มีการทำ AI-Optimized Content Strategy

SearchGPT คือเครื่องมือค้นหาในรูปแบบ Chat ที่จะดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลเฉพาะมาแสดงผล ดังนั้น นอกจากจะต้อง Optimize เพื่อ Search Engine ให้ SearchGPT หยิบเว็บไซต์ของเราไปเป็นฐานข้อมูลเฉพาะแล้ว ยังต้อง Optimize เพื่อให้ AI อย่าง SearchGPT เข้าใจเนื้อหาบนเว็บไซต์ของเราได้ง่าย SearchGPT จะได้เลือกข้อมูลของเราไปแสดงให้ผู้ใช้งานเห็นด้วย ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า “AI-Optimized Content Strategy”

วิธีการปรับคอนเทนต์ให้ AI เข้าใจง่าย ได้แก่

  • มีส่วนสรุปเนื้อหา หรือ Key Takeaway ที่ส่วนแรก ๆ ของคอนเทนต์
  • เนื้อหาตอบคำถามของผู้ใช้งานได้อย่างชัดเจน
  • จัดวางเนื้อหาแบบ Multimedia คือมีสื่อหลายอย่างนอกจากตัวอักษรอยู่บนหน้าเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ หรือวิดีโอ เพราะจะทำให้ SearchGPT ตอบคำถามของผู้ใช้งานได้ดีขึ้น SearchGPT จึงมีโอกาสจะหยิบคอนเทนต์ของเราไปแสดงมากขึ้นนั่นเอง

มีการใช้ Longtail Keyword ที่เป็นประโยคคำถามในคอนเทนต์

ผู้ใช้งาน SearchGPT มักจะถามคำถามยาว ๆ ที่เฉพาะเจาะจง มากกว่าจะค้นหาเป็นคำ ๆ เหมือนการค้นหาบน Search Engine ดังนั้นการเพิ่มเนื้อหาที่มี Longtail Keyword ที่เป็นประโยคคำถามในคอนเทนต์ จะช่วยให้ SearchGPT มีโอกาสดึงเนื้อหาของเราไปแสดงผลได้มากขึ้นนั่นเอง

SearchGPT จะมาแทน Search Engine หรือไม่ นักการตลาดควรตามเทรนด์ต่อไป

แม้ SearchGPT และ AI Search อาจมีแนวโน้มเข้ามาเปลี่ยนพฤติกรรมในการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคไป โดยการเข้ามาแทนที่ Search Engine แต่เราจะเห็นว่าการทำ SEO และการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพกับผู้อ่านยังคงสำคัญที่สุด

นักทำ SEO และนักการตลาดยังคงต้องทำ SEO และสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อผู้บริโภคต่อไป รวมทั้งควรติดตามเทรนด์ตลาดอยู่เสมอเพื่อรับมือกับอนาคตที่อาจเปลี่ยนไปในทางใดก็ได้

รับทำ SEO ติดหน้าแรก

ค้นหา บทความอื่นๆ

Search

ผู้เขียน

Picture of ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร
ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร

ผู้บริหารและนักการตลาดสาย SEO ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Marketing Strategy สนใจเกี่ยวกับ Search Engine & AI Algorithms เป็นพิเศษ และเชื่อเสมอว่าทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ด้วย Data

LinkedIn
Picture of ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร
ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร

ผู้บริหารและนักการตลาดสาย SEO ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Marketing Strategy สนใจเกี่ยวกับ Search Engine & AI Algorithms เป็นพิเศษ และเชื่อเสมอว่าทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ด้วย Data

LinkedIn

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

crm คืออะไร

ระบบ CRM คืออะไร? วิธีเพิ่มยอดขายและสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนกับลูกค้า

ระบบ crm สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร มีประโยชน์ต่อธุรกิจขนาดเล็ก ใหญ่ อย่างไรบ้าง รวมไปถึง บอกฟังก์ชันต่างๆ ที่องค์กรต่างๆ สามารถนำไปต่อยอดธุรกิจได้

อ่านบทความ ➝

SERP คืออะไร ทำไมถึงสำคัญกับคนทำ SEO แนะนำให้อ่านบทความนี้

SERPs คืออะไร ช่วยเรื่องอะไรบ้าง เดียววันนี้เรามาทำความเข้าใจเบื้องต้นกันครับ หวังว่าคงจะมีประโยชน์สำหรับคนทำ SEO ทุกคน

อ่านบทความ ➝
GEO คืออะไร

GEO คืออะไร อีกหนึ่งช่องทางการตลาดผ่าน AI ที่สาย SEO ไม่ควรพลาด

GEO คืออะไร มาทำความรู้จักกับ Generative Engine Optimization ผ่าน AI ที่จะช่วยเพิ่มยอดการเข้าถึงและเสริมการทำ SEO ให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top