ปัจจัยสำคัญในการทำ SEO ให้ประสบความสำเร็จหนึ่งในนั้นต้องมีเรื่องของ คำค้นหา (Keyword) ที่ต้องเป็นคำที่ตรงกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าเกิดการค้นหาขึ้น เว็บไซต์ของเราถึงจะไปปรากฏบนหน้าแสดงผลการค้นหา (SERP)
แต่ในการที่คุณจะหา Keyword ที่ตรงกับคำที่ลูกค้าค้นหานั้น ถ้าจะหวังถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจจากการทำ SEO คุณไม่สามารถที่จะคิด Keyword ขึ้นมาเองได้ แต่ต้องอาศัยการใช้ “โปรแกรมหา Keyword” ในการเข้ามาช่วยตามหา Keyword ที่กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้ามีการค้นหามากที่สุด
ในบทความนี้เราจะมาแนะนำโปรแกรมหา Keyword เพื่อการทำ SEO อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีทั้งโปรหา Keyword แบบฟรีและเสียเงิน แต่จะมีโปรแกรมหา Keyword ตัวไหนที่มีความน่าสนใจบ้าง ไปติดตามกันต่อในบทความได้เลย
แนะนำโปรแกรมหา Keyword ที่น่าสนใจ
ถ้าพูดถึงโปรแกรมหา Keyword สำหรับการทำ SEO นั้นในปัจจุบันก็มีเครื่องมือให้เหล่านักการตลาดได้เลือกใช้งานมากมาย ซึ่งก็มีตั้งแต่โปรแกรมหา Keyword ฟรี สำหรับผู้เริ่มต้น ไปจนถึงโปรแกรมหา Keyword แบบเสียเงินที่แม้จะจ่ายบริการ แต่ก็ได้มาซึ่งฟีเจอร์การหา Keyword ที่ครบครัน (รวมถึงฟีเจอร์ในการทำ SEO อื่น ๆ ด้วย) โดยมีโปรแกรมหา Keyword ที่เราอยากแนะนำ ดังนี้
แนะนำโปรแกรมหา Keyword ฟรี
1. Google Keyword Planner
Google Keyword Planner คือโปรแกรมหา Keyword เป็นหนึ่งในฟีเจอร์ที่อยู่ใน Google Ads ได้เปรียบตรงที่เป็นเครื่องมือของ Google ที่เป็น Search Engine หลักที่ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้งาน ดังนั้นข้อมูล Keyword ที่ได้ก็จะเป็นข้อมูล Keyword ที่อ้างอิงจาก Google จริง เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มทำ SEO เพราะนอกจากคุณจะได้หา Keyword ในการทำ SEO แล้วยังเป็นการเรียนรู้การใช้งาน Google Ads ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำการตลาดออนไลน์เทคนิคอื่น ๆ ด้วยเช่น SEM
ส่วนวิธีการใช้งานนั้น คุณต้องเริ่มสร้างบัญชีการใช้งานของ Google Ads ขึ้นมาก่อน (มีการกรอกข้อมูลและยืนยันตัวตน) เมื่อเข้าสู่ระบบของ Google Ads ก็เลือกฟีเจอร์ Keyword Planner ได้เลย โดย Google Keyword Planner นั้นนอกจากหา Keyword ได้แล้ว ยังช่วยคุณคิดไอเดีย Keyword ใหม่ ๆ ได้อีกด้วย
2. Google Trends
Google Trends คือโปรแกรมหา Keyword ฟรี เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ของ Google ที่เปิดให้ผู้ใช้งานได้ค้นหา Keyword รวมถึง Trends ของคำค้นหาที่กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงเวลานั้นบน Google ทั่วโลก ซึ่งสามารถเจาะสโคปได้ว่าบริเวณ Location ไหนในประเทศ มีพฤติกรรมการค้นหาเป็นอย่างไร แสดงผลอยู่ในรูปแบบของกราฟสี เปรียบเทียบง่าย ทำให้คุณหา Keyword ที่กำลังเป็นที่นิยมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้ง Google Trends ยังสามารถทำการเปรียบเทียบได้ด้วย ในกรณีที่คุณมี Keyword 2 คำที่กำลัง ลังเล Google Trends ก็สามารถบอกได้ว่าถ้า 2 คำค้นหานั้นมาแข่งกัน ในช่วงเวลาที่กำหนด Keyword ไหนมีปริมาณการค้นหาที่มากกว่ากัน เพื่อความแม่นยำในการเลือกคำค้นหาไปใช้งานจริง
3. Ubersuggest
Ubersuggest เป็นโปรแกรมหา Keyword ที่ถูกพัฒนาโดย Neil Patel ปรมาจาร์ยด้านการทำ SEO อีกหนึ่งนักการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก โปรแกรมมีข้อดีที่ฟีเจอร์การใช้งานที่ครบเครื่อง และใช้งานง่าย (ผมเองเป็นลูกค้าเจ้านี้)
ซึ่งนอกจากเป็นโปรแกรมฟรีในการหา Keyword แล้วยังสามารถเช็คเว็บไซต์ของคู่แข่ง (Competitors Analysis) เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์และปรับปรุงการทำอันดับเว็บไซต์ของเราให้ดีขึ้นในอนาคตได้ รวมถึงยังสามารถวิเคราะห์ Backlink และดูสุขภาพเว็บไซต์ว่าได้ผลลัพธ์ในการทำ SEO ได้ด้วย
วิธีการใช้งานก็แสนง่าย เพียงเข้าไปที่ Ubersuggest แล้วเลือกประเทศเป็น Thailand แล้วใส่ Keyword หรือคำค้นหาที่คุณต้องการลงไปได้เลย (โปรแกรมนี้รองรับ Keyword ภาษาไทย 100%)
จากนั้นระบบจะขึ้น Keyword ที่คุณค้นหาพร้อมค่า Metrics ที่สำคัญเช่น Search Volume, Cost Per Click (CPC) , Paid Difficulty (PD) , SEO Difficulty (SD) ครบถ้วน สามารถกดดูได้ว่าใน Keyword นั้น ๆ Top 5 ของ Keyword นั้นมีเว็บไซต์ไหนบ้างได้ด้วย
แต่ Ubersuggest อาจมีข้อเสียตรงที่โปรแกรมนี้อนุญาตให้คุณใช้ฟรีได้แค่วันละ 3 Keyword Search เท่านั้น ดังนั้นถ้าอยากค้นหา Keyword ที่มากกว่าปริมาณนั้นหรือจำเป็นต่อการใช้ทำงานจริง ๆ ก็ต้องสมัครแพ็คเกจรายเดือน ซึ่งก็จะมีราคาและฟีเจอร์การใช้งานที่แตกต่างกันออกไป
4. Keywordtool.io
Keywordtool.io เป็นโปรแกรมหา Keyword ฟรีที่มีความพิเศษในการค้นหา Keyword Idea ในกรณีที่เราอยากทราบคำค้นหาคำอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงคำที่เราคิด มีวิธีการใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ไม่จำเป็นต้องสมัคร Account อะไรก็เริ่มใช้งานได้แล้ว แถมยังสามารถหาใน Search Engine อื่นอย่าง Youtube, Bing ได้ด้วย
โดยวิธีการใช้งานก็เพียงเข้าไปที่เว็บไซต์ Keywordtool.io แล้วระบุ Keyword ที่คุณต้องการหาลงไปในช่อง แล้วเลือกประเทศเป็น Thailand แล้วกด Search ได้เลย
โดยระบบจะแสดงคำค้นหาที่ใกล้เคียงกับคำค้นหาที่คุณระบุไปปรากฏขึ้นมากมาย ในการใช้เป็น Idea หา Keyword คำใหม่ ๆ แต่ข้อเสียคือ แม้จะปรากฏ Keyword ที่ใกล้เคียงมาเป็น Idea ก็จริงแต่จะไม่ได้แสดงค่า Metrics ต่าง ๆ เช่น Search Volume, Cost Per Click (CPC) ซึ่งแน่นอนว่าถ้าคุณอยากจะเห็นค่า Metrics ทั้งหมดก็ต้องสมัครใช้งานในแพ็คเกจรายเดือน
แต่ถ้าใครรู้สึกว่าโปรแกรมหา Keyword แบบฟรียังไม่ตอบโจทย์การทำงานของคุณมากนัก ต่อมาเราไปดูโปรแกรมหา Keyword แบบเสียเงินกันบ้างครับว่าจะมีโปรแกรมหา Keyword ตัวไหนที่น่าสนใจบ้าง
แนะนำโปรแกรมหา Keyword แบบเสียเงิน
1. Ahrefs
Ahrefs คือโปรแกรมสำหรับการทำ SEO ที่ครบวงจร มาพร้อมความสามารถที่หลากหลายนอกเหนือจากการเป็นโปรแกรมหา Keyword เช่น การวิเคราะห์การทำ SEO ของเว็บไซต์ตัวเอง, การเช็คอันดับเว็บไซต์, เช็ค Backlink, Site Audit, วิเคราะห์คู่แข่งและอื่น ๆ
แต่ความพิเศษของ Ahrefs ในการเป็นโปรแกรมหา Keyword ก็คือสามารถระบุค่า Metrics ของ Keyword แต่ละคำได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็น Keyword Difficult (KD), Search Voume, Average Clicks, Return Rate, Parent Topics รวมถึงสามารถกรอก Filter เวลาได้ด้วยว่าต้องการทราบ Metrics ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงวัน/เดือน ไหนถึงวัน/เดือนไหน
ที่สำคัญคือ Ahrefs รองรับการหา Keyword ได้หลากหลายภาษาทั่วโลก มี Database ขนาดใหญ่ดังนั้นถ้าคุณสมัครใช้งานก็หมดห่วงเรื่องนี้ไปได้เลย
โดย Ahrefs นั้นต้องยอมรับว่าเป็นโปรแกรมสำหรับการทำ SEO ที่มีราคาสูงแต่ก็แลกมาด้วยฟีเจอร์การใช้งานสุดครบครัน มีราคาแพ็คเกจเริ่มตั้งแต่ 99$ (ราว 3,198 บาท/เดือน) ไปจนถึงแบบแพงที่สุดสำหรับการใช้งานในองค์กรขนาดใหญ่ที่ 999$ (ราว 32,277$ บาท/เดือน) โดยฟีเจอร์การใช้งานก็จะมีความแตกต่างกันไปตามราคาถูก-แพงของแพ็คเกจที่คุณสมัคร
อ่านราคาและฟีเจอร์ในแพ็คเกจต่าง ๆ ของ Ahrefs ทั้งหมดได้ที่นี่
2. Moz
Moz คือโปรแกรมสำหรับการทำ SEO ที่เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2004 โดย Rand Fishkin อีกหนึ่งนักการตลาดที่มีอิทธิพลในโลกออนไลน์ ถือว่าเป็นโปรแกรมการทำ SEO ที่มืออาชีพด้าน SEO ให้ความเชื่อมั่น โดดเด่นด้วยการแสดงผล Metrics ต่าง ๆ ในการทำ SEO ได้อย่างละเอียด
แต่ในมุมของการเป็นโปรแกรมหา Keyword ทาง Moz ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูงเพราะนอกจากช่วยให้คุณสามารถหาและเช็คคะแนน Keyword ที่ต้องการได้อย่างละเอียดแล้วยังมีฟีเจอร์เสริมอื่น ๆ เช่น Keyword Suggestion (แนะนำ Keyword ที่เกี่ยวข้อง), SERP Analysis หรือการวิเคราะห์ดูว่าในหน้าการค้นหาของ Keyword คำที่คุณต้องการเว็บไซต์ไหนอยู่ในอันดับ 1 มีคะแนนเป็นอย่างไร โอกาสที่คุณจะทำอันดับแซงได้ มีมากน้อยมากแค่ไหน
ส่วนราคาของ Moz นั้นก็มีราคาสูงพอตัว เริ่มต้นที่แพ็คเกจ Standard 79$ (ราว 2,567 บาท/เดือน) ไล่ไปจนถึงแพ็คเกจแพงที่สุดในรูปแบบของ Premium Plan ที่ 479$ (ราว 15,567 บาท/เดือน) ที่ส่วนตัวผมคิดว่าน่าจะเหมาะกับการใช้งานในองค์กรมากกว่า แต่ถ้าใครที่สนใจอยากใช้งาน Moz จริง ๆ ช่วงนี้ Moz มีช่วงให้ทดลองใช้งานฟรี 1 เดือนเต็มด้วยนะครับ สามารถไปทดลองใช้งานกันได้
อ่านราคาและฟีเจอร์ในแพ็คเกจต่าง ๆ ของ Moz ทั้งหมดได้ ที่นี่
3. SEMrush
SEMrush เป็นโปรแกรมหา Keyword สำหรับการทำ SEO ที่โฟกัสไปที่การแข่งขันทำอันดับให้เหนือกว่าคู่แข่งหรือว่าง่าย ๆ ก็คือการยึดอันดับ 1 บนหน้าการค้นหาของ Keyword นั้น ๆ เพราะ SEMRush ถือเป็นโปรแกรมในการทำ SEO ที่มีอาวุธครบครันนอกจากหา Keyword เช่น Domain Analytics, Rank Tracking, Site Audit, Backlink Analytics, On-Page SEO Check และอื่น ๆ อีกเพียบ
จน SEMrush เป็นโปรแกรมในการทำ SEO ที่บริษัทระดับต้น ๆ ของโลกเลือกใช้งานไม่ว่าจะเป็น Tesla, Apple, Samsung, IBM ฯลฯ
โดยในการเป็นโปรแกรมหา Keyword นั้น SEMrush ก็สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม (SEMrush จะใช้ชื่อฟีเจอร์นี้ว่า Keyword Magic Tools) ช่วยให้คุณเช็คค่า Metrics ต่าง ๆ ของ Keyword คำนั้น ๆ ได้อย่างละเอียดตั้งแต่ค่าพื้นฐานอย่าง Search Volume, Cost Per Click (CPC) ไปจนถึง Metrics ระดับ Advance เช่น Trend (อัตราการค้นหาในช่วงนั้นๆ) รวมถึง Filter ได้ตามระยะเวลาที่คุณต้องการ
ส่วนราคาของ SEMrush นั้นก็จัดอยู่ในโปรแกรมระดับพรีเมียม สมฐานะฟีเจอร์ที่มากมายและมีประสิทธิภาพขนาดนั้นอยู่แล้ว โดยราคาเริ่มต้นที่แพ็คเกจ Pro 119.95$ (ราว 3,898 บาท/เดือน) ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก, แพ็คเกจ Guru 229.95$ (ราว 7,473บาท/เดือน) ที่เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดกลางหรือ SME และแพ็คเกจระดับ Top อย่าง Business Plan 449.95$ (ราว 14,623 บาท/เดือน) เหมาะสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่
ซึ่งต้องบอกว่าหากคุณคือนักการตลาด (หรือธุรกิจ) ที่ต้องการลงทุนกับโปรแกรมหา Keyword หรือโปรแกรมการทำ SEO ที่มีประสิทธิภาพอันดับต้น ๆ แม้ราคาอาจแพงไปหน่อย แต่ผมว่าด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ SEMrush ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้อย่างแน่นอน
อ่านราคาและฟีเจอร์ในแพ็คเกจต่าง ๆ ของ SEMrush ทั้งหมดได้ที่นี่
4. KWFinder
KWFinder คือโปรแกรมหา Keyword ที่โดดเด่นในเรื่องของการหา Keyword ประเภท Long Tail Keyword หรือคำค้นหาที่ยาว ๆ เพราะโดยปกติแล้วคำค้นหาประเภท Long Tail Keyword จะมี Search Volume น้อยกว่าคีย์เวิร์ดแบบปกติที่จะสั้น ๆ หรือ Short Tail Keyword (Long Tail Keyword เช่น ขายรถมือสอง ราคาถูก ผ่อนน้อย )
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อ Keyword ของคุณยาวขึ้นคุณก็คงจะคิดไม่ออกแน่ ๆ ว่ากลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าส่วนใหญ่พวกเขาจะใช้ Keyword อะไรในการค้นหา ดังนั้น KWFinder จะเป็นโปรแกรมที่จะเข้ามามอบไอเดียให้คุณได้ดีมาก
สำหรับการหา Keyword บน KWFinder นั้นก็หลากหลายฟีเจอร์การใช้งานให้คุณได้เลือกตามการใช้งาน เช่น Local Keyword Research หรือการหา Keyword แบบเจาะจงตำแหน่งได้ เพื่อดูพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายตาม Location ต่าง ๆ , Competitor Keywords เช็ค Keyword ที่เว็บไซต์คู่แข่งคุณเลือกใช้หรือติดอันดับอยู่ เพื่อการแข่งขันในการทำ SEO , Location-Specific Long Tail Keywords หรือการเลือกตำแหน่งที่ตั้งแล้วให้โปรแกรมออกแบบ Long Tail Keyword ให้ เช่น ซื้อไอโฟน มือสอง ราคาถูก ลาดพร้าว ในกรณีที่คุณไม่มีประสบการณ์ด้าน SEO มาก่อนฟีเจอร์นี้ตอบโจทย์มาก!
และนอกจากฟีเจอร์ที่กล่าวไปแล้ว KWFinder ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยทำให้การทำ SEO ของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกเพียบ (แต่จะต่างจากตัวอื่นตรงที่ KWFinder เน้นไปที่ Keyword เป็นหลัก)
ส่วนเรื่องราคาของ KWFinder จะจัดว่ามีราคาถูก เมื่อเทียบกับโปรแกรมหา Keyword ตัวอื่น ๆ เพราะ KWFinder จะมีฟีเจอร์หลัก ๆ แค่ด้าน Keyword อย่างเดียว ซึ่งจะแตกต่างจากโปรแกรมอื่นที่เน้นการทำ SEO ครบวงจร โดยราคาของ KWFinder เริ่มต้นที่แพ็คเกจ Basic 29.90$ (ราว 971 บาท/เดือน) , แพ็คเกจ Premium 39.90$ (ราว 1,300 บาท/เดือน) ซึ่งเป็นแพ็คเกจตัวที่ขายดีที่สุดของ KWFinder ด้วย และแพงสุดที่แพ็คเกจ Agency 79.90$ (ราว 2,596 บาท/เดือน) แต่ถ้าใครยังไม่มั่นใจ KWFinder ก็ให้คุณสามารถเข้าไปลองใช้งานฟรี ๆ ได้ก่อน 10 วันได้เลย
โดยส่วนตัวผมมองว่าสำหรับใครที่กำลังมองหาแค่โปรแกรมการหา Keyword อย่างเดียว เพียว ๆ และเน้นประสิทธิภาพด้วย จากฟีเจอร์การใช้งานและราคาแล้ว KWFinder ถือว่าเป็นโปรแกรมหา Keyword อีกตัวที่อยากแนะนำเลยครับ คุ้มแน่นอน
อ่านราคาและฟีเจอร์ในแพ็คเกจต่าง ๆ ของ KWFinder ทั้งหมดได้ ที่นี่
สรุป
ทั้งหมดก็เป็นโปรแกรมหา Keyword ที่มีทั้งแบบฟรีและเสียเงินที่เราอยากแนะนำ ทุกโปรแกรมล้วนมีข้อดี-ข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับการใช้งานและวัตถุประสงค์ที่คุณต้องการในการทำ SEO
ซึ่งการเลือกโปรแกรมหา Keyword ที่มีฟีเจอร์ที่เหมาะสม ครบครันนั้นก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสริมที่จะเข้ามาทำให้การทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นการวัดผล พัฒนา วิเคราะห์ข้อมูลของธุรกิจคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้ เป็นเหมือนก้าวที่สำคัญในการสร้างธุรกิจให้เติบโตในยุคออนไลน์