Home - SEO - Google Ranking Factor 2024 อัปเดตกฎ 200+ ข้อจาก Google

Google Ranking Factor 2024 อัปเดตกฎ 200+ ข้อจาก Google

การติดอันดับในหน้าแรกบน Search Engine ไม่มีคำว่า บังเอิญหรือฟลุ๊ค คุณจะต้องทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพตรงตามเกณฑ์ที่ทาง Google กำหนด แล้วเกณฑ์ที่ว่านั้นคืออะไร? 

เรื่องนี้ผมเคยอัปเดตเกณฑ์ล่าสุดไปแล้วอย่าง E-A-T Factor หรือ Core Web Vitals ซึ่งเป็นเกณฑ์ใหม่ๆ ที่ Google ออกนโยบายมาให้ปฏิบัติตาม แต่จริงๆ แล้ว Google มีกฎเกณฑ์ที่มากกว่านั้นอีกครับ เรียกได้ว่า มากกว่า 200 ข้อ++ เลยทีเดียว

ว่าแต่จะมีอะไรบ้าง วันนี้ผมได้รวบรวม Google Ranking Factor ที่อัปเดตล่าสุดในปี 2024 มาให้ทั้งหมดในบทความนี้แล้วครับ ซึ่งผมขอแบ่งออกเป็น 9 หมวดหมู่เพื่อให้เข้าใจง่าย ดังนี้

Domain Factors 

  1. Domain Age หรือ อายุของโดเมน เป็นสิ่งที่คนทำ Google มองว่าจะมีผลต่อการจัดอันดับ แต่ทาง John Mueller เคยพูดถึงเรื่องนี้เอาไว้ว่า “ไม่ว่าจะเป็นโดเมนเก่าหรือโดเมนใหม่ อายุโดเมนไม่ส่งผลโดยตรงต่ออันดับ SEO ของคุณในผลการค้นหาของ Google’s search” (แต่เรื่อง Domain Age นั้นยังส่งผลด้านบวกให้กับเรื่องของ Backlink อยู่นะครับ)
  2. การมี Keyword ปรากฏอยู่ในชื่อโดเมน (Keyword Appears in Top Level Domain) เรื่องนี้ไม่ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำ SEO ไปมากกว่าการใช้ชื่อแบรนด์ของคุณเป็นชื่อโดเมน แต่ก็ยังทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณให้กับทาง Google มองเห็นถึงความเกี่ยวข้อง (Relevant) อยู่ อีกทั้งยังทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ดีขึ้นว่า เว็บไซต์ของคุณเกี่ยวกับอะไร และอาจจะทำให้เพิ่มอัตราการคลิกมากขึ้นได้ด้วย
  3. ระยะเวลาในการจดทะเบียนโดเมน (Domain registration length) ในสิทธิบัตร Google ได้กล่าวว่า โดเมนที่ทำการจดทะเบียนและทำการจ่ายเงินล่วงหน้า สามารถใช้เป็นปัจจัยในการคาดการณ์ถึงความถูกต้องตามกฎได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เว็บไซต์จะได้คะแนนจาก Google ในส่วนนี้มากเป็นพิเศษ ยังไงก็ยังต้องโฟกัสในเรื่องของคุณภาพเว็บไซต์เป็นหลักครับ
  4. การใส่ Keyword ไว้ในเว็บไซต์ที่แยกจากโดเมนหลัก (Keyword in Subdomain) ทางผู้เชี่ยวชาญของ Moz ออกมายอมรับว่า การใส่ Keyword ไว้ใน Subbdomain นั้นช่วยในเรื่องของการจัดอันดับได้จริง
  1. Domain History หรือ ประวัติของโดเมน ถ้าโดเมนที่คุณใช้เคยมีคนใช้มาก่อนแล้วและเคยมีปัญหากับ Googe ในการทำเป็นลิงก์สแปมหรือมีแต่ลิงก์ที่ไม่ดี ก็จะส่งผลเป็นอย่างมากต่อการจัดอันดับ SEO ได้
  2. การใช้ Keyword หรือชื่อแบรนด์โดยตรงเป็นชื่อโดเมน (Exact Match Domain) เรื่องนี้อาจมีประโยชน์ต่อ SEO เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
  1. Public vs. Private WhoIs เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลเว็บไซต์ในฐานข้อมูล Whois ซึ่งเป็นเว็บตรวจสอบข้อมูลชื่อผู้ถือครองโดเมนว่าควรที่จะเปิดเผยข้อมูลหรือไม่ เรื่องนี้ได้รับคำตอบจาก John Mueller ของ Google มาแล้วว่า ไม่ได้มีอะไรเปลี่ยนแปลง

แตกต่างจากฝั่ง Googler Matt Cutts ที่แจ้งไว้ชัดเจนว่า Private WhoIs นั้นอาจส่งสัญญาณบอกเราว่า “มีบางอย่างต้องการปิดบังไว้”:

“…When I checked the whois on them, they all had “whois privacy protection service” on them. That’s relatively unusual. …Having whois privacy turned on isn’t automatically bad, but once you get several of these factors all together, you’re often talking about a very different type of webmaster than the fellow who just has a single site or so.”

  1. การที่เจ้าของเว็บไซต์ถูกลงโทษจาก Whois (Penalized WhoIs Owner) ซึ่งถ้าหาก Google จับได้ว่า บุคคลใดก็ตาม มีนิสัยชอบสแปม Google จะทำการทำโทษแบนเว็บไซต์ทั้งหมดที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของ โดยตรวจสอบเว็บไซต์ที่บุคคลนั้นเป็นเจ้าของจาก Whois
  2. Country TLD extension หรือ ประเทศที่อยู่ของโดเมน หากคุณมี Country Code Top Level Domain (เช่น .th, .cn, .pt, .ca) มีโอกาสที่จะช่วยให้อันดับดีขึ้นในเฉพาะประเทศนั้นๆ แต่ก็มีข้อจำกัดในกรณีที่ต้องการทำอันดับในประเทศอื่นด้วย

Page-Level Factors 

  1. การใส่ Keyword ใน Title Tag (Keyword in Title Tag) นั้นอาจไม่ได้จำเป็นเท่ากับเมื่อก่อน แต่ว่าการใส่ Keyword เอาไว้ในจุดนี้ก็จะช่วยส่งสัญญาณที่ดีให้กับการทำ On-Page SEO อยู่เหมือนเดิม
  1. Title Tag Starts with Keyword อ้างอิงจาก MOZ ที่ระบุว่า การวาง Keyword ไว้เป็นคำแรกของ Title Tag นั้นมีโอกาสที่ทำอันดับได้ดีกว่าการมี Keyword อยู่ส่วนท้ายของ title tag
  2. การใส่ Keyword ไว้ในคำอธิบาย Description Tag (Keyword in Description Tag) ซึ่ง Google ไม่ได้ใช้เรื่องนี้เป็นปัจจัยในการจัดอันดับ แต่การใส่ Keyword ลงไปใน Description Tag ด้วยก็ช่วยทำให้ผู้ใช้งานเข้าใจ และอาจส่งผลต่อ % ของ CTR ที่ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับด้วย
  3. Keyword Appears in H1 Tag เป็นการใส่ Keyword ไว้ใน H1 หรืออีกความหมายหนึ่งคือ “second title tag” ที่จะช่วยส่งสัญญาณด้านบวกให้กับ Google รู้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าเพจนั้นกับ Keyword ที่ใช้ ดังนั้น คุณควรที่จะใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปและเลือกใช้คีย์เวิร์ดเป้าหมายที่คุณต้องการ
  1. TF-IDF คือเทคนิคการคัดแยกคำตามความสำคัญโดยการให้น้ำหนักคำในแต่ละคำ ซึ่ง Google ได้นำเทคนิคที่แม่นยำและซับซ้อนมาใช้ในการค้นหาว่า มี Keyword นั้นปรากฏอยู่ในบทความมากแค่ไหน? หากพบคำนั้นได้บ่อย ก็จะทำให้ Google มองเห็นถึงความสัมพันธ์ของเพจและ Keyword นั้นๆ ได้
  1. การทำสารบัญ (Table of Contents) จะช่วยทำให้ Google เข้าใจเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ของคุณได้ดีขึ้น รู้ว่า หน้านั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ซึ่งมีผลคล้ายกับการจัดทำ sitelinks
  1. Latent Semantic Indexing Keywords in Content (LSI) หรือ การทำ LSI Keyword ด้วยคำ/วลี ที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดหลักของคุณ (Main keywords) เช่น คุณทำคอนเทนต์เรื่อง วิ่งออกกำลังกาย LSI Keyword อาจจะเป็น รองเท้าวิ่ง ความเร็ว ระยะทาง ฯลฯ ซึ่งการมี LSI อยู่ในเนื้อหา จะแสดงให้เห็นถึงคุณภาพของเนื้อหานั้นๆ และช่วยให้ Google สามารถบอกความหมายที่แท้จริงของคำนั้นๆ เช่น คำที่มีมากกว่า 1 ความหมายได้อีกด้วย
  2. การมี LSI Keyword ในชื่อหรือคำอธิบาย (LSI Keywords in Title and Description) เรื่องนี้จะช่วยให้ Google มองเห็นถึงความหมายของคำที่มีหลายความหมาย และยังช่วยให้อันดับดีขึ้นได้อีกด้วย
  3. Page Covers Topic In-Depth เป็นวิธีการทำเนื้อหาให้ครอบคลุมในทุกแง่มุมและมีหลายหน้า หลายบทความ จะช่วยทำให้ Google มองเห็นความสัมพันธ์ของเพจและ Keyword มากขึ้น แถมยังได้เปรียบมากกว่าการทำเนื้อหาเพียงบางส่วน หรือกล่าวถึงเนื้อหานั้นๆ เพียงหน้าเดียวอย่างแน่นอน
  4. Page Loading Speed via HTML คือ ความเร็วในการโหลดเพจผ่าน HTML ซึ่งทั้ง Google และ Bing ใช้เรื่องนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ โดย Google จะใช้ข้อมูลจริงของผู้ใช้งานผ่าน Chrome ในการประเมินความเร็วในการโหลดด้วย
  1. Use of AMP โดย AMP คือ วิธีการสร้างหน้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้เว็บไซต์แสดงผลได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง AMP อาจมีผลต่อการทำอันดับในหมวดของ mobile version ของ Google News แต่ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการจัดอันดับอย่างที่หลายคนเข้าใจ
  2. Entity Match เป็นระดับความสัมพันธ์ระหว่างหน้าเพจนั้นๆ กับคำ Keyword หากทำได้ดีก็จะถูกจัดอันดับที่ดีกว่าใน Keyword นั้นๆ
  3. Google Hummingbird หลังจากที่ Google ได้ทำการอัปเดตอัลกอริทึมตัวนี้ในปี 2013 เพื่อนำมาแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเสิร์ช ก็ช่วยให้ Google เข้าใจในเรื่องของคำ Keyword และเนื้อหาในเพจนั้นๆ มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลจากคีย์เวิร์ดต่างๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้นด้วย
  4. Duplicate Content เป็นการคัดลอกหรือทำเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกันไว้ในเว็บไซต์ หรืออาจจะทำการแก้ไขไปแล้วเพียงเล็กน้อยก็ตาม Google ก็ยังมองเป็นผลเสีย และอาจจะส่งผลกระทบต่อการมองเห็นและจัดอันดับเนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ ด้วย
  5. Rel=Canonical เป็นวิธีการบอก Search Engine ให้รู้ว่า URL ที่อยู่ภายใต้ tag นี้คือหน้าหลักของเว็บไซต์ หากใช้งานอย่างถูกต้อง จะช่วยป้องกันการแบนจาก Google ในเรื่องของการมีเนื้อหาที่ซ้ำซ้อนและป้องกันการ index ข้อมูลเว็บไซต์ผิดหน้าได้เป็นอย่างดี
  6. การปรับปรุงคุณภาพของรูปภาพบนเว็บไซต์ (Image Optimization) ด้วยการชื่อไฟล์, alt text, title, description และ caption ของรูปภาพ เพื่อให้ Google รู้ว่ารูปนี้เกี่ยวข้องกับเพจนั้นอย่างไร และภาพเหล่านี้ก็มีโอกาสถูกจัดอันดับใน Search Image อีกด้วย
  7. การทำเนื้อหาที่อัปเดต สดใหม่และทันสมัย (Content Recency) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นหาที่เป็น time-sensitive หลังจากที่ Google ได้ทำการอัปเดต Google Caffeine ก็ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น พร้อมทั้งมีการแสดงวันที่ ที่หน้าเพจนั้นทำการเผยแพร่เอาไว้ด้วย
  1. ปริมาณของการอัปเดตเนื้อหา (The magnitude of Content Updates) ไม่ว่าจะเป็นการแก้ไข เปลี่ยนแปลงเนื้อหาใหม่ ลบ หรือเพิ่มเนื้อหาเป็นส่วนๆ แบบชัดเจน ล้วนมีผลมากกว่าการสลับเนื้อหาไปมาหรือแก้คำที่สะกดผิดสองสามคำ
  2. ประวัติการอัปเดตหน้าเพจ (Historical Page Updates) หากคุณทำการอัปเดตเนื้อหาบ่อยมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้เนื้อหามีความสดใหม่สำหรับ Google มากเท่านั้น
  3. Keyword Prominence หมายถึง การให้ความสำคัญกับ keyword ที่ใช้ ถ้าหากคุณทำ SEO Content แล้วทำการวาง Keyword ไว้ใน 100 คำแรก ก็จะส่งผลต่อการจัดอันดับสำหรับ Google ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการทำให้ Google รู้ได้ทันทีตั้งแต่แรกว่า หน้าเพจนี้กำลังจะพูดถึงเรื่องอะไร
  4. การใส่ Keyword ไว้ในหัวข้อย่อยอย่าง H2 H3 (Keyword in H2, H3 Tags) ถือเป็นการส่งสัญญาณเล็กๆ ให้ Google มองเห็นและเข้าใจโครงสร้างของหน้าเพจนั้นมากขึ้น ซึ่ง John Mueller เคยกล่าวไว้ว่า…“These heading tags in HTML help us to understand the structure of the page.”
  5. Outbound Link Theme หรือความเกี่ยวข้องกันระหว่างเพจที่ทำการส่ง External Link ไป ซึ่งจากการอัปเดต  The Hillop Algorithm ของ Google สามารถตรวจสอบได้ว่า เนื้อหาของเว็บไซต์ที่คุณทำ External link ออกไปเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์คุณมากแค่ไหนและควรให้คะแนนหรือไม่ด้วย
  6. การสะกดคำและไวยากรณ์ (Grammar and Spelling) นี้เป็นเรื่องสำคัญที่ Matt Cutts ได้เคยกล่าวถึงไว้เมื่อหลายปีก่อนว่า การสะกดคำหรือใช้ไวยากรณ์ถูกต้องเป็นการบ่งบอกถึงคุณภาพของเว็บไซต์ได้อีกทางหนึ่ง
  7. Syndicated Content เกี่ยวกับความเป็นต้นฉบับของคอนเทนต์ โดยคอนเทนต์นั้นทำการคัดลอกมาก็อาจไม่ถูกจัดอันดับใดๆ เลย
  8. Mobile-Friendly Update เป็นเรื่องสำคัญมากหลังจากการอัปเดต Algorithm เมื่อหลายปีก่อน ซึ่ง Google ออกเกณฑ์มาแล้วว่า จะให้คะแนนกับเว็บไซต์ที่รองรับกับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต มากกว่า
  9. Mobile Usability สำหรับเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ง่ายบนมือถือ จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่า หากผู้ใช้ทำการค้นหาบนอุปกรณ์มือถือ (Mobile-first Index)
  10. “Hidden” Content on Mobile เนื้อหาที่ทำการซ่อนไว้บนมือถืออาจไม่ได้รับการประเมินจาก Google (หรืออาจได้เพียงเล็กน้อย) โดย Google เคยออกมาพูดถึงประเด็นนี้ว่า การซ่อนเนื้อหาบนมือถือเป็นเรื่องยอมรับได้ แต่ในประกาศเดียวกันก็เสริมอีกว่า “…ถ้ามันเป็นเนื้อหาส่วนที่สำคัญ มันควรจะมองเห็นได้นะ…” ดังนั้น หากเป็นเนื้อหาสำคัญก็ไม่ควรซ่อนเอาไว้นะครับ
  11. Helpful “Supplementary Content” เป็นเนื้อหาประเภทเสริม หรือช่วยเหลือ เช่น การมีเครื่องมือแปลงสกุลเงิน คำนวณดอกเบี้ย ฯลฯ ซึ่งทาง Google Rater Guidelines Document ได้เขียนถึงเรื่องนี้ไว้ว่า การมีเนื้อหาเหล่านี้เท่ากับเว็บไซต์นี้มีคุณภาพและจะส่งผลต่อการจัดอันดับของ Google ด้วย
  12. Content Hidden Behind Tabs (เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ใน Tab) โดยผู้ใช้จำเป็นต้องคลิก Tab เพื่ออ่าน เนื้อหาส่วนนี้อาจไม่ได้รับการพิจารณาจาก Google ได้
  13. Number of Outbound Links หมายถึง จำนวนของ External Link จากเว็บไซต์ ซึ่งถ้าหากมีจำนวนของลิงก์ประเภท Dofollow มากเกินไป จะส่งผลเสียต่อการทำอันดับได้
  14. Multimedia เช่น การมีรูปภาพ วิดีโอ หรือสื่ออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เป็นสิ่งที่ Google ชอบและจะมองว่าเว็บไซต์นั้นๆ ทำเนื้อหามีคุณภาพ และมีความสัมพันธ์กับเรื่องอันดับด้วย
  15. Number of Internal Links Pointing to Page หรือ จำนวน Internal Links ที่ชี้มายังเพจนั้นๆ เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสำคัญของหน้าเพจนั้นกับเพจอื่นๆ ภายในเว็บไซต์ ซึ่งถ้าหากหน้าไหนมี Internal Links ชี้มามากกว่า = สำคัญมากกว่า
  16. Quality of Internal Links Pointing to Page โดย Internal Link จากเพจที่มีคุณภาพหรือติดอันดับอยู่แล้ว จะมีผลต่อการทำอันดับมากกว่าลิงก์ที่มาจากเพจที่ไม่มี PageRank
  17. Broken Links หากเว็บของคุณมีลิงก์เสีย (Broken Links) มากเกินไป จะทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ไม่ได้รับการดูแล ซึ่งจะส่งผลต่อการวัดผลของคุณภาพของเว็บไซต์ด้วย
  18. Reading Level โดย Google จะประเมินความยาก-ง่ายของเนื้อหาบนเว็บไซต์ และให้คะแนน ซึ่ง Google เคยบอกคะแนนระดับความยากง่ายในการอ่านเอาไว้ด้วย
  1. Affiliate Links ปกติแล้วการมี Affiliate Links บนเว็บไซต์ไม่ได้ส่งผลต่อการจัดอันดับ แต่ถ้าลิงก์ประเภทนี้มีมากเกินไป Google ก็อาจจะเชื่อมโยงไปถึงคุณภาพของเว็บไซต์ และต้องตรวจสอบต่ออีกว่า คุณเป็นเว็บไซต์ affiliate ที่ชอบโฆษณาอย่างเดียวหรือไม่
  2. HTML errors/W3C validation เรื่องนี้ Google หมายถึง การที่เว็บไซต์เรามี HTML errors มากเกินไป จะเป็นการส่งสัญญาณให้ Google เห็นว่าเป็นเว็บไซต์ที่ไม่มีคุณภาพ ในทางตรงกันข้าม เว็บไซต์ที่มีโค้ดที่ดี ก็จะถูกมองว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพด้วย
  1. Page’s PageRank เรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีความสัมพันธ์กันโดยตรง แต่เพจที่มีลิงก์ที่ดีเข้ามามากกว่า จะมีแนวโน้มที่จะทำอันดับได้ดีกว่าเพจที่ไม่มี Internal Link หรือ Backlink ที่ดีเข้ามาเลย
  2. ความยาวของ URL (URL Length) สำหรับ URL ที่มีความยาวเกินไป อาจส่งผลให้ Search Engine หาไม่เจอ และจากกรณีศึกษา พบว่า URL แบบสั้นมีแนวโน้มที่จะทำอันดับได้ดีกว่าในหน้าค้นหา Google อีกด้วย
  1. เส้นทางของ URL (URL Path) หากเป็นหน้าเพจที่อยู่ใกล้กับหน้าหลัก จะมีโอกาสได้รับ Authority มากกว่าหน้าเพจที่อยู่ลึกเข้าไปในขั้น Subcategories ของโครงสร้างเว็บไซต์
  2. ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ (Human Editors) ถึงแม้จะไม่ได้รับการยืนยัน แต่ Google ก็ได้ออกสิทธิบัตรสำหรับระบบที่อนุญาตให้ผู้ใช้งานแก้ไขเนื้อหาได้ และยังส่งผลต่อ Search Engine Results Page อีกด้วย
  3. หมวดหมู่ของเพจ (Page Category) หน้าเพจที่มีความเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Page Category จะได้รับการจัดอันดับที่ดีกว่าหน้าที่ไม่ได้ถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด หรืออยู่ผิดหมวด
  4. ใส่ Keyword ใน URL เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับ ถึงแม้ Google จะบอกว่า “เป็นปัจจัยเล็กๆ” ก็ตาม แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ดี
  1. การอ้างอิง (References and Sources) เช่น เอกสาร งานวิจัย นั้นบ่งบอกถึงคุณภาพของเนื้อหาบนเว็บไซต์นั้นๆ แต่ Google ก็ออกมาปฏิเสธว่า ไม่ได้ใช้ลิงก์ประเภทนี้ในการจัดอันดับแต่อย่างใด
  2. หัวข้อและลำดับตัวเลข (Bullets and Numbered List) สัญลักษณ์อย่างตัวเลขและหัวข้อช่วยทำให้ผู้ใช้งานอ่านและเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น อีกทั้งยังง่ายต่อการค้นหา ซึ่ง Google เองก็น่าจะเห็นด้วยและชอบการจัดเนื้อหาด้วยตัวเลขและหัวข้อย่อยเช่นกัน
  3. ลำดับความสำคัญของหน้าเพจใน Sitemap โดย Google รับรู้ลำดับความสำคัญของหน้าผ่านไฟล์ sitemap.xml ซึ่งเรื่องนี้อาจส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย
  4. การมี External Link ที่มากเกินไป จากเอกสารคุณภาพของเพจโดย Google ได้ระบุว่า การที่มี External Link  มากเกินไปอาจทำให้ถูกเบี่ยงเบนความสนใจจากเนื้อหาในหน้าหลักไปได้
  5. เพจทำอันดับในหลายๆ Keyword หากหน้านั้นติดอันดับใน Keyword หลักที่เกี่ยวข้องในคำอื่นๆๆ Google อาจมองว่า หน้าเพจนั้นมีคุณภาพ
  6. อายุของเพจ (Page Age) ถึงแม้ Google จะชื่นชอบเนื้อหาที่สดใหม่ แต่การปรับปรุงหน้าเก่าๆ อาจมีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างหน้าใหม่ขึ้นมา
  7. User-Friendly Layout อ้างอิงจาก the Google Quality Guidelines Document ซึ่งกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า “The page layout on highest quality pages makes the Main Content immediately visible.”
  8. Parked Domains การอัปเดตของ Google ในเดือนธันวาคม 2011 ได้ทำการลดความสำคัญของการฝากแปะโดเมนที่ยังไม่มีพื้นที่เว็บไซต์ (hosting) ไว้กับโดเมนที่มีพื้นที่เว็บไซต์ (hosting) แล้ว
  9. เนื้อหาที่มีประโยชน์ (Useful Content) Google ได้มีการแยกแยะระหว่าง “คุณภาพ” และ “ประโยชน์” ของเนื้อหาออกจากกัน

Site-Level Factors 

  1. เนื้อหาบนเว็บไซต์ต้องมีคุณค่า มีเอกลักษณ์และไม่ซ้ำใคร Google ระบุว่า Google ยินดีที่จะทำโทษเว็บไซต์ที่ไม่ได้นำเสนออะไรใหม่ๆ เลย
  2. การสร้างหน้า Contact Us Page ทาง Google ได้ระบุไว้ใน The Google Quality Document ว่า ทาง Google ชอบเว็บไซต์ที่มีข้อมูลสำหรับติดต่อที่เหมาะสม และเพียงพอ เพื่อช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์มากขึ้น อีกทั้งควรให้รายละเอียดหน้าติดต่อเราที่เหมือนกับที่ให้ไว้กับ whois ด้วย
  3. Domain Trust/TrustRank หลายคนเชื่อว่า “TrustRank” เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับ และจากสิทธิบัตรของ Google ที่ชื่อ Search result ranking based on trust ที่ดูเหมือนจะสนับสนุนความคิดนี้เป็นอย่างดี
  1. Site Architecture สำหรับเว็บไซต์ที่มี Site Architecture ที่ดีกว่า เช่น silo structure ช่วยให้ Google สามารถจัดระเบียบเนื้อหาของคุณได้ง่าย และช่วยให้ Google เข้าถึงและทำการจัดทำดัชนี (Indexing) ได้ง่ายขึ้น
  2. การอัปเดตเว็บไซต์ (Site Updates) หลายคนที่ทำ SEO เชื่อว่า เว็บไซต์ที่ทำการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะการเพิ่มเนื้อหาเข้าไปในเว็บไซต์ ถึงแม้ว่าทาง Google ได้ออกมาปฏิเสธว่า “พวกเขาใช้ความถี่ในการเผยแพร่บทความ” เข้าไปใน Algorithm ในการจัดอันดับ
  3. การมี Sitemap จะช่วยให้ Search Engine ทำการจัดทำดัชนี (Index) เว็บไซต์ได้ง่าย ลึกซึ้ง และถูกต้อง แต่อย่างไรก็ตาม Google เพิ่งระบุว่า แผนผังเว็บไซต์ HTML ไม่มีประโยชน์ สำหรับ SEO
  4. Site Uptime การที่เว็บไซต์ของคุณอยู่ในโหมด site maintenance หรือไม่ก็ server มีปัญหา หรือมี downtimes เป็นจำนวนมากนั้น ส่งผลเสียต่ออันดับของคุณ (และอาจทำให้ยกเลิกการจัดอันดับไปเลย ถ้ามีข้อผิดพลาด)
  5. ตำแหน่งที่ตั้งของเซิร์ฟเวอร์ (Server Location) จะสำคัญสำหรับการทำ Local SEO โดยต้องดูว่า คุณต้องการให้เว็บไซต์ของคุณนั้น ทำอันดับได้ดีในพื้นที่ไหนนั่นเอง

ถ้าหากเว็บไซต์ที่แข่งขันนั้นมีทุกอย่างเหมือนกันทุกประการ ต่างกันแค่ HTTPS กับ HTTP การทำ HTTPS จะทำอันดับได้ดีกว่า

  1. E-A-T ย่อมาจาก “Expertise, Authoritativeness, Trustworthiness” โดย Google จะให้คะแนนและสร้างความได้เปรียบให้กับเว็บไซต์ที่มี E-A-T ในระดับสูง (โดยเฉพาะไซต์ที่เผยแพร่เนื้อหาเกี่ยวกับจะมีผลเป็นพิเศษ)
  2. เนื้อหา Meta Information ที่ซ้ำซ้อน ในหลายหน้าเพจ (Duplicate Meta Information On-Site) จะทำให้การมองเห็นจาก search engines ลดลง โดยคุณสามารถตรวจสอบเรื่องนี้ได้จาก Search Console ได้เลย

Google ได้กล่าวไว้ว่า: “การค้นหาใน Google นั้น ใช้ breadcrumb เป็นตัวอ้างอิงถึงเนื้อหาภายในเว็บไซต์ และจัดหมวดหมู่ข้อมูลในหน้าผลการค้นหาของ Google”

  1. Mobile-Optimized เพราะการใช้งานมากกว่าครึ่งมาจากอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างสมาร์ตโฟนหรือแท็บเล็ต Google จึงต้องการที่จะให้เว็บไซต์ของคุณทำงานได้ดีบนอุปกรณ์มือถือ และมีการลงโทษเว็บไซต์ที่ไม่เป็นมิตรกับอุปกรณ์มือถือด้วย

ซึ่งในความเป็นจริง Search Engine Land พบว่า traffic ที่มาจาก YouTube นั้น มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญหลังจากที่ทำการอัปเดต Google Panda ซึ่งเป็นหนึ่งใน Algorithm ที่ Google นำมาใช้ ในการจัดอันดับการค้นหา

  1. ความง่ายต่อการใช้งานเว็บไซต์ (Site Usability) เป็นเรื่องจำเป็นเช่นกัน เพราะถ้าหากเว็บไซต์ใช้งานยาก การลด time on site ของผู้เยี่ยมชม และเพิ่มอัตราการตีกลับ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ เป็นปัจจัยในการทำอันดับ RankBrain จะส่งผลเสียต่อการจัดอันดับโดยอ้อมอีกด้วย
  2. การใช้ Google Analytics และ Google Search Console หลายคนคิดว่า การติดตั้งโปรแกรมทั้ง 2 อย่างนี้บนเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มดัชนีการค้นหาเว็บไซต์ ซึ่งอาจมีผลโดยตรงต่อการจัดอันดับ เพราะผู้ทำเว็บไซต์จะต้องส่งข้อมูลกับ Google เพิ่มเติม ทำให้ Google ทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น accurate bounce rate หรือจำนวน traffic ที่ได้มาจาก backlinks และอื่นๆ แต่ทาง Google ได้ออกมาปฏิเสธแล้วว่า ไม่ได้ใช้ปัจจัยของ 2 โปรแกรมนี้ในการจัดอันดับเลย
  3. จำนวนรีวิวของผู้ใช้และชื่อเสียงของเว็บไซต์ (User reviews/Site reputation) เว็บไซต์ที่มีชื่อเสียง เช่น yelp.com นั้นมีส่วนสำคัญในอัลกอริทึมของ Google โดย Google ถึงกับออกมาแสดงความเห็นว่า พวกเขาไม่ทราบเหมือนกันว่า Yelp ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการแสดงรีวิวของลูกค้า

Backlink Factors 

  1. อายุโดเมนของ Backlink ที่ส่งกลับมา โดยโดเมนที่มีอายุมากจะมีพลังที่ส่งกลับมากับ Backlink มากกว่าเว็บไซต์ที่เป็นโดเมนใหม่
  1. จำนวนของโดเมนที่ทำการ Backlink กลับมา อย่างที่เราทราบกันดีว่า จำนวนโดเมนที่อ้างอิงกลับมายังเว็บไซต์ของคุณเป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับที่สำคัญที่สุดในอัลกอริทึมของ Google คุณอาจเห็นได้จากกราฟกรณีศึกษาด้านล่าง จาก 1 ล้าน การค้นหาใน Google
  2. class-c IP addresses
  3. อื่น จะช่วยให้มีลิงก์ที่มีความหลากหลายอ้างอิงถึงคุณมากขึ้น และส่งผลต่อการจัดอันดับด้วย
  4. จำนวนหน้าของเพจที่ทำการลิงก์มา จำนวนรวมของเพจที่ทำ Backlink กลับมา (แม้จะมาจากโดเมนเดียวกัน) อาจส่งผลต่อการจัดอันดับได้
  5. Backlink Anchor Text การทำ Backlink Anchor Text ในปัจจุบันมีความสำคัญน้อยกว่าเมื่อก่อน แต่ anchor text ที่มีคีย์เวิร์ดสำคัญอยู่มาก ก็ยังให้สัญญาณที่ดีกว่าเพจที่มี anchor text จำนวนน้อย
  6. Alt Tag สำหรับลิงก์รูปภาพ โดย Alt tag จะทำหน้าที่คล้ายกับ anchor text สำหรับรูปภาพ
  7. ลิงก์จากโดเมน .edu หรือ .gov เรื่องนี้ Matt Cutts ระบุว่า TLD (Top Level Domain) หรือโดเมนระดับบนสุด ไม่ได้บ่งบอกถึงความสำคัญของเว็บไซต์ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลิงก์ที่มาจาก .edu หรือ .gov มีความพิเศษบางอย่าง
  1. Authority ของโดเมนที่ลิงก์มา โดเมนที่อ้างอิงมามีส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณค่าของเพจ
  2. ลิงก์ที่ได้มาจากเว็บไซต์ของคู่แข่ง ลิงก์จากเพจอื่นๆ ที่มาจากหน้า SERP เดียวกัน อาจมีค่ามากในการทำอันดับคีย์เวิร์ดนั้น ๆ
  3. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์ที่คาดหวังไว้ แม้จะไม่ได้รับการยืนยันจาก Google แต่นักทำ SEO ก็เชื่อว่า Google จะยังไม่เชื่อถือเว็บไซต์ของคุณ จนกว่าคุณจะได้รับลิงก์จากเว็บที่ Google คาดหวังไว้ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกับคุณ เช่น คุณทำเว็บไซต์ท่องเที่ยว ก็ควรที่จะได้รับ Backlink จากเว็บไซต์ที่ทำเกี่ยวกับด้านท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน
  4. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์คุณภาพต่ำ (Bad Neighborhoods) หากได้รับลิงก์ประเภทนี้มากๆ จะส่งผลเสียต่อเว็บไซต์ของคุณอย่างแน่นอน
  5. การโพสต์ของผู้เยี่ยมชม (Guest Posts) ถึงแม้ว่าการรีวิว การโพสต์ หรือความคิดเห็นของผู้เยี่ยมชมจะมีคุณค่าสำหรับเว็บไซต์ แต่ก็ไม่เท่ากับการเขียนเนื้อหาจากนักเขียนหลัก (นอกจากนี้การที่ปล่อยให้มีความเห็นจากผู้เยี่ยมชมมากจนเกินไปยังทำให้เว็บไซต์ของคุณเกิดปัญหาได้)
  6. ลิงก์ที่มาจากโฆษณา (Links From Ads) จากข้อมูลของ Google ลิงก์ที่มาจากโฆษณาจะเป็น no followed หรือใช้เป็น rel=sponsored แต่อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่า Google สามารถระบุและคัดกรองลิงก์ที่เป็น followed ที่มาจากโฆษณาได้
  7. Homepage Authority ลิงก์ที่มาจาก Homepage จะมีความสำคัญกว่าและมีน้ำหนักมากว่า Backlink ที่มาจากหน้าเพจอื่น
  8. Nofollow Links เรื่องนี้เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เป็นข้อโต้แย้งกันมากที่สุด ซึ่ง Google ได้ออกมาประกาศแล้วว่า “In general, we don’t follow them.” นอกจากนี้การมีจำนวน % nofollow links อาจเป็นตัวชี้วัดได้ถึงความเป็นธรรมชาติของ link profile ได้ด้วย
  9. ความหลากหลายของประเภทลิงก์ (Diversity of Link Types) การที่ Backlink มาจากเว็บไซต์เดียวกันมากเกินไป หรือได้มาโดยไม่ธรรมชาติ Google อาจมองว่าเป็น webspam ดังนั้น Backlink ที่ควรได้กลับมา ควรจะเป็นลิงก์ที่มาจากแหล่งต่าง ๆ หลายแหล่ง เพราะนี่จะแสดงถึงความเป็นธรรมชาติของ link profile
  10. “Sponsored” หรือ “UGC” Tags ลิงก์ที่แท็กเป็น “rel=sponsored” หรือ “rel=UGC จะกลายเป็นลิงก์ที่แตกต่างจากลิงก์แบบ “followed” หรือ rel=nofollow links
  11. ลิงก์ในเนื้อหา (Contextual Links) ลิงก์ที่ทำอยู่ในเนื้อหามักจะได้รับพิจารณาว่าเป็นลิงก์ที่ดีและมีคุณภาพมากกว่าลิงก์ที่อยู่ในหน้าว่างๆ หรืออยู่ส่วนอื่นๆ ของเพจ
  12. ลิงก์ที่มาจาก 301 Redirects การได้ Backlink จากการเปลี่ยนเส้นทางจาก 301 Redirects จะทำให้คุณค่าของเพจนั้นลดลง เรื่องนี้เคยกล่าวไว้ใน Webmaster Help Video
  13. ลิงก์ภายในเว็บไซต์แบบ Anchor Text เป็นส่วนหนึ่งในวิธีการที่ง่ายมากที่ทำให้ Google ได้เข้าใจว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเกี่ยวกับอะไร แต่ว่าลิงก์ภายในจะมีคุณค่าน้อยกว่าลิงก์ anchor text ที่มาจากภายนอกเว็บไซต์
  14. Link Title Attribution หากคุณสังเกตว่า เวลาเอาเมาส์ไปชี้ที่ชื่อเรื่องจะมีคำปรากฏขึ้นมา เรื่องนี้อาจแสดงถึงความสัมพันธ์และส่งสัญญาณให้กับ Google เล็กน้อย
  1. Country TLD of Referring Domain การที่ได้ลิงก์จากเว็บไซต์ที่มีสกุลของประเทศ (.th, .cn, .co.uk) อาจช่วยให้คุณทำอันดับได้ดีขึ้นในประเทศนั้นได้ด้วย
  1. ตำแหน่งของลิงก์ในหน้าเพจ มีความสำคัญเช่นกัน โดยลิงก์ที่ฝังอยู่ภายในเนื้อหาจะมีความสำคัญมากกว่าลิงก์ที่อยู่ในส่วนของ footer หรือ sidebar
  2. ลิงก์จากโดเมนที่มีความเกี่ยวข้องหรือมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน จะมีพลังที่มากกว่าลิงก์ที่มาจากโดเมนที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องในเนื้อหาใดๆ เลย
  3. การทำเพจที่มีความสัมพันธ์กัน (Page-Level Relevancy) เช่น ในด้านเนื้อหา จะสามารถส่งผ่านคุณค่าและมีพลังมากกว่า
  4. Keyword ในชื่อเรื่อง โดย Google จะให้ความสำคัญกับลิงก์ที่มาจากเพจที่ชื่อเรื่องมีลิงก์ของคุณฝังอยู่มากเป็นพิเศษ
  5. อัตราการได้รับลิงก์ที่ดี (Positive Link Velocity) สำหรับเว็บไซต์ที่ได้รับลิงก์ที่ดีเพิ่มขึ้น จะทำให้ได้รับอันดับที่ดีและทำให้มีผู้ชมเข้ามามากขึ้นอีกด้วย
  1. อัตราการได้รับลิงก์ที่ไม่ดี (Negative Link Velocity) ในทางกลับกัน หากเว็บไซต์ได้รับลิงก์ที่ไม่ดีมาเป็นจำนวนมาก ก็ทำให้อันดับตกลงได้ แถมผู้ชมยังน้อยลงตามไปด้วย
  2. ลิงก์ที่มาจาก Hub โดย The Hilltop Algorithm ได้แนะนำเอาไว้ว่า การได้รับลิงก์จากเว็บไซต์ที่เป็น Hub ต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย สถาบันต่างๆ จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
  3. ลิงก์ที่มาจาก Authority Sites ลิงก์ประเภทนี้มีเเนวโน้มที่จะได้รับคะแนนมากกว่าลิงก์จากเว็บไซต์เล็กๆ หรือไม่มีคนรู้จัก
  4. ลิงก์ที่มาจาก Wikipedia ถึงแม้ว่าลิงก์ที่ได้จะเป็นลิงก์ประเภท Nofollow แต่นักทำ SEO หลายคนเชื่อว่า การได้รับลิงก์จาก Wikipedia จะทำให้เว็บไซต์ได้รับความน่าเชื่อถือ แต่ทาง Google ได้ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้
  1. อายุของ Backlink จากสิทธิบัตรของ Google ได้ระบุเอาไว้ว่า Backlink ที่มีอายุมาก จะมีพลังมากกว่าลิงก์ที่สร้างขึ้นใหม่
  2. ลิงก์ที่มาจากเว็บไซต์จริง VS Spam Blog โดย Google อาจเลือกที่จะให้ความสำคัญจากลิงก์มีมาจาก “real sites” เว็บไซต์จริง มากกว่า fake blogs โดย Google เลือกใช้ brand และ การมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เป็นตัวคัดแยกความแตกต่าง
  3. ความเป็นธรรมชาติของ Link Profile เว็บไซต์ไหนที่มี Link Profile ที่มีความเป็นธรรมชาติและอัปเดตอยู่บ่อยครั้งจะทำให้ได้รับอันดับได้ดี หรือที่เรารู้จักกันในการทำ SEO สายขาว ซึ่งยั่งยืนกว่าการทำ SEO แบบสายดำที่สร้างขึ้น
  4. การแลกเปลี่ยนลิงก์ซึ่งกันและกัน Google’s Link Schemes ได้ระบุเอาไว้ว่า “หากมีการแลกเปลี่ยนลิงก์กันมากเกินไป” เป็นแนวทางที่ควรหลีกเลี่ยง
  5. ลิงก์ที่ User เป็นผู้สร้างขึ้น Google สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างลิงก์ที่ User เป็นผู้สร้างกับลิงก์ที่ผู้เป็นเจ้าของเว็บไซต์สร้างได้ ตัวอย่างเช่น Google รู้ว่า ลิงก์จากบล็อกอย่างเป็นทางการของ WordPress.com แตกต่างจากลิงก์จาก besttoasterreviews.wordpress.com
  6. ลิงก์จาก 301 สำหรับลิงก์ที่มาจาก 301 Redirect อาจจะมีค่าน้อยกว่าลิงก์ปกติ แต่อย่างไรก็ตาม Matt Cutts ได้กล่าวไว้ว่า ลิงก์จาก 301 นั้นคล้ายกันกับลิงก์ปกติ
  1. อันดับความน่าเชื่อถือของ Backlink ที่ได้รับมา จะส่งความน่าเชื่อถือ “TrustRank” มายังเว็บไซต์ของคุณด้วย
  2. จำนวนลิงก์ที่ส่งออกจากเพจ เพราะ PageRank มีจำนวนจำกัด ลิงก์จากเพจที่มีจำนวนลิงก์ส่งออกภายนอกมากหลายร้อยลิงก์ จะส่งผ่าน PageRank น้อยกว่าเพจที่มีลิงก์ส่งออกไม่มากนัก
  3. ลิงก์จาก Forum อย่างเช่น เว็บบอร์ดหรือเว็บกระทู้ เนื่องจากมีการสแปมเกิดขึ้นมากมายในฟอรัม Google จึงลดค่าของลิงก์จากฟอรัมลง
  4. จำนวนคำของเนื้อหาที่มีลิงก์นั้นเชื่อมโยงอยู่ ลิงก์ที่มาจากเนื้อหามากกว่า 1000 คำ มีพลังมากกว่าลิงก์ที่มาจาก Snippet 25 คำ
  5. คุณภาพของเนื้อหาที่มีลิงก์นั้นเชื่อมโยงอยู่ หากเนื้อหาหน้านั้นเขียนไม่ดี ก็จะไม่ส่งผ่านคุณค่าใดๆ มายังเว็บไซต์ของคุณ
  6. Sitewide Links ทาง Matt Cutts ออกมายืนยันว่า sitewide links หรือลิงก์ที่กระจายอยู่ทั่วเว็บนั้น จะถูกบีบอัด “compressed” และนับเป็นแค่ 1 ลิงก์

สำหรับใครที่ต้องการทำ Backlink ทางเรามีบริการ รับทำ Backlink คุณภาพ จากเว็บชื่อดังในไทยที่มี Traffic กว่า 1,000,000 ต่อเดือน

User Interaction 

  1. RankBrain เป็น Algorithm AI ของ Google ที่หลายคนเชื่อว่า มีหน้าที่หลักในการช่วยประมวลผลการค้นหาใน Google Search และช่วยในการจัดอันดับผลลัพธ์ของการค้นหา
  2. Organic CTR สำหรับ Keyword จากข้อมูลของ Google หน้าเว็บไซต์ที่ได้รับ CTR มากกว่าจะได้รับอันดับใน SERP มากขึ้นใน Keyword นั้นๆ
  1. Organic CTR สำหรับคีย์เวิร์ดทั้งหมด อาจเป็นสัญญาณปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นคะแนนคุณภาพ สำหรับ Organic Result
  2. จากการศึกษาของ SEMRush
  3. พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการตีกลับ กับอันดับของ Google อยู่จริง
  1. การเข้าชมเว็บไซต์โดยตรง (Direct Traffic) ได้รับการยืนยันว่า Google ใช้ข้อมูลจาก Google Chrome ในการระบุถึงความถี่ในการเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ การที่เว็บไซต์มีจำนวน Direct Traffic เข้ามาจำนวนมากจะได้รับคะแนนที่สูงกว่า และจัดว่าเป็นเว็บที่มีคุณภาพมากกว่า
  2. การเข้าชมเว็บไซต์ซ้ำ (Repeat Traffic) การที่เว็บไซต์ไหนมีการเข้าชมซ้ำๆ มีโอกาสได้รับการจัดอันดับจาก Google มากขึ้น
  1. เว็บไซต์ที่ถูกบล็อก Google ได้ทำการยกเลิกคุณสมบัตินี้ออกจาก Chrome แต่ Panda หนึ่งใน Algorithm ที่ Google นำมาใช้ ในการจัดอันดับการค้นหา ยังคงใช้คุณสมบัตินี้ แสดงถึงคะแนนคุณภาพ ดังนั้น Google อาจยังคงใช้งานคุณสมบัตินี้อยู่บ้าง
  2. Bookmark ใน Chrome เราทราบกันดีว่า Google รวบรวมข้อมูลการใช้งานเบราว์เซอร์จาก Chrome หน้าเพจที่ทำการบุ๊กมาร์กไว้ อาจได้รับการขึ้นอันดับ
  3. จำนวนความคิดเห็น สำหรับหน้าที่มีความคิดเห็นเป็นจำนวนมากอาจจะเป็นสัญญาณที่ดีเกี่ยวกับด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เยี่ยมชม ซึ่งพนักงาน Google คนหนึ่งเคยกล่าวไว้ ว่าสามารถช่วยเพิ่มอันดับได้ดีมาก
  4. ระยะเวลาของการอยู่ในหน้าเพจ (Dwell Time) Google ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างยิ่ง โดย Google จะทำการวัดระยะเวลาที่ผู้ชมใช้ในหน้าเพจของคุณ ยิ่งอยู่นาน เท่ากับยิ่งดี

Special Google Algorithm Rules 

  1. การค้นหาต้องเป็นเรื่องที่สดใหม่ ซึ่ง Google จะให้คะแนนหน้าเว็บไซต์ที่มีความสดใหม่
  2. ผลการค้นหาควรมีความหลากหลาย Google อาจเพิ่มความหลากหลายให้กับ SERP สำหรับคำค้นหาที่คลุมเครือ เช่น “Ted” “WWF” หรือ “ruby”
  3. ประวัติการท่องเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน หากคุณสังเกตผลการค้นหาของคุณเอง จะพบว่า  เว็บไซต์ไหนที่คุณค้นหาและเข้าใช้บ่อยๆ มักจะอยู่ในผลการค้นหาต้นๆ ในหน้า SERP
  4. ประวัติการค้นหาส่วนบุคคล การค้นหาต่อเนื่อง หลังจากการค้นหาครั้งแรก ยกตัวอย่างเช่น หากคุณค้นหาคำว่า “รีวิว” จากนั้นค้นหาอีกครั้งคำว่า “เครื่องปิ้งขนมปัง” Google อาจให้อันดับของ รีวิวเครื่องปิ้งขนมปัง สูงขึ้นในหน้า SERP
  5. Featured Snippets จากการศึกษาของ SEMRush Google Google จะเลือกข้อมูล Featured Snippets จากความยาวเนื้อหา รูปแบบ page authority และการใช้ HTTPs มาประกอบการพิจารณา
  6. Geo-Targeting ทาง Google จะให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มี Server IP ในพื้นที่ และสกุลโดเมนเฉพาะประเทศ
  7. ความปลอดภัยในการค้นหา ผลการค้นหาแนวผู้ใหญ่หรือเรื่องที่เกี่ยวกับเพศจะไม่แสดงผลสำหรับคนที่เปิดฟังก์ชัน safe search อยู่
  8. “YMYL” Keywords เป็นคำค้นหาที่เกี่ยวกับเนื้อหาที่มีเกี่ยวข้องกับสุขภาพ การใช้ชีวิต หรือเกี่ยวข้องกับการเงิน การลงทุน ที่ Google ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยจะต้องมาจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
  9. DMCA หรือ Digital Millennium Copyright Act หากเว็บไซต์ไหนที่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ดิจิทัลต่างๆ Google จะทำการ “ลดอันดับ” เพจนั้นลง
  10. ความหลากหลายของโดเมน หรือที่เรียกว่า “Bigfoot Update” เป็นการเพิ่มจำนวนโดเมนในแต่ละหน้า SERP
  11. การค้นหาเพื่อทำธุรกรรม ในบางครั้ง Google จะแสดงผลลัพธ์ที่แตกต่างกันสำหรับผลการค้นหาที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรม เช่น ผลการค้นหาเที่ยวบิน การชอปปิง เป็นต้น
  1. Local Searches สำหรับการค้นหาแบบ Local Searches ทาง Google มักจะวางผลการค้นหาที่อยู่ในภูมิภาคนั้นๆ ขึ้นมาก่อนผลการค้นหาแบบปกติของ SERPs
  1. เรื่องเด่น (Top Stories box) ในบาง Keyword ทาง Google จะทำการแสดงผลไว้บน Top Stories box
  1. Big Brand Preference หลังจากมีการอัปเดต Vince Google ทาง Google ก็เริ่มให้ความสำคัญกับการโปรโมตแบรนด์สินค้าใหญ่ๆ ในคำค้นหากลุ่มนั้นๆ
  1. ผลการค้นหารูปภาพ บางครั้ง Google ก็แสดงรูปภาพในการค้นหาปกติ
  2. Easter Egg Results ทาง Google จะมี Easter Egg results เช่น หากเราพิมพ์บวกเลขเพื่อหาผลลัพธ์ในช่องค้นหา ก็จะมีเครื่องคิดเลขปรากฏขึ้นมาด้านบนสุด
  3. ผลการค้นหาสำหรับแบรนด์ โดเมนหรือ Keyword ที่เกี่ยวข้องกับชื่อแบรนด์ อาจได้ผลลัพธ์หลายอันในหน้าเดียว
  4. การอัปเดต Payday Loans นี่เป็น Algorithm พิเศษ ที่ Google ที่ออกแบบมาเพื่อจัดการกับผลการค้นหาที่เป็นสแปมมากเกินไป “very spammy queries

Brand Signals

  1. Brand Name Anchor Text เป็นเรื่องที่ทำง่าย และมีพลังในการสร้าง brand signal
  2. การค้นหาแบรนด์ หากพบว่า มีคนค้นหาชื่อแบรนด์ของคุณ เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณบอก Google ว่าเว็บไซต์ของคุณนั้นเป็นแบรนด์จริงๆ
  3. ค้นหาชื่อแบรนด์ + คีย์เวิร์ด หากมีคนค้นหา Keyword ที่เกี่ยวข้องพร้อมชื่อแบรนด์ของคุณ เช่น ทำ SEO NerdOptimize ทาง Google อาจให้คะแนนคีย์เวิร์ดคำนั้นเพิ่ม ในหน้าการค้นหาที่ไม่มีชื่อแบรนด์
  4. เว็บไซต์ที่มี Facebook Page และยอด Like หากเป็นเว็บไซต์แบรนด์จริงก็มักจะมีหน้า Facebook ที่มียอด Like จำนวนมาก
  5. เว็บไซต์ที่มี Twitter และผู้ติดตาม การมีสิ่งนี้จะทำให้แบรนด์ถูกมองว่าเป็นที่นิยม
  6. มีหน้า Linkedin ของบริษัท เพราะถ้าหากเป็นบริษัทจริงมักจะทำหน้าบริษัทไว้ใน Linkedin
  7. Known Authorship ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013, Google CEO Eric Schmidt กล่าวว่า “Within search results, information tied to verified online profiles will be ranked higher than content without such verification, which will result in most users naturally clicking on the top (verified) results.”
  8. การมีบัญชี Social Media ที่ถูกต้อง Google ได้จดสิทธิบัตรเกี่ยวกับบัญชี social media ว่า เป็นของจริง หรือของปลอม จากการปฏิสัมพันธ์กันผู้คนในนั้น อย่างการที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนและทำการโพสต์แค่ 2 โพสต์ กับบัญชีที่มีผู้ติดตาม 10,000 คนซึ่งมีการโต้ตอบมากมาย Google ก็จะมองว่าบัญชีหลังคือของจริง
  9. การใช้ชื่อแบรนด์ใน Top Stories โดยแบรนด์ใหญ่มักจะพูดถึงตัวเองอยู่เสมอ บางแบรนด์ก็อาจจะเผยแพร่ข่าวของแบรนด์ตัวเองไว้ในหน้าแรก
  1. การพูดถึงชื่อแบรนด์ แต่ไม่มีลิงก์ เรื่องนี้ทาง Google ก็มองว่าเป็น Brand Signal เช่นเดียวกัน

On-Site Webspam Factors 

  1. Panda ทำโทษ สำหรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาคุณภาพต่ำ โดยเฉพาะเนื้อหาประเภท Content Farm (มีบทความเยอะแยะเต็มไปหมดโดยอาจจะรวบรวมมาจากเว็บไซต์ต่างๆ ไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง) จะถูก Panda ทำโทษและ Google จะมองเห็นลดลง
  2. การส่งลิงก์ไปยังเว็บไซต์ที่ไม่ดี เช่น เว็บไซต์โฆษณายาต่างๆ จะทำให้การมองเห็นของ Google ลดลง
  3. Redirects การทำ Redirects ออกจากหน้าเพจ หรือการทำให้ Google เห็นต่างจากผู้ใช้ทั่วไป อย่างที่เรียกว่า Cloaking เช่น การใช้ Keyword สีเดียวกับพื้นหลัง เพื่อให้เพจนั้นๆ มี keyword เยอะๆ ถ้าหาก Google รู้ก็จะถูกลงโทษและไม่ได้รับการจัดอันดับ
  4. Pop-up หรือโฆษณาที่บังเนื้อหาต่างๆ จากเอกสาร Google Rater Guidelines Document ระบุว่า การมี Pop-up หรือโฆษณาที่บังเนื้อหาต่างๆ อาจแสดงให้เห็นว่าเว็บไซต์มีคุณภาพต่ำ
  5. Pop-up ที่บังเนื้อหาในมือถือ ทาง google จะลงโทษเว็บไซต์ที่ทำ Pop-up บังเนื้อหาในหน้ามือถือ
  1. การพยายามเพิ่มประสิทธิภาพด้าน SEO ให้เว็บไซต์มากเกินไป ไม่ใช่ว่าเน้นการทำ SEO แบบสุดๆ แล้วจะเป็นเรื่องดี (ในกรณีที่ทำผิด) เช่น การใส่ Keyword มากเกินไป การใส่ header tag มากเกินไป หรือการตกแต่งบทความด้วย  Keyword มากเกินไป จะทำให้ Google ลงโทษได้
  2. เนื้อหาที่อ่านไม่รู้เรื่อง (Gibberish Content) ในสิทธิบัตรของ Google ระบุไว้ว่า Google สามารถระบุความแตกต่างของเนื้อหาที่ไม่มีความหมายหรือเขียนไม่รู้เรื่อง เช่น เนื้อหาที่เป็นสแปม หรือเนื้อหาที่ถูกสร้างแบบอัตโนมัติ ออกจากเนื้อหาที่แต่งขึ้นโดยมนุษย์ได้
  3. Doorway Pages ทาง Google ต้องการให้หน้าเพจที่คุณแสดงให้ Google เห็นเป็นหน้าเดียวกันกับที่ผู้ใช้งานเห็น ถ้าเกิดทำการ Redirect ไปยังหน้าอื่น หรือที่เรียกว่า Doorway Pages ทาง Google จะไม่ชอบอย่างแน่นอน
  4. ในหน้ามีแต่โฆษณา Algorithm ของ Google ที่ใช้ในการตรวจสอบหน้าเพจ ที่เรียกว่า “Page Layout Algorithm” จะคอยทำโทษเว็บไซต์ที่มีแต่โฆษณา และมีเนื้อหาแค่นิดเดียว
  5. ทำการซ่อนลิงก์ Affiliate Links มากเกินไป (โดยเฉพาะการทำ cloaking) มีโอกาสทำให้โดนแบนจาก Google ได้
  6. Fred เป็นชื่อเล่นของการอัปเดตหลายๆ อย่างจากทาง Google ในปี 2017 จากรายงานของ Search Engine Land, Fred “ค้นหาเว็บไซต์คุณภาพต่ำที่พยายามสร้างรายได้ มากกว่าพยายามช่วยผู้ใช้”
  7. เว็บไซต์ Affiliate หลายคนคิดว่า เว็บไซต์ที่พยายามมี affiliate จะมีค่าน้อยลง เพราะ Google ไม่ชอบ affiliate
  8. เนื้อหาที่ทำการสร้างอัตโนมัติ (Auto Generated Content) Google นั้นเข้าใจและไม่ชอบเนื้อหาที่สร้างขึ้นแบบอัตโนมัติ หากถูกจับได้จะโดนลงโทษทันที
  9. พยายามทำ PageRank มากจนเกินไป หรือทำแล้วขึ้นเร็วมากเกินไป อาจจะทำให้ Google แบนเว็บไซต์ของคุณได้
  10. ที่อยู่ IP ถูกตั้งค่าสถานะเป็นสแปม หาก IP Server ของเว็บไซต์จะถูกระบุว่าเป็นสแปม อาจส่งผลต่อเว็บไซต์ทั้งหมดบน Server นั้น
  11. Meta Tag Spamming การที่ใส่ Keyword ลงไปใน Meta tag มากจนเกินไป Google จะเข้าใจว่า คุณพยายามที่จะแทรก Keyword ในลักษณะผิดปกติใน title และ description tags ซึ่งอาจทำให้ Google แบนหรือลงโทษคุณได้

Off-Site Webspam Factors

  1. เว็บไซต์ที่โดนแฮ็ก หากเว็บไซต์ของคุณโดนแฮ็ก เว็บไซต์ของคุณอาจโดนลบออกจากผลการค้นหาได้ 
  1. การไหลเข้ามาของลิงก์แบบไม่เป็นธรรมชาติ เรื่องนี้เป็นสัญญาณชัดเจนของลิงก์ปลอม
  2. บทลงโทษของ Penguin สำหรับเว็บไซต์ที่โดนลงโทษจาก Google Penguin จะถูกลดอันดับลง ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน Penguin จะพยายามคัดกรองหน้าเพจที่มีลิงก์เสียมากกว่าจะแบนไปเลยทั้งเว็บ
  3. Link Profile ที่มีคุณภาพต่ำในปริมาณมาก การทำลิงก์ด้วยวิธีการ SEO Black Hat เช่น การทำความคิดเห็นใน Blog อาจเป็นสัญญาณว่า กำลังโกง Google ได้
  4. ลิงก์จากเว็บไซต์ที่ไม่เกี่ยวข้อง Backlink ที่ได้มาจากเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวข้องอาจทำให้โดน Google แบนเว็บไซต์ของคุณได้
  5. คำเตือนจาก Google สำหรับลิงก์ที่ผิดปกติ Google จะส่งคำเตือนไปยัง “Google Search Console” ว่าตรวจสอบพบลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้อันดับลดลง แต่เรื่องนี้ก็ไม่เสมอไป
  6. ลิงก์ไดเรกทอรีคุณภาพต่ำ จากข้อมูลของ Google จำนวน Backlink ที่ได้มาจากไดเรกทอรีคุณภาพต่ำอาจทำให้ Google ลงโทษเว็บไซต์ของคุณได้
  7. Widget Links ทาง Google จะไม่ชอบและตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับลิงก์ที่สร้างขึ้นอัตโนมัติและฝังบน “widget” ของเว็บไซต์นั้นๆ
  8. ลิงก์ที่มาจาก Class C IP เดียวกัน การได้รับลิงก์ที่ผิดปกติหรือไม่เป็นธรรมชาติมาจากเว็บไซต์ที่อยู่บน server IP เดียวกัน อาจทำให้ Google คิดว่า เว็บไซต์นั้นได้รับลิงก์มาจากเครือข่าย blog network เดียวกัน
  9. Anchor Text ที่ไม่ดี การมี “poison” anchor text (โดยเฉพาะ Keyword ที่เกี่ยวกับยาต่างๆ) ชี้มาที่เว็บไซต์ของคุณ อาจถูกพิจารณาได้ว่าเว็บของคุณโดนแฮ็ก หรือสแปม และส่งผลเสียต่อการทำอันดับ
  10. ลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติ สิทธิบัตรของ Google ปี 2013 อธิบายว่า Google สามารถระบุได้ว่าลิงก์ที่ลิงก์มายังเว็บไซต์ เป็นลิงก์ที่ดีหรือไม่ หากเป็นลิงก์ที่ไม่เป็นธรรมชาติก็จะถูกลดค่าลง
  11. ลิงก์จากบทความและข่าวประชาสัมพันธ์ มักมีการฝังลิงก์เอาไว้ และ Google พิจารณาแล้วว่า เป็นกลวิธีในการสร้างลิงก์ในหลายกรณี
  12. การทำ SEO Black Hat ถ้าหาก Google จับได้ว่าทำ SEO สายดำก็จะถูกลงโทษ
  13. การขายลิงก์ หาก Google จับได้ว่า คุณขายลิงก์ ก็จะโดนลงโทษโดยการลดระดับความสำคัญลง
  14. Google Sandbox หากเว็บไซต์ใหม่มี Backlink เข้ามามากผิดปกติ จะทำให้เว็บไซต์ติดหลุมทรายของ Google หรือที่เรียกว่า Google Sandbox และจะทำการจำกัดการมองเห็นของเว็บไซต์นั้น
  15. Google Dance เป็นการพยายามทำให้อันดับ Google สูงขึ้นมาแบบทันทีทันใด จากสิทธิบัตรของ Google อาจบอกได้ว่าเว็บนั้นพยายามที่จะโกง Google อยู่
  16. Disavow Tool คุณสามารถใช้ the Disavow Tool ในการที่จะลบลิงก์สายดำต่างๆ ที่ชี้มายังเว็บไซต์ของคุณได้
  17. ขอให้ Google พิจารณาใหม่ หาก Google พิจารณาใหม่แล้วโทษต่างๆ ก็จะถูกลบออก
  18. โครงร่างลิงก์แบบชั่วคราว Google สามารถจับความผิดปกติของการสร้างและลบลิงก์อย่างรวดเร็ว หรือการทำลิงก์สแปมต่างๆ หรือที่เรียกว่าโครงร่างลิงก์ชั่วคราว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ

เป็นยังไงบ้างครับกับ Google ranking factor ทั้งหมดที่รวบรวมมาให้ในวันนี้ ดูแล้วอาจจะเยอะนะครับ แต่ถ้าหากคุณทำเว็บไซต์แบบคุณภาพและเป็นไปอย่างธรรมชาติ ไม่ทำ SEO แบบสายดำหรือพยายามหาทางลัด การทำตามกฎของ SEO ทั้งหมด 200 ข้อ++ ก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับคุณอีกต่อไป

ผู้เขียน

Picture of tan
tan
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Conversion Rate Optimization คืออะไร

CRO – Conversion Rate Optimization คืออะไร แนะนำวิธีช่วยเพิ่มยอดขายออนไลน์ [แบบละเอียด]

เรียนรู้เทคนิคเพิ่มยอดขายด้วยการทำ CRO หรือ Conversion Rate Optimization จะทำได้ยังไงบ้าง มีอะไรต้องรู้ เรียนรู้กลยุทธ์ CRO ไปพร้อมๆ กัน

อ่านบทความ ➝
Canonical tag คืออะไร ใช้ตอนไหน

Canonical tag คืออะไร ใช้ตอนไหน สำคัญยังไงกับ SEO [แนะนำวิธีทำ]

Canonical tag คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการทำ SEO ควรใช้ตอนไหนบ้าง? แนะนำวิธีทำ Canonical URL ข้อควรระวัง และวิธีกู้ Traffic เบื้องต้นจากปัญหา

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top