ในยุคที่ AI Search Engine เข้ามามีบทบาทสำหรับคนทำงานมากขึ้น ทำให้หลายบริษัท Tech เริ่มหันมาให้ความสำคัญกับการสร้าง AI ในรูปแบบ Search กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT Gemini และล่าสุดกับการมาของ Perplexity AI ที่กำลังเป็นที่พูดถึงในวงการการทำ Generative AI ด้วยความสามารถที่หลากหลาย ทั้งการค้นหา ตอบคำถาม และช่วยสำรวจข้อมูลในแบบที่คล้ายกับ ChatGPT แต่จะเน้นการค้นหาและตอบคำถามแบบเรียลไทม์ พร้อมแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ
น่าสนใจขนาดนี้ ตามไปดูกันดีกว่าครับว่า Perplexity คืออะไร ใช้อย่างไร และจะมีฟีเจอร์อะไรที่โดดเด่นและน่าใช้งานบ้าง
Perplexity คืออะไร รู้จักสุดยอด AI Search ตัวใหม่มาแรง
Perplexity คือ AI-Based Search Zssistant ซึ่งทำหน้าที่เป็น AI Website ที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลในรูปแบบถาม-ตอบแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะต่างจากการค้นหาผ่านระบบ Search Engine ในปัจจุบันที่จะต้องทำการเข้าเบราว์เซอร์แล้วค้นหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ด้วยตัวเอง แต่ Perplexity จะเป็น AI ที่รวมเอาคุณสมบัติของ AI Search Engine และ Chatbot ไว้ในที่เดียว ทำให้ถามคำถามอะไรไป ก็จะได้คำตอบกลับมาในทันที และที่สำคัญ Perplexity จะแสดงข้อมูลแหล่งที่มาให้ทราบอย่างชัดเจน จึงเหมาะกับค้นคว้าข้อมูลที่ต้องการความถูกต้อง และความน่าเชื่อถือสูง
Perplexity ก่อตั้งเมื่อไร โดยใคร ทำความรู้จักกับ Perplexity เพิ่มเติม
Perplexity ถูกพัฒนาโดยบริษัท Perplexity เปิดตัวในเดือนสิงหาคม ปี 2022 โดยมีผู้ก่อนตั้งหลักคือ Aravind Srinivas ซึ่งเป็นอดีตนักวิจัย AI จาก OpenAI และ Meta ก่อนที่จะมาก่อตั้ง Perplexity AI สำหรับแนวคิดหลักหรือ Core Mission ของการพัฒนา AI Search นี้คือ การการสร้างระบบค้นหาที่ โปร่งใส แม่นยำ และเข้าใจง่าย ซึ่งผู้ใช้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลได้อย่างง่ายดาย โดยจะเน้นไปที่การช่วยเหลือผู้ใช้งานให้สามารถค้นคว้าและค้นหาข้อมูลที่ซับซ้อนในโลกออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ทาง Aravind Srinivas และทีมงานได้เล็งเห็นถึงข้อจำกัดของการใช้งาน Search Engine แบบดั้งเดิม และความต้องการเครื่องมือที่สามารถตอบคำถามได้โดยตรง พร้อมกับมีแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ครบถ้วน ด้วยเหตุนี้ Perplexity AI จึงถือถูกสร้างขึ้นเพื่อปฏิวัติวิธีการค้นหาข้อมูล AI Online ให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นนั่นเอง
ฟีเจอร์เด่นของ Perplexity มีอะไรบ้าง
Perplexity เป็น AI Ask and AI Answer ที่มีฟีเจอร์ที่น่าสนใจหลายอย่าง มาดูกันดีกว่าครับว่า Perplexity สามารถทำอะไรได้บ้างกับฟีเจอร์เด็ดที่เรารวบรวมมาให้ ดังนี้
สามารถเลือกรูปแบบการค้นหาได้ที่ Focus Search
ก่อนการค้นหาเราสามารถปรับฟิลเตอร์การค้นหาว่าจะค้นหาจากช่องทางไหนเป็นหลัก หรือจะเลือก Tone และ Style ก็ได้ นอกจากนี้ ยังสามารถทำการอัปโหลดรูปหรือไฟล์ Doc เพื่อให้เป็นแหล่งอ้างอิงที่ Perplexity สามารถใช้ประกอบในการค้นหาข้อมูล ซึ่งช่วยทำให้เกิดความแม่นยำได้มากขึ้นด้วย
มีข้อมูล Sources ที่ถูกต้องขึ้นมาให้
ฟีเจอร์เด่นที่สุดของ Perplexity คือ การที่แสดง Link Sources ที่มีความน่าเชื่อถือสูงขึ้นมาให้ตั้งแต่เราตั้งคำถามเพื่อหาข้อมูล อย่างในตัวอย่างจะเป็นการแสดงแหล่งอ้างอิงของข้อมูลด้านสุขภาพที่จะรวมเอาเว็บไซต์ต่างๆ ขึ้นมาแสดงผลให้สามารถคลิกไปดูข้อมูลอ้างอิงต้นทางเพิ่มเติมได้ และยังมีข้อมูลเสริมขึ้นมาให้ด้วยว่าสิ่งที่ AI เรียบเรียงขึ้นมาให้นั้น ใช้ข้อมูลมาจากแหล่งไหน (ฟีเจอร์นี้ในภาษาไทยอาจจะยังทำได้ไม่ 100% ณ ปัจจุบัน ดังนั้น จึงต้องใช้วิจารณญาณในการเลือกใช้ข้อมูลเพิ่มเติมด้วย)
สร้าง Collection ของข้อมูลเก็บเอาไว้ได้
Perplexity มีฟีเจอร์ Create Collection ที่ช่วยในการจัดหมวดหมู่ข้อมูลเก็บเอาไว้ได้ โดยทำการระบุข้อมูลต่างๆ ได้ ดังนี้
- Title หรือชื่อหัวข้อของชุดข้อมูลที่ต้องการทำ Collection
- Description หรือคำอธิบาย
- Instructions (Optional) เป็นการให้คำแนะนำกับ AI เพื่อกำหนดสิ่งที่ AI จะให้คำตอบกลับมา เช่น บอกให้ใช้น้ำเสียงที่เป็นทางการตอบกลับมา
- Privacy เป็นการกำหนดว่า ข้อมูลใน Collection นี้สามารถแชร์ให้คนอื่นได้หรือไม่
แสดงข้อมูลของ Image Search และ VIdeo Search ที่เกี่ยวข้องไว้ด้านข้าง
หลังจากที่เราถามคำถาม Perplexity ไป ทาง Perplexity จะแสดงผลลัพธ์การค้นหามาให้ทั้งจาก AI ในรูปแบบของข้อความ และด้านข้างยังมีการแสดงข้อมูลของ Image Search และ VIdeo Search ที่เกี่ยวข้องเพิ่มเข้ามาให้ด้วย ทำให้สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากรูปภาพและวิดีโอได้
สามารถ Generate Image ได้
สำหรับใครที่ใช้ Perplexity แพ็คเกจ Professional จะสามารถใช้งานฟีเจอร์ Generate Image เพื่อสร้างรูปภาพขึ้นจาก Prompt ด้วย AI ได้
หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมได้จาก Related
ด้านล่างสุดของการค้นหาจะมี Related ที่เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราตั้งคำถามขึ้นมาให้ เหมือนกันกับการค้นหาด้วย Google จึงทำให้สามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้สะดวก โดยที่เราไม่ต้องคิดคำถามขึ้นมาเอง
ดูข้อมูลข่าวและเทรนด์ได้ที่ Discover
ไม่ต้องไปนั่งถาม AI ให้เสียเวลาว่าช่วงนี้มีอะไรที่กำลังเป็นกระแสและกำลังมา เพราะ Perplexity มีฟีเจอร์ Discover ที่ช่วยสรุปข่าวที่เป็นเทรนด์ให้ในหมวดต่างๆ เช่น Tech & Science, Finance เป็นต้น ซึ่งช่วยให้รู้ข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วจากการสรุปข้อมูลประเด็นฮอตต่างๆ ด้วย AI และแน่นอนว่า ยังสามารถเช็กข้อมูลต้นทางได้ว่ารวบรวมมาจากแหล่งไหนบ้างอย่างละเอียด
ค้นหาข้อมูลที่เคยบันทึกไว้ได้ที่ Library
ใครที่ทำการเซฟข้อมูลด้วย Collection สามารถเข้ามาค้นหาข้อมูลได้ที่ Library ซึ่งทำหน้าที่เป็นคลังข้อมูลที่เราทำการค้นหาไป โดยสิ่งที่เซฟไว้จะเรียกว่า Thread ซึ่งง่ายต่อการทำงานต่อ ค้นหาต่อ หรือจะนำไปแชร์ต่อให้กับเพื่อนร่วมงาน
Perplexity ราคาเท่าไร ? ใช้ฟรีไหม?
Perplexity AI มีการเปิดให้ใช้งาน AI Free สำหรับผู้ใช้ทั่วไป โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในแพ็คเกจ Standard ส่วนใครที่ต้องการใช้งานฟีเจอร์เพิ่มเติมจะมีแพ็คเกจ Professional ให้เลือกใช้งานเพิ่มเติม
แพ็คเกจ Standard
ราคา: ฟรี
ใช้งานอะไรได้บ้าง:
- Unlimited Quick Searches: ค้นหาข้อมูลแบบรวดเร็วได้ไม่จำกัด
- 3 Pro Searches ต่อวัน: ใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงสำหรับการค้นหาที่ลึกขึ้น
- ใช้ Standard Perplexity AI Model ที่เหมาะสมกับความเร็วและคุณภาพ
- สามารถสร้างโปรไฟล์เพื่อปรับแต่งคำตอบให้เหมาะกับผู้ใช้ได้
แพ็คเกจ Professional
ราคา: $20/เดือน (ทดลองใช้งานฟรีเดือนแรก)
ใช้งานอะไรได้บ้าง:
- Unlimited Quick Searches: ค้นหาข้อมูลแบบรวดเร็วได้ไม่จำกัด
- 300+ Pro Searches ต่อวัน: เหมาะสำหรับคนที่ต้องการค้นคว้าข้อมูลขั้นสูง
- เลือก AI Model ที่ต้องการ เช่น GPT-4.0, Claude-3, หรือ Sonar Large (LLama 3.1)
- อัปโหลดและวิเคราะห์ไฟล์ได้ไม่จำกัด
- ใช้งานฟีเจอร์ขั้นสูง เช่น การสร้างภาพด้วย Playground AI, DALL-E, SDXL และอื่น ๆ
- ได้รับเครดิต API มูลค่า $5/เดือน
Perplexity มีระบบเบื้องหลังการทำงานอย่างไร
สำหรับระบบเบื้องหลังของ Perplexity จะทำงานโดยการวิเคราะห์คำถามและทำการจับคู่กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่จากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยการใช้เทคโนโลยีที่เป็น Machine Learning (ML) เพื่อฝึกฝนโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Models – LLMs) ซึ่งช่วยให้ระบบสามารถเรียนรู้จากข้อมูลจำนวนมากและพัฒนาให้เข้าใจเจตนาของมนุษย์มากขึ้น
รวมถึงใช้ Natural Language Processing (NLP) ที่เป็นการประมวลผลและเข้าใจภาษาธรรมชาติของมนุษย์โดยใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี จึงช่วยให้ AI สามารถเข้าใจภาษาธรรมชาติและทำงานกับข้อมูลทางภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ Perplexity เข้าใจเจตนาที่อยู่เบื้องหลังคำถามของผู้ใช้งาน และดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องมากที่สุดมาให้ พร้อมทั้งมีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพิ่มเติมมาให้ด้วย
ข้อจำกัดในการใช้งาน Perplexity มีอะไรบ้าง
ถึงจะเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจแต่ Perplexity ก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งานอยู่บ้าง ดังนี้
- ยังไม่รองรับภาษาไทยเต็มรูปแบบ เพราะในปัจจุบันจะรองรับภาษาอังกฤษเป็นหลัก ส่วนในภาษาไทย AI อาจจะยังไม่เข้าใจในบทของภาษาได้ทั้งหมด คำตอบจึงอาจมีการคลาดเคลื่อนได้
- สำหรับการใช้งานแผน Standard ที่เป็น AI Free Download สามารถใช้ Pro Searches ได้เพียง 3 ครั้งต่อวันเท่านั้น ซึ่งอาจจะไม่เพียงพอสำหรับใครที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจำนวนมาก
- ถึงแม้ Perplexity AI จะมีจุดเด่นเรื่องการให้คำตอบที่แม่นยำ แต่ก็อาจจะยังเจอเรื่องของข้อมูลที่ล้าสมัยได้ ควรตรวจสอบที่มาของข้อมูลให้ละเอียดก่อนนำไปใช้งาน
- ยังไม่มีผลทดสอบที่เป็นทางการจากทีมพัฒนาหรือแหล่งข้อมูลอื่นว่า Perplexity ใช้งานดีเทียบเท่าหรือดีกว่า AI อื่นๆ อย่างไรบ้าง ดังนั้น เวลาใช้งานอาจจะต้องลองเปรียบเทียบด้วยตัวเอง
ทำไมนักการตลาดหรือคนทำ SEO ถึงควรต้องศึกษาการใช้งาน Perplexity ?
ในเมื่อ Perplexity เป็น Web AI ที่กำลังมาแรงและอาจจะกลายเป็นตัวเลือกใหม่ของผู้ใช้งาน Search Engine นักการตลาดและคนทำ SEO ควรที่จะศึกษาและการทำความเข้าใจกับการใช้งาน Perplexity มากขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อ
- เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น จากการที่ Perplexity เนื่องจากการทำ GEO มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ AI อย่าง Perplexity เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจวิธีการทำงานและกระบวนการทำให้เว็บไซต์เป็นหนึ่งในผลลัพธ์ของการค้นหาบน AI แน่นอนว่า จะช่วยเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์หรือเพจจากการที่ผู้ใช้งานเห็นว่าเว็บไซต์เป็นแหล่งที่มาอ้างอิงที่ AI เลือกมาแสดงผล
- สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เพราะการที่ได้เป็นแหล่งอ้างอิงบน Perplexity แสดงว่า เว็บไซต์มีความน่าเชื่อถือ และทำ AEO ได้ดี จึงทำให้ได้รับคัดเลือกเป็นผลลัพธ์ที่แสดงอยู่บน Perplexity
- เพิ่มยอดการเติบโตให้กับธุรกิจ เนื่องจากการปรับปรุงเนื้อหาที่มีอยู่บนเว็บไซต์ให้ปรากฏบน Perplexity และตรงกับสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายค้นหาเพื่อกระทำอะไรบางอย่างที่ตรงกับสิ่งที่เป็น Conversion ที่ธุรกิจต้องการ ย่อมช่วยทำให้ธุรกิจเติบโตได้เร็วมากขึ้นจากการมีช่องทางในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเพิ่มเติม
- ใช้ในการปรับปรุงกลยุทธ์การทำ SEO แบบเดิมๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับการจัดอันดับในรูปแบบ AI Search Engine เช่น เข้าใจวิธีการเตรียมข้อมูลให้มีความน่าเชื่อถือและอ้างอิงได้ รวมถึงเรียนรู้เทคนิคของการทำอันดับบน Generative AI เพื่อทำให้ติดอันดับของผลการค้นหาให้เร็วขึ้น
สรุป Perplexity คืออะไร น่าใช้งานไหม
สรุปแล้ว Perplexity คือ AI Web Search Engine ที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการค้นหาข้อมูลบน Search Engine แบบเดิมๆ จากการที่สามารถพิมพ์ถาม-ตอบข้อมูลกับ AI ได้ และแสดงคำตอบขึ้นมาพร้อมแหล่งที่มา ซึ่งทำให้การหาข้อมูล หาไอเดีย หรือทำการสรุปข้อมูลที่มีความซับซ้อนนั้นง่าย สะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ดังนั้น นี่คือ เวลาที่ดีที่สุดในการเริ่มต้นศึกษาและใช้งาน AI Search Engine กันมากขึ้น โดยเฉพาะ Perplexity ที่มีแนวโน้มจะเป็นที่นิยมมากขึ้น เช่นเดียวกัน AI อื่นๆ อย่าง Gemini หรือ ChatGPT ที่มาก่อนหน้านี้
และในปัจจุบันคนไทยเองก็สามารถเข้าไปทดลงใช้งาน Perplexity ได้แล้วที่ Perplexity.ai อย่าลืมไปลองใช้ Free AI ที่มีแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือกันตั้งแต่วันนี้ได้เลยครับ!