Home - SEO - SEO Checklist มีอะไรบ้าง ? เพียงรู้สิ่งนี้ก็สามารถทำเว็บไซต์ติดอันดับ 1 ได้ง่ายๆ 

SEO Checklist มีอะไรบ้าง ? เพียงรู้สิ่งนี้ก็สามารถทำเว็บไซต์ติดอันดับ 1 ได้ง่ายๆ 

SEO Checklist คืออะไร? ทำไมคนทำ SEO ต้องศึกษาให้ละเอียด

SEO Checklist เป็นสิ่งที่คอยเตือนเราว่าในการทำ SEO นั้นเราทำเรื่องต่าง ๆ ครบแล้วหรือยัง เพราะการที่เราพลาดอะไรบางข้อไป ก็อาจส่งผลกระทบต่ออันดับ SEO ของเว็บไซต์เราได้ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน Technical SEO, Keyword Research, On-page SEO, Off-page SEO ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักว่า SEO Checklist คืออะไร? แล้ว SEO Checklist มีอะไรที่คุณควรศึกษาอย่างละเอียดบ้าง ไปดูกันเลย

SEO Checklist คืออะไร?

SEO Checklist คือ รายการสิ่งที่ต้องทำในการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับ 1 หรืออันดับที่ดีที่สุดบน Search Engine เช่น Google โดยข้อดีของ SEO Checklist คือจะช่วยให้เราสำรวจว่าเราทำต่าง ๆ ที่ควรทำกับ SEO ครบแล้วหรือยัง เขียนบทความ SEO ถูกต้องตาม Google Algorithm ต้องการหรือเปล่า

หากเราทำครบแล้ว ก็จะเป็นก้าวสำคัญที่ช่วยให้ Search Engine อย่าง Google มองว่าเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ส่งผลให้เว็บไซต์ติดอันดับหน้าแรกตามที่ต้องการได้

the only seo checklist you need

Technical SEO Checklist

Technical SEO Checklist เป็น Checklist อันดับแรก ๆ ที่ไม่อยากให้ทุกคนมองข้าม เพราะปัจจัยเหล่านี้เปรียบเสมือนเป็นตัวกลางที่ช่วยเชื่อมระหว่างเว็บไซต์ของเรากับ Search Engine อย่าง Google ให้มาพบกันได้ โดย Technical SEO Checklist ที่สำคัญ มีดังนี้

1. ติดตั้ง Google Search Console

Google Search Console คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ที่เอาไว้ดูว่าลูกค้าของเราได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานเว็บไซต์ของเราหรือไม่จาก โดย Insight ต่าง ๆ จะช่วยทำให้เห็นสุขภาพของเว็บไซต์ และเพิ่มโอกาสให้เว็บไซต์ของเราติด SEO หน้าแรกได้ง่ายขึ้น

โดยการติดตั้ง Google Search Console สามารถทำตามขั้นตอนได้ ที่นี่

google search console

2. ติดตั้ง Google Analytics 4

Google Analytics 4 (GA4) คือ เครื่องมือฟรีจาก Google ในการช่วยวิเคราะห์และวัดประสิทธิภาพของเว็บไซต์และแอปพลิเคชันอย่างละเอียด โดยเราสามารถเข้าถึงรายงานข้อมูล Insight ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำ SEO เช่น จำนวน Traffic ที่เข้ามายังเว็บไซต์ของเรา, Demographic ข้อมูลของผู้ใช้งานว่าเป็นเพศไหน อายุเท่าไร อาศัยอยู่จังหวัดอะไร รวมถึงข้อมูลพฤติกรรมที่ผู้ใช้งานเข้ามาทำอะไรบนเว็บไซต์ของเราด้วย

นอกจากนี้ คุณสามารถนำ Insight ทั้งจาก Google Analytics 4 และ Google Search Console เข้ามาวิเคราะห์สุขภาพของเว็บไซต์ได้อีกด้วย เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้นในการทำ SEO ให้กับเว็บไซต์ของคุณ หากมี Metric ไหนที่ Drop ลงไป จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขได้ทันเวลา

สำหรับวิธีการติดตั้ง Google Analytics 4 สามารถทำได้ตามขั้นตอนนี้เลย

google analytics 4

3. ติดตั้ง Social Media Pixel

Social Media Pixel คือ เครื่องมืออย่างหนึ่งที่มีหน้าตาในรูปแบบของ ‘โค้ด’ ซึ่งเมื่อเราเอา Social Media Pixel เช่น Facebook Pixel, TikTok Pixel ไปติดตั้งไว้บนเว็บไซต์ Pixel ก็จะช่วยคุณค้นหาคนที่เคยเข้ามายังเว็บไซต์ คอยเก็บข้อมูล และติดตามผู้ใช้งานว่าเคยเข้าไปที่เว็บไซต์หน้าไหนบ้าง โดยเก็บข้อมูล เช่น Page Views, Add to Cart, Purchase 

แล้ว Social Media Pixel มีประโยชน์ต่อการทำ SEO อย่างไรบ้าง? อย่างที่บอกไปว่า Pixel นั้นเก็บข้อมูลคนที่เคยเข้ามายังเว็บไซต์ของเราแล้ว เมื่อนำเว็บไซต์ไปยิงโฆษณาบนโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, TikTok ก็จะช่วยดึงกลุ่มคนเหล่านั้นกลับเข้ามายังเว็บไซต์ของเราได้อีกครั้ง

นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์อีกด้วย ในกรณีที่แบรนด์หรือธุรกิจของเรา Active อยู่บนโซเชียลมีเดียอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้ลูกค้าเชื่อถือและไว้วางใจแบรนด์มากขึ้นว่ามีตัวตนอยู่จริง ๆ เมื่อแบรนด์น่าเชื่อถือแล้ว ลูกค้าก็จะเข้าถึงเว็บไซต์ของเราอย่างสม่ำเสมอและได้ลูกค้ากลับมาแบบ Organic ด้วย

แม้ดูเหมือนว่าการติดตั้ง Social Media Pixel จะไม่ได้ส่งผลโดยตรงกับการทำ SEO แต่ถ้าเรานำทั้ง 2 แพลตฟอร์มนี้มา Integrate เข้าด้วยกันอย่างมีกลยุทธ์ ก็จะส่งผลดีต่อการทำ SEO เช่น มี Traffic เข้ามาบนเว็บไซต์สม่ำเสมอ, ลูกค้าเกิดการค้นหาแบรนด์ของเราอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

social pixel code

4. Submit XML Sitemap

XLM Sitemap คือ แผนผังเว็บไซต์ Site Structure ที่จะช่วยนำทางให้ Google เข้าถึงหน้าเว็บไซต์ที่คุณต้องการจัดการได้ทั้งหมด โดยจะรวบรวมลิงก์หน้าเว็บไซต์ทั้งหมด และแสดงผลออกมาเป็นสารบัญ ซึ่งเหมาะสมมาก ๆ สำหรับเว็บไซต์ที่มีหมวดหมู่ย่อย มีเนื้อหา รูปแบบตัวหนังสือ รูปภาพ วิดีโอ หรือเว็บไซต์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยทำ Backlink

สำหรับการสร้าง XML Sitemap สามารถสร้างได้จากเว็บไซต์ที่รองรับ เช่น www.xml-sitemaps.com ขั้นตอนง่าย ๆ เพียงแค่ใส่ลิงก์ URL เว็บไซต์ของคุณลงไป จากนั้นกด Start เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ sitemap.xml ออกมา เพื่อนำไปส่งให้ Google ผ่าน Google Search Console

xml file sitemap

5. สร้างไฟล์ Robots.txt

ไฟล์ Robots.txt คือ ไฟล์ที่ช่วยบอกให้ Google เข้ามาเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณ โดยคุณสามารถกำหนดได้ว่าข้อมูลส่วนไหนจะให้ถูกเก็บหรือไม่ให้ถูกเก็บข้อมูลก็ได้เช่นกัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ Google สามารถค้นหาหน้าเว็บไซต์ของเราได้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นประโยชน์อย่างมากต่ออันดับ SEO

robot txt

6. เช็กคำสั่ง Indexed ของเว็บไซต์

Indexing คือ การที่ Google จัดเก็บหน้าเว็บไซต์ของเราเข้าสู่ฐานข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนสามารถค้นหาเว็บไซต์ของเราเจอ ในการทำ SEO หากเราวาง Strategy มาเป็นอย่างดี แต่ Google ไม่ Index เว็บไซต์ของเราทุกอย่างมีค่าเท่ากับศูนย์ทันที

เพราะฉะนั้นการเช็กว่าหน้าเว็บไซต์ว่ถูกทำ Indexing ไปแล้วหรือยัง จึงเป็นเรื่องที่คนทำ SEO ทุกคนควรให้ความสำคัญและมองข้ามไม่ได้เป็นอันขาด โดยสามารถตรวจสอบได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น

  • เช็กผ่าน Google Search Console หรือ SEO Tools อื่น ๆ (เช่น ฟีเจอร์ Site Audit บน SEMRush)
  • เข้า Google แล้วพิมพ์ site: แล้วตามด้วยชื่อเว็บไซต์ โดยไม่ต้องใส่ https:// เช่น site:example.com ผลลัพธ์ก็จะออกมาทันทีเลยว่า Google ได้ทำการ Indexing เว็บไซต์ของเราไปมากน้อยเท่าไรแล้ว
  • ทดสอบด้วยการค้นหาลิงก์ URL เว็บไซต์เราแบบตรง ๆ บน Google
  • ทดสอบด้วยการคัดลอกเนื้อหาบางส่วนบน Google

อย่างไรก็ตาม หากเว็บไซต์ของเราเป็นเว็บไซต์ใหม่ เราก็อาจจะไม่เจอเว็บไซต์ของเราทันที เมื่อกดค้นหา เพราะ Google จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อทำการ Indexing เว็บไซต์

how google crawling and indexing work

7. Mobile-Friendly

สถิติจาก Exploding Topics บอกว่า 92.3% ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ ดังนั้นหากเว็บไซต์ของคุณยังไม่เป็นแบบ Responsive Design ที่สามารถรองรับโทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต หรืออุปกรณ์อื่น ๆ อาจไม่เป็นผลดีต่อการทำ SEO เพราะ Google จะปรับคะแนนการติดอันดับ SEO ของเว็บไซต์ออนไลน์คุณให้ต่ำลง

Mobile Friendly

8. HTTPS

Hypertext Transfer Protocol over Secure Socket Layer หรือ HTTPS คือ โปรโตคอลรูปแบบหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการทำ SEO เป็นอย่างมาก เพราะ Google ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการใช้งานของผู้ใช้

ถ้าหากเว็บไซต์ของเราไม่ติดตั้ง HTTPS ก็จะทำให้ผู้ไม่หวังดีเข้าถึงข้อมูลของเราได้อย่างง่ายดาย และหากข้อมูลของลูกค้าหลุดออกไป นอกจากจะเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีให้กับลูกค้า (ในเรื่องความปลอดภัย) แล้ว ธุรกิจของเราอาจโดนฟ้องเรื่องความปลอดภัยด้วยได้

โดยในปัจจุบัน Google ได้ทำการปรับ Algorithm ในระบบ Indexing (หนึ่งในขั้นตอนการทำงานของ SEO) ให้ตรวจจับเว็บไซต์แบบ HTTPS มาก่อนเสมอ และหากเว็บไซต์ของเราเป็นเพียงแค่ HTTP ธรรมดา Google ก็จะลดความสำคัญของเว็บไซต์เราลงไปด้วย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่ออันดับ SEO ของเราเลย

HTTPS

9. Loading Speed

การเช็ก Loading Speed หรือความเร็วในการโหลดเว็บไซต์ถือเป็น SEO Checklist ที่ทุกคนไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากอ้างอิงสถิติจาก Website Builder Expert ที่ชี้ให้เห็นว่า 82% ของลูกค้าบอกว่าความเร็วของ pagespeed มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ หากโหลดช้าเกิน 3 วินาทีก็อาจทำให้เขาเปลี่ยนใจได้ทันที

ถ้าเว็บไซต์ไหนที่สามารถโหลดได้เร็ว ก็จะถูกใจ Google และยังถูกมองว่าเป็นเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถืออีกด้วย หากอยากรู้ว่าคะแนนเว็บไซต์ของเราได้กี่คะแนน (จาก 100 คะแนน) สามารถเช็กได้ที่ Google PageSpeed Insights

Keyword Research Checklist

Keyword Research เป็นกระบวนการค้นหาคีย์เวิร์ดที่มีความเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์และทำให้ธุรกิจกับลูกค้ามาเจอกัน ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญที่สุดอีกหนึ่งอย่างในการทำ SEO ที่ไม่อยากให้มองข้ามเด็ดขาด เรามาลองดูกันว่า Keyword Research Checklist พื้นฐานสำหรับคนทำ SEO จะมีอะไรกันบ้าง

1. กำหนด Main Keyword ของเว็บไซต์

การกำหนด Main Keyword ของเว็บไซต์ จะเป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางว่าเว็บไซต์ของเราจะมีความเกี่ยวข้องกับอะไร โดยทั่วไป Main Keyword มักจะเป็นคำกว้าง ๆ ไม่เฉพาะเจาะจง มี Search Volume และการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง รวมถึงเป็นคำที่สามารถดึงดูดให้คนเข้าเว็บไซต์แบบ Organic ได้มากที่สุดด้วย

นอกจากนี้ Main Keyword ทำให้เราสามารถปรับแต่งส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น การวาง Pillar Content และแตกคอนเทนต์ย่อยด้วยคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง (Secondary Keyword), Meta Tag, ปัจจัย On-page SEO อื่น ๆ ที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

2. วางแผนกำหนดกลยุทธ์ Keyword ที่ต้องการทำ SEO

ก่อนที่จะทำการวางแผนกลยุทธ์ Keyword คุณต้องเข้าใจก่อนว่าคีย์เวิร์ดที่ดีนั้นจะต้อง

  • Relevance – คีย์เวิร์ดที่ดีควรจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับคอนเทนต์และ Search Intent
  • Authority – คีย์เวิร์ดที่ดีควรจะมีอำนาจหรือพลังมากพอที่จะทำอันดับได้
  • Volume – คีย์เวิร์ดที่ดีควรจะต้องมี Search Volume

เมื่อเราเข้าใจคุณสมบัติของคีย์เวิร์ดที่ดีแล้ว มาเริ่มวางแผนกำหนดกลยุทธ์ Keyword กัน โดยเราขอแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนง่าย ๆ คือ

1. เลือกใช้คีย์เวิร์ดให้เหมาะสม – คีย์เวิร์ดที่เหมาะสม เช่น 

  • Short-tailed Keyword หรือคีย์เวิร์ดที่เป็นคำกว้าง ๆ ไม่เจาะจง มี Search Volume สูง มีคู่แข่งเยอะ เช่น คาเฟ่, ข้าวมันไก่ โดยส่วนมาก Short-tailed Keyword จะเป็นคำตั้งต้นเพื่อใช้ในการวางแผนคีย์เวิร์ดอื่น ๆ ต่อไป
  • Long-tailed Keyword หรือคีย์เวิร์ดที่มีความยาว เฉพาะเจาะจง มี Search Volume น้อยกว่า และมีคู่แข่งไม่เยอะเท่าแบบแรก ซึ่งการใช้ Long-tailed Keyword ส่วนมากมักจะติดอันดับง่ายกว่า เพราะมักจะเป็นคำที่ตรงกับ Search Intent ของลูกค้า เช่น คาเฟ่ ลาดพร้าว, ร้านข้าวมันไก่ สามย่าน

การเลือกใช้คีย์เวิร์ดให้เหมาะสมกับคอนเทนต์หรือเว็บไซต์จะช่วยเพิ่มโอกาสให้คุณติดอันดับ SEO ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ต้องดูความเหมาะสมและบริบทของคอนเทนต์และเว็บไซต์คุณด้วย

2. ปรับให้คีย์เวิร์ดตรงกับ Search Intent – การปรับคีย์เวิร์ดให้ตรงกับ Search Intent จะช่วยให้คีย์เวิร์ดเราติดอันดับได้ง่ายขึ้น ซึ่งผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมักจะใช้ Google เพื่อหาคำตอบอะไรบางอย่าง Search Intent อาจจะเป็น Question หรือ How to เช่น มีคำว่า “คือ”, “วิธีทำ” อย่าง SEO คือ, วิธีทำต้มยำกุ้ง เป็นต้น 

โดยการหา Search Intent ที่ง่ายที่สุด คือ ให้แบรนด์ลองวางแผนคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง ด้วยการลองนำคีย์เวิร์ดนั้น ๆ ไปค้นหาบน Google และดูว่าผลการค้นหาที่ทาง Google แนะนำมาให้นั้นมีอะไรบ้าง (Related Searches) ตรงกับเว็บไซต์ของเราหรือไม่ หรือการใช้ SEO Tools ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้หา Search Intent ได้เช่นกัน

3. ทำ Keyword Research – การทำ Keyword Research คือ ขั้นตอนในการเลือก Keyword ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของเรา โดยไม่จำเป็นต้องเลือกใช้เพียงคำเดียว แต่ยังสามารถเลือกใช้หลายคำที่ใกล้เคียงกันได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องดูในการทำ Keyword Research หลัก ๆ ประกอบไปด้วย

  • Search Volume – จำนวนปริมาณการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน
  • Keyword Difficulty – Metric ที่แสดงความยากง่ายของคีย์เวิร์ดแบบ Organic Keyword ที่ไม่ได้มาจาก Ads
  • Search Result – การแสดงเว็บไซต์ที่ติดอันดับของคีย์เวิร์ดคำนั้น (เอาไว้ส่องดูได้ว่าใครเป็นคู่แข่งเราบ้าง)

แม้ว่าการทำ Keyword Research จะไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่ก็มักพบว่าผู้เริ่มต้นทำ SEO บางคนยังไม่รู้จักการทำ Keyword Research และเลือกคีย์เวิร์ดตามความรู้สึกตัวเอง หรือตามความเชื่อ โดยที่ไม่มีข้อมูลมาอ้างอิง บางครั้งเมื่อลงมือทำไปแล้ว กลับพบว่าไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวังไว้ ก็จะทำให้เสียทั้งเงินและเวลา ไปฟรี ๆ ได้

เพราะฉะนั้นการทำ Keyword Research จึงเป็นสิ่งที่กำหนดการทำงานในหลาย ๆ ส่วนของ SEO บนเว็บไซต์ ทั้งการทำ SEO Content, การปรับแต่ง On-page SEO, การวาง Site Structure, การทำ Link Building รวมถึงเรื่องอื่น ๆ ในการเพิ่มโอกาสการเติบโตของธุรกิจ

3. กำหนดเว็บไซต์คู่แข่งของธุรกิจ

การกำหนดเว็บไซต์คู่แข่งของธุรกิจจะช่วยให้เรามองเห็นเป็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าใครเป็นคู่แข่งของเราบ้าง ไปพร้อม ๆ กับการสำรวจดูว่าตอนนี้เทรนด์ในอุตสาหกรรมเดียวกับเรากำลังเดินไปในทิศทางใด เพื่อที่ว่าจะได้ปรับตัวได้เท่าทันคู่แข่ง

ในการหาเว็บไซต์คู่แข่ง สามารถดูได้จากอันดับในหน้า SERP ของคีย์เวิร์ดที่เราต้องการโฟกัส หรือการใช้ SEO Tools ที่สำรวจได้ว่าคู่แข่งคนไหนครองอันดับไหนไปบ้าง นอกจากนี้ ใน SEO Tools ก็ช่วยให้เราดู Keyword Gap ระหว่างเราและคู่แข่งได้ด้วยว่าคีย์เวิร์ดไหนที่คู่แข่งเรากำลังทำอันดับอยู่ แล้วเรายังไม่ได้ทำ ดังนั้นแล้ว เราก็สามารถวางกลยุทธ์เพื่อที่จะเอาชนะและแย่งอันดับจากคู่แข่งมาได้

On-page Checklist

On-page SEO คือ การปรับแต่งภายในเว็บไซต์หรือคอนเทนต์ของเราเอง เราไปดูกันดีกว่าว่า On-page Checklist จะมีอะไรบ้าง

1. Friendly URL

การตั้ง URL นอกจากจะต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่ายแล้ว ก็ควรที่จะต้องมี Keyword อยู่ใน URL ด้วย โดยหลักการตั้ง Friendly URL เช่น

  • ควรตั้งเป็นภาษาอังกฤษดี เพราะเป็นสากลและบางครั้งหากเราตั้ง URL เป็นภาษาไทย เบราว์เซอร์ของผู้อ่านในประเทศอื่นอาจไม่รองรับภาษาไทย ทำให้การแสดงผลออกมาเป็นภาษาที่อ่านไม่ออก 
  • ใช้เครื่องหมาย “-” (Hyphen) แทนการเว้นวรรค
  • หลีกเลี่ยงการตั้งตัวเลขปีใน URL เพราะปีจะเปลี่ยนไปในทุก ๆ ปี เช่น seo-checklists-2024

ตัวอย่างการตั้ง URL เช่น บล็อกของเราเกี่ยวกับ SEO Checklist สำหรับมือใหม่ เราอาจตั้งว่า https://example.com/blog/seo-checklists-for-beginner เป็นต้น

2. Title Tag

Title Tag คือ ชื่อที่ปรากฏอยู่บนหน้า SERP ที่แสดงให้ทั้ง Google และผู้ใช้งานเข้าใจว่าคอนเทนต์หรือเว็บไซต์ของเราเกี่ยวกับอะไร สำหรับการตั้งชื่อ Title Tag ควรมี Primary Keyword อยู่ในนั้น, ไม่ควรมีความยาวเกิน 60 ตัวอักษร, ตั้งให้เข้าใจง่าย รู้ทันทีว่าเมื่อกดคลิกเข้ามาแล้วจะเจออะไร รวมถึงควรตั้งชื่อที่น่าดึงดูดมากพอ เพื่อให้ผู้ใช้งานอยากคลิกเข้ามาบนเว็บไซต์ของเราด้วย และอาจเพิ่มรายละเอียดด้วยการกำหนด meta description คือ ส่วนช่วยอธิบายเนื้อหาที่ปรากฏบนเว็บไซต์

title tag

3. มีคีย์เวิร์ดอยู่ใน First Paragraph

รู้หรือไม่ว่าการมี Primary Keyword อยู่ใน 100 คำแรก เป็นส่วนช่วยให้บทความของเราติดอันดับหน้าแรกบน Google ได้ โดยผู้เชี่ยวชาญหลายคนเชื่อว่า Google ให้น้ำหนัก 100 คำแรกในคอนเทนต์ของเรา เนื่องจากโดยปกติแล้ว 100 คำแรกของบทความต่าง ๆ จะเป็นตัวตัดสินใจว่ามีความน่าสนใจมากพอที่ผู้อ่านจะอ่านบทความต่อหรือไม่ ดังนั้น 100 คำแรกจึงเป็นปัจจัยในการจัดอันดับได้เช่นกัน

4. ใช้คีย์เวิร์ดใน H1, H2 หรือ H3 Tags

Google มักจะมีการอ่านโครงสร้างหน้าเว็บไซต์หรือหน้าเว็บเพจจาก Heading Tag ซึ่งการที่ใช้คีย์เวิร์ดใน H1, H2 หรือ H3 Tag จะช่วยให้ Google เข้าใจเว็บไซต์ของเรามากขึ้นว่าเกี่ยวข้องกับอะไร มีผลต่อการติดอันดับ SEO หน้าแรกได้

5. ปรับรูปภาพให้เหมาะสมกับ SEO

การใช้รูปภาพที่เหมาะสมกับ SEO เป็นอีกหนึ่งในกลยุทธ์ที่ไม่ควรมองข้าม ตัวอย่างเช่น การย่อไฟล์รูปภาพไม่ให้ใหญ่เกินไป เพราะหากรูปภาพมีขนาดใหญ่มาก จะส่งผลต่อ Page Speed ของเว็บไซต์ และประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ 

นอกจากนี้ การตั้ง ALT Text Tags หรือคีย์เวิร์ดที่อธิบายเกี่ยวกับรูปภาพที่แทรกอยู่ใน HTML Code ของเว็บไซต์ ก็มีผลต่อการทำ SEO ด้วยเช่นกัน เพราะช่วยทำให้ Google เข้าใจรูปภาพของเราได้มากขึ้นว่าเกี่ยวข้องกับบทความหรือเปล่า (Google มองไม่เห็นรูปภาพ แต่เข้าใจโค้ด) รวมถึง ALT Text Tags ยังทำให้กลุ่มเป้าหมายค้นหาเว็บไซต์เราเจอผ่านรูปภาพได้เช่นเดียวกัน

Image Alt Text

6. เพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในบทความ

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง หรือ Secondary Keyword คือ คีย์เวิร์ดที่ให้ความหมายใกล้เคียงกับ Primary Keyword แต่มี Search Volume และการแข่งขันที่น้อยกว่า ซึ่งบางครั้ง Primary Keyword ก็มีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง การที่เราโฟกัสเฉพาะ Primary Keyword อาจไม่สามารถชนะคู่แข่งได้

ดังนั้นข้อดีของการเพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องในบทความเข้าไปเป็นการเพิ่มโอกาสในการไต่ Ranking ในคำอื่น ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ Primary Keyword สามารถมีได้แค่คำเดียว แต่ Secondary Keyword มีได้มากถึง 8-10 คำเลยทีเดียว โดยไอเดียสำหรับ Secondary Keyword สามารถค้นหาได้จาก SEO Tools ต่าง ๆ ได้เลย

การเพิ่ม Internal Link หรือการเชื่อมลิงก์ภายในเว็บไซต์ด้วยกันเอง นอกจากจะมีประโยชน์คือให้ผู้อ่านสามารถเข้าไปอ่านเนื้อหาเพิ่มเติมได้แล้ว ยังเป็นการช่วยโอกาสให้ Traffic วนเวียนอยู่ในเว็บไซต์ของเราได้นานขึ้น ซึ่ง Google จะมองว่าเว็บไซต์เรามีคุณภาพและสร้างประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้จริง ส่งผลดีต่อคะแนน SEO โดยตรง

internal link

8. แก้ไข Duplicate Content

การมีเนื้อหาที่ซ้ำกันบนเว็บไซต์เดียวกัน (Duplicate Content) อาจไม่ส่งผลดีต่อประสบการณ์ผู้ใช้และอันดับ SEO เช่น

  • Search Engine Ranking Issues – หากเว็บไซต์มี Duplicate Content อาจสร้างความสับสนให้กับ Search Engine ได้ เพราะ Search Engine จะไม่รู้ว่าคอนเทนต์ไหนที่มีความสดใหม่กว่า หรืออันดับสูงกว่ากัน ซึ่งผลสุดท้าย Search Engine ก็จะเลือกเพียงหน้าเว็บเพจเดียวเท่านั้น และทำให้ Duplicate Content อันอื่นมีอันดับที่ตกลง
  • Keyword Cannibalization – หรือการทำ SEO ด้วยการใช้ Keyword เดิม ๆ หลายหน้า Landing Page บนเว็บไซต์เดียวกัน ซึ่งหลายคนอาจเข้าใจผิดว่าการทำ SEO ด้วย Keyword เดิมซ้ำ ๆ อาจทำให้ Google ดันเว็บไซต์เราให้ติดอันดับได้ดีกว่าเดิม แต่จริง ๆ แล้ว การทำแบบนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดการแข่งขันกันเองภายในเว็บไซต์ เช่น เราอยากให้ Landing Page A ติดอันดับ แต่มี Duplicate Content จาก Landing Page B มาแล้วองค์ประกอบทุกอย่าง B ทำได้ดีกว่า Google ก็จะเลือก B ให้ติดอันดับ ทำให้อันดับ A ตกลงไปด้วย ซึ่งการทำแบบนี้ไม่เป็นผลดีต่ออันดับ SEO แน่นอน

ดังนั้นแล้ว หากเว็บไซต์ของคุณมี Duplicate Content อยู่ เราอยากแนะนำให้คุณแก้ไขก่อนที่จะสายเกินไป เพราะเมื่อ Google ตรวจเจอเมื่อไร แม้ Duplicate Content จะเกิดขึ้นด้วยความไม่ได้ตั้งใจก็ตาม ก็อาจเกิดการลงโทษตามมาได้

Off-Page Checklist

Off-page SEO คือ การใช้ปัจจัยภายนอกเว็บไซต์มาช่วยให้การทำ SEO มีอันดับที่ดีขึ้น สำหรับ Off-Page Checklist ที่คุณควรเช็กมีดังนี้

1. Analyze Off-page ของคู่แข่ง

การวิเคราะห์ Off-page SEO ของคู่แข่งจะทำให้รู้ Insight ว่าคู่แข่งของเราใช้กลยุทธ์อะไรในการแข่งขันบ้าง เช่น การทำ Link Building, Content Strategy, Keyword Research, คีย์เวิร์ดที่คู่แข่งโฟกัส, การวิเคราะห์เชิงเทคนิค (เช่น Page Speed, Responsive Design) เป็นต้น ซึ่งการรู้เท่าทันคู่แข่งก็เป็นส่วนช่วยที่ทำให้เราตามเกมคู่แข่งทัน และไม่ตกมาอยู่อันดับที่สองนั่นเอง

Disavow Backlink คือ การกำจัด Backlink ที่ไม่เป็นผลดีกับเว็บไซต์ของเราออกไป เพื่อไม่ให้มากระทบต่อการทำ SEO ของเว็บไซต์ เพราะ Google มีมาตรการลงโทษสำหรับเว็บไซต์ที่รับ Backlink คุณภาพต่ำมากเกินไป โดยผลที่ตามมาอาจทำให้อันดับเว็บไซต์ของเราตกลงได้ หรือโดนแบนจาก Google ในที่สุด

สำหรับวิธีการทำ Disavow Backlink สามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือ SEO Tool เช่น Google Search Console, SEMRush, Ahrefs ในการกำจัด Bad Backlink ได้เลย

backlink audit

3. ตั้งค่า Google My Business

การตั้งค่า Google My Business เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ทำให้ Google สามารถ Backlink กลับไปยังเว็บไซต์ของเรายังหน้าเว็บเพจต่าง ๆ ได้ หากมีคนค้นหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับเรา โดยสามารถตั้งค่าผ่าน Google My Business และสามารถลิงก์ไปยังเว็บเพจต่าง ๆ เช่น

  • Website หน้าเว็บไซต์
  • Booking หน้าการจองหรือการนัดหมาย
  • Product / Service หน้าแสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการ
  • Review หน้าแสดงการรีวิวของลูกค้าท่านอื่น ๆ

โดยคุณสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตั้งค่า Google My Business ได้ ที่นี่

google my business

แน่นอนว่า Backlink นั้นมาจากการที่เว็บไซต์อื่น ๆ อ้างอิงถึงเว็บไซต์ของเรา ดังนั้นสิ่งที่คุณควรทำคือ บันทึก Backlink เหล่านั้นไว้ แล้วดูว่าเว็บไซต์ไหนที่ติด Backlink กลับมาให้เราแบบ Organic และถ้าหากว่าเว็บไซต์เรานั้นเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าเชื่อถือ ในอนาคตเราก็สามารถติดต่อร่วมไปเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจกับเว็บไซต์เหล่านั้นได้ เป็นกลยุทธ์ที่ Win-Win กันทั้งคู่

สรุป

SEO Checklist เป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยเตือนคุณเสมอในการทำ SEO แต่ละครั้ง สุดท้ายนี้อย่าลืมหมั่นตรวจสอบ SEO Checklist อยู่เป็นประจำ รวมถึงติดตามข่าวสารการอัปเดต Algorithm ของ Google อยู่เสมอ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการเปลี่ยนแปลง และเอาชนะคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ สุดท้าย Nerd Optimize รับทำ SEO หวังว่า SEO Checklist ในบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับการทำ SEO ของคุณนะครับ 

ผู้เขียน

Picture of NerdOptimize Team
NerdOptimize Team
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

ManyChat VS Chatfuel : วิเคราะห์ Chatbot Tools หมัดต่อหมัดแบบไหนน่าใช้กว่ากัน

หลายคนที่อยากจะเริ่มใช้ Chatbot มาช่วยทำ Messenger Marketing คงมีคำถามที่ว่าควรจะใช้ Manychat หรือ Chatfuel มากกว่ากัน? มาหาคำตอบกันในบทความนี้กันครับ

อ่านบทความ ➝

Link Building คืออะไร แตกต่างกับการทำ Backlink แบบปกติอย่างไร ?

Link Building คืออะไร มีผลต่อ SEO อย่างไร มีวิธีทำแบบไหนบ้าง สร้าง Link อย่างไรให้ส่งผลต่ออันดับ บทความนี้มีสรุปให้ครับ อัพเดทล่าสุด 2022

อ่านบทความ ➝
off page seo

Off Page SEO คืออะไร ทำยังไง ต่างจาก On-Page ยังไง [ดูวิธีล่าสุด]

วิธีการทำ Off Page คืออะไร ทำยังไง และทำไมต้องทำ วันนี้เรามีเทคนิคการทำ Off Page เช่น Backlink Local SEO ที่ช่วยทำให้อันดับของคุณดีขึ้นได้แบบติดจรวด

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top