Home - Marketing - Engagement คืออะไร ? ทำไมหลายแบรนด์ถึงให้ความสำคัญเท่ากับยอดขาย

Engagement คืออะไร ? ทำไมหลายแบรนด์ถึงให้ความสำคัญเท่ากับยอดขาย

Engagement คือ

ปัจจุบัน Social Media Marketing กลายเป็นกลยุทธ์หลักในการที่แบรนด์สื่อสารหากล่มเป้าหมายแต่การที่แค่โพสต์คอนเทนต์ไปเรื่อย ๆ อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะสิ่งที่ทุกแบรนด์ต้องการจริง ๆ คือ “การมีส่วนร่วม” หรือที่เราเรียกกันว่า Engagement คือ หัวใจหลักที่บ่งบอกว่าคนดูรู้สึกสนใจหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์ของคุณมากแค่ไหน โดย Engagement ไม่ใช่แค่ตัวเลขธรรมดา แต่คือพลังขับเคลื่อนให้แบรนด์เติบโตอย่างยั่งยืน

ไม่ว่าคุณจะเป็น Content Creator, นักการตลาด หรือเจ้าของแบรนด์ที่กำลังขับเคลื่อนธุรกิจในโลก Digital Marketing การเข้าใจและสร้าง Engagement ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยพาคุณเข้าใกล้เป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มาทำความรู้จักกับ Engagement แบบเข้าใจง่าย พร้อมเทคนิคและวิธีสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่แท้จริงกันในบทความนี้

Engagement คืออะไร ?

Engagement คือ การมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นระหว่างแบรนด์กับผู้ติดตามหรือกลุ่มเป้าหมายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, TikTok, X (Twitter เดิม) และอื่น ๆ โดย Engagement สามารถแบ่งประเภทของ Engagement หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การกดไลก์ แชร์ คอมเมนต์ คลิกดูวีดีโอ ส่งข้อความ หรือแม้กระทั่งการกด Follow ติดตามแบรนด์บน Social Media

โดยแท้จริงแล้ว Engagement ไม่ใช่แค่ตัวเลข แต่มันคือการวัดระดับความสนใจ ความผูกพัน และการมีส่วนร่วมของผู้คนที่มีต่อแบรนด์ของคุณ ซึ่งสามารถตีความไปได้หลายแง่มุม เช่น ยอด Engagement แปลว่า จำนวนครั้งที่เกิดการมีส่วนร่วมในโพสต์, คอมเมนต์, แชร์ หรือการคลิกต่าง ๆ ที่เกิดจากผู้ใช้งาน ถือเป็นค่าที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเชิงกลยุทธ์

หรืออธิบายแบบง่ายที่สุด Engagement คือ กระจกสะท้อนว่าแบรนด์ของคุณมีพลังในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ติดตามได้มากแค่ไหนนั่นเอง

Engagement คืออะไร

Engagement สำคัญขนาดไหนต่อการทำการตลาดออนไลน์

การมี Engagement ที่ดีไม่ได้แค่เพิ่มความคึกคักให้กับโพสต์เท่านั้น แต่มันสะท้อนถึงความผูกพันและความสัมพันธ์ที่แบรนด์มีต่อผู้ติดตามได้อย่างแท้จริง ลองนึกถึงแพลตฟอร์ม Social Media เป็นแพลตฟอร์มที่เปิดโอกาสให้แบรนด์พูดคุยกับผู้บริโภค และถ้าการสื่อสารนี้เกิดการตอบสนอง กลับกลายเป็นว่าคุณกำลังสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนอยู่โดยไม่รู้ตัว

  • เพิ่ม Organic Reach ได้มากขึ้น: เมื่อโพสต์มี Engagement สูง แพลตฟอร์มอย่าง Facebook หรือ Instagram จะมองว่าโพสต์นั้นมีคุณภาพ และช่วยกระจายโพสต์ให้เห็นมากขึ้นโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยประหยัดงบโฆษณาและทำให้แบรนด์เติบโตได้แบบธรรมชาติ
  • สร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์: ผู้คนมักเชื่อในสิ่งที่คนรอบข้างมีส่วนร่วมด้วย การที่มีคอมเมนต์ แชร์ หรือแม้แต่การกด Reaction มาก ๆ เท่ากับการได้รับ Social Proof จากผู้บริโภค ซึ่งทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์ดูน่าเชื่อถือและน่าติดตามมากขึ้น
  • ช่วยเข้าใจ Customer Journey ได้ชัดเจนขึ้น: พฤติกรรมการมีส่วนร่วม เช่น การคอมเมนต์ ถามคำถาม หรือแชร์โพสต์ จะช่วยให้แบรนด์เข้าใจว่าผู้บริโภคอยู่ในขั้นตอนไหนของเส้นทางการตัดสินใจ และสามารถปรับคอนเทนต์ให้เหมาะสมในแต่ละช่วงได้อย่างแม่นยำ
  • ใช้เป็ KPI ชี้วัดคุณภาพของคอนเทนต์: Engagement ที่เกิดขึ้นบ่งบอกว่าคอนเทนต์นั้นตอบโจทย์หรือไม่ หากโพสต์ใดได้รับความสนใจสูง แปลว่าคอนเทนต์นั้นตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในแคมเปญการทำการตลาดออนไลน์ ตัวต่อไปของแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทของ Engagement ของ Social Media มีอะไรบ้าง ? 

เมื่อเราเข้าใจความสำคัญของ Engagement แล้ว ลำดับต่อไปคือการเข้าใจว่า engagement มีอะไรบ้าง บน Social Media ซึ่งรูปแบบของมันมีความหลากหลายและแตกต่างกันไปในแต่ละแพลตฟอร์ม โดยในบทนี้เราจะโฟกัสที่ประเภท Engagement หลัก 4 ประเภทที่แบรนด์ส่วนใหญ่นำมาใช้วิเคราะห์และวางแผนการตลาดออนไลน์

1. Comment

การคอมเมนต์เป็นหนึ่งใน Engagement ที่ทรงพลัง เพราะเป็นการที่ผู้ติดตามแสดงออกถึงความคิดเห็น ความรู้สึก หรือคำถามที่มีต่อคอนเทนต์ของแบรนด์ การที่คนลงทุนเวลาในการพิมพ์ข้อความแสดงว่าพวกเขามีความสนใจและผูกพันกับเนื้อหานั้นอย่างแท้จริง นอกจากนี้คอมเมนต์ยังเปิดโอกาสให้เกิดการสนทนา และเมื่อแบรนด์ตอบกลับอย่างจริงใจ ก็จะยิ่งสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

2. Reaction

การกดไลก์ (ถูกใจ) หรือการแสดงปฏิกิริยาอื่น ๆ เช่น Love (รัก), Haha (หัวเราะ), Wow (ตกใจ), Care (ห่วงใย), Angry (โกรธ), Sad (เศร้า) บนแพลตฟอร์มอย่าง Facebook และ Instagram ถือเป็น Engagement ขั้นพื้นฐานที่ผู้ใช้งานสามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว แม้ว่าการกด Reaction อาจไม่ได้สะท้อนถึงความลึกซึ้งเท่ากับการคอมเมนต์หรือแชร์ แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่ดีที่แสดงว่าผู้ติดตามรับรู้และมีความรู้สึกบางอย่างต่อโพสต์ของคุณ การมีจำนวน Reaction มากพอจะช่วยดันให้โพสต์นั้นมีโอกาสเข้าถึงผู้คนมากขึ้นผ่านระบบอัลกอริธึม

engagement มีอะไรบ้าง

3. Share

การแชร์ถือเป็น Engagement ที่มีพลังในการกระจายคอนเทนต์ได้มากที่สุด เพราะเมื่อผู้ใช้งานเลือกที่จะแชร์โพสต์ของแบรนด์ไปยังเครือข่ายของตัวเอง แปลว่าพวกเขารู้สึกว่าเนื้อหานั้นมีคุณค่าพอที่จะแนะนำให้ผู้อื่นรับชม การแชร์ช่วยเพิ่มการเข้าถึงโดยไม่ต้องเสียค่าโฆษณา และยังเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ได้รับผู้ติดตามใหม่ ๆ อีกด้วย ยิ่งมีการแชร์มากเท่าไร แบรนด์ก็ยิ่งได้เปรียบในเรื่องการสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือในสายตาสาธารณะ

4. Click-Throughs

Click-Throughs หรือการคลิกที่ลิงก์ในโพสต์ เป็นตัวชี้วัด Engagement ที่สะท้อนว่าผู้ใช้งานสนใจอยากรู้ข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นการคลิกไปยังเว็บไซต์ หน้าสินค้า หรือหน้า Landing Page ต่าง ๆ การคลิกแสดงให้เห็นถึงความสนใจในเชิงลึก และมักเป็นจุดเริ่มต้นของ Conversion หรือการเปลี่ยนผู้ชมให้กลายเป็นลูกค้า แบรนด์ควรให้ความสำคัญกับการวัดค่า CTR (Click-Through Rate) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของคอนเทนต์และแนวทางการวางลิงก์ในโพสต์

7 เทคนิคการเพิ่ม Engagement ให้แบรนด์สำหรับทำการตลาดบน Social Media

ก่อนจะไปลงมือทำการตลาดจริง เรามาทำความเข้าใจเทคนิคที่สามารถใช้ได้จริงในการเพิ่ม Engagement ให้แบรนด์ โดยเฉพาะบนแพลตฟอร์ม Social Media ซึ่งการรู้ว่า Engagement Facebook คือ อะไรและใช้มันอย่างไรให้เกิดผล จะช่วยให้กลยุทธ์ของคุณคมชัดยิ่งขึ้น

1. ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง

ก่อนจะโพสต์อะไรลงไป ต้องรู้ก่อนว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร ต้องการอะไร และมีพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มอย่างไร เพราะถ้าคุณไม่รู้จักพวกเขา ก็เหมือนยิงปืนโดยไม่เล็ง วิธีการที่ช่วยได้คือการใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เช่น การทำ SWOT, การใช้ STP Framework ที่เป็นแนวคิดการวาง Position ให้แบรนด์ หรือแม้แต่การติดแท็กด้วย UTM เพื่อวัดผลแคมเปญ

2. สร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์

คอนเทนต์ที่ดีต้องตอบโจทย์ทั้งด้านอารมณ์ ความรู้ หรือความบันเทิง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วม ลองใช้รูปแบบที่หลากหลาย ทั้งภาพ วิดีโอ Infographic หรือแม้แต่การถ่ายทอดสด (Live) ลงในแพลตฟอร์ม Social Media ของแบรนด์ ก็จะช่วยกระตุ้นการเกิด Engagement ระหว่างแบรนด์กับผู้ติดตามได้เป็นอย่างดี

3. ใช้เวลาโพสต์ให้เหมาะสม

เวลาในการโพสต์ก็มีผลต่อ Engagement เช่นกัน ต้องรู้ว่าเวลาไหนกลุ่มเป้าหมายของคุณมีแนวโน้มออนไลน์มากที่สุด และโพสต์ในช่วงเวลานั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการมองเห็นโพสต์ของผู้ติดตาม และเพิ่มโอกาสที่จะทำให้พวกเขามาสร้าง Engagement ให้กับแบรนด์

4. ตอบกลับทุกการมีส่วนร่วม

เมื่อมีคนคอมเมนต์หรือส่งข้อความมา อย่าปล่อยให้เงียบหาย การตอบกลับเร็วและจริงใจ จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ติดตามและแบรนด์ และสร้างความรู้สึกว่าแบรนด์ใส่ใจกับทุกคอมเมนต์ ทุกความเคลื่อนไหวจริง ๆ ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยเพิ่ม Brand Trust หรือการสร้างความเชื่อใจให้กลุ่มเป้าหมายได้

5. ใช้ ‘แฮชแท็ก’ ให้มีประโยชน์

การใช้แฮชแท็กที่เหมาะสม จะช่วยให้คอนเทนต์ของคุณถูกค้นเจอได้มากขึ้น โดยเฉพาะใน Instagram หรือ Twitter นอกจากนี้ การสร้างแฮชแท็กเฉพาะแบรนด์ หรือแบรนด์แคมเปญ เช่น #ชื่อแบรนด์ หรือ #ชื่อกิจกรรม จะช่วยเพิ่มการจดจำ และกระตุ้นให้ผู้ติดตามมีส่วนร่วมโดยการใช้แฮชแท็กเหล่านั้นในโพสต์ของตนเองอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการใช้แฮชแท็กที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือใช้มากเกินไป เพราะอาจทำให้ดูเป็นสแปม และลดความน่าเชื่อถือของแบรนด์ได้

6. ร่วมมือกับ Influencer หรือ KOL มาร่วมกันสร้างคอนเทนต์

การร่วมงานกับ Influencer หรือ KOl ก็สามารถช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ และเพิ่มการมีส่วนร่วมแบบทวีคูณ เพราะพวกเขามีฐานแฟนคลับที่พร้อมจะฟังและเชื่อถือในสิ่งที่พวกเขานำเสนอ อีกทั้งการเลือก KOL ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคที่มีแนวโน้มจะกลายเป็นลูกค้าจริง 

การสร้าง engagement คือ

โดยไม่จำเป็นต้องเป็น KOL ที่มีผู้ติดตามหลักแสนหรือหลักล้านเสมอไป แม้แต่ Micro Influencer ที่มีผู้ติดตามหลักพันแต่มียอด Engagement สูง ก็สามารถสร้างผลลัพธ์ที่ดีได้เช่นกัน

7. ทดลองและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีกลยุทธ์ใดได้ผลไปตลอดโดยไม่ต้องปรับปรุง การทำการตลาดบน Social Media ต้องใช้การทดลองและวัดผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าเนื้อหาแบบไหนที่สร้าง Engagement ได้ดีที่สุด การใช้เครื่องมือวิเคราะห์ เช่น Meta Insights, Google Analytics หรือ Social Listening Tools ช่วยให้คุณเห็นพฤติกรรมผู้ใช้งานในเชิงลึกมากขึ้น

หรือใช้หลักการ PDCA คือ การวางแผน (Plan) ลงมือทำ (Do) ตรวจสอบผล (Check) และปรับปรุง (Act) มาเป็นแนวทางในการพัฒนาเนื้อหาและกลยุทธ์ คุณจะสามารถปรับเปลี่ยนสิ่งที่ไม่เวิร์ก และขยายผลในสิ่งที่เวิร์กได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งช่วยให้ Engagement เติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

Engagement คือ หัวใจสำคัญของการสร้างแบรนด์ให้เติบโต บน Social Media ทุกแพลตฟอร์ม

จากทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า Engagement คือ องค์ประกอบสำคัญที่ทุกแบรนด์ควรให้ความสำคัญในการทำการตลาดบนโลกออนไลน์ เพราะ Engagement ไม่เพียงเป็นการชี้วัดความสำเร็จของคอนเทนต์เท่านั้น แต่ยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับกลุ่มเป้าหมายได้อย่างแท้จริง และหากคุณต้องการพัฒนาแผนการตลาดให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมวางกลยุทธ์ที่ใช้ Social Media Engagement คือ จุดแข็งในการขับเคลื่อนแบรนด์ การร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญอย่าง NerdOptimize บริษัทที่ให้บริการ รับทำ SEO และวางแผนกลยุทธ์ออนไลน์แบบครบวงจร ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสให้แบรนด์ของคุณเติบโตได้อย่างยั่งยืนและวัดผลได้จริงในทุกมิติ

รับทำ SEO ติดหน้าแรก

ค้นหา บทความอื่นๆ

Search

ผู้เขียน

Picture of ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร
ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร

ผู้บริหารและนักการตลาดสาย SEO ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Marketing Strategy สนใจเกี่ยวกับ Search Engine & AI Algorithms เป็นพิเศษ และเชื่อเสมอว่าทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ด้วย Data

LinkedIn
Picture of ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร
ไอซ์ - ศิริพงษ์ กลิ่นขจร

ผู้บริหารและนักการตลาดสาย SEO ที่เชี่ยวชาญเรื่อง Marketing Strategy สนใจเกี่ยวกับ Search Engine & AI Algorithms เป็นพิเศษ และเชื่อเสมอว่าทุกอย่างสามารถพิสูจน์ได้ด้วย Data

LinkedIn

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Google My Business

รู้จัก Google My Business เครื่องมือที่ทำให้ร้านค้าของคุณปรากฏบน Google Maps

Google My Business คือเครื่องมือฟรีจาก Google ที่ช่วยให้ธุรกิจของคุณปรากฏบน Google Search และ Google Maps เปรียบเสมือนหน้าร้านออนไลน์ที่ช่วยให้ลูกค้าค้นหาร้านของคุณเจอ

อ่านบทความ ➝

บรอดแคสต์ Facebook ทำอย่างไร ให้ได้ผลดีที่สุด พร้อมตัวอย่าง!

การบรอดแคสต์ Facebook ก็คือการส่งข้อความชุดหนึ่งไปยังผู้รับสารจำนวนมากผ่าน Facebook Messenger ในครั้งเดียว โดยใช้ระบบ Messenger Bot ในการส่งข้อมูล

อ่านบทความ ➝
SEO Specialist

รู้จักสายงาน SEO Specialist คืออะไร อาชีพนี้ทำอะไรบ้าง?

SEO Specialist คือ SEO Expert หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการทำ SEO (Search Engine Optimization) ที่ช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณสามารถติดอันดับการค้นหาได้อย่างง่ายดาย

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top