ธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องพึ่งพาการใช้ข้อมูลกันมากขึ้น การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลแบบเดิมอาจไม่ตอบโจทย์สำหรับองค์กรอีกต่อไป หลายองค์กรจึงเริ่มเปลี่ยนมาใช้ Google Cloud Platform หรือ GCP ที่เป็น Solution ของ Google ในการเข้ามาช่วยจัดเก็บและบริหารข้อมูล รวมถึงขยายพื้นที่ให้รองรับข้อมูลที่มีอยู่มหาศาลได้ตามต้องการ
แต่ Google Cloud คืออะไร และองค์กรสามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างไร ในบทความนี้ จะพาคุณไปรู้จักกับ GCP กันให้มากขึ้น พร้อมอธิบายว่า Google Cloud ใช้ยังไง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรยุคใหม่ให้สามารถดูแลและจัดการข้อมูลของบริษัทได้อย่างมีคุณภาพและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
Google Cloud คืออะไร ?
GCP หรือ Google Cloud Platform คือ แพลตฟอร์มคลาวด์สาธารณะที่พัฒนาโดย Google หรือที่เรียกกันว่า Public Cloud ซึ่งให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือต่างๆ สำหรับการประมวลผล จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ให้กับผู้ใช้งานทั่วโลก เรียกได้ว่าเป็นแพลตฟอร์มที่จำเป็นมากๆ สำหรับคนทำงาน
Google Cloud จะทำงานบนโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์แบบกระจายศูนย์ (Distributed Cloud Infrastructure) ของ Google ซึ่งจะจัดการทรัพยากรผ่านระบบ Projects ที่รวบรวมบริการต่างๆ เอาไว้ ผู้ใช้งานจึงหยิบเอาข้อมูลไปใช้งานได้แบบ Pay-as-you-go หรือจ่ายตามการใช้งานจริง ซึ่งช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและลดต้นทุนในการทำงาน นอกจากนี้ Google Cloud ยังมี Data Center อยู่ทั่วโลก จึงให้บริการได้รวดเร็ว ปลอดภัย และมีความเสถียรสูงมาก
GCP จึงเหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาดที่ต้องการโซลูชันที่ ปลอดภัย และสามารถปรับรูปแบบการใช้งานได้ตามความต้องการ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ต้องการขยายตัวอย่างรวดเร็ว หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่ต้องการระบบที่มั่นคงและปลอดภัยก็สามารถใช้ GCP ได้ทั้งนั้น
Google Cloud ประกอบไปด้วยบริการอะไรบ้าง
Google Cloud Services จะเป็นบริการที่ครอบคลุมโซลูชันหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการประมวลผล การจัดเก็บข้อมูล ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดของบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้
Computing and hosting
Computing บน Google Cloud เป็นบริการที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถใช้ทรัพยากรการประมวลผลผ่าน Virtual Machines (VMs) และ Kubernetes (Containers) โดย Serverless Computing รองรับระบบปฏิบัติการ Linux และ Windows แบบที่ธุรกิจไม่ต้องลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์จริงเองเวลาใช้งาน
ส่วน Cloud Hosting จะเป็นบริการสำหรับโฮสต์เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันบน Google Cloud เช่น App Engine, Cloud Run หรือ Firebase Hosting ทำให้องค์กรสามารถรันแอปฯ ได้โดยไม่ต้องดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้วยตัวเอง
Storage and database
Storage and Database บน Google Cloud คือ กลุ่มบริการที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดเก็บ จัดการ และประมวลผลข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับ Object Storage, Relational Database, NoSQL และ Data Warehousing เหมาะสำหรับองค์กรทุกขนาด ซึ่งจะแบ่งบริการออกเป็น…
- Cloud Storage คือ พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลบนคลาวด์ เหมาะสำหรับจัดเก็บไฟล์ รูปภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลสำรอง โดยไม่ต้องกลัวว่าข้อมูลจะสูญหายหรือถูกโจรกรรม และยังเรียกดูข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตได้เลย
- Cloud SQL คือ บริการ Relational Database บน Cloud ที่ผู้ใช้งานไม่จำเป็นที่จะต้องลงโปรแกรมตั้งแต่แรก แต่สามารถนำมาสร้างและบริหารฐานข้อมูลผ่าน MySQL, PostgreSQL และ SQL Server ได้ หลังจากนั้นก็นำข้อมูลไปใช้งานได้เลย
- Cloud Spanner คือ บริการ Global Distributed Relational Database Service บน Cloud ที่ใช้เก็บข้อมูลจำพวก NewSQL มีระบบฐานข้อมูลกระจายตัวทั่วโลก ทำให้มีเสถียรภาพสูงและรองรับการขยายตัวได้สูงอีกด้วย
- Cloud Firestore คือ บริการ NoSQL Database ที่โฮสต์ในระบบคลาวด์ รองรับ Real-time Sync เหมาะสำหรับการทำแอปพลิเคชันมือถือ, เว็บ และ IoT เช่น Chat Application, E-commerce และ Social Media
- Cloud Bigtable คือ บริการ NoSQL Database ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับที่ใช้ในการสร้าง Gmail, Google Search และ Google Analytic ทำให้สามารถรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- Memorystore คือ บริการสำหรับ in-memory data store รองรับ Redis และ Memcached เหมาะสำหรับการ Caching, Session Management และ Real-time Processing รองรับ High Availability และ Automatic Scaling
Networking
บริการด้าน Networking ของ Google Cloud คือ ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ช่วยองค์กรจัดการเครือข่ายต่างๆ และปรับปรุงการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์ แอปพลิเคชัน และผู้ใช้งานภายในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายใน Cloud หรือการเชื่อมต่อระหว่าง On-premises และ Cloud ซึ่งบริการเหล่านี้ช่วยให้ทุกคนสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ปลอดภัย และลด Latency โดยใช้โซลูชัน Virtual Private Cloud (VPC), Cloud Interconnect, Cloud VPN และ Load Balancing ในการทำงาน
Big Data
Big Data บน Google Cloud คือ บริการที่ช่วยให้องค์กรสามารถจัดเก็บ, ประมวลผล, วิเคราะห์ และแปลงข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ให้เป็นข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีบริการหลักในกลุ่ม Big Data หลากหลายบริการ เช่น
- BigQuery คือ Data Warehouse แบบ Serverless และ Scalable ช่วยให้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้ SQL Queries รองรับ Columnar Storage และสามารถทำ Machine Learning (ML) ผ่าน BigQuery ML ได้ในตัวอีกด้วย
- Cloud Dataflow คือ ระบบประมวลผลข้อมูลแบบ Real-time และ Batch Processing ที่ใช้ Apache Beam รองรับการทำ ETL, Data Streaming และ AI Pipelines โดยการปรับขนาดให้อัตโนมัติ
- Cloud Dataproc คือ บริการ Managed Service สำหรับ Apache Hadoop และ Apache Spark ที่ช่วยให้รัน Big Data Clusters ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมลดเวลาติดตั้งจากหลักชั่วโมงเป็นนาที
Machine learning
Machine Learning คือ ชุดบริการ AI & Machine Learning (ML) บน Google Cloud ที่ช่วยให้ธุรกิจและนักพัฒนาสามารถสร้าง ฝึก และปรับใช้โมเดล AI ได้โดยไม่ต้องจัดการโครงสร้างพื้นฐานเอง มีบริการที่ครอบคลุมทั้ง AutoML, Pre-trained AI Models และ Custom AI Model Training
สำหรับบริการหลักในกลุ่ม Machine Learning ของ Google Cloud จะมีอยู่หลายบริการด้วยกัน เช่น
- Vertex AI คือ แพลตฟอร์มที่รวมทุกบริการ AI ของ Google Cloud ไว้ในที่เดียว รองรับการสร้าง การฝึก และการนำโมเดล AI ไปใช้งาน รองรับ MLOps (Machine Learning Operations) เพื่อจัดการ Pipeline ของ AI และยังเชื่อมต่อกับ BigQuery ML, TensorFlow และ AutoML ได้
- AutoML คือ แพลตฟอร์มที่นักพัฒนาสามารถเข้าไปสร้าง Model Machine Learning ของตัวเองได้ โดยใช้เพียงแค่ข้อมูลเพื่อนำมาทำการเรียนรู้ให้กับโมเดลเท่านั้น รองรับ AutoML Vision, AutoML Natural Language, AutoML Tables, AutoML Translation เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการ AI แต่ไม่มี Data Scientist อยู่ในทีม
สอนวิธีการใช้งาน Google Cloud สำหรับมือใหม่ ต้องเริ่มอย่างไร ?
สำหรับมือใหม่อาจจะสงสัยว่า Cloud ใช้ยังไง มาดูวิธีการใช้คลาวด์ตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นเข้าใช้งานได้เลย ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. เริ่มต้นสร้างบัญชี
- เริ่มต้นโดยการเข้าใช้งานเว็บไซต์ https://cloud.google.com/
- ใช้บัญชี Google ในการลงชื่อเข้าใช้งานด้วยการคลิกที่ปุ่ม Get started for free แล้วเริ่มต้นสมัครเพื่อเข้าใช้งาน ซึ่งถ้ายังไม่มีบัญชี Google Cloud สามารถสมัครใช้งานฟรี โดย Google จะมอบเครดิตเริ่มต้นให้สำหรับทดลองใช้บริการให้ก่อน
- ทำการเลือกประเทศที่อยู่และกด Agree & Continue
- ทำการ Verify ข้อมูลในด้าน Payment ทั้งการสร้างโปรไฟล์และระบุช่องทางการชำระเงิน และกดปุ่ม Start Free
- ในช่วงเริ่มต้นใช้งาน Google Cloud จะมีเครดิตให้ใช้งานฟรี $300 ให้ทำการตอบคำถาม 4 ข้อตามที่ Google ระบุ และคลิกที่ปุ่ม Done
- หลังจากนั้นก็เลือกเข้าใช้งานบริการต่างๆ ของ Google Cloud ต่อได้เลย
2. เรียนรู้การใช้งานคลาวด์ผ่าน Google Cloud Console
Google Cloud Console คือ Interface Website ที่ใช้ในการจัดการและตรวจสอบบริการต่างๆ ของ Google Cloud สำหรับใครที่เริ่มต้นครั้งแรกในทำการสร้าง Project ก่อน โดยคลิกไปที่ My Project แล้วตั้งชื่อ Project
ส่วนใครที่ต้องการเปิดใช้งาน API และบริการต่างๆ ให้ไปที่ “APIs & Services” เพื่อเปิดใช้งานบริการที่จำเป็น และถ้าต้องการใช้ Console เพื่อสร้างและจัดการทรัพยากรต่างๆ เช่น VM instances, Storage buckets เป็นต้น สามารถเลือกที่เมนูเพื่อเปิดการใช้งานได้เลย
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือต้องการปรึกษาเกี่ยวกับการใช้งาน สามารถติดต่อทีมขายของ Google Cloud เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมได้ที่ https://cloud.google.com/contact
ข้อดีของการนำ Google Cloud มาใช้งานในองค์กร มีอะไรบ้าง ?
การเลือกใช้ Google Cloud Platform (GCP) มีประโยชน์สำหรับองค์กรในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการขยายทรัพยากรคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัย หรือการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ไปจนถึงช่วยประหยัดต้นทุนให้กับองค์กรได้มหาศาล ดังนี้
ช่วยให้องค์กรสามารถขยายทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้ตามความต้องการ
Google Cloud ช่วยให้องค์กรสามารถขยายทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้ตามความต้องการ เพราะเป็นบริการที่มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับขนาดของฐานข้อมูล หรือจะเพิ่ม-ลดขนาดเซิร์ฟเวอร์ก็ทำได้ตามต้องการ รวมถึงทำให้องค์กรสามารถใช้ Machine Learning ได้แบบที่ไม่ต้องลงทุนในฮาร์ดแวร์เพิ่มเติม แถมยังรองรับการประมวลผล Big Data โดยไม่ต้องดูแลเซิร์ฟเวอร์เองเหมาะสำหรับจึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่กำลังเติบโตหรือมีการขยายทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างรวดเร็ว
เพิ่มความปลอดภัยให้การเก็บข้อมูลในองค์กร
Google Cloud ช่วยปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีระบบป้องกันหลายชั้น (Multi-layered Security), AI-driven Threat Detection และมาตรฐานรับรองระดับโลก เช่น ISO/IEC 27001, SOC 2, GDPR, FedRAMP และ HIPAA ที่ช่วยยืนยันถึงความปลอดภัยของข้อมูล นอกจากนี้ ยังใช้ระบบการยืนยันตัวตนแบบหลายขั้นตอน (MFA) โดยรองรับทั้ง Security Key, Biometric Authentication และ Context-aware Access เพื่อป้องกัน Unauthorized Access ด้วย
ด้าน Data Privacy Commitments เอง Google Cloud จะไม่ใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อฝึก AI หรือ Machine Learning Models โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับ Confidential Computing และ Customer-managed Encryption Keys เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าข้อมูลจะถูกปกป้องอย่างเต็มที่อีกด้วย
ช่วยประหยัดต้นทุน (Cost Efficiency)
Google Cloud ช่วยลดต้นทุนขององค์กร เมื่อเทียบกับการใช้ Data Center แบบดั้งเดิม เนื่องจากไม่ต้องลงทุนซื้อเซิร์ฟเวอร์หรือฮาร์ดแวร์ที่มีราคาสูง นอกจากนี้ Google Cloud ยังมีระบบการคิดค่าบริการแบบจ่ายตามจริง (Pay-as-you-go) ทำให้ธุรกิจบริหารงบประมาณตามที่ต้องการใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจากฮาร์ดแวร์และการบำรุงรักษาได้ด้วย
การใช้งานร่วมกับ Ecosystem อื่นๆ ของ Google
หนึ่งในข้อดีของ Google Cloud คือการทำงานร่วมกับ Google Ecosystem ได้อย่างราบรื่น เช่น Google Workspace (Gmail, Google Drive, Google Meet, Google Docs, Google Sheets) ช่วยให้พนักงานสามารถ ทำงานร่วมกันแบบ Real-time และเข้าถึงข้อมูลทุกที่ ทุกเวลา นอกจากนี้ ยังรองรับ API Integration กับเครื่องมือภายนอก เช่น CRM (Salesforce), ERP (SAP, Oracle) และ BI Tools (Tableau, Looker) ผ่าน Pre-built Connectors และ Open APIs ทำให้องค์กรสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านการใช้งาน gcp console เองก็ทำให้องค์กรสามารถจัดการโครงสร้างพื้นฐานบนคลาวด์ได้ง่ายขึ้น เช่น Compute Engine, Kubernetes, IAM และ Cloud Storage การใช้งานระบบคลาวด์จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการทำงานแบบ Remote Work หรือ Hybrid Work อีกด้วย
ปรับให้องค์กรมีการใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น AI และ Big Data
Google Cloud ช่วยให้ทุกองค์กรสามารถสร้างและเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยการมีเครื่องมือและโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการประมวลผล Big Data และ AI เช่น BigQuery บริการที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data, Vertex AI ใช้สร้างโมเดล Machine Learning, Dataflow ใช้ประมวลผลข้อมูลแบบ Streaming Data ฯลฯ เหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการนำ AI มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ และเพิ่มความแม่นยำในการทำ Predictive Analytic รวมถึงใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อจำกัดด้านการใช้งานของ Google Cloud มีอะไรบ้าง ?
มีข้อดีแล้วก็ต้องมาดูข้อจำกัดกันต่อ มาดูกันดีกว่าว่าถ้าจะใช้งาน Google Cloud จะมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ต้องพิจารณาก่อนการเลือกใช้ เช่น
- ค่าใช้จ่ายอาจสูงขึ้นถ้าไม่ทำการกำหนดงบประมาณจากการจ่ายค่าบริการตามจริง
- การใช้งานจำเป็นต้องมีความเชี่ยวชาญในการใช้พอสมควร จึงควรศึกษา Google Cloud Training & Certification ก่อนเริ่มต้นใช้งาน เพื่อให้องค์กรมี Cloud Architect หรือ Cloud Engineer ที่ช่วยวางแผนการใช้งานและแก้ไขปัญหาทางเทคนิคได้
- บาง Legacy Software หรือ Proprietary Applications อาจไม่รองรับการทำงานบน Google Cloud โดยตรง
- จำเป็นต้องมีอินเทอร์เน็ตจึงจะใช้งาน Google Cloud ได้ ดังนั้น องค์กรควรเตรียมแผนการรับมือ ด้วยการสำรองข้อมูลเอาไว้ด้วย
- ธุรกิจต้องมั่นใจว่า ข้อมูลที่จัดเก็บบน Google Cloud สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศนั้นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมายในอนาคต
- การใช้ Google Cloud แบบฟรี อาจไม่เพียงพอสำหรับองค์กรที่ต้องการทีมเทคนิคดูแลแบบ 24 ชั่วโมง
สรุปแล้ว Google Cloud คืออะไร และเหมาะกับใคร?
GCP คือ กลุ่มของบริการที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานและเครื่องมือต่างๆ สำหรับธุรกิจ องค์กร และนักพัฒนาด้านซอฟต์แวร์ Google Cloud Service สามารถใช้งานได้ทั้ง Compute, Storage, Database, AI, Machine Learning, Networking และ Security ออกแบบมาเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถขยายทรัพยากร IT ได้ง่าย, เพิ่มความปลอดภัย, เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, ลดต้นทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานให้น้อยลง และใช้งานร่วมกับ AI หรือ Big Data ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น Google Cloud จึงเป็นบริการจาก Google ที่ตอบโจทย์ธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่บริษัทแบบ Startup ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ แต่การเลือกใช้งานควรพิจารณาทั้งข้อดีและข้อจำกัด เพื่อให้เลือกใช้บริการของ Google Cloud ได้เหมาะกับความต้องการขององค์กรมากที่สุด