เชื่อว่าหลายคนคงทราบกันดีว่าการทำ SEO (Search Engine Optimization) นั้นจำเป็นที่จะต้องพัฒนาหลาย ๆ ส่วนของเว็บไซต์ให้ล้อไปกับ Google Algorithm ที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาทั้งด้าน Technical และ Content เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดันอันดับเว็บไซต์ให้ขึ้นไปอยู่อันดับหนึ่งของหน้าการค้นหาบน Google
บทความนี้ NerdOptimize จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการทำ SEO อย่าง Schema Markup เครื่องมือที่จะช่วยเพิ่มการมองเห็นและกระตุ้นการคลิกเข้าเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความน่าเชื่อถือ และนำเสนอข้อมูลของเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานได้เห็นมากยิ่งขึ้น การทำ Schema Markup คืออะไร ยากไหม ต้องทำยังไง ไม่เก่งโค้ดทำได้หรือเปล่า มาดูกัน!
Schema Markup คืออะไร ?
Schema Markup คือ การใส่ชุดโค้ดส่วนเสริมเพื่ออธิบายข้อมูลต่าง ๆ ภายในเว็บไซต์ให้ Google Bot ที่เข้ามา Crawl ข้อมูลสามารถเข้าใจได้ง่ายที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มข้อมูลของเว็บไซต์ให้ผู้ใช้งานเห็นได้ตั้งแต่ที่หน้า SERPs อีกด้วย
การใช้งาน Schema Markup ส่งผลโดยตรงต่อการจัดอันดับเว็บไซต์บนในหลาย ๆ Search Engine เพราะถูกพัฒนาขึ้นโดย Schema.org ที่เป็นการร่วมมือกันของ Google, Bing, Yahoo! และ Yandex เพื่อสร้างมาตรฐานการจัดระเบียบข้อมูลที่ทำให้เว็บไซต์สามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องมือค้นหาสามารถอ่านและเข้าใจได้ง่ายอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
หน้าที่การทำงาน ของ Schema Markup
Schema Markup เป็นโค้ดเพียงไม่กี่บรรทัดสั้น ๆ ที่ SEO Specialist ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำไปใส่ไว้ในส่วน Header ของเว็บไซต์ เนื้อหาภายในโค้ดจะเป็นการบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของเว็บไซต์ สินค้า บริการ สถานที่ เวลาเปิด-ปิด รวมไปถึงภาพประกอบต่าง ๆ เมื่อ Google Bot มาตรวจสอบแล้วพบชุดโค้ด Schema Markup ก็จะเข้าใจได้อย่างรวดเร็วว่าเว็บไซต์ที่กำลังทำการ Crawl อยู่นั้นเกี่ยวกับอะไร รวมไปถึงในมุมมองของผู้ใช้งานเอง ก็จะเห็นข้อมูลที่มากยิ่งขึ้นของเว็บไซต์นั้น ๆ เช่นเดียวกัน
Schema Markup มีความสำคัญต่อการทำ SEO อย่างไร ?
การเพิ่มอันดับของหน้าเว็บไซต์ไม่ได้มีแค่การสร้างคอนเทนต์ให้ถูกหลัก E-E-A-T หรือการพัฒนา Content On-Page เพียงเท่านั้น เพราะ Schema Markup คืออีกหนึ่งเครื่องมือที่มีความสำคัญต่อ SEO ดังนี้
ช่วยให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า Schema Markup คือเครื่องมือที่จะทำให้ Google Bot เข้าใจเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์เร็วและถูกต้องมากยื่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถแสดงผลในรูปแบบของ Rich Snippets ที่จะแสดงทั้งภาพ รีวิว และข้อมูลเพิ่มเติมที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่น และดึงดูดสายตาผู้ใช้งานมากกว่าคู่แข่งคนอื่น ๆ
กระตุ้นให้เกิดอัตราการคลิกเข้าเว็บไซต์ (Click-Through Rate )
สอดคล้องกับหัวข้อข้างต้น Schema Markup สามารถแสดงผลในรูป Rich Snippets บนหน้า SERPs ได้ ดังนั้นเว็บไซต์ที่ติดอันดับที่ดี และมี Schema Markup ก็จะยิ่งช่วยให้ผู้ใช้งานคลิกเข้ามายังเว็บไซต์มากขึ้นได้ เป็นการเพิ่มอัตราคลิก (CTR) ที่มีประสิทธิภาพสูงมากโดยเฉพาะกับเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ และนิยมทำกันมากในกลุ่ม E-Commerce SEO
ช่วยเพิ่ม Traffic ให้กับเว็บไซต์
สืบเนื่องมาจากหัวข้อที่แล้ว Schema Markup คือหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มค่าอัตราการคลิกเข้าเว็บไซต์ (CTR) ได้ เพราะฉะนั้นย่อมส่งผลต่อภาพรวมของ Traffic ทั้งเว็บไซต์ ยิ่งมีการทำ Schema Markup และวางโครงสร้าง SEO ที่ถูกต้อง มีจำนวน Traffic ที่ไหลเข้าเว็บไซต์มากขึ้น ทั้งหมดนี้จะเป็นการส่งสัญญาณให้ SEO รู้ว่าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บไซต์ที่มีคุณภาพ
เป็นส่วนช่วยสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจ
การทำ Schema Markup ให้กับเว็บไซต์ มีส่วนช่วยในการเพิ่มศักยภาพทางการตลาดให้มีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในฝั่งของการรับรู้ต่อแบรนด์ที่ผู้ใช้งานผู้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลทางธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ บทความ ภาพประกอบสินค้า และข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ยังไม่ได้คลิก ในส่วนนี้จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและช่วยสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจของคุณได้เป็นอย่างดี
เพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาคำตอบของผู้ใช้งาน
ปัจจุบันผู้ใช้งานนิยมใช้ภาษาพูด (Voice Search) ในการเสิร์ชมากขึ้น และที่พบเป็นส่วนใหญ่มักมาในรูปแบบของการเสิร์ชแบบประโยคคำถาม ทำให้การทำ Schema Markup ในรูปแบบ FAQ จะยิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในสร้างเนื้อหาบางส่วนที่ตอบโจทย์ Search Intent ของผู้ใช้งานมากขึ้นอีกด้วย
Schema Markup มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
การเลือกใช้งาน Schema Markup ที่เข้ากับรูปแบบของเว็บไซต์จะช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานทำได้ดีขึ้น โดย Schema Markup ที่พบได้บ่อยมี ดังนี้
- Organization
- Local Business
- Product
- Event
- Article
- FAQ Page
- How-to
- Review
- Video
- Breadcrumbs
- Service
- Job Posting
Schema Markup สามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งเฉพาะหน้าหรือติดตั้งทั้งเว็บไซต์ โดยทั้งสองรูปแบบให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันดังนี้
- Schema Markup แบบหน้าเดียว เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีหลากหลายสินค้าหรือบริการ
- Schema Markup ทั้งเว็บไซต์ เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีบริการเดียว และต้องการนำเสนอข้อมูลขององค์กร หรือสินค้า
*สามารถดูประเภทของ Schema Markup ทั้งหมดได้ที่เว็บไซต์ Google Search Central โดยตรง : https://developers.google.com/search/docs/appearance/structured-data/vehicle-listing
ขั้นตอนการติดตั้ง Schema Markup มีอะไรบ้าง ?
เลือกประเภทของ Schema Markup ที่ต้องการ
ขั้นตอนแรกของการติดตั้ง Schema Markup คือการเลือกประเภทของ Schema Markup ที่เหมาะสมกับเนื้อหาของเว็บไซต์ของคุณ จากเว็บ Schema.org เพื่อนำชุดโค้ดของ Schema แต่ละตัวมาใช้
เริ่มสร้างโค้ด Schema Markup
หลังจากที่เลือกประเภทของ Schema Markup ที่ต้องการได้แล้ว สามารถใช้เครื่องมือสร้างโค้ด Schema Markup Generator เช่น Google’s Structured Data Markup Helper หรือ Schema Markup Generator by Merkle เพื่อสร้างโค้ดที่คุณต้องการ
เพิ่มโค้ด Schema Markup ลงในเว็บไซต์
เมื่อมีการ Generated โค้ดมาเรียบร้อยแล้ว นำโค้ดที่ได้ใส่ลงไปใน <head> หรือ <body> ของ HTML หากเว็บไซต์ที่ใช้เป็น CMS อย่าง WordPress คุณสามารถใช้งานปลั๊กอินเสริมอย่าง Yoast SEO หรือ Schema Pro เพื่อให้การสร้าง Schema Markup ทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น
ตรวจสอบการติดตั้ง Schema Markup
เมื่อทำการตรวจติดตั้งโค้ดของ Schema Markup เรียบร้อยแล้ว ให้ตรวจเช็กด้วย Rich Results Test เครื่องมือฟรีจาก Google หรือจะใช้ Schema Markup Validator เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของโค้ดก็ได้เช่นเดียวกัน
อัพเดตและตรวจสอบเป็นระยะ เพื่อเช็ก Performance
ควรตรวจสอบและอัพเดต Schema Markup เป็นระยะเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดและทำงานได้ตามที่ต้องการ เพราะจะได้ช่วยเรื่องของ SEO Performance ได้ดีที่สุด และยังมีส่วนช่วยให้ธุรกิจได้ Conversion อีกด้วย
Schema Markup ตัวแปรสำคัญที่จะช่วยดันอันดับ SEO
การใช้ Schema Markup อย่างถูกต้องเป็นเคล็ดลับที่บริษัทรับทำ SEO นั้นให้ความสำคัญกันไม่น้อย นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการแสดงผลของเว็บไซต์บนหน้าการค้นหาของ Google แล้ว การเลือกใช้ Schema Markup ที่เหมาะสมกับเว็บไซต์จะยิ่งทำให้เว็บไซต์ของคุณโดดเด่นและมีโอกาสได้รับการจัดอันดับที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม Traffic และสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจของคุณได้อีกด้วย