Home - SEO - 9 เทคนิคการทำ SEO ! ที่จะช่วยทำให้ Google ให้อันดับคีย์เวิร์ดของเรา Go To The Moon

9 เทคนิคการทำ SEO ! ที่จะช่วยทำให้ Google ให้อันดับคีย์เวิร์ดของเรา Go To The Moon

Update 9 เทคนิคการทำ SEO ! ที่จะช่วยทำให้อันดับสูงขึ้นได้ในปี 2022

ตามข้อมูลของ HubSpot 75% ของการค้นหาบนหน้าเสิร์ช ไม่เคยไปสู่หน้า 2 ของ Google !

และที่สำคัญ… คลิ๊กส่วนใหญ่ ยังอยู่เพียงแค่ 3 อันดับแรกของหน้าผลการค้นหา

ดังนั้น เราจึงต้องรู้จักการปรับแต่งเว็บไซต์ ด้วยเทคนิคการทำ SEO

ให้เว็บไซต์ของธุรกิจ ติดอยู่ในอันดับต้นๆ ในคีย์เวิร์ดที่กลุ่มเป้าหมายค้นหา

และนี้คือ เนื้อหาที่เราอยากนำเสนอ Kub

1. เขียน Content โดยคำนึงถึง “Search Intent”

เทคนิคอันดับแรก ที่ไม่ควรพลาดอย่างเด็ดขาด คือ การวิเคราะห์เจตนาในการค้นหาของคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำก่อน ที่จะเริ่มต้นเขียนบทความครับ

หลายคนอาจมองว่าเทคนิคนี้ เป็นเทคนิคที่ไม่ได้แพรวพราวอะไร ใครๆ ก็ทำได้ง่ายๆ ใช่มั้ยละครับ

แต่รู้หรือไม่ กูเกิลเกิดมาเพื่อเป็นคำตอบที่ดีที่สุด ของผู้ค้นหา หากกูเกิล ไม่สามารถให้คำตอบที่ดีที่สุดได้

คนก็จะเลิกใช้กูเกิลไป ดังนั้นการทำความเข้าใจ ถึงเจตนาในการค้นหาของผู้ค้นจึงเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุด

เรียกได้ว่าเป็น หนึ่งในตัดสินว่าเว็บไซต์ของคุณจะไปอยู่บนอันดับต้นๆ ของกูเกิลได้รึเปล่า

วิธีวิเคราะห์ “Search Intent”

  1. ลองนำคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำอันดับ เขียนบทความ ไปค้นหาในกูเกิล

2. เช็คว่าบนหน้าผลการค้นหา แต่ละเว็บเพจที่ขึ้นมา ให้คำตอบลักษณะไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราค้นหาด้วยคำว่า “ซื้อโดรน”

ผลการค้นหาในแต่ละอันดับ จะมีสินค้า ราคา โปรโมชั่น ให้เลือกหลากหลายมากๆ

เว็บไซต์ที่อยู่อันดับต้นๆ ก็จะเป็นเว็บ ecommerce เป็นส่วนใหญ่

นั้นหมายถึง ถ้าเราอยากติดอยู่ในอันดับต้นๆ ของคีย์เวิร์ดคำนี้ การเลือกคอนเทนท์ตัวชูโรงของ ที่ต้องการทำอันดับ เป็นหน้าประเภท Product Category จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

(Content ที่เขียนอาจจะไม่ต้องยาว ขอแค่มีคีย์เวิร์ดครบ เนื้อหาเกี่ยวข้องก็สามารถทำอันดับได้)

ในกรณีที่เปลี่ยนคีย์เวิร์ดเป็นคำอื่น เช่น “รีวิวซื้อโดรน”

เว็บไซต์ที่ขึ้น ในอันดับต้นๆ จะเป็นเว็บไซต์ ที่ให้ข้อมูล เป็นคอนเทนต์ ที่มีเนื้อหายาวๆ ประเภทเว็บไซต์จะมีลักษณะเป็น BLOG ให้ความรู้

นั้นหมายถึงว่า ถ้าเราอยากติดในอันดับต้นๆ ของคีย์เวิร์ดคนี้ การเลือกเขียนคอนเทนต์ ที่มีเนื้อหาแน่นและ เกี่ยวข้อง ก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด

ดังนั้น หากเราต้องการทำอันดับคีย์เวิร์ด เช่น โดรนยี่ห้อไหนดี, รีวิวโดรน, จึงไม่มีประโยชน์ หากเราพยายามยัดคีย์เวิร์ด ยัดเนื้อหา เข้าไปในหน้าเพจที่เป็นหน้า product pages หรือ ecommerce pages (หน้าที่มีสินค้าเยอะๆ)

ให้เขียนคอนเทนต์ขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งบทความดีกว่า นั้นเพราะ คนกำลังมองหาสิ่งที่เป็น “commercial” ไม่ใช้ “transactional”

NOTE : สร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ดที่เราต้องการทำอันดับ อย่าพยายามยัดทุกอย่างไว้ในหน้าเดียว


2. เขียน title tags และ meta descriptions ให้น่าสนใจ

หนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดคือ title tag ซึ่งเป็นส่วนที่ มีผลกับอันดับของคอนเทนต์ โดยตรง ! (สำคัญ 5 ดาวเลยครับ)

กูเกิลจะใช้ title tag sเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่าง คอนเทนต์ กับคีย์เวิร์ด ที่ผู้ค้นหาใช้ค้นหาบนกูเกิล ว่ามีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ เช่น เมื่อผู้ใช้งานค้นหาคำว่า “ซูชิ” กูเกิลจะค้นหาดัชนีในฐานข้อมูลว่ามีหน้าเพจไหนบ้างที่มีคำว่า “ซูชิ”

ถ้าหากคอนเทนต์ที่เราเขียน ไม่มีคีย์เวิร์ดที่เป็นสัญญาณบอกว่าเรื่องนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร

ก็เหมือนกับการโดนตัดแต้มสำคัญไป โอกาสที่จะติดอยู่ในอันดับสูงๆ ก็จะยากขึ้นครับ

โดยเทคนิคการเขียน title ที่เราจะนำมามอบให้ มีดังนี้ครับ

  • เพิ่มคีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับไว้ใน title เช่น ต้องการทำอันดับคำว่า “ซูชิ” ให้เขียนลักษณะนี้ “รวมร้านซูชิ ที่น่าทานที่สุดในกรุงเทพ ฉบับ 2022”
  • เขียน title ให้ตรงกับ Search intent เช่น ต้องการทำอันดับคำว่า “โดรนยี่ห้อไหนดี ให้เขียนลักษณะนี้ “รวม 12 โดรนติดกล้อง ยี่ห้อไหนดีที่สุด ฉบับ 2022” แทนการเขียนเชิงขายเช่น “โดรน ยี่ห้อ A ราคาถูกที่สุด โปรโมชั่น ลดแหลก ส่งฟรี” (จุดสังเกตคือ คนต้องการอยากรู้ข้อมูลโดรนหลายๆ ยี่ห้อ ไม่ได้ระบุรุ่นใดรุ่นหนึ่ง)
  • เขียน title tag ให้ไม่ซ้ำกับประเด็นบทความภายในเว็บที่มีอยู่แล้ว เราควรมีหนึ่งประเด็นคอนเทนต์ ต่อหนึ่ง Intent เท่านั้น เนื่องจากอาจจะทำให้เกิด duplicate content แล้วจะทำให้เกิดการจัดอันดับที่ผิดเพี้ยนไปได้ เรียกง่ายๆ ว่าติดไม่ตรงหน้า ควรมีการวางกลยุทธ์คอนเทนท์ที่จะเขียนอย่างมีแบบแผน (ตรงนี้ขอไม่ใช้ว่าต่อคีย์เวิร์ดครับ เพราะจริงๆแล้ว หนึ่งคอนเทนท์ ติดอันดับได้หลายคำ)
  • เขียน title ให้ไม่ซ้ำกับคู่แข่ง กูเกิลจะชอบ title ที่แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร โดยเขามักจะมีการทดสอบเสมอๆ เคยไหม ที่เราดูลองค้นหาคำเดิมๆ หลายครั้ง แล้วพบว่า บ้างครั้ง อันดับ 1 ก็มักจะสลับตำแหน่งไปมา นั้นละคือการทดสอบว่าเว็บที่มี title ที่ใหม่กว่าจะเรียก CTR ได้ดีกว่าของเดิมรึเปล่า
  • เขียน title tag ให้สั้นกระจับ แต่ได้ใจความ ในหนึ่งประโยค เช่น “รวม 12 ร้านซูชิ มี Delivery ที่เด็ดที่สุด ในกรุงเทพ ปี 2022”

Meta Descriptions

Meta Descriptions เคยเป็นหนึ่งในปัจจัยในการจัดอันดับโดยตรง เมื่อนานมากๆ แล้ว แต่ในปัจจุบัน กูเกิล ออกมาบอกอย่างชัดเจนว่า Meta Descriptions ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อกระอันดับโดยตรงครับ

คิดเป็นประมาณ 1 ดาว เมื่อเทียบกับ title tags เพราะ ปัจจุบัน Google ได้เริ่มดึงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องจากในคอนเทนท์มาแสดงแทน

บ้างกรณี Meta Descriptions ก็มักจะถูกเลือกมาแสดง บนหน้าผลลัพธ์การค้นหาอยู่บ่อยๆ เช่นกัน

ดังนั้นการเลือกที่จะเขียนไว้ยังถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก Meta Descriptions ที่กูเกิลดึงขึ้นมานั้น เราไม่สามารถกำหนดได้เอง

แต่ถ้าหากเรามีการเขียนและวางกลยุทธ์เอาไว้ เผื่อโอกาสที่ผู้ใช้มาอ่าน ก็อาจจะเป็นหนึ่งในส่วนที่จะช่วยเพิ่ม CTR ให้กับคอนเทนท์ได้ หากเขียนเกี่ยวข้อง และน่าสนใจ

โดยเทคนิคการเขียน meta description มีดังนี้

  • เพิ่มคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องเข้าไปใน Meta Descriptions
  • เขียน Meta Descriptions ให้แปลกใหม่ ไม่เหมือนใคร
  • เขียนให้สอดคล้องกับ Search Intent ของคนค้นหา
  • เน้นโน้มน้าวให้คนอ่านกดคลิ๊ก อยากรู้ให้ได้มากที่สุด

3. ปรับแต่งการทำ Image SEO

นามสกุลไฟส์ภาพ

จากสถิติ การอ่านบทความบนเว็บไซต์ การเลือกที่จะเพิ่ม รูปภาพ Video ไฟส์เสียง เข้าไปในคอนเทนท์ พร้อมกับการปรับแต่งทางเทคนิค ให้ถูกต้อง จะเป็นส่วนที่ช่วยให้เรามีแนวโน้มอันดับที่ดีขึ้นได้

เพราะรูปภาพ Video หรือไฟส์เสียง จะเป็นส่วนที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความมีส่วนร่วมต่อบทความได้เยอะมากขึ้น มีจุดพักสายตา ที่สำคัญ ข้อมูลยังย่อยง่ายกว่าเมื่อเทียบกับรูปแบบข้อความ

โดยเทคนิคในการปรับแต่งรูปภาพ อันดับที่ 1 คือการเลือกนามสกุลไฟส์ภาพ

นามสกุลของไฟส์ภาพ ที่นิยมบนเว็บไซต์จะมี 3 ไฟส์ด้วยกันนั้นคือ JPEG, PNG และ WebP

โดยนามสกุลไฟส์ภาพ เมื่อลองเทียบระหว่าง JPEG กับ PNG จพบว่า JPEG มีขนาดที่เล็กกว่ามาก

แต่ก็ใช่ว่า JPEG จะดีที่สุด เพราะ เมื่อเราลองเพิ่มข้อความ หรือวาดเส้น เข้าไปทั้งสองนามสกุลไฟส์ จะพบว่า JPEG นั้น เส้นมันจะแตกๆ เมื่อเทียบความคมชัดกับ PNG แต่ PNG ก็จะติดที่มีไฟส์ขนาดที่เยอะเกินความจำเป็น

Webp คือตัวเลือกที่กูเกิล แนะนำให้ใช้ เมื่อเปรียบเทียบนามสกุลไฟส์ทั้งสองแบบ

WebP จะมี lossless images เล็กกว่า PNG 26%

และWebP จะมี lossless images เล็กกว่า JPEG เล็กว่า 25%-34%

โดยปกติ ผมมักจะใช้ PNG กับ WebP เป็นหลักครับ ในบ้างรูปที่มีการใส่ข้อความไปด้วยก็จะใช้เป็น PNG เพื่อขนาดเส้นมีความคมชัด อ่านง่าย แต่ก็จะดูขนาดไฟส์ด้วยถ้าใหญ่ไป ก็จะนำไปลดขนาดไฟส์ภาพก่อน

ขนาดของไฟส์รูปภาพ

นอกจากเรื่องของนามสกุลไฟส์ เรายังสามารถลดขนาดของไฟส์รูปภาพได้โดยการบีบอัดข้อมูลของไฟส์ ให้มีขนาดเล็กลง เพราะเมื่อยิ่งไฟส์เรามีขนาดใหญ่เท่าไหร่ เว็บเบราว์เซอร์ก็จะใช้เวลาโหลดรูปภาพที่นานมากยิ่งขึ้น

เราสามารถลดขนาดไฟส์ ได้โดยใช้เครื่องมือช่วย เช่น tinypng.com, ShortPixel

alt text Images

ถึงแม้ปัจจุบันนี้กูเกิล จะมีเทคโนโลยี ที่สามารถช่วยทำให้เข้าใจรูปภาพมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก

แต่การเพิ่ม alt text ก็ยังเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่จะช่วยให้กูเกิลเข้าใจรูปภาพที่อยู่ในคอนเทนท์ได้ดียิ่งขึ้น

เทคนิคในการใส่คีย์เวิร์ด สำหรับ alt text ให้ลองนำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับคำหลักไปใส่ไว้ โดยจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับรูปภาพด้วย เช่น เราทำคอนเทนท์ “ซูชิ” อาจใส่รูปภาพ ที่มีคีย์เวิร์ด “ร้านซูชิ….”, “ซูชิ”, “อาหารญี่ปุ่น” ลงไว้ภายใน alt text ของรูปภาพด้วย

การทำ Lazy-Load Your lmages

Lazy-Load จะเป็นเหมือนกับการให้บราวเซอร์ชะลอการโหลดข้อมูลที่ไม่สำคัญ หรือให้โหลดเฉพาะข้อมูลที่เราเห็นก่อน อะไรที่ยังไม่เห็น คืออย่าเพิ่งโหลด ซึ่งจะเป็นการช่วยลดการทำงานของระบบได้เยอะมากๆ

สมมุติ ว่ามีข้อมูลอยู่ 10 อย่างในหน้าคอนเทนท์ แต่มือถือ หรือหน้าจอที่มองเห็น เห็นเพียงแค่ 2 อย่าง ระหว่างโหลดทั้งหมดเลย กับการเลือกโหลดแค่ 2 อย่างก่อน การเลือกโหลด 2 อย่างก็จะเป็นการประหยัดพลังงานมากกว่า


4. ปรับแต่งสปีดของเว็บไซต์

คงไม่ดีแน่ๆ ถ้าใครก็ตามที่เข้ามาอ่านข้อมูลบนเว็บไซต์ของเรา แล้วต้องรอมากกว่า 3 นาที แค่ 10 วิ 5 วิ ก็อาจจะออกไปดูเว็บไซต์อื่นแล้ว ยิ่งถ้าหากเว็บไซต์เข้าแล้วช้ามากๆ การันตีเลยว่า ส่งผลต่อการทำอันดับแน่นอนครับ

ซึ่งความเร็วของหน้าเว็บไซต์ สามารถตรวจสอบได้ ผ่าน PageSpeed Insights, GTMetrix ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ ก็จะช่วยในการให้ข้อมูล เกี่ยวกับการปรับแต่งความเร็วบนเว็บไซต์ เพื่อเป็น Report ในการปรับปรุงได้

สิ่งที่ทำให้เว็บไซต์โหลดช้า ที่พบเห็นได้เยอะที่สุด ก็คือ “รูปภาพ” หากเรามีการปรับแต่งรูปภาพแล้ว ก็ยังมีจุดที่เรายังปรับแต่งเพิ่มได้อีก เช่น

  • การเปิดใช้งาน browser caching
  • ลบปลั๊กอิน หรือส่วนเสริมที่ไม่จำเป็นต่อเว็บไซต์ (หรืออาจเลือกลบภาพที่เราไม่ได้ใช้ก็ดีนะ)
  • การลดระยะเวลาการตอบสนองต่อเซิร์ฟเวอร์ใช้ Hosting ดีๆ แนะนำให้ใช้ cloud hosting
  • ทำ Minify CSS and JavaScript files (ทำให้ไฟส์มีขนาดเล็กลง)

Internal Link เป็นสัญญาณที่กูเกิล ใช้ในการเรียนรู้ว่าบทความ แต่ละบทความบนเว็บไซต์ คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ถือว่าเป็นคีย์ที่สำคัญในการดันอันดับ ของคอนเทนท์

แต่การทำ Internal Link ก็มีข้อควรระวัง หากเราเลือกใช้ text link ที่ไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้กูเกิล เกิดการสับสนได้ อันนี้ระวังกันด้วยนะครับ

  • เลือกใช้คีย์เวิร์ดของคอนเทนท์ที่ต้องการทำอันดับ มาทำ internal link เช่น ต้องการดันอันดับคำว่า “ซูชิ” ที่เป็นคอนเทนท์ที่หนึ่ง ในคอนเทนท์ที่สอง สมมุติว่าเป็นคอนเทนท์ “ร้านอาหารญี่ปุ่น” ภายในคอนเทนท์นี้ให้มี internal link คำว่า “ซูชิ” ไปยังคอนเทนท์ “ซูชิ” ที่เป็นคอนเทนท์ที่หนึ่ง
  • เลือกใช้คอนเทนท์ที่มีค่าพลังสูงๆ ในการทำ Internal link
  • ตรวจสอบว่าคอนเทนท์ไหนบ้างที่ยังไม่มี Internal link โยงไปหา ให้ทำการปรับแต่ง เชื่อมโยงเข้าไป

6. ปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ (user experience)

ประสบการณ์ของผู้ใช้ มีผลต่ออันดับอย่างมาก ลองคิดดูว่า ถ้าหากผู้ใช้งานบนกูเกิลเข้ามาบนเว็บไซต์ของคุณแล้ว กดออกทันที กูเกิล ก็คงจะรู้สึกเสียหน้าไม่น้อย ทีให้เว็บไซต์ที่มอบประสบการณ์ไม่ดีต่อผู้ใช้งาน จนต้องรีบกดออกไป อยู่ในอันดับต้นๆ

นอกจากเรื่องของความเร็วในการเข้าชมเว็บไซต์แล้ว ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ยังมีจุดสำคัญที่ต้องดูเพิ่มเติมอีก เช่น

  • การเลือกใช้ Subheadings H1, H2 และ H3 ให้มีคีย์เวิร์ด และใช้หัวข้อที่น่าสนใจ ให้ผู้อ่านรู้สึกอยากอ่านต่อ
  • การวางโครงสร้างของเนื้อหาให้ดึงดูดผู้อ่าน เช่น การเพิ่มรูปภาพ การเพิ่มวีดีโอ หรือการอธิบายโดยใช้ภาพเคลื่อนไหว ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
  • ในปี 2017 กูเกิลได้เริ่มต้นให้ popup เป็นหนึ่งในปัจจัยการจัดอันดับ การเลือกใช้ popup บนเว็บไซต์ จึงควรหลีกเลี่ยง popup ที่ส่งผลเสียต่อประสบการณ์ของผู้ใช้
  • ทำให้เว็บไซต์รองรับทุกอุปกรณ์ เป็นที่แน่นอนว่ากูเกิลจัดอันดับโดยใช้ mobile-first indexing ดังนั้นเว็บไซต์ของธุรกิจต้องให้ประสบการณ์ที่ดี ในทุกอุปกรณ์

7. ใช้โครงสร้าง URLs ที่ Friendly

ใช้โครงสร้าง URLs ที่ Friendly ให้ทั้งผู้ใช้งานและกูเกิล สามารถเข้าใจได้ว่าหน้าที่เข้าอยู่นั้น เกี่ยวข้องกับอะไร

หลีกเลี่ยง URLs ที่เป็นตัวเลข แต่ให้ใช้ URLs ที่สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย

เช่น ใช้ abc.com/test/ แทนที่ abc.com/2462/ เป็นต้น

เทคนิคในการวางโครงสร้าง URLs ที่ดีมีดังนี้

  • ใช้ URLs ที่สั้นกระชับ เข้าใจได้ง่าย
  • ใช้ URLs ที่มีความเกี่ยวข้องกับคีย์เวิร์ด หรือใช้คีย์เวิร์ดที่ต้องการทำอันดับ หากเป็นภาษาไทย แนะนำให้ใช้ ภาษาอังกฤษครับ
  • วางโครงสร้าง URLs ให้เป็นหมวดหมู่ อาจจะเลือกใช้เป็น subcategory อย่างชัดเจน เช่น abc.com/product-category/t-shirt/ หรือ abc.com/seo/what-is-onpage นอกจะช่วยทำให้ให้ผู้ใช้งานและกูเกิล เข้าใจได้ง่ายแล้ว ยังสะดวกต่อการนำ Data ไปจัดการเพื่อวิเคราะห์ต่ออีกด้วย

NOTE : จากประสบการณ์ที่ทำ SEO ให้กับเว็บที่มีคอนเทนท์เยอะๆ ถ้า URLs เป็นตัวเลขหรือ ไม่มีการจัดวางโครงสร้างของ URLs ที่ดี ไว้ก่อนตั้งแต่แรก ตอนวิเคราะห์เพื่อ Optimize จะทำได้ยากมากๆ ครับ


Backlink ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำอันดับของ Google เปรียบเหมือนเป็นสัญญาณ ที่บอกกูเกิลว่าเว็บไซต์ที่โยงลิงค์ไปหานั้น มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร

การได้รับปริมาณของ Backlink ในจำนวนมากๆ มีค่าน้อยกว่าการได้รับ Backlink ที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือสูงครับ ในบ้างกรณี ได้ Backlink เพียงไม่กี่ลิงค์ ก็เป็นพลังที่ช่วยส่งเสริมให้คอนเทนท์ ได้รับอันดับที่สูงมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

ขอยกตัวอย่าง

ถ้าหากคนโนเนม อย่างผมบอกว่า bitcoin จะขึ้น

กับอาจารย์ตั้มพิริยะเป็นคนบอก

แน่นอนว่า น้ำหนักที่ผมพูดก็อาจจะไม่เท่ากับที่อาจารย์ตั้มพิริยะเป็นคนบอก

หลักการของ Backlink ก็คล้ายๆ กันครับ

โดยหนึ่งในเทคนิคที่สำคัญ อย่างหนึ่งก็คือ การใช้เครื่องมือในการสปายดูว่าคู่แข่งของเรานั้น กำลังทำ Backlink ในรูปแบบไหนอยู่ แล้วกลยุทธ์ของเขาเป็นอย่างไร สำหรับเครื่องมือที่ผมชอบใช้ที่สุด ก็คือ ahrefs.com ครับ


9. สร้างคอนเทนท์ที่เป็นประโยชน์กับผู้อ่าน

เรียกได้ว่าเป็นพื้นฐาน ที่สุด สำหรับการสร้างคอนเทนท์ครับ ซึ่งหลายคนก็จะมีวิธีการสร้างเนื้อคอนเทนท์ที่มีคุณภาพแตกต่างกันไป โดยแนวทางการสร้างเนื้อหา ที่ผมมักใชัประจำมีดังนี้

  • ค้นหาคีย์เวิร์ดที่ดีที่สุด ก่อนเริ่มต้นเขียนคอนเทนท์
  • วิเคราะห์เจตตนาในการค้นหาของผู้ค้นหาบนกูเกิล ว่าเขากำลังอยากรู้อะไรอยู่
  • ลองอ่านเนื้อหาของคู่แข่ง ว่าเขามีแนวทางในการทำคอนเทนท์อย่างไรบ้าง
  • ลองจิตนาการถึงโครงสร้างของการทำ Internal link ว่าควรวางในรูปแบบใด ที่คอนเทนท์ไหนบ้าง
  • เขียนข้อมูลที่เป็น original ให้ได้มากที่สุด ในภาษาของตนเอง หรืออาจลองเขียนแบบแหวกๆ เติบสไตล์ของตนเองไปก็ได้นะครับ
  • เพิ่มเติมรูปภาพ วีดีโอ เข้าไปในคอนเทนท์ เพื่อให้คนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น
  • เขียน headers, title tags ให้มีคีย์เวิร์ดหลัก คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง และน่าดึงดูดให้อ่านต่อ

NOTE : คำว่าคอนเทนท์ที่เป็นประโยชน์ คอนเทนท์ที่มีคุณภาพ ไม่ได้หมายถึงการสร้างเนื้อหาคอนเทนท์ยาวๆ ในบ้างกรณี ถึงแม้เราจะเขียนยาว แต่ “ความเกี่ยวข้อง” มีน้อยกว่า ก็โดนแซงได้ 🙂 จุดสังเกตุ ให้ลองดูเว็บไซต์ ใหญ่ๆ บ้างเว็บครับ ในบ้างคีย์เวิร์ดก็ไม่จำเป็นต้องเขียนยาว ขอแค่ให้มีคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

และนี้คือ 9 เทคนิคในการทำ SEO ในปี 2022 ที่ผมนำมาฝากทุกคนในวันนี้ครับ

ก็หวังว่า คอนเทนท์ อันนี้จะมีส่วนช่วย ในการทำ SEO ของทุกคนนะครับ

สำหรับตอนนี้ก็ขอตัวไปดอยก่อนครับ

ผู้เขียน

Picture of NerdOptimize Team
NerdOptimize Team
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

วิธีทำ seo

วิธีทำ SEO สำหรับมือใหม่ ทำยังไงให้ติดหน้าแรก Google อัปเดตล่าสุด

เปิดวิธีทำ SEO แบบจับมือทำ ต้องรู้อะไรบ้าง ลองทำตามขั้นตอนเหล่านี้แบบ Step by step รับรองว่า ช่วยทำให้คุณเข้าใจ และลงมือทำ SEO ด้วยตัวเองได้ตั้งแต่ขั้นแรก

อ่านบทความ ➝
Content Pillar

Content Pillar กลยุทธ์สร้างคอนเทนต์ นำเสนอเนื้อหาถูกใจทั้ง User และ Algorithm

Content Pillar คือ หัวข้อหรือประเด็นหลักที่แบรนด์ต้องการเสนอให้กับเป้าหมาย เพื่อความเข้าใจง่าย และสามารถรับข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการได้สะดวก

อ่านบทความ ➝
SEM คืออะไร

รวมทุกสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับ SEM (Search Engine Marketing) ครบ จบ ในที่เดียว

SEM (Search Engine Marketing) คือ อีกหนึ่งวิธีการทำการตลาดบน Search Engine ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก เพราะปัจจุบัน Google มีอัตราการค้นหากว่า 99,000 ครั้งต่อวินาที ดังนั้นยิ่งถ้าเราสามารถทำให้เว็บไซต์ของเราติดอันดับหน้าหนึ่งบน

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top