Home - News - เจาะลึกหลักการกรองข้อมูล รวมถึงการจำกัดข้อมูลของ Search Console performance

เจาะลึกหลักการกรองข้อมูล รวมถึงการจำกัดข้อมูลของ Search Console performance

หลักการกรองข้อมูล รวมถึงการจำกัดข้อมูลของ Search Console

แหล่งข้อมูลของ Search Console ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดในปัจจุบัน คือ Google Search performance ทั้งตัว Tools ที่เรียกว่า Performance report  และ Search Analytics API

โดยโพสต์นี้จะมาอธิบายว่า Google ประมวลผลลัพธ์เหล่านี้อย่างไร คัดกรอง คัดเลือกข้อมูลเหล่านี้อย่างไรโดยละเอียดกันครับ จะครอบคลุมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลเหล่านี้ด้วย

หากคุณกำลังสงสัยขั้นตอนกระบวนการเก็บและคัดกรองข้อมูลของ Google NerdOptimize จะมาอธิบายแบบละเอียดเจาะลึกให้คุณเข้าใจได้ไม่ยาก

Search performance เบื้องต้น

ตัว Performance report จะกล่าวถึงตัวชี้วัดทั้ง 4 ที่แสดงให้เห็นว่ายอดเสิร์ชของเราเป็นอย่างไรบ้าง ถ้าจะให้พูดสั้น ๆ ก็คือ

  • ยอดคลิก (Clicks): ยอดคลิก นับจากที่ยูสเซอร์ค้นใน Google และคลิกเข้ามาในเว็บไซต์ของเรา
  • ยอดการมองเห็น (Impressions): ยอดการมองเห็น นับจากที่ยูสเซอร์ค้นใน Google และเห็นเว็บไซต์ของเรา
  • อัตราการคลิก CTR (Click-through rate): ยอดคลิกหารด้วยยอดการมองเห็น
  • อันดับ (Position): อันดับในหน้าเสิร์ชโดยเฉลี่ย

แต่ละตัวชี้วัดบ่งบอกถึงตัวเว็บไซต์ได้หลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น คีย์เวิร์ดที่คนค้นหา หน้าเว็บที่คนเข้ามา ประเทศของยูสเซอร์ อุปกรณ์ที่ยูสเซอร์ใช้ หรือการค้นหาที่ทำให้คนเข้ามาในเว็บเรานั่นเอง

วิธีเข้าดูข้อมูล Search performance มีหลายแบบ เช่น ดู Product Interface, Search Analytics API หรือใช้ Looker Studio connector และ Spreadsheets ก็ได้

ถ้าใช้ตัว Product Interface อยู่ก็สามารถเข้าไปดูผลการวิเคราะห์ข้อมูลได้จากการกดตั้งฟิลเตอร์ หรือว่าดูแบบกราฟในภาพก็ได้เช่นกัน

ข้อมูลในส่วนนี้จะช่วยให้เห็นว่า เว็บไซต์ของเรายังต้องการการ Optimize ในส่วนไหนเพิ่มเติมเพื่อให้คนเข้าถึงเว็บไซต์ได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มยอด Traffic จาก Google ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

การคัดกรองและจำกัดข้อมูล

Data ที่สรุปเรียบร้อยแล้วไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของ Report หรือข้อมูลที่เรากด Export ออกมาให้เป็นชีท จะเป็นข้อมูลที่ได้รับการสรุปและคัดกรองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเกณฑ์ในการคัดกรองข้อมูลดังกล่าวจะมีอยู่ 2 ปัจจัยหลักๆ ได้แก่ การคัดกรองแบบความเป็นส่วนตัว และ ลิมิตการเก็บข้อมูลรายวัน ครับ

การคัดกรองแบบความเป็นส่วนตัว (Privacy Filtering)

การค้นหาบางประเภท (Anonymized Queries การค้นหาแบบไม่เปิดเผยตัวตน) จะไม่นับรวมในข้อมูล Search Console เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของยูสเซอร์ที่ค้นหาข้อมูล

Anonymized Queries คือกลุ่มคำค้นหาที่มีคนเสิร์ชไม่กี่สิบคนในระยะ 2-3 เดือน และเป็นคำค้นหาที่ไม่ปรากฏใน Search Performance เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของยูสเซอร์ แต่สามารถดูได้จากตารางยอดรวมได้อยู่

เรามาลองอธิบาย”คำค้นหาแบบไม่เปิดเผยตัวตน”แบบให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยดูจากข้อมูลเหล่านี้กัน เป็นข้อมูลคีย์เวิร์ดและยอด Traffic ที่เข้ามาในเว็บไซต์ โดยแยกคีย์เวิร์ด และ Anonymized Queries ออกจากกัน จะเห็นว่าเว็บไซต์โดยทั่วไปจะมีคำค้นหาขั้นต่ำ 4 คำ (แต่เพราะเป็นแค่การยกตัวอย่าง เราจะขอยกมาแค่ 4 คำพอนะครับ)

QueriesClicks
classic literature150
poetry125
science fiction100
non fiction75
Total for itemized queries450
Total overall550

ถ้าลองบวกยอดคลิกทั้งหมดจะพบว่า มียอดคลิกทั้งหมด 450 ครั้ง แต่ยอดคลิกโดยรวมอยู่ที่ 550 ครั้ง โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นนั้นเพิ่มมาจากคำค้นหาแบบไม่เปิดเผยตัวตนนั่นเอง ซึ่งปัจจัยอื่นที่อาจจะส่งผลต่อตัวเลขที่ปรากฏอาจมาจากลิมิตการเก็บข้อมูลรายวันอีกด้วย

เมื่อนำ Search Console มาทำรีพอร์ทรายงานผลจริง อาจจะเห็นตัวเลขที่ไม่สอดคล้องกัน 2 แบบหลักๆ

1. ในตารางรายงานผลไม่มีแถวรายงานตัวเลขของ Anonymized Queries (เพราะที่ใส่ไว้ในตัวอย่างคือใส่ไว้เพื่ออธิบายให้เห็นภาพเท่านั้น) ดังนั้นถ้าบวกยอดคลิกแล้วจะพบว่าตัวเลขไม่เท่ายอดรวม เช่น ยอดคลิกรวมแล้วได้ 450 แต่ว่ายอดรวมเป็น 550

2. ถ้าใส่ฟิลเตอร์กรองผล ก็จะไม่มี Anonymized Queries ในผลลัพธ์ ดังนั้นถ้าบวกยอดคลิกโดยรวมมาเทียบกับยอดคลิกแบบที่ใส่ฟิลเตอร์ก็จะเห็นว่าตัวเลขที่ได้จะไม่เท่ากัน เช่น ถ้าในตัวอย่างนี้ เราใส่ฟิลเตอร์แสดงผลเฉพาะคำค้นหาที่มีคำว่า “fiction” ก็จะเห็นยอดคลิกแค่ 275 ครั้ง รวมแล้วได้ 450 ครั้ง แต่ยอดโดยรวมจะเป็น 550 ครั้ง

ลิมิตการเก็บข้อมูลรายวัน

เนื่องจากระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูลและการประมวลผลข้อมูลนั้นมีจำกัด Search Console จึงไม่สามารถแสดงผลข้อมูลทั้งหมดที่มีได้ แต่ว่าข้อมูลส่วนมากใน Search Console ไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากข้อจำกัดนี้ นอกจากเว็บไซต์ใหญ่ๆบางเว็บเท่านั้น ซึ่งสำหรับเว็บเหล่านั้นก็ไม่ต้องกังวล เพราะข้อมูลที่มีก็เพียงพอจะเป็นตัวอย่างข้อมูล หรือ Data Sample ที่มีคุณภาพได้แล้ว

ปริมาณข้อมูลที่เราสามารถดึงจาก Search Console ได้จะอยู่ที่ 1,000 แถว

ณ ปัจจุบันถ้าดึงข้อมูลผ่านทาง Search Analytics API และ Looker Studio connector จะได้มากที่สุดประมาณ 50,000 แถว ต่อวัน ต่อเว็บ และต่อประเภทของการค้นหา ซึ่งเพียงพอต่อการดึงข้อมูลส่วนมากอยู่แล้ว

ถ้าใช้ API ปกติตัวเลขจะอยู่ที่ 1,000 แถว แต่ก็สามารถใช้ rowLimit เพื่อเพิ่มเป็น 25,000 แถว และ startRow เพื่อดึงข้อมูลในแถว 25,001-50,000 แบบแยกทีละหน้าได้

และหากต้องการข้อมูลที่ไม่ต้องมีคำค้นหาหรืออิงจาก URL อย่างพวก ประเทศของยูสเซอร์ อุปกรณ์ที่ยูสเซอร์ใช้ Search Console ก็สามารถแสดงข้อมูลและดึงข้อมูลดังกล่าวได้เลย

แหล่งที่มา : https://developers.google.com/search/blog/2022/10/performance-data-deep-dive

ผู้เขียน

Picture of tan
tan
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Long Tail Keyword คืออะไร

Long Tail Keyword คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับการทำ SEO

Long Tail Keyword คืออะไร สำคัญอย่างไรสำหรับการทำ SEO ช่วยทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ 1 ได้อย่างไร มาดูวิธีการทำ Long Tail Keyword และตัวอย่างไปพร้อมๆ กัน

อ่านบทความ ➝

[แนะนำ] วิธีใช้ Facebook Chatbot เพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจ พร้อม Case Study

บทความนี้จะอธิบาย Concept ของการทำ Facebook Chatbot ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจของคุณได้จริง!รับรองว่าถ้าคุณเข้าใจจะเพิ่มยอดขายให้ธุรกิจคุณได้แน่นอน!

อ่านบทความ ➝

Guest Post คืออะไร ทำแล้วดีกับ SEO จริงไหม อยากทำต้องเริ่มอย่างไร

ทำความรู้จัก Guest Post คืออะไร ทำไมต้องทำ ต่างจาก Link Building อย่างไร และมีอะไรบ้างที่ควรรู้ก่อนทำ Guest Post หาคำตอบได้ในบทความนี้เลย

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top