Home - Marketing - Call To Action คืออะไร CTA ย่อมาจากอะไร ทำไมต้องทำ [ดูตัวอย่างฟรี!]

Call To Action คืออะไร CTA ย่อมาจากอะไร ทำไมต้องทำ [ดูตัวอย่างฟรี!]

ทำอย่างไรให้คนคลิกซื้อสินค้า ดาวน์โหลด E-book หรือกดสมัครลงทะเบียนแคมเปญการตลาดที่ทำอยู่? แน่นอนครับว่าเราต้องพึ่งพาสิ่งที่เรียกว่า “Call-To-Action” หรือที่หลายคนเรียกว่า CTA 

เพราะ Call-To-Action คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาชั้นดีที่ช่วยให้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์กระทำการบางอย่างที่ธุรกิจต้องการได้ง่ายมากขึ้น แต่จะทำได้อย่างไร และ CTA คืออะไร มาทำความรู้จักกับเทคนิคการตลาดนี้ตั้งแต่คอนเซปต์ไปจนถึงตัวอย่างของการทำ CTA ที่ช่วยให้ทุกคนเห็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้นไปพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ! 

Call To Action คืออะไร 

Call To Action คืออะไร

ที่มาภาพ: jjlyonsmarketing.com

CTA ย่อมาจาก Call to Action คือ วิธีการหนึ่งในการทำ Marketing ที่ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้คนให้กระทำการบางอย่างตามที่ธุรกิจต้องการ โดยอาศัยดีไซน์ในด้านการใช้คำ ตัวอักษร สี หรือภาพ เพื่อสื่อสารสิ่งที่ธุรกิจต้องการนำเสนอ และทำให้กลุ่มเป้าหมายมีปฏิสัมพันธ์กับธุรกิจไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การสมัครสมาชิก การสั่งซื้อ การดาวน์โหลด การลงทะเบียน เป็นต้น 

ซึ่งการทำ Call-to-Action นับเป็นเทคนิคการทำการตลาดในรูปแบบที่ไม่ยัดเยียด ทำหน้าที่แค่เร้าหรือกระตุ้นความสนใจ หากผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ เปิดอีเมล หรือเห็นโพสต์บนโซเชียลมีเดียของธุรกิจมีความสนใจกับสิ่งที่แบรนด์กำลังนำเสนอก็จะเปลี่ยนจากผู้เยี่ยมชม (Visitor) กลายเป็น Lead หรือว่าที่ลูกค้าได้อย่างไม่ยาก โดยเป้าหมายของการทำ CTA คือ การคลิก (วัดผลได้จาก Click Through Rate หรือ CTR) ไปจนถึงการได้มาซึ่งรายชื่อของกลุ่มเป้าหมายมาไว้ในมือ

Call To Action จำเป็นต้องใส่ไหม ?

การมองข้ามการทำ Call To Action อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เนื่องจาก CTA มีประโยชน์สำหรับการทำธุรกิจมากกว่าที่คุณคิด ยกตัวอย่างเช่น

  • CTA ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการต่างๆ ตาม Sale Funnel 

เพราะ Call to Action คือ หมัดเด็ดที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าดำเนินการอะไรบางอย่าง ดังนั้น จึงมีส่วนช่วยในการทำ Sale Funnel โดยเป็นตัวกลางที่ช่วยสร้างการเปลี่ยนผ่านจากขั้นตอนหนึ่งไปสู่อีกขั้นตอนหนึ่ง เช่น แนะนำว่ากลุ่มเป้าหมายควรจะทำอะไรต่อไป และกระตุ้นให้ทำทันทีด้วย เช่น คุณจะต้องการให้ผู้ใช้เยี่ยมชมบล็อกของคุณ ให้ข้อมูลติดต่อ ก็ต้องทำการวาง CTA ไว้ในจุดที่เหมาะสมและดีไซน์ให้ชวนคลิก เพื่อที่จะทำให้เกิดการกระทำตามที่ต้องการ หรือถ้าต้องการที่จะนำพาคนไปสู่การซื้อสินค้าก็ต้องออกแบบ CTA โดยคำนึงถึง Customer Journey ที่จะนำพาไปสู่การซื้อขายได้จริง

CTA ช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการต่างๆ ตาม Sale Funnel

ที่มาภาพ: yoast.com

ยกตัวอย่าง CTA ของเว็บไซต์ Yoast ที่เป็นปลั๊กอินสำหรับการทำ SEO บน WordPress ที่มีการทำ CTA ออกมาในรูปแบบของ Card ด้านข้างในขณะที่อ่านบทความ จะเห็นว่าเป็นการนำเสนอการอัปเกรดเครื่องมือ Yoast เป็นแบบพรีเมียม พร้อมให้รายละเอียดข้อดีของการอัปเกรด รวมถึงราคาเอาไว้ด้วยพร้อมมีการทำปุ่มสำหรับกดเพื่อทำการอัปเกรดได้ทันที แต่ถ้าหากยังลังเลใจก็สามารถกดอ่านรีวิวจากคนใช้งานเครื่องมือจริงก่อนได้ด้วย หากเป็นคนที่กำลังมองหาเครื่องมือสำหรับทำ SEO อยู่ เมื่อเห็น CTA ในลักษณะนี้อาจจะสนใจและทำการคลิกเพื่อดูรีวิวหรือทำการสมัครใช้งานได้ในทันที

  • ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน

การทำ Call To Action ไม่ได้มีผลดีกับแค่การทำการตลาดหรือการขายสำหรับธุรกิจ ยังมีประโยชน์ในด้านการอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้งานได้ด้วย จากการช่วยนำทางให้ผู้ใช้งานรู้ว่าต้องทำอะไรต่อไป มีอะไรที่เว็บไซต์นี้ทำให้ได้บ้าง หรือถ้าอยากจะติดต่อต้องทำอย่างไร ทำให้ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ (Customer Experience) ดีขึ้น เช่น 

ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน

ที่มาภาพ: hubspot.com

CTA ของเว็บไซต์ที่เป็นประเภทเครื่องมือต่างๆ อย่างเช่น HubSpot ที่ทำการขายเครื่องมือสำหรับการทำ Inbound Marketing มักจะทำปุ่ม Call to Action เพื่อบอกว่าหากยังไม่ได้สนใจซื้อหรือต้องการที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือก่อนสามารถที่จะขอรับเดโมการใช้งานหรือทดลองใช้ฟรีก่อนได้ ซึ่งถ้าทำการกด CTA ไปก็จะพาไปสู่หน้าการลงทะเบียนหรือรับเดโมตามที่ผู้ใช้งานต้องการได้เลย โดยที่ไม่ต้องทักมาสอบถามกับทางบริษัทโดยตรง 

จะเห็นว่า Call To Action มีประโยชน์กับธุรกิจทั้งในแง่ของการขายและการบริการ ดังนั้น การใส่ CTA จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะคือตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การทำการตลาดบนโลกดิจิทัลประสบความสำเร็จได้ในอีกทางหนึ่ง

Call To Action ตัวอย่าง

ตัวอย่างการทำ Call To Action ที่หยิบมาในวันนี้จะเน้นให้ทุกคนสามารถนำไปปรับใช้กับวิธีการทำการตลาดของคุณได้เพิ่มเติมได้โดยนำมาให้ดูกันทั้งหมด 4 เว็บไซต์ มาดูกันดีกว่าว่า จะมีเว็บไซต์ไหนที่น่าสนใจบ้าง

  1. Call To Action ตัวอย่างจาก HubSpot
Call To Action ตัวอย่างจาก HubSpot

ที่มาภาพ: hubspot.com

ยกตัวอย่างการทำ CTA ที่น่าสนใจจาก HubSpot ที่มีการทำบล็อกเพื่อให้ความรู้ด้านการทำ Inbound Marketing ซึ่งเป็นการดึงดูดกลุ่มเป้าหมายมาด้วยการมอบความรู้เชิงลึกให้ผ่านการทำ SEO แน่นอนว่าคนที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์จะเป็นกลุ่มคนที่มีความสนใจในเรื่องของการทำการตลาดเป็นหลัก หากเข้ามาอ่านบล็อกของ HubSpot และเห็นว่าเว็บไซต์นี้มีประโยชน์การทำ CTA ให้กด Subscribe เพื่อติดตามข้อมูลผ่านอีเมลนับเป็นตัวเลือกที่ดี ซึ่ง HubSpot ใช้วิธีการทำ Call To Action ในรูปแบบของ Pop-up เด้งขึ้นมาในระหว่างการอ่านบทความที่ดึงดูดความสนใจได้ดี

วิธีการทำ Call To Action ในรูปแบบของ Pop-up

ที่มาภาพ: hubspot.com

นอกจากนี้ยังมีการใช้ CTA สำหรับการทำ Lead Generation ผ่านหน้าบล็อกโดยการขึ้นแบนเบอร์แบบกดปิดได้บนเว็บไซต์ เพื่อให้กดดาวน์โหลด E-Book ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทความนั้นๆ ขึ้นมาให้ด้วย ทำให้สามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่สนใจใน E-book ได้ง่าย และเปลี่ยนให้พวกเขากลายเป็น Lead ได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นด้วย

  1. Call To Action ตัวอย่างจาก Neilpatel
Call To Action ตัวอย่างจาก Neilpatel

ที่มาภาพ: neilpatel.com

สำหรับ Neilpatel เป็นเว็บไซต์ที่ทั้งให้ความรู้ด้านการทำการตลาดและยังเป็นผู้ทำเครื่องมือสำหรับทำ Keyword Research ที่หลายคนรู้จักกันดี นั่นคือ Ubersuggest รวมถึงเครื่องมือวิเคราะห์ SEO อื่นๆ ถือเป็นตัวอย่างของการทำ Call To Action ที่หลากหลายแบบให้เห็นในหนึ่งหน้า โดยมีตัวอย่างให้ดูถึง 3 แบบด้วยกันคือ

  • CTA ด้านบนเป็นแทบ Bar โดยใช้คำถามที่ว่า คุณต้องการ Traffic มากกว่านี้หรือเปล่า? ในการกระตุ้นความสนใจ ซึ่งหากทำการคลิกตอบ “Yes, I want more traffic” ก็จะพาเข้าสู่หน้าเซอร์วิสของเว็บไซต์ทันที 
  • CTA ในกล่องข้อความที่เขียนเชิญชวนโดยตรงเลยว่า หากต้องการทีมทำการตลาดให้ คลิกที่นี่ ได้เลย ซึ่งก็จะพาไปหน้าเซอร์วิสของเว็บไซต์เช่นกัน
  • CTA ด้านขวาของเพจ จะเป็นการพาคนไปทดลองใช้เครื่องมือก่อนฟรี โดยการให้กรอก URL ของเว็บไซต์ ระบบก็จะทำการวิเคราะห์ข้อมูลของเว็บไซต์ให้ฟรี แต่ต้องแลกกับข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ สกุล เบอร์โทร อีเมล เป็นต้น ก่อนถึงจะเข้าดูผลลัพธ์ได้
  1. Call To Action ตัวอย่างจาก Netflix
Call To Action ตัวอย่างจาก Netflix

ที่มาภาพ: netflix

จากตัวอย่าง CTA ของ Netflix เองก็เป็นวิธีการใช้ Call To Action เพื่อแก้ปัญหาความกังวลใจของผู้ใช้ใหม่ที่ไม่กล้าที่จะกดสมัครเพราะกลัวเสียเงินในการใช้บริการทันที จึงมีการทำ Call To Action ไว้ที่หน้า Landing page หน้าแรกเพื่อให้ผู้ใช้งานรู้ว่า สามารถเข้าใช้บริการได้ฟรีในเดือนแรก และสามารถกดยกเลิกได้ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้งานใหม่กล้าที่จะลงทะเบียนสมัครมากยิ่งขึ้น 

  1. Call To Action ตัวอย่างจาก Dropbox
Call To Action ตัวอย่างจาก Dropbox

ที่มาภาพ: dropbox

ตัวอย่าง CTA ของ Dropbox จะเป็นหน้าของการเลือกแพ็คเกจบริการ ซึ่งมีการทำ Call To Action แยกย่อยตาม Persona ออกมาค่อนข้างหลากหลาย เช่น สำหรับบุคคลทั่วไป สำหรับครอบครัว สำหรับองค์ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ โดยใช้แผนด้านการตั้งราคาและความคุ้มค่าเข้ามาช่วยในการปิดการขายเพิ่มเติม ทำให้แผนที่ต้องการทำยอดขายดูน่าสนใจมากขึ้น รวมถึงใช้คำว่า “ยอดนิยม” ด้านบนเพื่อกระตุ้นให้ซื้อแพ็คเกจที่ทางบริษัทต้องการขายกำกับเอาไว้ด้วย

  1. Call To Action ตัวอย่างจาก Agoda
Call To Action ตัวอย่างจาก Agoda

ตัวอย่าง CTA ของ Agoda จะเป็นตัวอย่างของการทำ Call To Action โดยใช้เทคนิคแบบ FOMO [Fear of Missing Out] ที่เล่นกับความรู้สึกของผู้ใช้งาน อย่างในตัวอย่างจะเป็นการเล่นกับความกลัวที่จะพลาดอะไรบางอย่าง นั่นคือ พลาดการรับส่วนลดพิเศษ เพราะมีเวลาจำกัดเพียงแค่ 2 ชั่วโมงเท่านั้น CTA ในรูปแบบนี้จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการซื้อได้มาก เหมาะสำหรับเป็น CTA ในช่วงการทำแคมเปญ หรือทำโปรโมชันเป็นอย่างมาก

Call To Action Facebook

Call To Action Facebook จะเป็นการทำ CTA ที่มักเห็นได้ในการทำโฆษณายิงแอด Facebook โดย CTA จะมาในรูปแบบของหัวข้อ (Heading) คำอธิบายสั้นๆ (Description) และปุ่มที่สามารถเลือกวัตถุประสงค์ได้ว่า หากผู้ใช้งานคลิกไปแล้วจะต้องทำอะไร โดยวัตถุประสงค์ในการใช้ CTA นั้นจะเหมาะสำหรับธุรกิจในหลากหลายประเภท ยกตัวอย่างเช่น

วัตถุประสงค์ในการใช้CTA
E-commerceBuy, Shop, Order, Reserve, Save, Add to Cart, Pick, View
การใช้บริการด้านซอฟต์แวร์Try, Get Started, Subscribe, Sign Up
บริการที่ไม่แสวงหาผลกำไร เช่น ธุรกิจการกุศลDonate, Commit, Volunteer, Adopt, Give, Support
Newsletter หรือ CommunitySubscribe, Join, Sign Up, Refer
แจกสินค้าหรือบริการฟรีDownload, Get, Grab, Claim
จองสินค้า ที่พัก ตั๋วเครื่องบินBook Now, Sign Up, Get Offer
ทั่วไปLearn More, See More, See How, Start, Find Out, Check it Out, Click here, Continue, Swipe Up

ตัวอย่าง CTA บน Facebook

Call To Action Facebook จาก ClickUp

ตัวอย่างแอด Facebook จาก ClickUp ซึ่งเป็นแอดเกี่ยวกับการให้ส่วนลดพิเศษ 15% พร้อมบอกด้วยว่าประหยัดลงไปเท่าไหร่ในคำอธิบาย และใช้ปุ่ม CTA เป็น Learn More เพื่อให้คนที่เห็นแอดสามารถแน่ใจได้ว่าหากกดแอดนี้เข้าไปจะยังไม่ใช่การกดสมัครทันที แต่จะยังมีข้อมูลอื่นๆ ให้อ่านก่อนทำการตัดสินใจได้อีก

Call To Action Facebook จาก Shaw Academy

ตัวอย่างแอด Facebook จาก Shaw Academy ที่เป็นแอดเกี่ยวกับการลงทะเบียนเรียนคอร์สออนไลน์เกี่ยวกับ Digital Marketing ฟรีเป็นระยะเวลา 4 อาทิตย์ โดยมีการทำ CTA ทั้งในรูปภาพและบริเวณหัวข้อ (Heading) คำอธิบายสั้นๆ (Description) และปุ่มที่มีให้อยู่ก่อนแล้ว เพื่อกระตุ้นให้คนลงทะเบียนเรียน

Call To Action Facebook จาก Frontier Airlines

ตัวอย่างแอด Facebook จาก Frontier Airlines จะเป็นแอดที่เกี่ยวกับการจองตั๋วเครื่องบิน ทำให้ลูกค้าที่เข้ามาเห็นรู้สึกว่าต้องจอง จากการบอกรายละเอียดของโปรโมชั่น พร้อมกระตุ้นให้รีบลงทะเบียนจองตั๋วด้วยการกำหนดระยะเวลาการหมดเขต และเงื่อนไขการจอง และใส่ปุ่ม CTA เป็น Book Now เพื่อเร้าให้รู้สึกว่าต้องจองทันที

Call To Action Website

สำหรับ Call To Action Website จะมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ดังต่อไปนี้

  • Call To Action ที่อยู่ในเนื้อหาของเว็บไซต์
Call To Action ที่อยู่ในเนื้อหาของเว็บไซต์

ที่มาภาพ:  hubspot

Call To Action ที่อยู่ในเนื้อหาของเว็บไซต์ หรือที่คนทำ SEO รู้จักกันในชื่อของการทำ Internal Link ซึ่งเป็นเทคนิคการทำ SEO On-Page รูปแบบหนึ่ง แต่ถ้าในมุมมองที่นอกเหนือจากการทำ SEO แล้ว การทำ Call To Action แบบนี้จะเป็นเหมือนการเขียนเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมในเนื้อหาที่ชวนให้คลิกไปอ่านต่อ ซึ่งการทำ CTA ในเนื้อหารูปแบบนี้จะดีต่อยอด Page View และ Bounce Rate ของเว็บไซต์ เพราะมีโอกาสที่คนจะคลิกไปอ่านเนื้อหาต่อไปที่อยากรู้มากเป็นพิเศษ อีกทั้งยังเป็นวิธีการทำ CTA ที่ง่าย และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรือกราฟิกเข้ามาช่วยเลย

  • Call To Action ที่อยู่แถบด้านข้างบนหน้าเว็บไซต์
Call To Action ที่อยู่แถบด้านข้างบนหน้าเว็บไซต์

Call To Action ที่อยู่แถบด้านข้างบนหน้าเว็บไซต์ หรือ ที่เรียกกันว่า Sidebar CTA โดยปกติจะเป็น CTA ที่ใช้ในการเชิญชวนให้รับรู้หรือคลิกไปอ่านรายละเอียดบางอย่างเพิ่มเติม โดยเนื้อหาที่อยู่บน CTA นั้นจะเกี่ยวข้องกับหน้าเว็บไซต์นั้นหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากเป็นจุดในการทำ Call To Action บนเว็บไซต์ที่สามารถตั้งค่าให้ปรากฏในทุกหน้าของเว็บไซต์ได้ง่ายนั่นเอง

  • Call To Action สำหรับช่องทางโซเชียลมีเดีย
Call To Action สำหรับช่องทางโซเชียลมีเดีย

แม้จะเป็นเนื้อหาบนเว็บไซต์ แต่หลายคนก็อาจจะอยากแชร์เก็บเอาไว้อ่าน หรือแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ บนโซเชียลมีเดีย นี่จึงเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจในการทำ Call To Action สำหรับช่องทางโซเชียลมีเดียเอาไว้สำหรับกดแชร์ไปยังช่องทางต่างๆ ของผู้ใช้งานเอาไว้ด้วยโดยอาจจะทำเป็นปุ่มไอคอนของแต่ละโซเชียลมีเดียเอาไว้ให้ชัดเจนในทุกๆ หน้าของเว็บไซต์

  • Call To Action บริเวณด้านล่างของเนื้อหา
Call To Action บริเวณด้านล่างของเนื้อหา

หลังจากทำการเขียนบทความจนจบสามารถใส่ Call To Action เอาไว้ด้านล่างสุดได้ โดยอาจจะออกแบบมาเป็นแบนเนอร์ที่สามารถคลิกไปยังเนื้อหาในหน้าอื่นๆ ได้ ซึ่งช่วยทำให้เพิ่ม Traffic ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี หรือจะใช้เพื่อเปิดโอกาสในการเพิ่ม Lead ก็ได้ด้วยการขอให้ลงทะเบียน ทำการ Subscribe หรือดาวน์โหลดเนื้อหาบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาได้อ่านจบไปแล้ว เช่น คุณทำเนื้อหาบทความเกี่ยวกับ SEO ก็สามารถทำ CTA ด้านล่างสุดเป็น E-Book เกี่ยวกับการทำ SEO ให้ดาวน์โหลดได้ โดยแลกกับข้อมูลส่วนตัวและช่องทางการติดต่อเพิ่มเติม เป็นต้น

  • Call To Action ในรูปแบบ Pop-Up
Call To Action ในรูปแบบ Pop-Up

การทำ Pop-up บนเว็บไซต์เป็นการทำ Call To Action ที่ทำให้คนเห็นและสนใจในสิ่งที่ธุรกิจต้องการจะนำเสนอได้มากที่สุด แต่ก็ควรที่จะใช้อย่างระมัดระวัง เพราะการทำ Pop-up บนหน้าเว็บไซต์อาจทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกรำคาญมากกว่าสนใจก็ได้ ดังนั้น จึงควรเลือกที่จะทำ CTA แบบ Pop-up เฉพาะบางหน้าเท่านั้น เช่น หน้า Home Page, หน้ารายการสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโปรโมชันที่คุณจะแสดง Pop-Up ให้เห็น เป็นต้น

  • Call To Action บน Menu Bar
Call To Action บน Menu Bar

สำหรับใครที่สามารถตกแต่งเว็บไซต์ได้ก็สามารถทำการเพิ่ม Call To Action ที่สำคัญๆ ลงบน Menu Bar ได้เช่นกัน เช่น CTA บอกให้รับส่วนลด ทดลองใช้ฟรี เป็นต้น ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดขายและทำให้ได้ Lead จากเว็บไซต์ในหน้าต่างๆ ได้มากขึ้นด้วย เพราะไม่ว่าใครก็ย่อมต้องมองเห็นบริเวณ Menu Bar ของเว็บไซต์อย่างแน่นอน

แล้วคอนเทนต์แบบไหน เหมาะที่จะทำ CTA

จริงๆ แล้ว CTA สามารถทำได้กับคอนเทนต์หลากหลายประเภทในหลากหลายช่องทาง ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเนื้อหาใน Call to Action ด้วยว่ากำลังสื่อสารอยู่กับใคร มีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารแบบไหน จึงจะสามารถเลือกใช้ CTA ที่เหมาะสมและเข้ากับคอนเทนต์นั้นได้ เช่น 

  • เป็นคอนเทนต์โฆษณาบน Facebook, Youtube หรือ Google Ads ก็ต้องเลือกทำ Call to Action ที่ทำให้คลิกกลับมายังเว็บไซต์ของคุณมากขึ้น โดยอาจจะทำการยื่นข้อเสนอที่ทำให้ไม่อยากปฏิเสธ เช่น ทดลองใช้ฟรี, ลงทะเบียนฟรี, คลิกเลย, คลิกรับส่วนลด เป็นต้น
  • เป็นคอนเทนต์บนเว็บไซต์สามารถใช้ Call to Action ได้ทั้งในรูปแบบปุ่ม แบนเนอร์ หรือกราฟิกในรูปแบบต่างๆ ไปจนถึงใช้แค่ตัวหนังสือแล้วทำ Internal Link เพื่อพาไปยังหน้าเว็บไซต์ที่ต้องการก็นับว่าเป็นการทำ CTA แล้วเช่นกัน ส่วนการเลือกใช้คอนเทนต์ก็ต้องดูว่าเนื้อหาในหน้านั้นเกี่ยวกับอะไร เช่น เป็นหน้าบทความ CTA ก็อาจจะเป็นการชวน Subscribe เนื้อหา, ดาวน์โหลดบางอย่างที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น หรือถ้าเป็นหน้าให้รายละเอียดสินค้า CTA ก็อาจจะเป็นโปรโมชัน ส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอย่างการทดลองใช้ฟรี เป็นต้น

สรุป

และทั้งหมดนี้คือเรื่องที่คนทำเว็บไซต์และนักการตลาดควรรู้เกี่ยวกับ Call-to-Action หรือ CTA อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยทำให้ผู้ที่สนใจธุรกิจของคุณใกล้ชิดกับคุณได้มากยิ่งขึ้นจากการกระตุ้นผ่านศิลปะการดึงดูดใจด้วยวิธีการคิด การเขียน และการออกแบบ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นเพียงจุดเล็กๆ แต่ถ้าหากคุณสามารถทำ Call to Action อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับ Customer Journey ได้นั้นรับรองเลยว่าจะสร้างอิมแพ็คให้กับธุรกิจที่คุณทำอยู่ได้อย่างแน่นอน ดังนั้น อย่าละเลยการทำ CTA ให้มีคุณภาพกันนะครับ 

อ้างอิง

https://yoast.com/call-to-action/
https://blog.hubspot.com/marketing/call-to-action-examples
https://www.vizion.com/blog/3-reasons-call-action-important/
https://optinmonster.com/fomo-marketing-examples-to-boost-sales/
https://adespresso.com/blog/call-to-action-examples

ผู้เขียน

Picture of NerdOptimize Team
NerdOptimize Team
Tag:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

SEO Audit คืออะไร แนะนำเทคนิคและวิธีปรับอันดับบน Search Engine ให้ดีขึ้น

SEO Audit คืออะไร แนะนำเทคนิคและวิธีปรับอันดับบน Search Engine ให้ดีขึ้น

SEO Audit คือ เทคนิคการเพิ่มอันดับให้กับหน้าเว็บไซต์ให้ดีขึ้น โดยใช้หลักการทำ SEO ในการทำ Site Audit เพื่อปรับปรุงคุณภาพเว็บไซต์จนถูกใจ Google

อ่านบทความ ➝
Scroll to Top