ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจเป็นอะไรที่ดุเดือดและทวีความเข้มข้นอยู่ตลอด เนื่องจากสมัยนี้ไม่ว่าธุรกิจจะเล็กหรือใหญ่เพียงใดก็สามารถทำการตลาดได้โดยอาศัยอิทธิพลของสื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดียต่าง ๆ เป็นช่องทางในการโปรโมทธุรกิจของตัวเองให้เป็นที่รู้จักได้
จึงเป็นเหตุผลให้แต่ละธุรกิจต้องเลือกหากลยุทธ์ในการเข้าถึงผู้บริโภค สร้างการรับรู้แบรนด์ (Brand Awareness) ทำให้ธุรกิจเป็นที่รู้จักให้ได้มากที่สุด ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับการยอมรับที่สุดในยุคนี้ก็คือกลยุทธ์ที่ชื่อว่า Influencer Marketing หรือการทำการตลาดโดยใช้ผู้มีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ โน้มน้าวใจผู้บริโภค
โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีหลังที่กลยุทธ์นี้กลายเป็นกลยุทธ์ที่ถูกยอมรับจากธุรกิจส่วนใหญ่ตั้งแต่ธุรกิจขนาดเล็กระดับ SME ไปจนถึงธุรกิจขนาดใหญ่ที่ครอบครองแบรนด์สินค้าที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ
ในบทความนี้ Nerd Optimize จะขอพาคุณไปศึกษากลยุทธ์ Influencer Marketing แบบหมดเปลือก ทั้งความหมายและความสำคัญ Influencer Marketing ต่อการทำการตลาด, ข้อดีของการทำ Influencer Marketing ไปจนถึงเทคนิคในการใช้งานกลยุทธ์ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จได้จริง หากพร้อมแล้ว ไปติดตามกัน
Influencer คืออะไร ?
Influencer (อินฟลูเอนเซอร์) คือ บุคคลที่มีชื่อเสียงและอิทธิพลบนสื่อออนไลน์ มีคนให้ความสนใจและมีผู้ติดตามผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram, TikTok, Youtube, Twitter และอื่น ๆ คำว่า Influencer นั้นไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นดารา ศิลปิน เป็นบุคคลสาธารณะแต่เพียงอย่างเดียว แต่สามารถเป็นบุคคลธรรมดา ๆ หรือเป็นเพจที่มีผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดีย และมีความสามารถในการโน้มน้าวใจกลุ่มผู้ติดตามของพวกเขาก็ได้เช่นกัน
ซึ่ง Influencer แต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้จะต้องอยู่ที่คาแรคเตอร์ (ตัวตน) ของ Influencer คนนั้นๆ รวมไปถึงสไตล์ในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของ Influencer แต่ละคน ที่จะเป็นสิ่งที่แยกแยะว่า Influencer คนไหน เหมาะกับแบรนด์หรือสินค้าประเภทไหนนั่นเอง
ประเภทของ Influencer มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
www.primal.co.th/social/hop-aboard-the-influencer-marketing-train/
Influencer แบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยใช้เกณฑ์ในการแบ่งประเภทของ Influencer จากจำนวนผู้ติดตาม โดยแต่ละประเภทมีรายละเอียด ดังนี้
1. Nano Influencer
Nano Influencer คือ Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่หลัก 1,000 – 10,000 คน เป็น Influencer ที่มีจำนวนเยอะที่สุดในตลาด มีข้อดีในเรื่องของราคาที่ไม่สูงมาก มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะด้าน (Niche Market) มีความสัมพันธ์ระหว่างที่ใกล้ชิดกับผู้ติดตาม มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจผู้ติดตามได้ดี เหมาะสำหรับแบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายชัดเจน
2. Micro Influencer
Micro Influencer คือ Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 10,000 – 50,000 คน เป็น Influencer ที่โดดเด่นในเรื่องของสร้างสรรค์คอนเทนต์ ที่จะมีความเป็นมืออาชีพขึ้นมาจากระดับ Nano Influencer ถือว่าเป็นกลุ่ม Influencer ที่เข้ากับสินค้าและแบรนด์ได้หลากหลายประเภททั้งตลาดเฉพาะกลุ่ม หรือแนวไลฟ์สไตล์ กิน เที่ยว เล่น ชอปปิ้ง ฯลฯ เรียกว่าเหมาะกับสินค้าหลากหลาย
3. Mid-Tier Influencer
Mid-Tier Influencer คือ Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 50,000 – 100,000 คน Influencer ประเภทนี้จะเป็นที่ต้องการของแบรนด์พอสมควร เพราะจะเริ่มเป็น Influencer ระดับมืออาชีพมีฐานผู้ติดตามเยอะกว่า 2 ประเภทก่อนหน้า (แต่ราคาก็สูงตามไปด้วย) มีการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ สร้าง Brand Awareness ได้ดีพอสมควร
4. Macro Influencer
Macro Influencer คือ Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 100,000 – 1,000,000 คน เป็น Influencer ที่มีฐานผู้ติดตามเยอะ ส่วนใหญ่มักจะเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในสังคม เช่น นักแสดง เนตไอดอล นักร้อง นักกีฬาชื่อดัง เหมาะสำหรับแบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Awareness ในระดับที่ใหญ่ขึ้นมาจาก Influencer กลุ่มอื่น แต่อาจมีข้อเสียในเรื่องของการสร้าง Engagement เพราะ Influencer ประเภทนี้จะมีความสัมพันธ์กับผู้ติดตามน้อย และเรทราคาในการจ้างที่สูง
5. Mega Influencer
Mega Influencer คือ Influencer ที่มีผู้ติดตามตั้งแต่ 1,000,000 คนขึ้นไป หรือเรียก Influencer ประเภทนี้อีกชื่อว่า Celebrity / Mass Publisher ส่วนใหญ่มักจะเป็นคนในวงการบันเทิง เป็นกลุ่ม Influencer ที่มีอิทธิพลและผู้ติดตามสูงที่สุด ข้อดีของ Influencer จะเหมาะกับแบรนด์ที่ต้องการสร้าง Brand Awareness แบบไม่เจาะจงกลุ่มเป้าหมาย ต้องการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ๆ ภายในการโพสต์เพียงครั้งเดียว แต่มีข้อเสียคือเรทราคาที่สูงกว่า Influencer ทุกประเภท (ต้องเป็นแบรนด์ที่มี Budget เยอะ)
Influencer และ KOL มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
KOL ย่อมาจาก Key Opinion Leader คือ ผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อผู้บริโภค เป็นที่ยอมรับของสังคม สามารถโน้มน้าวใจผู้บริโภคได้ โดยอาจเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงและพอมีผู้ติดตามทางโซเชียลมีเดียบ้าง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในเรื่องต่าง ๆ จัดว่าเป็นอีกหนึ่งกลุ่มคนที่ใช้เป็นช่องทางในการทำการตลาดออนไลน์ได้
แม้โดยรวม KOL อาจดูมีความคล้ายคลึงกับ Influencer จนทำให้นักการตลาดหลายท่านสับสน แต่จริง ๆ แล้ว Influencer กับ KOL มีความแตกต่างกันอยู่ดังนี้
- KOL เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นที่ยอมรับของกลุ่มคนในตลาดนั้น ๆ ขณะที่ Influencer มักเป็นผู้นำทางความคิดและไลฟ์สไตล์ในวงกว้าง
- ผู้ที่ติดตาม KOL ส่วนใหญ่จะมีความรู้สึกยกย่อง ได้รับการยอมรับจากผู้ติดตาม แต่ Influencer นั้น ผู้ติดตามจะชื่นชอบที่ รูปลักษณ์ภายนอก ไลฟ์สไตล์ และการนำเสนอคอนเทนต์มากกว่า
- KOL อาจไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียวมากมาย แต่ต้องเป็นคนที่มีอิทธิพลอย่างมากกับผู้ติดตามที่พวกเขามี แต่ Influencer จะวัดกันที่จำนวนผู้ติดตามบนโซเชียลมีเดียเป็นสำคัญ
Influencer Marketing คืออะไร?
Influencer Marketing คือรูปแบบการตลาดอย่างหนึ่งที่อาศัยบุคคลที่มีผู้ติดตามหรือมีชื่อเสียง (Influencer) เป็นช่องทางในการนำเสนอสินค้า, แบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก ผ่านการทำคอนเทนต์ที่เผยแพร่ในสื่อออนไลน์ของตัวเอง เพื่อโน้มน้าวใจกลุ่มเป้าหมายให้กลายเป็นลูกค้าของธุรกิจ หรือสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจตัวเอง
โดย Influencer Marketing ถือเป็นอีกหนึ่ง Marketing Strategy* ที่สำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบัน เพราะกลยุทธ์นี้จะอาศัยการใช้ Influencer ที่เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง มีอิทธิพลในการโน้มน้าวใจผู้อื่น เป็นตัวกลางแนะนำ บอกต่อ ถึงคุณค่าของสินค้าและบริการของคุณ
ซึ่งตรงกันกับพฤติกรรมของผู้บริโภคส่วนใหญ่ที่มักเชื่อสิ่งที่ดูเป็น “เรื่องจริง” มากกว่าการทำโฆษณา ผู้บริโภคได้เห็นแล้วว่าสินค้าตัวนั้น ๆ ได้รับการยอมรับจากเหล่าคนที่ตนติดตาม แสดงว่าสินค้า(หรือบริการ) ตัวนั้น ๆ มีคุณภาพ ควรค่าแก่การใช้งานจริง ส่วนการทำโฆษณาก็เป็นเพียงแค่เทคนิคที่แบรนด์เอามาล่อผู้บริโภคเพื่อต้องการสร้างยอดขาย
Marketing Strategy คือ กลยุทธ์การตลาด ที่อาศัยขั้นตอนในการวางแผนปฏิบัติงานเพื่อทำให้ธุรกิจไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ ถือเป็นวิธีการวางแผนที่ทุกธุรกิจ “ควรต้องทำ” เพื่อการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจ
ดังนั้นการที่มี Influencer ที่มาทำการโฆษณา ลงคอนเทนต์เกี่ยวกับแบรนด์คุณก็จะช่วยเพิ่มความรู้สึกที่ดูเป็นเรื่องจริง ให้กับผู้บริโภคมากขึ้น จนทำให้ผู้บริโภคยอมรับในสินค้าหรือแบรนด์ของคุณในที่สุด
ซึ่งเรื่องนี้อ้างอิงได้จากผลสำรวจของ MediaKix ในปี 2020 พบว่านักการตลาดทั่วโลกกว่า 80% ยอมรับในประสิทธิภาพของกลยุทธ์ Influencer Marketing ว่า “ได้ผลดีเยี่ยม” กับการทำการตลาดออนไลน์ในปัจจุบัน ซึ่ง Influencer Marketing เองก็เป็นอีกหนึ่งเทคนิคยอดฮิตของการทำการตลาดออนไลน์ (Online Marketing) เช่นกัน
www.mediakix.com
ข้อดีของการทำ Influencer Marketing มีอะไรบ้าง ?
แน่นอนว่าการใช้งาน Influencer Marketing มีข้อดีที่ส่งผลต่อธุรกิจทั้งในเรื่องของการสร้างยอดขาย สร้าง Brand Awareness (การรับรู้แบรนด์) ให้แก่ธุรกิจ แต่กลยุทธ์ Influencer Marketing ยังมีข้อดีต่อธุรกิจหรือแบรนด์ที่คุณคาดไม่ถึงอยู่ ดังนี้
1. ช่วยสร้าง Testimonial ให้กับสินค้าหรือธุรกิจ
Testimonial คือ การรับรองคุณภาพและคุณค่าของสินค้าหรือบริการที่เกิดขึ้นโดยลูกค้า, ผู้บริโภค ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบคอนเทนต์เป็นตัวหนังสือ, รูปภาพ, วิดีโอก็ตาม เปรียบเหมือนการยืนยันคุณภาพสินค้าและบริการเพื่อเพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจซื้อให้กับผู้ที่ไม่เคยลองใช้มาก่อน
ซึ่งการทำ Influencer Marketing นั้นผู้บริโภคจะเชื่อถือมากกว่าการทำโฆษณาแบบปกติ เพราะพวกเขาเห็นแล้วว่ามีผู้ใช้งานจริง ๆ มาแนะนำหรือบอกต่อคุณค่าของสินค้าให้กับตนเอง ดังนั้นแบรนด์ก็ควรใช้โอกาสตรงนี้ในการให้ Influencer ที่เป็นผู้ที่มีอิทธิพลกับผู้ติดตามอยู่แล้ว มาสร้างคอนเทนต์แนว Testimonials เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า ให้พวกเขาเห็นถึงคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าและการบริการของคุณ
www.trustmary.com/blog/4-best-examples-of-testimonials-in-advertising
2. ช่วยเพิ่ม Brand Engagement มากขึ้น
Brand Engagement คือกระบวนการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มลูกค้ากับแบรนด์ ที่มากกว่าแค่การสร้างยอดขายและสร้างการรับรู้ แต่ต้องทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกมั่นใจในตัวแบรนด์ จนเกิดเป็นความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าและแบรนด์เพื่อนำไปสู่การสร้าง Brand Loyalty (ความภักดีต่อแบรนด์) ในอนาคตต่อไป
โดยเรื่องของ Brand Engagement นั้นถือว่ามีความเกี่ยวข้องกับการทำ Influencer Marketing เต็ม ๆ เพราะการที่จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในตัวแบรนด์ได้นั้น คุณต้องทำให้ผู้บริโภคเห็นการใช้งานของสินค้าหรือบริการมากกว่าแค่ในโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ แต่ในกรณีนี้คุณใช้ Influencer เป็นตัวโน้มน้าวความรู้สึก
และเมื่อผู้บริโภคเห็นแล้วว่า บุคคลที่พวกเขาชื่นชอบและติดตาม เขาใช้สินค้า/บริการตัวนี้และมีผลลัพธ์ที่ดี ตัวของผู้บริโภคเองก็เกิดความรู้สึกมั่นใจในตัวสินค้า/บริการนั้น ๆ จนนำไปสู่การสร้าง Conversion ให้กับธุรกิจของคุณในที่สุด
https://grin.co/blog/best-influencer-marketing-campaigns-2020
3. เป็นกลยุทธ์ชั้นยอดที่ช่วยเพิ่ม Social Engagement ให้กับธุรกิจ
Social Engagement คือการที่ลูกค้าสร้างปฏิสัมพันธ์บนสื่อสังคมออนไลน์ให้กับแบรนด์ของคุณ เป็นเหมือนวิธีการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างฝั่งลูกค้าและแบรนด์ในระยะยาว ช่วยให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการสร้างประสบการณ์อะไรบางอย่างที่ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกดีต่อแบรนด์ นำไปสู่ความเชื่อใจในแบรนด์และยอมกลายมาเป็นลูกค้าในที่สุด
ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ว่ากลยุทธ์ Influencer Marketing ถือเป็นกลยุทธ์ชั้นยอดในการช่วยเพิ่ม Social Engagement ให้กับธุรกิจของคุณ นักการตลาดหลายคนมักจะลืมนึกไปว่าในการว่าจ้าง Influencer นั้นจะมีแต่รูปแบบ (Format) เดิม ๆ Influencer ถ่ายรูปกับสินค้า เขียนแคปชันเชิญชวนผู้ติดตาม แล้วก็จบ (ซึ่งก็จริงในส่วนหนึ่ง) แต่สำหรับแบรนด์ที่ต้องการเพิ่ม Social Engagement คุณสามารถใช้ประโยชน์จาก Influencer ที่มีฐานผู้ติดตามมาสร้าง Social Engagement ให้แบรนด์ของคุณได้
ตัวอย่างที่เราจะเห็นกันได้บ่อยขึ้นในปัจจุบันคือ แบรนด์ต่าง ๆ เริ่มมีการนำเอา Influencer มาปรากฏตัวบนสื่อโซเชียลของตัวเอง อาจจะเป็นในรูปแบบ Live Video หรือแค่มาถ่ายรูปปรากฏหน้าซะหน่อย แค่นี้เหล่าผู้ติดตามก็จะตามสร้าง Engagement ให้กับแบรนด์ของคุณทันที (Like, Comment, Share ไปจนถึงแนะนำบอกต่อในอนาคต) ทำให้ฝั่งแบรนด์ก็ได้รับ Engagement Rate เพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องใช้เวลานานเลย
https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_4320946
กลยุทธ์การทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จ
ในการทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั้นนักการตลาดมือใหม่หลายคนมักคิดว่าต้องให้ความสำคัญที่ Budget ในการโฆษณาอย่างเดียว ยิ่งมี Budget เยอะยิ่งดี ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะการทำ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จนั้น นักการตลาดมืออาชีพส่วนใหญ่จะรู้ดีว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือเรื่องของ การเลือก Influencer ให้เหมาะสมกับสินค้าหรือแบรนด์ของเรา
โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ไม่ใช่แบรนด์ใหญ่ ไม่ได้มี Budget มากมาย แต่ต้องการใช้งานกลยุทธ์ Influencer Marketing ให้ประสบความสำเร็จ เราแนะนำว่าให้คุณพิจารณาเลือก Influencer จาก 2 ปัจจัยดังนี้
Opinion Leader
Opinion Leader คือผู้นำทางความคิด Influencer กลุ่มนี้จะเปรียบเป็นเหมือนศาสดาของผู้ติดตาม ไม่ว่า Influencer คนนี้จะใช้อะไร จะแนะนำอะไร ผู้ติดตามทั้งหลายก็จะเชื่อถือและบางคนอาจถึงขั้นไปซื้อสินค้าตาม (ซึ่งเราต้องการแบบนี้!) โดย Opinion Leader ไม่จำเป็นต้องมีผู้ติดตามเยอะมากมาย ขอแค่ผู้ติดตามของพวกเขา เป็นคนที่ชื่นชอบในตัว Influencer คนนั้นจริง ๆ ก็พอ
ยกตัวอย่างสถานการณ์เช่น หากธุรกิจของคุณเป็นธุรกิจ รีสอร์ตติดชายทะเล เปิดใหม่ ซึ่งคุณอาจยังไม่มี Budget ไปจ้าง Influencer ระดับสูง (ระดับดารา เนตไอดอล) ให้คุณเปลี่ยนมาลองหา Influencer ที่มีความเป็น Opinion Leader อยู่เช่น นักเดินทาง นักท่องเที่ยว ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มคนชอบเที่ยว มีฐานแฟนคลับที่ติดตามและชื่นชอบบ้าง (อาจจะตั้งจำนวนขึ้นมาว่าต้องมีผู้ติดตามมากกว่ากี่คน) จะคุ้มค่าและเห็นผลได้ดีกว่าการทุ่มงบไปจ้าง Influencer ระดับสูง ๆ นั่นเอง
Special List
Special List คือ Influencer ที่มีความเชี่ยวชาญ มีความชำนาญในตลาดนั้น ๆ การจ้าง Influencer ประเภทนี้สามารถสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจคุณได้ โดยอาศัยชื่อเสียง ความชำนาญในสายงานนั้น ๆ ของ Influencer แต่ละคนในการโน้มน้าวใจของผู้ติดตามให้คล้อยตามด้วยภาพลักษณ์ที่มีความน่าเชื่อถือ จนนำไปสู่การสร้าง Conversion ให้ธุรกิจในท้ายที่สุด
https://blog.hotmart.com/en/become-digital-influencer
หลักการเลือก Influencer มีอะไรบ้าง?
ปัจจุบันการเลือก Influencer คุณสามารถติดต่อผ่านบริษัท Agency ที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยให้ขั้นตอนการติดต่อรวดเร็วและเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น เพราะบริษัทเหล่านี้สามารถหา Influencer ที่มีคาแรคเตอร์ตรงกับสินค้าหรือสเปคที่คุณต้องการได้เลย (วิธีนี้เป็นขั้นตอนที่เร็วและง่ายที่สุด)
แต่ถ้าเกิดคุณไม่อยากจ้าง Influencer Agency แบบที่กล่าวไปแล้ว คุณสามารถใช้เครื่องมือต่าง ๆ ในการหา Influencer ที่เหมาะสมกับแบรนด์ของคุณได้ (ชนิดที่คุณไม่ต้องเข้าไปส่องเอง) เช่น Tellscore ที่เป็นแพลตฟอร์มที่รวมฐานข้อมูล Influencer เอาไว้ในที่เดียว เพียงแค่คุณเลือก Category ของแบรนด์ ระบบก็จะนำชื่อ Influencer ในด้านนั้น ๆ มาให้คุณพิจารณาได้เลย
ตัวอย่างเครื่องมือ Tellscore
หรือจะเป็นเครื่องมือฟรี ๆ ก็มีครับ เช่น Starngage ที่เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวม Influencer ทั่วประเทศ มาไว้ให้คุณเช็กข้อมูล เพียงแค่คุณใส่ Topic ของสินค้าหรือแบรนด์คุณไป ระบบก็จะแสดง Influencer ที่มี Topic เดียวกันกับที่คุณต้องการมาให้ (แต่ส่วนใหญ่จะเป็น Influencer ระดับ Mid-Tier ขึ้นไป)
ตัวอย่างการหา influencer โดยใช้ Tellscore
สุดท้ายหลักในการเลือกที่อยากฝากไว้อีกข้อ (หลายแบรนด์มักจะมาพลาดตรงนี้) ก็คือ หลังจากที่คุณเลือก Influencer ได้แล้ว ให้คุณตรวจสอบประวัติ หรือ Digital Footprint ของ Influencer คนนั้นก่อนเสมอ เช็กให้ละเอียดว่าเขาเคยมีดราม่าอะไรในโซเชียลไหม มีการแสดงความคิดเห็นทางด้านการเมืองอะไรที่เป็นผลเสียหรือเปล่า
เพราะถ้ามีเหตุการณ์แบบนั้นเกิดขึ้นก็จะส่งกระทบต่อแบรนด์อย่างหนักทันที ชนิดที่ว่าจากปัง กลายเป็นพังในพริบตา ดังนั้นสำหรับธุรกิจที่ต้องการจ้าง Influencer ควรต้องให้ความเรื่องนี้ด้วยครับ
หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ทุกคนพอเข้าใจกลยุทธ์การทำ Influencer Marketing มากขึ้นนะครับ ผมเชื่อเหลือเกินว่ากลยุทธ์นี้จะไม่หยุดเติบโตแต่เพียงเท่านี้แน่นอน บางทีอาจเป็นหัวใจสำคัญของการทำการตลาดในอนาคตเลยก็เป็นได้
หากคุณกำลังต้องการอยากปรึกษา ใครสักคน ในเรื่องการทำการตลาดออนไลน์ให้ประสบความสำเร็จ
เพื่อน ๆ สามารถติดต่อ Team Nerd Optimize มาได้เลย เราพร้อมให้คำตอบเพื่อน ๆ ทุกคนครับ !