Broken Link คืออะไร ไม่แก้ได้หรือไม่ ดูวิธีเช็ค Broken Link ที่นี่

Broken Link คืออะไร ไม่แก้ได้หรือไม่ ดูวิธีเช็ค Broken Link ที่นี่
Broken Link หรือลิงก์เสียสำหรับคนทำเว็บไซต์

ที่มาภาพ: www.greengeeks.com

ใครที่ทำเว็บไซต์น่าจะเคยได้ยิน Buzzword คำนี้มาไม่มากก็น้อย นั่นคือ คำว่า โบเคนลิงค์ หรือ Broken Link แต่ถ้าแปลกันให้เข้าใจง่ายๆ ก็คงจะหมายถึงลิงก์เสียบนเว็บไซต์นั่นเอง ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมากนะครับที่จะต้องจัดการ เพราะการมีลิงก์เสียที่เข้าใช้งานไม่ได้เป็นจำนวนมากบนเว็บไซต์คงจะไม่ส่งผลดีต่ออะไรเลย (ไม่ว่าจะเป็นในฝั่งของการทำ SEO หรือการใช้งานของ User ก็ตาม)

บทความนี้ NerdOptimize ของเราเลยจะมาเจาะลึกถึงเรื่องลิงก์เสียเหล่านี้กันสักหน่อย เพื่อให้ทุกคนรู้ว่า Broken Link คืออะไร ส่งผลเสียต่อการทำ SEO แค่ไหน ไปจนถึงจะตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างไรบ้าง ยังไงก็ตามไปดูคำตอบพร้อมๆ กันในบทความนี้เลยดีกว่าครับ

Broken Link คืออะไร ?

Broken Link คืออะไร

ที่มาภาพ: www.seobility.net

สำหรับนิยามของคำว่าลิงก์เสีย หรือ Broken Link คือ ไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานไม่ได้ เช่น คลิกแล้วไม่ไปไหน คลิกแล้วเจอกับหน้าว่างเปล่า คลิกแล้วเจอหน้าแสดงข้อผิดพลาดอย่าง 404 Notfound ฯลฯ (หลายคนก็เรียกว่า Dead Link หรือลิงก์ตาย) ทำให้ไม่สามารถเชื่อมโยงไปถึงหน้าปลายทางได้จากสาเหตุต่างๆ เช่น หน้าเว็บไซต์นั้นอาจจะถูกลบทิ้ง, เกิดจากการปิดกั้นบางรูปแบบ, ชื่อโดเมนถูกระงับ เป็นต้น ซึ่งการปล่อยให้มี Broken Link อยู่บนเว็บไซต์จำนวนมากจะทำให้เสีย User Experience ที่ดี ดูแล้วไม่เป็นมืออาชีพ ทำให้เว็บไซต์ดูไม่น่าเชื่อถือ แน่นอนว่า ส่งผลต่อการทำอันดับบน SEO อย่างแน่นอน

ตัวอย่างของ Broken Link ที่พบบ่อย เช่น

  • 404 Page Not Found: หน้าที่แจ้งเตือนว่าไม่พบข้อมูลอยู่ใน Server ของเว็บไซต์นี้ หรือไม่พบ URL ของหน้าเว็บไซต์นี้
  • 400 Bad Request: การแสดงผลผิดพลาดแบบหนึ่งในกลุ่ม 4xx family
  • Bad host: เซิร์ฟเวอร์ที่มีชื่อนั้นไม่มีอยู่จริงหรือไม่สามารถเข้าถึงได้
  • Bad URL: URL ผิดรูปแบบ เช่น ไม่มีวงเล็บเหลี่ยม เครื่องหมายทับเกิน โปรโตคอลผิด เป็นต้น

ข้อเสียของ Broken Link สำหรับมุม SEO

สิ่งแรกและเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ Broken Link จะส่งผลกระทบต่อการทำ SEO ก็คือ ประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ เพราะถ้าหากมีคนคลิกลิงก์และได้รับการแสดงผลที่ผิดพลาด แน่นอนว่า การกลับเข้ามาใช้งานเว็บไซต์เดิมคงจะเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้ Organi Traffic ที่ควรจะได้ลดลง และยังทำให้เว็บไซต์คู่แข่งได้ Traffic เหล่านี้ไปแทน

นอกจากนี้ Broken Link ยังส่งผลต่อการจัดอันดับของ SEO อีกด้วย เนื่องจาก Internal Link หรือ External Link ที่ทำในเว็บไซต์นั้นเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ Googlebot สามารถรวบรวมข้อมูลและจัดทำดัชนีบนเว็บไซต์ รวมถึงทำให้ Bot เข้าใจบริบทของเนื้อหาในเว็บไซต์ของคุณได้มากยิ่งขึ้น (ลองดูความสำคัญของการทำ Link Building เหล่านี้ได้ที่ Link Building คืออะไร แตกต่างกับการทำ Backlink แบบปกติอย่างไร ?

การที่ลิงก์ทั้งหมดกลายเป็นลิงก์เสียเข้าใจเนื้อหาเว็บไซต์ได้ยาก ทำให้ใช้เวลาเก็บข้อมูลนาน อีกทั้งยังส่งผลให้อันดับตกลงจากการที่เว็บไซต์ปฏิบัติตามกฎของ Google ได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด 

ลองดูกฎเกณฑ์ที่ Google กำหนดไว้เกี่ยวกับการทำเว็บไซต์ที่เราได้รวบรวมเอาไว้ที่นี่เลยครับ

วิธีเช็ค Broken Link

วิธีการตรวจสอบลิงก์เสียหรือ Broken Link ที่ง่ายและฟรีคือ การใช้ Google Search Console ซึ่งจะช่วยตรวจสอบว่ามีลิงก์เสียในเว็บไซต์ในจุดไหนบ้าง โดยเครื่องมือนี้จะอยู่ที่ Google Search Console > Crawl > Crawl Errors

วิธีเช็ค Broken Link ไปที่เมนู Crawl Errors
วิธีเช็ค Broken Link หากไม่มีข้อผิดพลาด Broken Link จะไม่ได้มีรายงานเข้ามา

ที่มาภาพ: www.seoptimer.com

หากไม่มีข้อผิดพลาดด้าน Broken Link ก็จะไม่ได้มีรายงานเข้ามา 

วิธีเช็ค Broken Link ถ้ามีรายงาน จะระบุว่า URL ไหนเป็นลิงก์เสีย เหตุผลอะไร

ที่มาภาพ: www.seoptimer.com

แต่ถ้ามีรายงานก็จะมีการระบุว่า URL ไหนเป็นลิงก์เสีย รวมถึงระบุด้วยว่าเสียด้วยเหตุผลอะไร

วิธีเช็ค Broken Link คลิกเข้าไปที่ลิงก์ใดลิงก์หนึ่งก็จะเห็นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม

ที่มาภาพ:kinsta.com

และเมื่อคุณคลิกเข้าไปที่ลิงก์ใดลิงก์หนึ่งก็จะเห็นข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติม หลังจากนั้นก็ต้องทำการแก้ไขโดยวิธีการแก้ไขและเครื่องมือที่แนะนำนั้นจะมีระบุให้ในหัวข้อต่อๆ ไปเลยครับ

วิธีแก้ไข Broken Link

การแก้ไข Broken Link จะขึ้นอยู่กับว่าลิงก์เสียที่มีนั้นมีที่มาจากแหล่งใด เช่น

  • หากเป็น Broken Link ที่เป็น Backlink จากเว็บไซต์ภายนอกให้ทำการติดต่อเจ้าของเว็บไซต์และขอให้พวกเขาอัปเดต URL ด้วย URL ใหม่ที่ชี้ไปยังหน้าเว็บที่ถูกต้อง
  • หากปัญหาเป็นปัญหาภายใน อย่างการทำ Internal Link หรือ External link ให้ทำการแก้ไขตามข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น แก้ปัญหาหน้า 404 ด้วยการทำ 301 redirect เป็นต้น

แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link

สำหรับเครื่องมือที่สามารถใช้ในการแก้ไข Broken Link มีอยู่มากมายหลายเครื่องมือ และนี่คือเครื่องมือที่เราขอแนะนำให้ลองใช้งานกัน

  • Broken link checker

หากคุณมีเว็บไซต์ที่ทำด้วย WordPress สามารถใช้​​ Plugin เพื่อตรวจสอบลิงก์เสีย โดยปลั๊กอินยอดนิยมคือ Broken link checker ที่คุณสามารถทำการติดตั้งได้เลยผ่าน Plugins > Add New > ค้นหาคำว่า Broken link checker > กด Install now > เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้กด Activate เพื่อใช้งาน

แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link Broken link checker

ที่มาภาพ: kinsta.com

หลังจากที่ติดตั้งแล้วให้เข้าไปที่ Tools > Broken link ระบบจะทำการรายงานลิงก์ที่เสียหาย เช่น ถ้ามีโลโก้เครื่องหมายตกใจสีแดงจะหมายถึง 404 Not found, หากเป็นโลโก้สามเหลี่ยมสีเหลืองหมายถึง Server Not found 

แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link กด Edit URL เพื่อแก้ไขลิงก์

ที่มาภาพ: kinsta.com

หลังจากนั้นให้กด Edit URL เพื่อแก้ไขลิงก์ หลังจากนั้นทำการกดอัปเดตให้เรียบร้อย

  • Ahrefs Broken Link Checker
แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link Ahrefs Broken Link Checker

Ahrefs Broken Link Checker เครื่องมือสำหรับตรวจสอบลิงก์เสียบนเว็บไซต์ของ Ahrefs ที่สามารถเข้าใช้งานได้ฟรี โดยสามารถเช็กได้มากสูงสุดถึง 100 ลิงก์แถมมี Anchor บอกด้วยว่าลิงก์มาจากคำไหน และลิงก์ไปที่หน้าเว็บไซต์ไหน 

แนะนำเครื่องมือแก้ Broken Link หน้าจอผลการเสิร์ช Ahrefs Backlink Checker

หน้าจอผลการเสิร์ช Ahrefs Backlink Checker

สรุป

จะเห็นว่า โบเคนลิงค์ หรือ Broken Link คือ ลิงก์เสียที่ไม่สามารถเชื่อมโยงสู้หน้าเว็บไซต์ปลายทางได้ ทำให้เว็บไซต์สูญเสียทั้งผู้ใช้งานเว็บไซต์ ภาพลักษณ์ความน่าเชื่อถือ ไปจนถึงสูญเสียอันดับ SEO ที่ควรจะได้ ดังนั้น จึงไม่ควรที่จะปล่อยให้มี Broken Link ในเว็บไซต์ ควรที่จะทำการรีบแก้ไขโดยการตรวจสอบ Broken Link โดยใช้ Google Search Console หลังจากนั้นให้ทำการแก้ไขโดยการใช้ Plug-in ต่างๆ เพียงเท่านี้ก็ช่วยแก้ไขลิงก์เสียที่มีอยู่ได้แล้วอย่างแน่นอน

อ้างอิง

https://www.seoptimer.com/blog/broken-links/
https://www.semrush.com/blog/broken-link/
https://betterstudio.com/wordpress-plugins/best-wordpress-broken-link-checker-plugins/

ผู้เขียน

Picture of NerdOptimize Team
NerdOptimize Team

Tags:

แชร์บทความนี้:

บทความที่คุณ อาจสนใจ

Content Pillar
SEO

Content Pillar กลยุทธ์สร้างคอนเทนต์ นำเสนอเนื้อหาถูกใจทั้ง User และ Algorithm

Content Pillar คือ หัวข้อหรือประเด็นหลักที่แบรนด์ต้องการเสนอให้กับเป้าหมาย เพื่อความเข้าใจง่าย และสามารถรับข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการได้สะดวก

อ่านบทความ ➝
Digital Agency คือ
SEO

Digital Agency คือเบื้องหลังสู่ความสำเร็จขององค์กรคุณ

Digital Agency คือทางลัดสู่ความสำเร็จของการตลาดออนไลน์ ให้บริการทำการตลาดออนไลน์ด้วยผู้เชี่ยวชาญ วางแผนกลยุทธ์โดยคำนึงถึงเป้าหมายขององค์กร

อ่านบทความ ➝
conversion คือ
SEO

Conversion คืออะไร พร้อมแนะนำวิธีเพิ่ม Conversion Rate ที่สำคัญกับธุรกิจออนไลน์!

Conversion คือการโต้ตอบ หรือกิจกรรมใด ๆ ก็ตามที่ลูกค้าทำเมื่อเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการกดคลิก การสมัครแบบฟอร์ม การกดสั่งซื้อ หรือการกดจองสินค้า

อ่านบทความ ➝

รับส่วนลดซื้อคอร์สครั้งแรก สอบถามเรื่องเรียน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า