ในการทำ SEO นั้นมีปัจจัยที่ช่วยเสริมให้ On-Page SEO สามารถเกิดการติดอันดับที่ดีในหน้า SERP ของ Google ได้หลากหลายปัจจัย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ไม่ควรมองข้ามเลยนั่นก็คือ “Heading Tag” ที่มีความสำคัญในการกำหนดหัวข้อต่าง ๆ ภายในบทความ เพราะหากมีความเข้าใจเรื่องการ Heading Tag เป็นอย่างดี ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ SEO ได้ไม่ยาก
ไหนใครบ้างที่อยากทำ SEO ให้ติดอันดับ บทความนี้จะพาทุกคนไปเจาะลึกเกี่ยวกับสาระดี ๆ ที่ไม่ควรพลาดเกี่ยวกับความสำคัญของ Heading Tag ไม่ว่าจะ Heading Tag คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่แบบ ไปจนถึงเทคนิคการออกแบบ Heading Tag ให้มีประสิทธิภาพ หากพร้อมแล้วไปหาคำตอบกันในบทความนี้เลย!
Heading Tag คืออะไร?
Heading Tag หรือที่รู้จักกันในชื่อ HTML Tag คือ การกำหนดหัวข้อต่าง ๆ ของเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ว่ามีหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยอะไรบ้าง ซึ่งการมี Heading Tag สำคัญมากสำหรับการเขียนบทความ SEO เพราะจะต้องใช้ในการวาง Structure ของบทความ ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพรวมของเนื้อหาย่อย ๆ ในหน้าเว็บไซต์ว่าแต่ละส่วนเป็นเนื้อหาในลักษณะใด ซึ่งการใช้ Heading Tag เพื่อแยกเนื้อหาเป็นส่วน ๆ แบบนี้จะช่วยให้ Google Bot และ User สามารถเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้อย่างง่ายดาย
โดย Heading Tag ประกอบด้วย H1 ถึง H6 ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีความสำคัญ ขนาดตัวอักษรที่แตกต่างกันออกไปตามลำดับของ Heading Tag แต่ละอัน ความสำคัญดังกล่าวนี้เองคือจุดที่นักเขียนบทความ SEO ต้องให้ความใส่ใจ เพราะ Header Tag นั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำให้เว็บไซต์ติดอันดับ SEO นั่นเอง
Heading Tag มีกี่ประเภท อะไรบ้าง?
ประเภทของ Heading Tag สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 3 ประเภท ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
Heading 1 (H1)
Heading 1 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า H1 คือ ส่วนหัวข้อหลักที่อธิบายถึงภาพรวมทั้งหมดของเนื้อหาให้ Google และ User เข้าใจว่าเป็นคอนเทนต์ดังกล่าวจะนำเสนอเนื้อเกี่ยวกับอะไรบ้าง และไม่ว่าจะมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำ SEO หรือจะคนที่ทำ SEO มานานแล้วก็ตาม เราขอแนะนำว่า การเพิ่ม Heading 1 ภายในเนื้อหาควรมีเพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น และต้องไม่ซ้ำกับ Title Tag เพราะ H1 และ Title Tag ถือเป็นคนละส่วนกัน
ตัวอย่างเช่น
- โรคซึมเศร้า (Depression) เข้าใจสาเหตุ และรับมือกับอาการของสุขภาพจิตที่เกิดขึ้น
- รู้จัก “การขายฝากที่ดิน” พร้อมขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้
Heading 2 (H2)
Heading 2 หรือเรียกสั้น ๆ ว่า H2 เป็นส่วนที่มีความสำคัญรองลงมาจากส่วน H1 โดยเปรียบเสมือนหัวข้อรองภายในเนื้อหา มีการแบ่งย่อยให้เห็นชัดมากขึ้นว่าในเนื้อหาประกอบด้วยหัวข้อย่อยอะไรบ้าง ซึ่งการใส่ H2 สามารถใส่ได้หลายหัวข้อ ตามความเหมาะสมในการวางโครงสร้างของบทความ
Heading 3-6 (H3-6)
Heading 3-6 หรือ H3-H6 เป็นหัวข้อย่อย ๆ ที่ช่วยอธิบายเนื้อหาที่เกี่ยวข้องเพิ่ม โดยจะมีลำดับความสำคัญรองลงมา และยังเป็นหัวข้อย่อย ๆ ที่อยู่ภายในจาก H2 นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
กรณีที่มีการกำหนดหัวข้อ H2 ในลักษณะที่สามารถแบ่งหัวข้อย่อยออกมาได้อีก ก็จะมีการใส่ H3 อธิบายเนื้อหาที่ย่อยออกมาจาก H2 เพิ่มเติม เช่น
H2 : ประเภทของสิว แบ่งออกเป็นกี่แบบ มีอะไรบ้าง?
H3 : สิวอุดตัน
H3 : สิวอักเสบ
H3 : สิวหัวช้าง
H3 : สิวผด
H3 : สิวตุ่มหนอง
H3 : สิวซีสต์
H3 : สิวยีสต์
Heading Tag มีความสำคัญอย่างไรต่อการทำ SEO
Heading Tag มีความสำคัญต่อการทำ SEO ดังต่อไปนี้
ช่วยให้ Search Engines ทำความเข้าใจโครงสร้างของหน้าเว็บ
ข้อแรก Heading Tag ช่วยให้ Search Engines ทำความเข้าใจโครงสร้างของหน้าเว็บ อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ การมี Heading Tag ภายในบทความจะทำให้ Google Bot สามารถเข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นว่า บทความกำลังนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอะไร มีเนื้อหาสำคัญที่เป็นหัวข้อภายในบทความแบบไหนบ้าง
เพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านคอนเทนต์ให้ User
ประโยชน์ข้อต่อมาของการมี Heading Tag คือ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอ่านคอนเทนต์ให้ User ไม่ว่าจะเป็นการหาหัวข้อที่ต้องการจะอ่านได้ง่ายขึ้น เห็นภาพรวมของเนื้อหาทั้งหมดว่ามีหัวข้อย่อยอะไรบ้าง ซึ่งจะทำให้ User รู้สึกดีกับการอ่านคอนเทนต์และสามารถอ่านได้ตั้งแต่ต้นจนจบ
นอกจากการจัดวางเนื้อหาที่เป็นระเบียบที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถอ่าน และทำความเข้าใจคอนเทนต์ได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังถือเป็นการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้กับ User ซึ่งจะเข้าข่ายหลักเกณฑ์ EEAT Factors อีกด้วย
ช่วยให้เว็บไซต์มีโอกาสติดตำแหน่ง Feature Snippet
บริษัทรับทำ SEO และเหล่า SEO Specialist หลายคนการันตีว่าเรื่องของ Heading Tag นั้นสามารถช่วยเรื่องการให้เว็บไซต์ติด Feature Snippet หรือ Zero Position ได้ ซึ่งการติด Feature Snippet จะส่งผลดีในการทำ SEO เพราะจะทำให้มีคนเข้าชมเว็บไซต์ของเรามากขึ้น แถมยังเป็นการทำให้ติดอันดับแบบ Organic อีกด้วย
ดังนั้น การวาง Heading Tag ที่ถูกต้องตามโครงสร้างที่เราได้อธิบายไป รวมถึงการออกแบบการเขียน Heading Tag ให้เข้าใจง่าย น่าดึงดูด จะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการติด Feature Snippet ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้ (แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ ของเว็บไซต์ด้วย)
เทคนิคการออกแบบ Heading Tag ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำ SEO มีอะไรบ้าง
อยากออกแบบ Heading Tag ให้น่าสนใจ พร้อมกับช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำอันดับ SEO ต้องทำอย่างไร วันนี้เรามีเทคนิคดี ๆ มาแนะนำกัน ที่รับรองว่าอ่านจบแล้วจะสามารถนำไป Optimized กับเว็บไซต์ของคุณได้ทันที
กระจายการใส่ Keyword ลงใน Heading Tag
เทคนิคแรกของการทำ Heading Tag ให้มีประสิทธิภาพ คือ การกระจาย Keyword ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น Focus keyword หรือ Related Keyword ใน Heading Tag โดยแนะนำว่าไม่ควรกระจาย Keyword มากเกินไป หรือใส่ไปแล้วทำให้ดูฝืนกับบริบทของเนื้อหาของบทความ อ่านแล้วไม่ลื่นไหล ที่นอกจากจะทำให้ประโยคใน Header Tag ดูไม่เป็นธรรมชาติแล้ว Google อาจจะมองว่า Header Tag ดังกล่าวเป็นสแปมได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อการทำ SEO โดยตรง
Heading 1 (H1) ควรมีแค่ตำแหน่งเดียวในหน้าเว็บไซต์
อย่างที่ได้อธิบายไปก่อนหน้านี้ว่า Heading 1 เป็นหัวข้อหลักของเนื้อหา ฉะนั้น หากจะให้การทำเขียนบทความ SEO มีประสิทธิภาพ และ Google ทราบว่าหัวข้อหลักในเนื้อหาของเว็บไซต์แต่ละหน้านั้นคืออะไร การใส่ H1 จึงควรมีแค่ตำแหน่งเดียวในหน้าเว็บไซต์และควรอยู่ในตำแหน่งด้านบนสุดของบทความ รองลงมาจาก Title Tags
ควรเรียงลำดับตัวเลขของ Heading Tag อย่างถูกต้อง
การเรียงลำดับ Heading Tag ให้ถูกต้องจะช่วยให้โครงสร้างของเนื้อหาใสหน้าเว็บไซต์เป็นระเบียบ อ่านง่าย รู้ลำดับเนื้อหาอย่างชัดเจน โดยการเรียงลำดับไม่ควรเรียงข้ามไปมา เช่น H1>H3>H2 แต่ควรเรียงให้ถูกต้องตามลำดับควรสำคัญของ Header Tag
ตัวอย่างการเรียงลำดับ Header Tag ที่ถูกต้อง
H1 ฉีดฟิลเลอร์ ยี่ห้อไหนดี แต่ละยี่ห้อต่างกันอย่างไร?
H2 รู้จัก ฟิลเลอร์ คืออะไร?
H2 เนื้อฟิลเลอร์มีกี่แบบ อะไรบ้าง?
H2 บริเวณที่สามรถฉีดฟิลเลอร์มีที่จุดไหนบ้าง
H2 รวมฟิลเลอร์ทุกยี่ห้อ ปลอดภัย อัปเดตล่าสุด เลือกฉีดยี่ห้อไหนดี?
H3 ฟิลเลอร์ยี่ห้อ A
H3 ฟิลเลอร์ยี่ห้อ B
H3 ฟิลเลอร์ยี่ห้อ C
H3 ฟิลเลอร์ยี่ห้อ D
H3 ฟิลเลอร์ยี่ห้อ E
H2 ต้องรู้ วิธีเช็กฟิลเลอร์แท้ เช็กอย่างไร?
H2 ฉีดฟิลเลอร์ที่ไหนดี?
H2 สรุปเนื้อหา
จากตัวอย่างด้านบน สังเกตได้เลยว่าการวาง Heading Tag จะต้องวางเรียงลำดับตามตัวเลขเท่านั้น หากไม่มี H2 ก็จะต้องไม่มี H3 / H3 ต้องอยู่ในหัวข้อย่อยของ H2 / H1 จะเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดที่สามารถ Cover ทั้งบทความได้
แนะนำเครื่องมือฟรี ช่วยเช็ก Heading Tag ของแต่ละเว็บไซต์
หากใครกำลังมองหาเครื่องมือช่วยเช็ก Header Tag ตอบโจทย์การทำ On Page SEO อย่างมีประสิทธิภาพ เราขอแนะนำ 4 เครื่องมือ SEO Tools ติดตั้งง่าย ใช้งานได้ฟรี ๆดังต่อไปนี้
- Ahrefs SEO Tools Bar : เป็นเครื่องมือเช็ก Header Tag ซึ่ง Ahrefs SEO Tools Bar เป็นส่วนขยายสำหรับ Chrome ที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ไม่เสียค่าใช้จ่าย นอกจากการเช็ก Header Tag แล้ว ยังมีฟีเจอร์อื่น ๆ ที่ตอบโจทย์การใช้งานของคนทำ SEO มากมาย เช่น จำนวน Keyword หรือแม้กระทั่งจำนวน Backlink เป็นต้น
- Serpstat Extension : อีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำ SEO โดยเฉพาะการเช็ก Header Tag ที่จะแสดงผล Header Tag ลำดับต่าง ๆ ให้เราเห็นได้เลยที่หน้าเว็บไซต์
- SEOquake : เครื่องมือเช็ก Header Tag ตัวต่อมาที่ฟรีและสามารถติดตั้งได้ง่าย ๆ ที่ส่วนขยายของ Chrome โดยสามารถเช็กได้ง่าย ๆ ไม่ต้องมาไล่หาดูทั้งหน้าเว็บไซต์ เพราะเครื่องมือดังกล่าวได้สรุปเรียง Header Tag ต่าง ๆ ไว้ในหน้าเดียว
- SEO Meta in 1-Click : เป็นอีกหนึ่งส่วนขยายที่ออกแบบมาสำหรับการเช็กส่วนสำคัญต่าง ๆ ในหน้า On Page SEO ซึ่งใครที่กำลังมองหาตัวช่วยที่ครบครัน โดยเฉพาะการเช็กส่วน Heading Tag ของเว็บไซต์ต่าง ๆ ไปจนถึง Title, Meta description, การใส่ Alt text และฟีเจอร์อื่น ๆ อีกมากมาย แถมยังใช้งานไม่ยาก
Heading Tag ส่วนสำคัญ ที่ไม่ควรมองข้ามในการทำ SEO
เชื่อว่าหลายคนที่อ่านมาถึงตรงนี้คงเห็นความสำคัญของ Header Tag ต่อการทำ SEO ไม่น้อย เพราะนอกจากจะเป็นจุดที่ไม่ควรมองข้ามแล้ว การให้ความสำคัญตั้งแต่การจัดวางลำดับ, การคิด Copywriting ให้ดี, มีการกระจาย Keyword ที่เหมาะสม และเป็นธรรมชาติ จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำอันดับของเว็บไซต์ในหน้า Search Engines พร้อมช่วยเพิ่ม Website Traffic ได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม Heading Tag ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัจจัยที่จะทำให้การทำ SEO สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญในส่วนอื่น ๆ ของการทำ SEO ด้วย เช่น การเขียนบทความที่มีคุณภาพสูง, การทำ On-Page การทำ Backlink ส่งกลับมาที่เว็บไซต์หลัก และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหมดทั้งมวลนี้เองก็จะช่วยให้เว็บไซต์สามารถติดอันดับ SEO ได้อย่างยั่งยืน