คอนเทนต์ คืออะไร ดูตัวอย่างการทำคอนเทนต์ให้โดนใจกลุ่มเป้าหมาย

เคยได้ยินประโยคที่ว่า Content is King กันไหมครับ? 

หากพูดประโยคนี้ในบริบทของการทำ Digital Marketing ในยุคนี้ดูเหมือนจะไม่เกินจริงเลย เพราะทุกแพลตฟอร์มที่มีอยู่ตอนนี้ขับเคลื่อนด้วยคอนเทนต์ (Content) ทั้งนั้น แล้วคอนเทนต์ คืออะไร มีกี่ประเภท จะใช้คอนเทนต์ในการสร้างผลลัพธ์ทางการตลาดและการสร้างแบรนด์ได้อย่างไร บทความนี้ NerdOptimize จะมาสรุปองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำคอนเทนต์ให้ได้ทราบกัน สายทำโฆษณา คอนเทนต์ นักเขียน นักการตลาด หรือแม้แต่เจ้าของธุรกิจที่กำลังจะปั้นแบรนด์ห้ามพลาดเลยนะครับ

คอนเทนต์ คืออะไร

คอนเทนต์ คืออะไร

ที่มาภาพ: www.entrepreneur.com

หากพูดถึงคอนเทนต์ในแง่ของการทำการตลาด Content หรือ คอนเทนต์ คือ ข้อมูลที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้อื่นได้รับรู้ถึงเนื้อหาที่ต้องการจะสื่อ ผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เช่น  เว็บไซต์ เว็บบล็อก โซเชียลมีเดีย ฯลฯ โดยทำออกมาได้ในหลายรูปแบบ เช่น  วิดีโอ ภาพถ่าย ภาพประกอบ โปสเตอร์ การเขียนบทความ เขียนแคปชั่น ฯลฯ 

ซึ่งการทำคอนเทนต์ในปัจจุบันมีหลายวัตถุประสงค์อย่างการโพสต์คอนเทนต์เพื่อสร้างความบันเทิง, เพื่อให้ความรู้ เพื่อทำให้คนจดจำ หรือเพื่อการขายของก็มี คอนเทนต์จึงเป็นเหมือนอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญเพราะนี่คือสิ่งที่ช่วยให้เกิดความสนใจในผลิตภัณฑ์หรือบริการ ไปจนถึงสร้างความรู้ ความเข้าใจ หรือการตัดสินใจที่ถูกต้องให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เลยทีเดียว

คอนเทนต์ มีกี่ประเภท

ในที่นี้จะขอแบ่งคอนเทนต์ออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ

คอนเทนต์ตามลักษณะด้านการผลิต

ถ้าแบ่งประเภทของคอนเทนต์ตามลักษณะด้านการผลิตอาจแบ่งคอนเทนต์ได้ออกเป็นหลายกลุ่ม ดังนี้

  • คอนเทนต์ประเภทงานเขียน (Content Writing) จะเป็นคอนเทนต์ที่ผลิตด้วยการเขียนในรูปแบบข้อความ เช่น E-book รีวิว รายงาน บทความบนเว็บไซต์ เป็นต้น
  • คอนเทนต์ประเภทภาพถ่าย (Photographic Content) เป็นคอนเทนต์ที่ใช้ภาพถ่ายในการสื่อสาร สามารถใช้ในการแสดงผลงานศิลปะ ถ่ายภาพทางธรรมชาติ รูปสินค้า ภาพถ่ายสถานที่ ภาพอีเวนต์ และอื่นๆ และยังใช้ประกอบกับคอนเทนต์งานเขียนอื่นๆ ได้ด้วย
  • คอนเทนต์ประเภทวิดีโอ (Video Content) เป็นคอนเทนต์ที่ใช้ภาพเคลื่อนไหวและเสียงในการสื่อสาร เช่น วิดีโอบนโซเชียลมีเดีย คลิปวิดีโอบนเว็บไซต์ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ 
  • คอนเทนต์ประเภทเสียง (Audio Content) เป็นคอนเทนต์ที่ใช้เสียงเป็นสื่อสาร เช่น Postcast รายการวิทยุ บทสนทนาเสียง เพลง และอื่นๆ
  • คอนเทนต์ประเภทภาพเคลื่อนไหวแบบกราฟิก (Motion Graphics) เป็นคอนเทนต์ที่ใช้กราฟิกเคลื่อนไหว เพื่อสร้างเป็นวิดีโอ เช่น งานอนิเมชัน เป็นต้น

คอนเทนต์ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

นอกจากนี้ คอนเทนต์ยังสามารถแบ่งตามประเภทของวัตถุประสงค์ของการใช้งานได้เช่นเดียวกัน โดยประเภทคอนเทนต์ในรูปแบบนี้จะเรียกว่า Content Metrix ซึ่งจะแบ่งคอนเทนต์ออกเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

คอนเทนต์ตามวัตถุประสงค์การใช้งาน

ที่มาภาพ: www.smartinsights.com

  • คอนเทนต์ให้ความบันเทิง (Entertain) จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นให้ความสนุกสนานกับผู้อ่าน พบได้มากในโซเชียลมีเดีย เช่น คอนเทนต์เล่นเกมชิงรางวัล, คอนเทนต์มีม ฯลฯ หากทำคอนเทนต์เหล่านี้ให้กับแบรนด์มักจะได้ยอด Engagement ที่สูงจากการที่คนจะเข้ามาคอมเมนต์และแชร์ต่อๆ กัน
  • คอนเทนต์สร้างแรงบันดาลใจ (Inspire) จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นกระตุ้นให้เกิดไอเดีย หรือความรู้สึกบางอย่าง เช่น ความอยากได้ อยากทำตาม ฯลฯ อย่างการใช้อินฟลูเอนเซอร์รีวิวสินค้า คอนเทนต์แนวบอกเล่าไอเดียที่เอาไปทำตามได้
  • คอนเทนต์ให้ความรู้ (Educate) จะเป็นคอนเทนต์ที่เน้นเนื้อหาสาระและให้ความรู้กับผู้อ่าน เช่น คอนเทนต์แนว How-to, การทำ Infographic, การทำรีพอร์ต เป็นต้น คอนเทนต์ประเภทนี้จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์เป็นหลัก
  • คอนเทนต์โน้มน้าวใจ (Conversion) จะเป็นคอนเทนต์ที่ช่วยส่งเสริมด้านการขายได้ดี เช่น โฆษณา, ตารางสินค้า, คุณสมบัติสินค้า, กรณีศึกษา เป็นต้น

วิธีการสร้างคอนเทนต์ (Content) ให้ได้คุณภาพ

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณอาจจะอยากรู้แล้วว่า หากต้องการสร้างคอนเทนต์ที่มีคุณภาพนั้นต้องทำอะไรบ้าง เราลองมาดูกันดีกว่าว่า กว่าจะได้คอนเทนต์ออกมาสักชิ้นนั้นมีขั้นตอนสำคัญที่ต้องโฟกัสในจุดไหน ดังนี้

เลือกว่าจะทำ Content แนวไหน 

เรื่องแรกที่จะทำให้คุณได้คอนเทนต์ที่มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ในด้านเนื้อหา แต่ตอบโจทย์วัตถุประสงค์ของธุรกิจ และแพลตฟอร์มที่ใช้ในการทำการตลาด ก็คือการรู้ว่าจะต้องผลิตคอนเทนต์แนวไหนออกมานั่นเอง โดยรูปแบบคอนเทนต์ทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือ

เลือกว่าจะทำ Content แนวไหน

การทำคอนเทนต์จากกระแส (Topical Content)

Topical Content คือ คอนเทนต์ที่เน้นเขียนเพื่อเกาะกระแส ติดตามเทรนด์ และใช้สถานการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่งทำให้มีคนสนใจเนื้อหาในคอนเทนต์ ยกตัวอย่างคอนเทนต์ประเภทนี้ได้แก่ คอนเทนต์ข่าว, คอนเทนต์อัปเดตเทรนด์, คอนเทนต์ไวรัล ฯลฯ คอนเทนต์ประเภทนี้เหมาะสำหรับทำลงบนโซเชียลมีเดีย เพราะเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนเน้นเสพคอนเทนต์ตามกระแสเป็นหลัก

ข้อดีของการทำ Topical Content

  • ทำได้เร็ว เพราะไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหรือวิเคราะห์อะไร เน้นทำเร็ว ผลิตจำนวนมาก และทำให้ทันกระแสเป็นหลัก
  • สร้าง Engagement ได้ดี เนื่องจากเป็นคอนเทนต์ที่มักเล่นกับกระแสที่คนสนใจ หากใส่ความครีเอทีฟลงไปก็จะช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในคอนเทนต์นั้นๆ มากขึ้น

ข้อจำกัดของการทำ Topical Content

  • ต้องเน้นเกาะกระแส มีเทรนด์อะไรมาต้องสามารถนำมาผลิตเป็นคอนเทนต์ได้ หากช้าก็จะทำให้คอนเทนต์ไม่ได้สร้างผลลัพธ์ที่ดีเท่าที่ต้องการ
  • มาไว ไปไว ถึงแม้จะทำได้เร็วและทำได้จำนวนมาก แต่ผลลัพธ์มักอยู่ได้ไม่นาน หากประเด็นนั้นผู้คนเลิกสนใจไป คอนเทนต์นั้นก็อาจจะไม่มีคนเข้าชมหรือแชร์อีกเลย

หากคุณต้องการสร้างคอนเทนต์แบบ Topical Content ก็จำเป็นต้องดูด้วยว่า กระแสไหนเหมาะที่จะหยิบมาเล่นบ้าง และถ้าทำแล้วจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์ด้วยหรือไม่ โดยคุณสามารถติดตามเทรนด์ รวมถึงดูไอเดียของการทำคอนเทนต์ได้จากโซเชียลมีเดียต่างๆ หรือใช้ Tools เข้าช่วย เช่น trend.wisesight

การทำคอนเทนต์จากผลการค้นหา (Evergreen Content) 

Evergreen Content คือ วิธีทำคอนเทนต์ที่เน้นผลลัพธ์แบบยั่งยืน อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ คือ ทำคอนเทนต์ครั้งเดียวคนก็จะยังเข้ามาอ่านอยู่อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเนื้อหาไม่ล้าสมัยหรือตกยุค และเป็นเนื้อหาที่เป็นข้อเท็จจริงที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง ซึ่งคอนเทนต์ที่จัดอยู่ในรูปแบบ Evergreen Content ที่เห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ บทความ SEO นั่นเอง

ข้อดีของการทำ Evergreen Content

  • ช่วยในการทำ SEO โดยการทำ Keyword Research ที่ช่วยดึงดูดกลุ่มเป้าหมายที่ใช้งาน Google ให้เข้ามายังเว็บไซต์ของคุณจากการทำอันดับบน Search Engine
  •  ไม่ต้องผลิตถี่ ไม่เน้นตามกระแส จึงเหมาะสำหรับธุรกิจที่ไม่ได้มีทีมคอนเทนต์ที่สามารถปั่นบทความหรือคอนเทนต์จำนวนมากๆ ได้ 
  • ถูกมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะคอนเทนต์ของคุณจะถูกหาเจอบน Google และถ้าคุณเขียนเนื้อหาได้ดีก็จะได้รับความน่าเชื่อจากทั้งผู้อ่านและ Google เองด้วย

ข้อจำกัดของการทำ Evergreen Content

  • ใช้เวลาในการทำ เพราะส่วนใหญ่จะต้องเน้นการเขียนเนื้อหาในเชิงให้ความรู้เป็นหลัก จึงต้องใช้เวลาในการผลิต
  • ทำได้ยากกว่า Topical Content จากการต้องสำรวจ รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลก่อนจะนำมาเขียน
  • Engagement ไม่ได้หวือหวา เพราะไม่ได้เน้นเล่นกับกระแส แต่มักจะได้ Traffic มาแบบสม่ำเสมอแทน

สำหรับการวางแผนทำ Evergreen Content โดยเฉพาะการทำ SEO Content จะต้องพึ่งพาเครื่องมือที่ใช้ในการหาคีย์เวิร์ด เพื่อนำมาทำ On-Page SEO รวมถึงใช้สำหรับสร้างเนื้อหาคอนเทนต์ที่ตรงกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย โดยเครื่องมือที่ว่านี้มีอยู่ด้วยการหลายตัว เช่น Google Keyword Planner, Ubersuggest เป็นต้น

ควรทำ Content Plan อย่างไร

Content Plan คือ การวางแผนทำคอนเทนต์ ประกอบขั้นตอนต่างๆ ดังนี้

  • การตั้งเป้าหมาย (Goal) 

โดยคุณควรรู้ว่าจะทำคอนเทนต์นี้ไปเพื่ออะไร เช่น ให้ความรู้, สร้างยอดขาย ฯลฯ โดยอาจจะใช้หลักการที่เรียกว่า Smart Goal ในการตั้งโจทย์เพื่อทำให้คอนเทนต์ที่ผลิตออกมาสามารถวัดผลลัพธ์ได้

ควรทำ Content Plan อย่างไร การตั้งเป้าหมาย (Goal)

ที่มาภาพ: www.breeze.pm

  • ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย

หัวใจของคอนเทนต์คือ ผู้อ่าน ดังนั้น จึงควรทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจะให้คอนเทนต์สื่อสารเนื้อหาไปยังพวกเขา โดยอาจจะเริ่มจากการหา Customer Insight หรือ ข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มเป้าหมาย เช่น พวกเขามีข้อมูลประชากร (Demographic) อย่างไร, ชอบอะไร, ไม่ชอบอะไร, มีพฤติกรรมอะไรที่สามารถนำมาเชื่อมโยงกับการทำคอนเทนต์ได้บ้าง, ดูหรือติดตามคอนเทนต์จากที่ไหนบ้าง เป็นต้น หลังจากนั้นจึงนำมาทำเป็น Persona ที่ทำให้คุณเห็นกลุ่มเป้าหมายตัวอย่างได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย

ที่มาภาพ: www.freepik.com
ตัวอย่างการทำ Persona

  • สร้างความโดดเด่นให้กับคอนเทนต์

โดยควรที่จะกำหนดว่าคอนเทนต์จะมีน้ำเสียง (Voice) อย่างไร มีคาแรกเตอร์ของแบรนด์เป็นอย่างไร ไปจนถึงควรที่จะกำหนดสี ฟอนต์ รูปแบบการจัดวาง Layout ต่างๆ ที่ช่วยสร้างภาพจำเพิ่มเติมให้กับคอนเทนต์ของคุณลงไปด้วย 

สร้างความโดดเด่นให้กับคอนเทนต์

ที่มาภาพ: https://www.blockdit.com/jonessalad

ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Jones’ Salad ที่มักจะนำเสนอคอนเทนต์ออกมาในรูปแบบของ Infographic ที่เข้าใจง่าย มีคาแรกเตอร์ลุงโจนส์ที่ทำให้คนจดจำ ซึ่งวาดออกมาเป็นลายเส้นง่ายๆ พร้อมกับกำหนดคู่สีอย่าง เขียว เหลืองที่เห็นใช้บ่อยๆ มาด้วย ทำให้คอนเทนต์ของ Jones’ Salad เป็นที่น่าจดจำสำหรับกลุ่มเป้าหมาย

  • จัดตารางการผลิตคอนเทนต์

หากต้องการทำคอนเทนต์ให้มีคนติดตามก็ควรที่จะมีการวางแผนลงคอนเทนต์อย่างสม่ำเสมอ โดยอาจจะทำชีตหรือใช้ Project Management Tools หรือ Content Calendar มาใช้ในการจัด Task ต่างๆ ทั้งหัวข้อ ไอเดีย วันที่จะต้องส่งงาน วันที่จะต้องเผยแพร่งาน ไปจนถึงระบุช่องทางที่เผยแพร่ เช่น เว็บไซต์, อีเมล, Social Media, YouTube เอาไว้ด้วย ยกตัวอย่าง Tools ที่ช่วยจัดการในเรื่องนี้ได้ เช่น Asana, Clickup เป็นต้น

จัดตารางการผลิตคอนเทนต์

ที่มาภาพ: https://clickup.com/features

คอนเทนต์ (Content) และการทำการตลาดด้วยเนื้อหา (Content Marketing) แตกต่างกันอย่างไร

หากจะบอกว่า คอนเทนต์เป็นส่วนหนึ่งของ Content Marketing ก็คงจะไม่ผิด เพราะอย่างที่บอกไปแล้วว่าคอนเทนต์เป็นเหมือนกับ ‘สาร’ ที่เราต้องการจะส่งไปให้ถึงกลุ่มเป้าหมาย ส่วน Content Marketing คือ กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบหนึ่งที่ใช้สารอย่างคอนเทนต์เป็นสื่อการในการพูดคุยและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ผ่านช่องทางแพลตฟอร์มต่างๆ ที่แบรนด์มี ซึ่งการวาง Content Marketing Strategy ที่ดีต้องเริ่มจากการมีเป้าหมายในการทำคอนเทนต์ที่แน่ชัด มีน้ำเสียงของแบรนด์ที่ทำให้เกิดภาพจำ ไปจนถึงมีแผนการจัดการคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพด้วย

ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ

ยกตัวอย่างการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เช่น

เรียลชีสเบอร์เกอร์ จากเบอร์เกอร์คิง

ตัวอย่างการทำคอนเทนต์ที่น่าสนใจ เรียลชีสเบอร์เกอร์ จากเบอร์เกอร์คิง

ที่มาภาพ: facebook.com

เป็นตัวอย่างการทำคอนเทนต์แบบ Topical Content ที่เน้นสร้างกระแสให้เป็นไวรัล จนได้รับการพูดถึงในวงกว้าง อย่างการออกสินค้าใหม่ของ Burger King ในชื่อ “เรียลชีสเบอร์เกอร์” ที่ใส่อเมริกันชีส ถึง 20 แผ่นในเบอร์เกอร์ชิ้นเดียว ทำให้ได้รับความสนใจทั้งในและต่างประเทศ ผู้คนจึงทำคอนเทนต์แบบ Topical Content ในการพูดถึงเรียลชีสเบอร์เกอร์ในรูปแบบต่างๆ เช่น

การทำเป็น Breaking News ของสำนักงานข่าว

ที่มาภาพ: edition.cnn.com
การทำเป็น Breaking News ของสำนักงานข่าว

การเขียนเป็นบทความลงเว็บไซต์

ที่มาภาพ: thestandard.co
การเขียนเป็นบทความลงเว็บไซต์

ทำเป็นคลิปวิดีโอลงบนโซเชียลมีเดีย

ที่มาภาพ: www.tiktok.com/
ทำเป็นคลิปวิดีโอลงบนโซเชียลมีเดีย

SEO Guide จาก backlinko

Backlinko เป็นเว็บไซต์ให้ความรู้ด้าน SEO ที่เน้นทำ Evergreen Content และเน้นการทำ Pillar Page ซึ่งจัดทำเนื้อหาขึ้นมาเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อรวบรวมบทความหรือเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกันไว้ในที่เดียว ทำให้ติดอันดับบนหน้า Google ได้ง่าย และยังช่วยให้คนใช้งานเว็บไซต์สามารถอ่านบทความที่สนใจได้อย่างต่อเนื่องและครบถ้วน เพราะมีการทำ Internal Link ในบทความถึงกันอย่างเป็นระบบ

SEO Guide จาก backlinko

ที่มาภาพ: backlinko.com

สุดท้ายนี้จะเห็นว่า คอนเทนต์ คือ สารที่ธุรกิจสามารถใช้เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของการตลาด เพื่อให้บรรลุ Goal ที่ธุรกิจต้องการ เช่น การสร้างการรับรู้แบรนด์ (Awareness), ช่วยในการพิจารณา (Consideration) และช่วยในการตัดสินใจซื้อ (Decision) โดยการใช้คอนเทนต์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น 

ก็หวังว่าบทความจะช่วยให้คุณทำคอนเทนต์ได้ดีขึ้น ไม่มากก็น้อยนะครับ!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า