สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำ SEO (Search Engine Optimization) หรือการทำโฆษณาอย่าง Google Ads เรียกได้ว่าเป็นเข็มทิศนำทางเลยก็ว่าได้ คือ การทำ Keyword Research เพราะถ้าคุณเลือกทำ keyword ผิด ไม่มีคุณภาพ ทำแล้วไม่ได้เกิดผลดีต่อธุรกิจหรือเว็บไซต์เลย ก็ย่อมไม่สร้างยอดขายหรือ Conversion ให้กับคุณได้ตามที่คุณต้องการ แล้วแบบนี้เราจะทำการตลาดออนไลน์ในช่องทาง Search Engine ไปทำไม จริงไหมล่ะครับ?
ดังนั้น การเริ่มต้นดีมีชัยไปกว่าครึ่ง ผมแนะนำให้คุณเริ่มต้นการทำ SEO หรือ Paid Search ด้วยเครื่องมือฟรีที่สามารถเข้าไปทดลองใช้เองได้ง่ายๆ อย่าง “Google keyword planner” ซึ่งก็ไม่ได้มีดีแค่ใช้ค้นหาคีย์เวิร์ดเท่านั้น แต่ยังนำมาใช้ในการทำไอเดียในการทำคอนเทนต์ได้อีกด้วย จะเริ่มต้นใช้ยังไง มีอะไรที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเครื่องมือนี้บ้าง ไปดูพร้อมๆ กันเลยดีกว่าครับ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- Google keyword planner คืออะไร
- วิธีการสมัคร Google keyword planner
- วิธีการใช้งาน Google keyword planner
- เทคนิคการใช้ Google keyword planner
- สรุป
Google keyword planner คืออะไร
Google keyword planner คือ เครื่องมือจาก Google และเป็นเครื่องมือฟรีที่เหมาะสำหรับคนที่เริ่มต้นทำ SEO หรือ Google Ads โดยจะใช้เพื่อวางแผนการทำ Keyword Research หาว่าคำค้นหาไหนคนนิยมใช้ และนำมาวิเคราะห์ต่อว่าควรใช้คำไหนในการนำมาเขียนคอนเทนต์บนเว็บไซต์ หรือจะซื้อ Keyword ไหน เพื่อทำการโปรโมตเป็นโฆษณาบนหน้า Google บ้าง
ข้อดีของ Google keyword planner
- เป็นเครื่องมือจาก Google โดยตรงที่สามารถใช้ฟรีได้ โดยไม่ต้องผูกบัตรเครดิต
- ช่วยในการค้นหา Keyword หรือไอเดียใหม่จาก Keyword ตั้งต้นที่คุณมีได้ ทำให้คุณได้ Long-tail Keyword มาใช้ในการทำเว็บไซต์หรือเขียนบทความได้อย่างแม่นยำ
- ทำให้ทราบปริมาณการค้นหา (Search Vloume) ในระยะเวลา 1 เดือน
- รู้ข้อมูลในอดีตของ Keyword แต่ละตัว โดยการ ดูข้อมูลของเทรนด์ใน Keyword นั้นๆ ย้อนหลังได้ถึง 24 เดือน ซึ่งมีประโยชน์มากในด้านของการทำ Google Ads
- สามารถ Forecast ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาที่กำลังจะทำได้
ข้อจำกัดของ Google keyword planner
Google keyword planner เป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ฟรีก็จริงครับ แต่ถ้าหากคุณทำการลงโฆษณา Google Ads ด้วยหน้าตาของข้อมูลจะเปลี่ยนไปเล็กน้อย นั่นคือ มีค่า Search Volume ที่เป็นตัวเลขแบบชัดเจน แต่ถ้าใช้ Google Keyword Planner แบบเวอร์ชันฟรีจะโชว์ข้อมูลแบบ 1 – 100 แทนที่จะเป็นตัวเลขเต็มจำนวนครับ
หน้าตาของผลลัพธ์แบบ Free Version
หน้าตาของผลลัพธ์แบบที่จ่ายเงินทำโฆษณากับ Google Ads
นอกจากนี้บัญชีเปิดใหม่ไม่สามารถดูกราฟ และ Breakdown ข้อมูลได้ด้วยนะครับ ถ้าอยากใช้งานฟีเจอร์เหล่านี้เพิ่มก็อาจจะต้องทำการยิงโฆษณา Google ร่วมด้วย ก็จะช่วยทำให้ค่าต่างๆ ดูแม่นยำมากยิ่งขึ้น
วิธีการสมัคร Google keyword planner
- คุณสามารถเริ่มต้นการใช้งาน Google Keyword Planner โดยเข้าไปที่ https://ads.google.com/home/tools/keyword-planner/
- หลังจากนั้นกดที่ปุ่ม “ลงชื่อเข้าใช้” หรือ “ไปที่เครื่องมือวางแผนคีย์เวิร์ด”
- ในกรณีที่ยังไม่มี Google Ads Account ให้ไปที่ New Google Ads Account
- จะมีหน้ายืนยันเกี่ยวกับข้อมูลของธุรกิจของคุณขึ้นมา หลังจากนั้นให้กด Submit ได้เลย
- จะขึ้นหน้าเพจแบบนี้ ให้คุณกด Explore Keyword Planner และจะเข้าสู่การเริ่มต้นใช้งาน Google keyword planner ได้เลย!
วิธีการใช้งาน Google keyword planner
หลังจากที่ทำการสมัครเรียบร้อยแล้วจะเข้าสู่หน้าฟีเจอร์หลักของ Google Keyword Planner ซึ่งจะมีให้เลือกด้วยกัน 2 แบบ คือ
- Discover new keywords จะเป็นการค้นหาคีย์เวิร์ดในไอเดียใหม่ๆ ที่จะช่วยทำให้คุณเข้าถึงกลุ่มคนที่สนใจในสินค้าหรือบริการของคุณได้มากขึ้น
- Get search volume and forecasts จะเป็นผลของ Search Volume หรือจำนวนการค้นหาในแต่ละเดือน โดยคุณสามารถ Forecast หรือคาดการณ์ประสิทธิภาพของแคมเปญโฆษณาได้ ทำให้คุณสามารถประเมินได้ว่า Keyword ตัวไหนควรนำมาใช้บ้าง
วิธีการใช้งาน Discover new keywords
คุณสามารถเลือกใช้งาน Discover new keywords ได้ทั้งในแบบ Start with keywords และ Start with a website
- ฟีเจอร์ Start with keywords
มาเริ่มกันที่การค้นหาไอเดียคีย์เวิร์ดแบบ Start with keywords โดยฟีเจอร์นี้คุณสามารถพิมพ์ Keyword ที่ต้องการ หรือลิงก์ URL ที่เกี่ยวข้องลงไป เลือกภาษาและเลือก Location ได้ หลังจากนั้นให้กดปุ่ม ‘Get Result’ ได้เลย
หลังจากนั้นก็จะปรากฏ Result ที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหาที่เราใส่ลงไปขึ้นมาให้ โดยตัวอย่างที่เรานำมาให้ชมกันจะเป็นหน้าตาในรูปแบบ Free Version นะครับ ซึ่งส่วนต่างๆ บนหน้าจอมีความหมายดังนี้
กรอบสีเหลืองด้านบน
- ช่องที่ระบุถึงคำค้นหาที่เรากรอกไว้ในตอนแรก
- การระบุ Location, ภาษา, ช่องทางการค้นหา (เลือกได้ว่าเป็นผลลัพธ์จาก Google หรือ Google amd search partners) และสามารถเลือกวันที่ได้ด้วย
- Broaden Your Search จะเป็น keyword Suggestion ที่ทาง Google Keyword ได้แนะนำมาว่าควรที่จะนำมาค้นหาเพิ่มเติมด้วย
- จะเป็น Filter เพิ่มเติม เผื่ออยากจะ Exclude คำบางคำที่ไม่ต้องการออกได้ รวมถึงยังปรากฏผลลัพธ์จากการค้นหาจะมีไอเดียแนะนำมาให้ ซึ่งจากตัวอย่างมีอยู่ 461 คำ
กรอบสีแดงด้านล่าง
- Keyword (by relevant) แสดงไอเดียหรือแนวคิด Keyword ที่เกี่ยวข้อง
- Avg. Monthly Searches จำนวนการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน
- Competition การแข่งขันของ Keyword นั้นมีมากน้อยแค่ไหน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ High (มีการแข่งขันสูง) Medium (การแข่งขันปานกลาง) และ Low (การแข่งขันต่ำ)
- Ad Impression Share อัตราส่วนแบ่งการแสดงโฆษณาของคุณและคู่แข่ง
- Top of Page Bid (Low Range) ราคา Bid เฉลี่ย ในตำแหน่งบนๆ ของ Search Engine ซึ่งเป็นช่วงประมาณราคาต่ำสุด
- Top of Page Bid (High Range) ราคา Bid เฉลี่ย ในตำแหน่งบนๆ ของ Search Engine ซึ่งเป็นช่วงประมาณราคาสูงสุด
- ฟีเจอร์ Start with a website
จะเป็นฟีเจอร์ค้นหาไอเดียคีย์เวิร์ดจากเว็บไซต์ของคุณเองหรือของคู่แข่งก็ได้ เพียงแค่นำ URL มาใส่ อย่าลืมเลือกภาษา และ Location ให้ถูกต้องด้วยนะครับ หลังจากนั้นกด Get Result ก็จะได้ข้อมูลหน้าตาเหมือนการค้นหาแบบ Start with keywords กลับมา
วิธีการใช้งาน Get search volume and forecasts
มาต่อกันที่การใช้งานในฝั่ง Get search volume and forecasts กันบ้าง ส่วนนี้จะใช้สำหรับการทำโฆษณาบน Google Ads โดยเฉพาะนะครับ ซึ่งถ้าคุณใส่คำค้นหาลงไปหรืออัปโหลดไฟล์คีย์เวิร์ดลงไปผลลัพธ์ที่แสดงขึ้นมาจะบอกว่า จากชุดคำค้นหาเหล่านี้จะสามารถสร้างได้กี่คลิก หรือต้องใช้จำนวนเท่าไหร่ อย่างไรก็ตามมันก็คือการประมาณการ อาจจะต้องใช้จ่ายมากกว่า หรือน้อยกว่านั้นก็ได้ครับ
การใช้งาน Forecast
สำหรับใครที่ใช้ Google keyword planner เพื่อหาคีย์เวิร์ดสำหรับการทำ SEO ฟีเจอร์นี้อาจจะข้ามไปก็ได้นะครับ เพราะนี่คือฟีเจอร์ที่ใช้สำหรับการคาดการณ์ประสิทธิภาพแคมเปญโฆษณาในช่วงเวลาที่คุณกำหนด โดยอ้างอิงจาก Keyword Idea ที่คุณใส่เข้าไปนั่นเองครับ โดยจะสรุปค่าต่างๆ ออกมาให้ เพื่อให้คุณประเมินงบการทำโฆษณาได้ง่ายมากขึ้น ซึ่งค่าต่างๆ ที่ว่าจะมีดังนี้
- Clicks จำนวนคลิกที่มีคนกดโฆษณาทั้งหมด
- Imressions จำนวนการแสดงผลของโฆษณา ถ้ามีการโหลดโฆษณาขึ้นมา 1 ครั้ง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเห็นโฆษณาจะนับเป็น 1 Impression ทันที Cost ค่าใช้จ่ายในการทำแคมเปญโฆษณา
- CTR (Click Through Rate) อัตราการคลิกเทียบกับการแสดงโฆษณา ถ้าค่า CTR สูง จะแสดงว่าโฆษณาของคุณมีคุณภาพ โดยค่านี้สามารถหาได้โดยสูตร (Clicks/Impressions)*100
- Avg. CPC (Average Cost Per Click) ราคาเฉลี่ยต่อการเกิดคลิกโฆษณา 1 ครั้ง
เทคนิคการใช้ Google keyword planner
เรียนรู้วิธีการสมัครและการใช้งานในเบื้องต้นกันไปแล้ว เรามาดูเทคนิคการใช้ Google keyword planner ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการใช้ดู Search Volume ในคีย์เวิร์ดที่เราต้องการเพียงอย่างเดียวกันเลยดีกว่าครับ
-
ใช้ค้นหาไอเดียในการทำคอนเทนต์
เราสามารถใช้ Google keyword planner ในการหาไอเดียสำหรับทำคอนเทนต์ได้ ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนี้
- วิธีการค้าหาไอเดียคอนเทนต์จาก Google keyword planner จะต้องทำการเสิร์ชคีย์เวิร์ดมากกว่า 1 ครั้ง และควรค้นหา Keyword ที่มีความคล้ายกัน หรืออยู่ในประเภทเดียวกันในการค้นหาด้วย
- นอกจากการหาเป็น Seed Keyword ธรรมดา สามารถลองเปลี่ยนเป็นการพิมพ์คำถามลงไป โดยใช้เมนู Filter > เลือกฟีเจอร์ Keyword text >เลือก contains > พิมพ์ประโยคที่เป็นคำถาม ก็จะช่วยทำให้ได้ไอเดียคอนเทนต์ในเชิงคำถามกลับมา เช่น SEO คืออะไร, หา Keyword SEO ยังไง เป็นต้น
-
หา Keyword จากการดูคู่แข่ง
หากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นค้นหา Keyword ไหนมาใช้ แนะนำให้ใช้เทคนิคส่องคู่แข่ง เพื่อดูว่า พวกเขาใช้ Keyword อะไรบ้าง โดยให้เข้าไปที่ Discover new keywords หลังจากนั้นกรอก Keyword ที่ต้องการ พร้อมระบุเว็บไซต์ของคู่แข่งลงไป แค่นี้คุณก็จะได้ไอเดียของ Keyword จากเว็บไซต์ของคู่แข่งกลับมาแล้ว
-
เจาะกลุ่มเป้าหมายจาก Location
สำหรับใครที่ทำ Local SEO ฟีเจอร์นี้เหมาะมากๆ เลยครับ เพราะการทำ Local Business ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งอาจมีการใช้ keyword ที่แตกต่างจากการเสิร์ชปกติของคนทั้งประเทศ ดังนั้นคุณสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อหาคำ keyword ที่ใช้ในพื้นที่ตั้งที่คุณต้องการได้อีกทั้งยังดูได้อีกมีจำนวน Reach เท่าไหร่บ้างในบริเวณนั้นๆ ซึ่งเป็นผลดีต่อการทำธุรกิจในท้องที่เป็นอย่างมากอีกด้วย
สรุป
ถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์เลยก็ว่าได้ครับสำหรับ Google keyword planner เหมาะสำหรับมือใหม่ที่จะเริ่มต้นทำ SEO หรือเริ่มยิง Google Ads เป็นอย่างมาก เพราะไม่ใช่แค่เครื่องมือที่ใช้ค้นหา Keyword อย่างเดียว แต่ยังใช้สำหรับหาไอเดียทำคอนเทนต์ ส่องคู่แข่ง หรือแม้กระทั่งใช้ทำ Local SEO ก็ได้เช่นกัน ยังไงก็ลองหยิบไปใช้ดูนะครับ รับรองว่าช่วยให้การทำ SEO ของคุณง่ายมากขึ้นอย่างแน่นอน