การที่เว็บไซต์ใดเว็บไซต์หนึ่งจะทำอันดับได้ดีบน Search Engine อย่าง Google นั้น ขึ้นอยู่กับการทำ SEO ให้ถูกใจ Google ซึ่งสิ่งที่ Google จะใช้เกณฑ์การประเมินว่าเว็บไซต์ไหนเหมาะสมที่จะอยู่ในอันดับที่ดีจากการตรวจสอบผ่าน “Google Algorithm” 

…ว่าแต่ Google Algorithm คืออะไร เราจะสามารถทำอย่างไรให้สามารถชนะเจ้า Google Algorithm นี้จนขึ้นสู่อันดับที่ต้องการได้บ้าง วันนี้ NerdOptimize มีสรุปเกี่ยวกับความหมาย หน้าที่ ไปจนถึงพาไปดูว่า Google Algorithm ในปี 2022 นี้ได้ทำการอัปเดตและเปลี่ยนแปลงอะไรไปแล้วบ้าง เพื่อที่จะได้ปรับแต่ง (Optimize) เว็บไซต์ให้มี Performance ที่มีคุณภาพและตรงใจ Google ได้มากที่สุดนั่นเอง

Google Algorithm คืออะไร

Google Algorithm คือ

Google Algorithm คือ หลักการที่ Google ใช้ในการประเมินว่าเว็บไซต์ไหนที่มีเนื้อหาคุณภาพตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้งาน โดยจะทำการค้นหาเว็บไซต์เหล่านั้น แล้วนำมาจัดอันดับ และแสดงผลลัพธ์การค้นหาที่ดีที่สุดและเร็วที่สุดให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งการที่จะทำให้ผลการค้นหาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้ดีก็จำเป็นที่จะต้องทำการอัปเดตระบบให้ดีขึ้น ซึ่ง Google มักมีการอัปเดตอัลกอริธึมเกือบทุกวัน และในบางครั้งที่ทำการอัปเดตใหม่อาจส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์ต่างๆ ที่ทำให้อันดับสูงขึ้นหรือลดลง โดย Google จะมีประกาศแจ้งล่วงหน้าผ่านทาง Google Search Central ให้ทราบ และนี่คือสิ่งที่คนทำเว็บไซต์และคนทำ SEO จะต้องคอยติดตามและปรับปรุงเว็บไซต์ให้เท่าทันอยู่เสมอ

Google Search Algorithm ทำงานอย่างไร

Google Search Algorithm นั้นถูกคิดค้นเพื่อทำให้ผลการค้นหาตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งานต้องการมากที่สุด ดังนั้น เพื่อที่จะมองหาคำบอกใบ้ที่ช่วยให้ Google เข้าใจสิ่งที่คนค้นหาได้มากขึ้น จะต้องทำการดึงเอกสารที่เกี่ยวข้องมาจาก “index” ที่ Google ทำการเก็บข้อมูลมาจากเว็บไซต์ต่างๆ และนำมาทำการวิเคราะห์รวมถึงจัดอันดับผลการค้นหา โดยใช้ปัจจัยมากกว่า 200 ปัจจัยที่ Google กำหนดเอาไว้ใช้คัดกรองคุณภาพของเว็บไซต์ 

ซึ่งกฎเหล่านั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และ Algorithm เหล่านี้จะต้องทำพัฒนาไปเรื่อยๆ ตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถจัดอันดับข้อมูลได้ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้นด้วย

Google Algorithm ที่สำคัญมีตัวไหนบ้าง 

Google Algorithm ที่สำคัญซึ่ง Google ใช้ในการพัฒนา ปรับปรุง ป้องกันระบบ กำหนดกฎเกณฑ์ เพื่อให้ผลลัพธ์การค้นหาตรงกับสิ่งที่ผู้ใช้งาน Google ต้องการ รวมถึงทำให้เว็บไซต์ต่างๆ พยายามทำเว็บไซต์และเนื้อหาต่างๆ ให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดย Algorithm หลักๆ ที่ควรจะรู้จักของ Google ก็คือ

  • Panda

เปิดตัวครั้งแรก : 24 กุมภาพันธ์ 2011

หน้าที่ : คัดกรองคุณภาพของเว็บไซต์โดยให้ความสำคัญกับเนื้อหา เป็น Google Algorithm ที่เน้นการตรวจสอบและจัดอันดับเว็บไซต์ โดยจะทำการลดอันดับของเว็บไซต์ที่มีคุณภาพต่ำ (low-quality), เนื้อหาที่ซ้ำซ้อนกัน, เนื้อหาที่เป็น Auto Generate, เนื้อหาสแปม (spammy), เนื้อหาน้อย (thin content) ออกจากผลการค้นหา หรือให้อันดับที่ไม่สูงมาก 

หากไม่ต้องการถูกลงโทษโดย Panda ควรทำให้เนื้อหาบนเว็บไซต์มีคุณภาพ มีประโยชน์ต่อผู้อ่าน เพื่อทำให้เกิดการเข้าชมสูง และมีอัตราการตีกลับต่ำ ซึ่งจะทำให้ได้คะแนนจัดอันดับด้านเนื้อหาที่มากขึ้น

  • Penguin

เปิดตัวครั้งแรก : 24 เมษายน 2012

หน้าที่ : ตรวจสอบและค้นหา Backlink จากเว็บไซต์ภายนอกที่เชื่อมโยงเข้ามายังเว็บไซต์ โดยจะคิดคะแนนจากลิงก์ที่ทำการลิงก์มาว่ามีคุณภาพหรือไม่ มีความเกี่ยวข้องหรือไม่ หรือเป็นลิงก์ที่จงใจใช้เป็นKeywords ใน Anchor Text มากเกินไปหรือเปล่า หากเจอ Backlink ที่ไม่เป็นธรรมชาติก็จะถือว่าเป็นการสแปม และจะถูกลงโทษหรือลดอันดับลง ดังนั้น การได้มาซึ่ง Backlink จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำ SEO เช่นเดียวกัน

  • Hummingbird

เปิดตัวครั้งแรก : 22 สิงหาคม 2013

หน้าที่ : เป็น Algorithm ที่ช่วยทำให้ Google เข้าใจเจตนาของผู้ใช้ (Search Intent) มากยิ่งขึ้น โดย Hummingbird จะช่วยตีความคำค้นหา เช่น คำค้นหาแบบยาวๆ , คำค้นค้นหาเชิงประโยค ได้ดีมากขึ้น โดยไม่ได้โฟกัสแค่คำใดคำหนึ่งในประโยคนั้นๆ เช่น คนค้นหาคำว่า “เลี้ยงแมว Pantip” แทนที่จะนำเสนอผลลัพธ์การค้นที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “เลี้ยงแมว” หรือ “Pantip” แต่ Hummingbird จะหาผลลัพธ์ที่เกี่ยวกับการเลี้ยงแมว ซึ่งเป็นกระทู้ใน pantip มาแสดงผลแทน 

นอกจากนี้ Hummingbird  ยังสามารถรวบรวมสถิติการค้นหาใหม่ในรูปแบบเสียงที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น ใครที่ทำคอนเทนต์เป็นข้อมูลแบบเสียงเพิ่มเข้ามาในเว็บไซต์ เช่น Podcast, วิดีโอ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในการค้นหา SEO ได้ด้วยเช่นกัน

  • RankBrain

เปิดตัวครั้งแรก : 26 ตุลาคม 2015

หน้าที่ : ช่วยในการคัดกรองผลการค้นหาความหมายของคำ หรือกลุ่มคำให้ได้เว็บไซต์ที่ตรงตามที่ต้องการมากที่สุด โดยใช้ระบบ Machine Learning เพื่อวัดผลลัพธ์ว่าเว็บไซต์ไหนดีหรือไม่ดีอย่างไร และ RankBrain สามารถเรียนรู้ และพัฒนาประสิทธิภาพในการคัดกรองนี้ได้ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ที่ทำเว็บไซต์จึงต้องคำนึงถึงประสบการณ์ผู้ใช้งานและการทำคอนเทนต์เพื่อเสิร์ฟให้ตรงกับสิ่งที่ผู้คนมองหาให้ได้มากที่สุด

แล้วทำไมเราจึงควรติดตามการอัปเดตของ Google Algorithm?

สาเหตุที่คนทำเว็บไซต์ ทำ SEO หรือทำการตลาดควรที่จะติดตามการอัปเดต Google Algorithm หรือที่เรียกว่า “Core Update” อย่างสม่ำเสมอนั่นก็เพราะการที่ Google ทำการอัปเดตอะไรบางอย่างอาจส่งผลกระทบต่ออันดับของเว็บไซต์โดยอาจจะทำให้อันดับเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ 
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปี 2021 ที่ Google มีการประกาศใช้ Core Web Vitals ซึ่งเป็นมาตรฐานในการวิเคราะห์และวัดผลเว็บไซต์ที่เน้นเรื่องประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience : UX) มากขึ้น ทำให้คนทำเว็บไซต์ต้องทำการปรับตัวตาม ไม่เช่นนั้นอาจทำให้อันดับบน Google ตกลงได้ หรืออย่างในช่วงที่ Google อัปเดตปัจจัย YMYL (Your Money or Your Life) ก็ส่งผลกระทบในด้านลบต่อหลายเว็บไซต์ที่ Google มองว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องในเรื่องของความสุข สุขภาพ ความปลอดภัย หรือฐานะการเงินในเรื่องของอันดับด้วยเช่นกัน

อัปเดตของ Google Algorithm

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงควรที่จะติดตามข่าวสารการอัปเดตของ Google Algorithm อยู่ตลอดเวลา เพราะ Google นั้นเปรียบเสมือนกับผู้คุมกฎระเบียบ และพวกเราคนทำ SEO ก็มีหน้าที่ในการเล่นไปตามกฎอย่างถูกต้องโดยใช้วิธีการทำ SEO สายขาวในการทำอันดับ เพื่อป้องกันการถูกลงโทษ และทำให้ Google มองว่าเว็บไซต์ของเรามีคุณภาพ พร้อมมอบรางวัลเป็นอันดับที่ดีให้เป็นผลตอบแทน

สรุป Timeline การอัปเดต Google Algorithm ปี 2022

เมื่อเห็นถึงนิยามและความสำคัญของ Google Algorithm กันแล้ว มาทบทวนกันดีกว่าว่า ในปี 2022 Google อัปเดต Algorithm อะไรที่ส่งผลต่อผู้ใช้และเจ้าของเว็บไซต์อย่างไรบ้าง โดยแบ่งตามระยะเวลาการอัปเดตต่างๆ ดังนี้

กุมภาพันธ์

Google ทำการอัปเดต Page Experience สำหรับการใช้งานบน Desktop ผ่าน Twitter ของ Google Search Central

Google Search Central

ที่มาภาพ: Twitter

โดยการปรับใช้ Page Experience Signals หรือ สัญญาณที่บ่งบอกว่าเว็บไซต์ใช้งานได้ดีมาใช้เป็นเกณฑ์การวัด Core Web vitals โดยแบ่งเป็น 3 ปัจจัย ได้แก่ 

  • Largest Contentful Paint (LCP) : เป็นคะแนนที่ได้จากการใช้เวลาดาวน์โหลดเข้าหน้าเว็บไซต์ โดยมาตรฐานที่ Google มองว่าดี คือ ควรใช้เวลาโหลดไม่เกิน 2.5 วินาที เมื่อหน้าเพจกำลังโหลดคอนเทนต์ที่ใหญ่ที่สุดในหน้าเพจนั้น
  • First Input Delay (FID) : เป็นคะแนนที่ได้จากการวัดผลความหน่วง ระยะความเร็วในการตอบสนองของเว็บไซต์ โดยค่า FID ควรได้น้อยกว่า 100 มิลลิวินาที
  • Cumulative Layout Shift (CLS) :  เป็นคะแนนที่ได้จากการความเสถียรของหน้าจอที่จะต้องไม่โหลดช้าหรือกระตุก ซึ่งค่า CLS ที่ดีควรน้อยกว่า 0.1

มีนาคม

ในช่วงเดือนมีนาคม Google ได้ประกาศว่า มีการปรับปรุงการจัดอันดับรีวิวผลิตภัณฑ์ เพื่อรักษาประสบการณ์การใช้งานหน้าค้นหาที่ดีและให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้จะได้รับคอนเทนต์รีวิวที่มีคุณภาพ จากการที่ Google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาบทวิจารณ์ที่มีคุณภาพและดูน่าเชื่อถือจึงทำให้มีผลต่อการจัดอันดับมากขึ้น

Google update

ที่มาภาพ: developers.google.com

พฤษภาคม

Google เปิดตัว Core Updates ครั้งใหญ่ที่มักจะกระทบต่ออันดับของเว็บไซต์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ก็เพื่อปรับปรุง Search โดยรวม และเพื่อให้ก้าวตามทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในเว็บไซต์ต่างๆ มากขึ้น โดยการปล่อยตัวอัปเดตอัลกอริทึมอย่าง “Broad Core Algorithm” ซึ่งทำหน้าที่กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะคัดกรอง เว็บไซต์ เพื่อนำมาจัดอันดับและนำไปแสดงผลลัพธ์บนหน้า SERPs โดยในรอบนี้จะเป็นการอัปเดตระบบของกูเกิลโดยรวม ไม่ได้กำหนดเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง หากต้องการหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการอัปเดตในครั้งนี้ให้ทำเนื้อหาคอนเทนต์ให้ตรงตามหลัก E-A-T Factor จะช่วยได้ แต่ถ้าเว็บไซต์อันดับตกไปแล้ว แต่ไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ระบบของ Google จะนำเนื้อหานั้นไปประเมินใหม่โดยเทียบกับเนื้อหาบนเว็บไซต์อื่นๆ ที่มีการเผยแพร่นับตั้งแต่การอัปเดตครั้งล่าสุด

กรกฎาคม

เป็นช่วงที่ Google ทำการอัปเดตเกี่ยวกับรีวิวผลิตภัณฑ์เฉพาะภาษาอังกฤษในเดือนกรกฎาคม 2022 เพื่อเป็นการจัดอันดับที่สูงขึ้นสำหรับรีวิวผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงโดยดูจากความน่าเชื่อถือ เช่น เขียนโดยผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้สนใจที่มีความรู้ในหัวข้อนั้นๆ มีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและงานวิจัยต้นฉบับ และมีการแนะนำให้ใส่ภาพประกอบ วิดีโอรีวิวที่แสดงถึงประสบการณ์การใช้จริง รวมถึงมีช่องทางการซื้อสินค้าที่หลากหลายก็จะช่วยทำให้อันดับดีขึ้น

Nerd แนะนำ

หากใครที่ต้องการรู้ว่าควรที่จะเขียนรีวิวผลิตภัณฑ์อย่างไร สามารถอ่านคู่มือที่ Google ระบุกฎเกณฑ์เอาไว้ได้เลยที่ การเขียนรีวิวคุณภาพสูงสำหรับผลิตภัณฑ์ และสำหรับใครที่ได้รับผลกระทบจากการอัปเดตรีวิวผลิตภัณฑ์อาจไม่กลับมาอยู่ในอันดับเดิม จนกว่าจะมีการเผยแพร่การอัปเดตรีวิวผลิตภัณฑ์ครั้งถัดไป แต่อย่างไรก็ตามการทำรีวิวผลิตภัณฑ์เป็นแค่หนึ่งในปัจจัยในการจัดอันดับเท่านั้น การเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้นทุกเมื่อหาก Google ทำการอัปเดต  Algorithm ใหม่ๆ

สิงหาคม

อัปเดตครั้งนี้จะเน้นไปที่การตรวจสอบเนื้อหาที่เป็นประโยชน์บนเว็บไซต์ เพื่อตามหาคอนเทนต์ที่มีคุณภาพสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งช่วยเน้นย้ำให้เห็นว่า Google ให้ความสำคัญกับเรื่องของการสร้างคอนเทนต์ที่ดี นอกจากนี้ Google ยังได้ระบุถึงลักษณะของคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ เช่น จะต้องเขียนให้เข้าใจ เขียนในสิ่งที่คนอ่านต้องการ (ลองอ่านคู่มือนี้ได้ครับ >> การสร้างเนื้อหาที่มีประโยชน์ น่าเชื่อถือ และคำนึงถึงผู้ใช้เป็นหลัก

ส่วนใครที่ทำการลบเนื้อหาที่ไม่มีประโยชน์ออกไปแล้วอาจจะสงสัยว่า แล้วเมื่อไหร่อันดับจะดีขึ้น เรื่องนี้อาจจะใช้เวลาหลายเดือน (แต่ตอนนี้บ้านเรายังไม่ต้องกังวลนะครับ เพราะยังทำในเวอร์ชันภาษาอังกฤษอยู่ แต่ในอนาคต Google มีแผนจะขยายไปยังภาษาอื่นๆ ด้วยเช่นกัน)

กันยายน

เดือนนี้มีการรายงาน HTTPS ใหม่ใน Search Console โดย Google กําลังทยอยเปิดตัวรายงาน HTTPS ใน Search Console ภายใน 2-3 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่ทําให้หน้าเว็บไม่แสดงผ่าน HTTPS และช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้เข้าชมเว็บไซต์ได้

สรุป

การอัปเดต Google Algorithm หรือที่เรียกว่า Core Update เป็นเรื่องสำคัญที่คนทำ SEO ควรให้ความสำคัญและติดตามอย่างสม่ำเสมออาจส่งผลให้อันดับผลการค้นหาเปลี่ยนแปลงไปได้ทั้งในแง่ดีขึ้นหรือแย่ลง การรู้ว่า Google มีทิศทางของการจัดอันดับอย่างไร ก็เป็นการช่วยเดาทางได้ว่าควรที่จะปรับปรุงเว็บไซต์อย่างไรให้ Google ชื่นชอบ 

ซึ่งในปี 2022 นี้ก็มีการอัปเดตGoogle Algorithm หลายครั้งเช่นกัน ดังนั้น ก็อย่าลืมนำข้อสรุปของการอัปเดตในปีนี้ที่ผมนำเสนอไว้ในบทความไปลองปรับปรุงเว็บไซต์ดู แล้วได้ผลแบบไหนบ้าง อย่าลืมกลับมาแชร์ให้เพื่อนๆ ที่ติดตาม NerdOptimize ได้รู้ไปพร้อมๆ กันด้วยนะครับ 

อ้างอิง

https://www.google.com/search/howsearchworks/how-search-works/

https://developers.google.com/search/updates/ranking

www.searchenginejournal.com.

https://www.searchenginejournal.com/google-may-core-update-impact/456886/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ สามารถศึกษา นโยบายความเป็นส่วนตัว และจัดการความเป็นส่วนตัว ได้ที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    Cookies Details

บันทึกการตั้งค่า