E-A-T Factor
ใครทำงานเกี่ยวกับการตลาดหรือ SEO ไม่ควรพลาดบทความนี้อย่างยิ่ง!
เพราะนี่คือบทความที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์ของคุณติดอันดับจากการทำ SEO ได้เร็วขึ้น ด้วยการทำความเข้าใจในวิธีการทำงาน และ Algorithm หรือระบบประมวลผล ที่ทำหน้าที่ในการจัดอันดับ และการแสดงผลการค้นหาของ Google ให้มากขึ้น หรือที่คุณอาจจะเคยได้ยินมาก่อนแล้วในชื่อ “E-A-T Factor” นั่นเองครับ
[divider] [ux_text line_height=”1″]เลือกอ่านตามหัวข้อ
- E-A-T Factor คืออะไร
- หลักเกณฑ์ E-A-T Factor
- ทำไมต้องใช้หลักเกณฑ์ E-A-T Factor
- เนื้อหาบนเว็บไซต์แบบไหนที่ไม่เข้าเกณฑ์
- วิธีทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ E-A-T Factor
- ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Expertise
- ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Authoritativeness
- ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Trustworthiness
- อัปเดต E-A-T Factor ล่าสุด เพิ่มเป็น E-E-A-T Factor แล้ว!
- E-E-A-T Factor คืออะไร
- การให้คะแนนหน้าเว็บไซต์ตามเกณฑ์ E-E-A-T Factor
- วิธีการปรับปรุงเว็บไซต์ตามกฎ E-E-A-T Factor
- สรุป
[scroll_to title=”E-A-T Factor คืออะไร” link=”#section1″]
E-A-T Factor คืออะไร?
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่า E-A-T Factor คืออะไร ผมจะอธิบายให้คุณเข้าใจกันก่อนนะครับ
E-A-T Factor คือ หลักเกณฑ์ ปัจจัย หรือวัตถุประสงค์ที่มีประโยชน์ (Beneficial Purposes) ที่ Algorithm หรือระบบประมวลผลของ Google Search นำมาใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์ ซึ่งหลักเกณฑ์นี้มีผลทำให้ลำดับค้นหาใน Google มีการปรับเปลี่ยนขึ้น-ลงจากเนื้อหา บทความต่างๆ ที่มีอยู่บนเว็บไซต์
ดังนั้น หากคุณต้องการทำอันดับให้ติดในหน้าแรกของผลการค้นหา คุณก็ต้องทำให้เนื้อหาบนเว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพ และตรงกับหลักเกณฑ์ E-A-T Factor ที่ทาง Google กำหนดไว้ครับ
[divider][scroll_to title=”หลักเกณฑ์ E-A-T Factor” link=”#section2″]
หลักเกณฑ์ E-A-T Factor ประกอบไปด้วย…
องค์ประกอบของ E-A-T Factor จะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ
1. Expertise (ความเชี่ยวชาญ)
เป็นหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยเรื่องของความเป็นกูรู (Guru) หรือความรู้และทักษะเฉพาะในด้านใดด้านหนึ่งที่ผู้เขียนหรือเจ้าของเว็บไซต์จะถ่ายทอดออกมาให้ผู้อ่านได้รับรู้อย่างถูกต้อง ลงลึก (Niche) และสามารถให้คำตอบกับผู้อ่านได้ด้วยโครงสร้างของเนื้อหาที่ดี
ซึ่งเกณฑ์นี้จะช่วยทำให้ Google มองเห็นว่า เว็บไซต์ไหนมีความเชี่ยวชาญจริง และควรถูกจัดอันดับใน Ranking ที่สูงขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ https://nerdoptimize.com/ ของเราที่เชี่ยวชาญและทำคอนเทนต์ด้าน Digital Marketing มาตลอด แน่นอนครับว่า Google มองว่า เราเป็น Expert ในด้านนี้ แต่ถ้าวันหนึ่งเราเกิดเปลี่ยนมาลงคอนเทนต์รีวิวอาหาร ในสายตาของ Google หรือตัวผู้อ่านก็คงจะมองว่าเราไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ และไม่ถูกจัดอันดับเนื้อหาไว้ใน Keyword เหล่านั้นครับ
2. Authoritativeness (ความมีอิทธิพล)
หากคุณคือ Expert ในตลาดที่คุณกำลังทำอยู่ สิ่งที่จะตามมาคือ อิทธิพลหรือ อำนาจ (Authoritativeness) ที่คุณมักจะได้รับจากการอ้างอิง พูดถึง หรือที่เราเรียกกันว่า การได้รับ Backlink ที่มีคุณภาพจากเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ยิ่งคุณได้รับการอ้างอิงมากเท่าไหร่ ก็เหมือนกับการที่เว็บไซต์ของคุณได้รับการโหวตจากเว็บไซต์อื่นๆ ว่าน่าเชื่อถือ ทำเนื้อหาได้ดีจนต้องนำไปอ้างอิงต่อ ซึ่งนี่ถือเป็นการแสดงให้ Google เห็นถึงความมีอิทธิพลและความเชี่ยวชาญ สุดท้ายเว็บไซต์ของคุณก็จะถูก Google จัดอันดับ Page Ranking ที่ดีขึ้นนั่นเองครับ
3. Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)
แน่นอนว่า ถ้าคุณมีทั้งความเชี่ยวชาญและมีอิทธิพลแล้ว เว็บไซต์ของคุณก็ย่อมมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็ต้องมาพร้อมกับ ความสดใหม่จากการทำคอนเทนต์สม่ำเสมอ ความโปร่งใสจากการระบุตำแหน่งหรือช่องทางการติดต่อที่ชัดเจน และความเกี่ยวข้องของ Keyword และเนื้อหา ที่ Google มองแล้วว่าเว็บไซต์ของคุณควรจะต้องถูกจัดอันดับใน Ranking ที่สูงขึ้นด้วย
[divider][scroll_to title=”ทำไมต้องใช้หลักเกณฑ์ E-A-T Factor” link=”#section3″]
ทำไมต้องใช้หลักเกณฑ์ E-A-T Factor?
แล้วทำไมถึงต้องใช้หลักเกณฑ์ EAT Factor ในการประเมินเว็บไซต์ของคุณด้วยล่ะ?
เรื่องนี้ต้องย้อนกลับไปในปี 2015 ที่ Google มีการเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวกับ Search Quality Rating Guidelines โดยมีเนื้อหาภายในแยกเป็น 4 ส่วนคือ ภาพรวมทั้งหมด, Page Quality, ความเข้าใจถึงโมบาย, เรื่อง Rating และการใช้ Evaluation Platform ซึ่งถือเป็นคู่มือฉบับเต็มครั้งแรกที่ Google ออกมาเผยแพร่ข้อมูลทุกสิ่งที่เกี่ยวกับการจัดอันดับการค้นหา และหนึ่งในนั้นมีการพูดถึงหลักเกณฑ์ E-A-T Factor รวมอยู่ด้วย
ซึ่งเมื่อมีหลักเกณฑ์ E-A-T Factor ถูกนำมาใช้ก็ทำให้เว็บไซต์หลายๆ เว็บที่เน้นการทำสแปม ให้ข้อมูลไม่จริง เป็นข้อมูลที่ไม่ได้รับการอัปเดต หรือชอบคัดลอกคอนเทนต์มาจากเว็บไซต์อื่นๆ ถูกจัดการ และทำให้เว็บไซต์ที่มีคุณภาพได้มีโอกาสพบเจอ และถูกจัดอันดับไว้ใน Ranking ที่ดีขึ้น ส่งผลให้ผลการค้นหามีแต่เนื้อหาคุณภาพ (Quality Content) สำหรับผู้ใช้งานเท่านั้นครับ
E-A-T Factor มีความสำคัญต่อเว็บไซต์ประเภท YMYL
และในช่วงปี 2018 ที่ผ่านมา Google มีการพัฒนาระบบ Algorithm ที่มีชื่อว่า “YMYL” ย่อมาจาก Your Money Your Life โดยเป็นเกณฑ์ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บไซต์ที่มีคอนเทนต์เกี่ยวข้องกับการเงิน สุขภาพ การดูแลตัวเอง กฎหมาย E-Commerce ความปลอดภัย และชีวิตของผู้อ่าน
ซึ่งเว็บไซต์เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้องและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบทความที่เกี่ยวกับ YMYL อาจส่งผลกระทบในแง่ลบได้หากเป็นข้อมูลบิดเบือน หรือเป็นแค่ความคิดเห็นจากผู้เขียน เช่น หากคุณป่วย แล้วต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาการ แต่เมื่อค้นหาข้อมูลบน Google แล้วกลับพบแต่บทความที่มีเนื้อหาไม่ถูกต้อง ซึ่งบางคนอาจไม่รู้แล้วนำไปทำตาม นี่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณได้
ดังนั้น เนื้อหาบนเว็บไซต์ของคอนเทนต์ประเภท YMYL จึงจำเป็นต้องเชื่อมโยงกับ E-A-T Factor และต้องทำให้ถูกต้องในหลักเกณฑ์ที่กำหนดไปโดยปริยายครับ
[divider][scroll_to title=”เนื้อหาบนเว็บไซต์แบบไหนที่ไม่เข้าเกณฑ์” link=”#section4″]
เนื้อหาบนเว็บไซต์แบบไหนที่ไม่เข้าเกณฑ์?
สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่า เว็บไซต์ของคุณนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่ E-A-T Factor หรือไม่ ลองดูว่า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่หรือเปล่าดีกว่าครับ
*(หากคุณทำอยู่แนะนำให้หยุด แล้วลองเปลี่ยนไปทำวิธีที่ถูกต้องในหัวข้อถัดไป รับรองว่า จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณตรงตามเกณฑ์ E-A-T Factor แน่นอนครับ)
- มักไม่ให้แหล่งอ้างอิงในบทความ เช่น ไม่มีการทำ External Link หรือให้เครดิตไปยังเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นั่นเท่ากับว่า คุณเขียนข้อมูลขึ้นมาโดยไม่มีที่มานั่นเองครับ
- คุณภาพของเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เช่น เขียนเนื้อหาที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์ เหมือนกับที่ผมยกตัวอย่างไปแล้วว่า หากวันหนึ่ง NerdOptimize ที่ให้ความรู้ด้านการทำ Digital Marketing กระโดดไปทำคอนเทนต์ของตลาดอื่น, คัดลอกเนื้อหาจากเว็บอื่นเป็นประจำ, ไม่มีการใส่รูป วิดีโอ หรือปรับปรุงคอนเทนต์ให้น่าสนใจ เป็นต้น
- ใช้หัวข้อแนว Click Bait เน้นให้คนอยากคลิก แต่จริงๆ ไม่มีอะไรที่เกี่ยวข้องกัน
- เนื้อหาเป็นความคิดเห็นที่ขัดแย้งกับงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับ
- มีการกล่าวถึงผู้อื่นในแง่ลบ บิดเบือน ให้ข้อมูลเป็นเท็จหรือเป็นความเห็นที่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น
- ไม่เปิดเผยตัวตน เช่น ไม่ระบุข้อมูลที่ตั้ง ไม่มีชื่อผู้เขียน เป็นต้น
[scroll_to title=”วิธีทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ E-A-T Factor” link=”#section5″]
วิธีทำเว็บไซต์ให้ผ่านเกณฑ์ E-A-T Factor
เช็กคุณภาพของคอนเทนต์กันไปคร่าวๆ แล้ว คราวนี้เรามาปรับปรุงเนื้อหาและเว็บไซต์ให้ตรงตามเกณฑ์ E-A-T Factor ในแต่ละหัวข้อกันเลยดีกว่าครับ
[scroll_to title=”ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Expertise” link=”#section6″]
1. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Expertise
มาเพิ่มความเชี่ยวชาญของเว็บไซต์ด้วยคอนเทนต์ที่มีคุณภาพและสื่อสารให้ผู้อ่านเห็นว่า คุณคือผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของคุณกันดีกว่าครับ โดยวิธีการปรับเนื้อหาบทความให้น่าอ่าน พร้อมทั้งทำการปรับปรุง SEO On-Page ให้ดีขึ้นไปพร้อมๆ กัน ดังนี้
วิธีการปรับปรุงคอนเทนต์ให้น่าสนใจ
- ทำคอนเทนต์คุณภาพอย่างสม่ำเสมอ และทำคอนเทนต์ที่มีความเฉพาะ (Niche) ที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของเว็บไซต์เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้คุณดูเป็น Expert ในอุตสาหกรรมมากที่สุด
- คำนึงถึงสิ่งที่ผู้อ่านอยากรู้เป็นหลัก เพื่อนำเสนอแต่สิ่งที่มีประโยชน์ และสร้าง Engagement ที่ดีให้กับบทความได้ทั้งจากการค้นหาบน Search Engine หรือบน Social Media ก็ตาม
- ทำคอนเทนต์ที่มีเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย มีการเว้นช่วงแต่ละย่อหน้าอย่างเหมาะสม และตรงกับโครงสร้างของการทำ SEO เพื่อให้ผู้อ่านได้คำตอบ และอยู่บนเว็บไซต์ของคุณได้นานมากยิ่งขึ้น
- ดึงดูดความสนใจด้วยการใช้ Media ที่หลากหลาย เช่น รูปภาพ วิดีโอ ฯลฯ
วิธีการปรับปรุง SEO On-Page
- ทำ Keyword Research ได้ตรงกับ Search Intent ของกลุ่มเป้าหมาย
- ใส่ Keyword ของธุรกิจคุณลงไปการทำคอนเทนต์บนเว็บไซต์ใน 100 คำแรก หรือตามหัวข้อ (heading) ต่าง ๆ
- ปรับแต่ง Title tags, Slug และ Meta Description ด้วยการใส่ Keyword
- ใส่ HTML Tags (H1, H2, H3..)
- ทำ Internal Links ให้เชื่อมลิงก์ไปยังหน้าเพจต่างๆ และทำ External Link ไปยังเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- ทำให้เว็บไซต์รองรับการอ่านบนสมาร์ทโฟน (Mobile friendly)
[scroll_to title=”ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Authoritativeness” link=”#section7″]
2. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Authoritativeness
คุณจะสามารถสร้างอิทธิพลได้ ก็เมื่อได้รับความไว้วางใจที่มากพอ หรือก็คือการได้รับ Backlink ที่มีคุณภาพมาจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคุณสามารถทำได้ด้วยวิธีต่างๆ ต่อไปนี้
- เขียนบทความที่สดใหม่ เน้นความถูกต้อง ชัดเจน และมีเอกลักษณ์เป็นของคุณเอง
- ไม่ทำการคัดลอกบทความมาจากเว็บไซต์อื่น
- โฟกัสการทำเนื้อหาที่ตอบโจทย์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น เพื่อทำให้เกิดภาพจำกับผู้อ่าน ส่วน Google ก็จะมองเห็นถึงความเชื่อมโยงของเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันได้ด้วย
- หมั่นแชร์บทความไปยังช่องทางอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Social Media ของคุณเอง หรือไปเป็น Guest Writing ให้กับเว็บไซต์ต่างๆ แล้วทำการ Backlink กลับมายังเว็บไซต์ของคุณ
- ทำ Pillar Page เพื่อรวบรวมเนื้อหาที่ดีที่สุด ครบที่สุด ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์คุณโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้รับ Traffic & Authority ที่มีคุณภาพกลับมา
- เพิ่มช่องทางที่ทำให้ได้รีวิวจากผู้อ่าน เช่น การทำ Review Snippet สำหรับเว็บไซต์ที่ต้องมีการให้ Rating เช่น เว็บไซต์รีวิว อาหาร โรงแรม อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ
- ปรับปรุงเนื้อหาและอัปเดตอยู่เสมอ เช่น คุณทำการเขียนบทความรวมเทรนด์ในปี 2020 ไปแล้ว ก็อย่าลืมกลับมาปรับปรุงบทความนี้ให้เป็นปีล่าสุด ซึ่งช่วยทำให้ Google และผู้อ่านเห็นว่า คุณอยู่หรือเป็นผู้นำกระแส ทำให้ได้รับ Authority ที่ดีขึ้นจากการถูกนำไปอ้างอิงในฐานะ Trend Setter
[scroll_to title=”ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Trustworthiness” link=”#section8″]
3. ปรับปรุงเว็บไซต์ให้เข้าเกณฑ์ Trustworthiness
ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ Google จะพิจารณาจาก…
- การที่เว็บไซต์ของคุณให้เครดิตหรืออ้างอิงเว็บไซต์ที่มีความเชี่ยวชาญในเฉพาะเรื่องที่คุณเขียนถึง เช่น nerdoptimize เขียนคอนเทนต์เรื่อง SEO แล้วมีการอ้างอิงถึง Google เป็นต้น หรืออาจจะใช้วิธีการให้เครดิตไปยังเว็บไซต์ที่เป็นทางการอย่าง .edu , .ac.th , .gov ก็เป็นส่วนที่เพิ่มความน่าเชื่อถือได้เช่นเดียวกันครับ
- การสร้างช่องทางการติดต่อกับเจ้าของเว็บไซต์ได้โดยตรง เช่น การระบุตำแหน่งที่ตั้ง การใส่เบอร์โทร อีเมล หรือใส่ข้อมูลช่องทาง Social Media อื่นๆ
- การใส่ประวัติของผู้เขียนบทความ หากผู้เขียนมีประวัติ อาชีพ หรือความเชี่ยวชาญที่ระบุว่า เกี่ยวข้องกับบทความที่เขียนด้วยก็จะช่วยเสริมความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ได้ครับ
- การทำ Privacy Policy (นโยบายความเป็นส่วนตัว) เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานเว็บไซต์
- การทำ HTTPS เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการสื่อสารหรือส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- การเพิ่มหน้า About Us ที่พูดถึงบริษัทหรือตัวเจ้าของเว็บไซต์ รวมถึงระบุเจตนาของการทำเว็บไซต์และเงื่อนไขต่างๆ ในการใช้งานโดยตรง
- หากเว็บไซต์ของคุณมีช่องทางการชำระเงิน ควรเพิ่มนโยบายการคืนสินค้าหรือคืนเงินให้ชัดเจน
อัปเดต E-A-T Factor ล่าสุด เพิ่มเป็น E-E-A-T Factor แล้ว!
ถึงแม้เราจะเริ่มทำความรู้จักกับ E-A-T Factor กันไปไม่นาน ตอนนี้ล่าสุด Google ได้ทำการอัปเดตกฎเกณฑ์นี้ลงใน Search rater guidelines ในชื่อ E-E-A-T Factor มาดูกันว่า E-E-A-T Factor คืออะไร และมีกฎเกณฑ์อะไรที่เพิ่มเติมเข้ามาอีกบ้าง
[divider] [scroll_to title=”E-E-A-T Factor คืออะไร” link=”section10″]E-E-A-T Factor คืออะไร
E-E-A-T Factor คือ กฎเกณฑ์ใหม่ล่าสุดที่ Google ทำการอัปเดตจาก E-A-T Factor เดิมที่ Google นำมาใช้ในการพิจารณาคุณภาพของเว็บไซต์ จากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า E-A-T Factor จะประกอบด้วย
- Expertise (ความเชี่ยวชาญ)
- Authoritativeness (ความมีอิทธิพล)
- Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ)
Google ได้ทำการเพิ่ม “Experience” หรือประสบการณ์ โดย Experience ในที่นี้จะหมายถึง ประสบการณ์ของผู้สร้างเนื้อหาว่ามีประสบการณ์โดยตรงหรือประสบการณ์จริงในหัวข้อนี้หรือไม่ เช่น หากทำการเขียนรีวิว ผู้เขียนเคยใช้สินค้าหรือบริการนั้นหรือเปล่า, หากเป็นการเขียนสูตรอาหารผู้เขียนเคยทำอาหารมาก่อนหรือไม่ หรือทำการเขียนเนื้อหาจากแหล่งที่มาที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น เขียนถึงการใช้แบบฟอร์มภาษี แต่ให้ไปดาวน์โหลดเอกสารได้จากเว็บไซต์ทำอาหาร
นอกจากนี้ยังขยายไปยังหัวข้อที่เป็น YMYL ด้วย โดย YMYL บางประเภทจะถูกสร้างขึ้นเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัว ซึ่งมักจะเกี่ยวกับชีวิตที่ยากลำบาก และความท้าทายบางประการ เช่น รีวิวบริการออมเพื่อการเกษียณอายุโดยผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงในการใช้บริการ, รีวิวประสบการณ์ต่อสู้กับมะเร็งและการบอกวิธีการทำเคมีบำบัด เป็นต้น แต่ทั้งนี้ หัวข้อ YMYL ที่เกี่ยวข้องกับการแชร์ประสบการณ์เหล่านี้ก็ต้องได้รับการพิจารณาว่ามี E-E-A-T ที่มีคุณภาพด้วยจึงจะทำอันดับที่ดีได้
[ux_image id=”38506″ image_size=”original” depth=”2″]และเมื่อทำการเพิ่ม Experience เข้ามาเป็นอีกหนึ่งเกณฑ์หลักของ E-E-A-T Factor ทำให้ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) กลายเป็นศูนย์กลางของการทำ E-E-A-T Factor เพราะการที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือได้ จำเป็นที่จะจ้องทำให้เว็บไซต์มี Expertise (ความเชี่ยวชาญ) Authoritativeness (ความมีอิทธิพล) และ Experience (การมีประสบการณ์) เสียก่อน ซึ่งเว็บไซต์จะน่าเชื่อถือหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการทำเว็บไซต์ในแต่ละหน้า เช่น
- หากทำเว็บไซต์ที่เป็นร้านค้าออนไลน์ เว็บไซต์ก็ต้องมีระบบชำระเงินออนไลน์ที่ปลอดภัยและการบริการลูกค้าที่เชื่อถือได้จึงจะทำให้เกิด Trust
- หากทำการเขียนบทวิจารณ์ผลิตภัณฑ์ก็ควรเขียนขึ้นอย่างตรงไปตรงมาเพื่อช่วยให้ผู้อื่นตัดสินใจซื้อได้ด้วยข้อมูลที่ถูกต้อง (แทนที่จะเป็นเพื่อขายสินค้าเท่านั้น)
- หากทำเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อ YMYL ก็ควรที่จะให้ข้อมูลชัดเจนจะต้องถูกต้องเพื่อป้องกันอันตรายต่อผู้คนและสังคม
การให้คะแนนหน้าเว็บไซต์ตามเกณฑ์ E-E-A-T Factor
การให้คะแนนคุณภาพของเพจด้วยการประเมินจาก E-E-A-T Factor จะต้องมีปัจจัยต่างๆ ประกอบกัน ยกตัวอย่างเช่น
- การที่เว็บไซต์มีหน้า “เกี่ยวกับเรา” บนเว็บไซต์หรือ หน้าโปรไฟล์ของผู้เขียนเนื้อหาในเว็บไซต์
- การมี Backlink ทั้งจากการอ้างอิง บทวิจารณ์ ข่าวสาร บทความ และแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์หรือเกี่ยวข้องกับผู้เขียนเนื้อหาในเว็บไซต์ที่บ่งบอกว่าผู้เขียนมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ที่ยืนยันได้ว่ามีความน่าเชื่อถือได้
- เนื้อหาภายในเพจ เช่น ตัวบทความ บทวิจารณ์ รีวิว การแสดงความคิดเห็น ฯลฯ อาจจะช่วยยืนยันถึงความเชี่ยวชาญของผู้เขียนเพิ่มเติมได้
- วัตถุประสงค์ของหน้าเว็บไซต์ (มีวัตถุประสงค์ที่เป็นประโยชน์หรือไม่)
- แสดงออกว่าเว็บไซต์มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์และมีอิทธิพลในด้านในด้านหนึ่งอย่างแท้จริง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การเกิดความน่าเชื่อถือต่อไปได้
วิธีการปรับปรุงเว็บไซต์ตามกฎ E-E-A-T Factor
- ทำ Off-Page SEO ด้วย Backlink ที่มีคุณภาพ
Backlinks ที่ได้มาจากเว็บไซต์ที่มีอิทธิพลและเกี่ยวข้อง ถือเป็นหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะการันตีว่าเว็บไซต์ของคุณมีอำนาจ มีความเชื่อถือ และมีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของคุณ ซึ่งวิธีการที่จะได้ Backlinks เหล่านั้นมาก็ต้องลงทุนในด้านการทำคอนเทนต์ที่ดี ไม่ซ้ำใคร และมีคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องเห็นว่าคุณคือผู้เชี่ยวชาญจนต้องทำการอ้างอิงถึงคุณ
- สร้างการพูดถึง (Metion) จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ
การได้รับการพูดถึง (Metion) จากแหล่งที่มีความเชื่อถือ สามารถเพิ่มข้อมูลรับรอง E-E-A-T ของคุณได้ ยิ่งแบรนด์/ชื่อเว็บไซต์ของคุณไปปรากฏในแหล่งที่น่าเชื่อถือบนโลกอินเทอร์เน็ตมากเท่าไหร่ Google ก็ยิ่งเห็นว่าคุณเป็นผู้มีอำนาจที่เชื่อถือได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งวิธีการที่จะทำให้ถูกพูดถึงมีมากมายหลายวิธี เช่น การเข้าร่วม Podcast, การเป็นพาร์ทเนอร์กับอินฟลูเอนเซอร์, การเข้าร่วมเป็นวิทยากรในงานอีเวนต์, การรับบท Guest เพื่อเขียนบทความให้เว็บไซต์อื่น เป็นต้น
- ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
ปรับปรุงเนื้อหาบนเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบันด้วยข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาที่เขียนขึ้นมาตามกระแส เช่น ข่าว เทรนด์ ข้อมูลทางการแพทย์ ฯลฯ
- เพิ่มจำนวนรีวิว
บทวิจารณ์เชิงบวกจำนวนมากในเว็บไซต์จะช่วยสร้าง E-E-A-T ให้เกิดขึ้นในสายตาของ Google เพราะแสดงให้เห็นว่าบริษัทของคุณน่าเชื่อถือในสายตาผู้บริโภค
- สร้างเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญ
Google ชอบเนื้อหาที่สร้างขึ้นจากผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น คุณสามารถเพิ่ม E-E-A-T ของไซต์ของคุณได้โดยทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ ทนาย เชฟ ฯลฯ มีข้อมูลยืนยันว่าพวกเขามีความเชี่ยวชาญจริงๆ
- แสดงข้อมูลประจำตัว
ผู้ที่เขียนเนื้อหาให้กับเว็บไซต์ของคุณควรมีการระบุข้อมูลที่รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีอิทธิพลและเชี่ยวชาญในสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น การศึกษา รางวัล หนังสือที่เขียนเอง ใบรับรอง เป็นต้น
- แสดงช่องทางการติดต่อ
การแสดงข้อมูลติดต่อของคุณเอาไว้ในเว็บไซต์ จะแสดงให้ Google เห็นว่าคุณเป็นบริษัทที่มีตัวตนจริงๆ
- ปรับปรุงเนื้อหาบนเว็บไซต์
เช่น ทำการลบ ปรับปรุงแก้ไขใหม่ หรือทำการรวมเนื้อหาเข้ากับหน้าอื่นที่เกี่ยวข้องกัน เช่น สมมติว่าคุณมีบล็อกโพสต์ที่เขียนเมื่อสี่ปีที่แล้ว หากข้อมูลล้าสมัยให้อัปเดตใหม่ให้เป็นปัจจุบัน หรือทำการลบทิ้งหากไม่ต้องการแล้ว หรือจะทำการรวมเนื้อหาให้มีความยาวมากขึ้นก็ได้ เป็นต้น
- ทำ Content marketing framework
ควรวางแผนการเขียนคอนเทนต์ให้มีเนื้อหาที่มีคุณภพาและเชื่อมโยงถึงกันด้วยการทำ Content Marketing Framework
- โปรโมตนอกเว็บไซต์
ทำการโปรโมตหน้าเว็บไซต์นั้นๆ โซเชียลมีเดียอื่นๆ ไปจนถึงการส่งอีเมลหากลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสเปิดเว็บไซต์ของคุณด้วย
[divider][scroll_to title=”สรุป” link=”#section13″]
สรุป
การทำให้เว็บไซต์และเนื้อหาบทความให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ E-A-T Factor ถือเป็นเรื่องสำคัญมากนะครับ เพราะนี่คือเครื่องหมายที่การันตีแล้วว่า เว็บไซต์ของคุณจะสามารถติดอันดับในหน้าหนึ่งได้อย่างมั่นคง ยาวนาน และไม่ตกอันดับง่ายๆ เนื่องจากได้รับการยอมรับแล้วว่า ตรงตามหลักเกณฑ์ 3 อย่าง ได้แก่ Expertise, Authoritativeness และ Trustworthiness แบบครบถ้วน อาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่เชื่อเถอะครับว่า จะทำให้การทำ SEO ของคุณได้ผลระยะยาว และเป็นขวัญใจของทั้งผู้อ่านและ Google อย่างแน่นอน
[divider] [message_box text_color=”light”] [row_inner v_align=”middle” h_align=”center”] [col_inner span=”8″ span__sm=”12″] [ux_text text_align__sm=”left”]สำหรับใครที่สนใจเรียน SEO ตั้งแต่พื้นฐานไปจนถึงเทคนิคการทำ และคุมงาน SEO ด้วยตัวเองได้ คลิกดูรายละเอียดคอร์สได้เลยนะครับ.
[/ux_text] [/col_inner] [col_inner span=”3″ span__sm=”12″ padding=”0px 0px 0px 0px” margin=”-27px 0px 0px 0px” margin__sm=”23px 0px 0px 0px” align=”left”] [button text=”เรียน SEO” color=”white” style=”outline” radius=”99″ link=”https://nerdoptimize.com/seo-wordpress-course/”] [/col_inner] [/row_inner] [/message_box] [/col] [/row]